Panai Lawasut on Nostr: ...
คอขวดแรกที่เถ่าแก่ผ่านกันไม่ค่อยได้คือ การมีลูกจ้าง
สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นที่รู้กันดีว่าปัญหาหนักใจที่สุดในการดำเนินธุรกิจ ที่มีอยู่ตลอดและจะคงอยู่ต่อไปไม่ว่าขนาดไซส์ของกิจการคุณจะใหญ่แค่ไหน มันคือปัญหาเรื่อง”คน”
ในวันที่คุณสร้าง POW อะไรซักอย่างมามากพอจนกลายเป็น product และมีคนเริ่มให้ค่ากับมันแล้ว คุณรู้ดีว่าคุณสามารถสร้างรายได้ได้แต่คุณไม่สามารถทำมันคนเดียวได้ คุณก็เลยเริ่มจ้างคนมาช่วยคุณทำงาน
จากนั้นความวุ่ยวาย 108 ก็เกิดขึ้น พนักงานที่คุณเริ่มรับสมัครเข้ามา โดยส่วนใหญ่จะไม่กลับมาทำในวันที่สอง ที่กลับมาก็จะอยู่ได้ไม่เกินอาทิตย์ และที่เหลือทั้งหมดจะออกหลังจากรับเงินเดือน เดือนแรก
คุณจะไม่สามารถคาดเดากำลังผลิตของคุณได้เลย เพราะเดี๋ยวก็มีคนช่วยเดี๋ยวก็ไม่มี
หลังจากมีคนเข้าออกผ่านไปนับสิบ อาจจะมีซักคนที่พอจะทำงานกับเราได้ เราเริ่มสอนงานเค้ามากขึ้น เริ่มแบ่งเบางานได้มากขึ้น เริ่มกลายเป็นคนสำคัญขององค์กร แล้ววันนึงเค้าก็ลาออก…
ออกไปเปิดเอง ได้ผัวรวย ถูกหวย พ่อไม่สบาย ต้องดูแลแม่ ปัญหาหาของพนักงานทั้งหมดแม่งกลายเป็นปัญหาของคุณทันที คนในครอบครัวพนักงานแทบจะกลายเป็นคนในครอบครัวเดียวกับคุณ ที่คุณต้องปวดหัวไปกับเค้าด้วย
แล้วคุณก็ต้องเริ่มต้นนับ 1 กับกระบวนการหาพนักงานคนใหม่อีกครั้ง
ยังไม่รวมปัญหาจุกจิกกวนใจ ประเภทพนักงานไม่ชอบหน้ากัน แอบจีบกัน กินแรงเพื่อน แอบอู้ ลักขโมย ไปจนถึงฉ้อโกงองค์กร
ทั้งหมดมันไม่เกี่ยวกับโปรดักส์หรือบริการที่มาจาก POW ของคุณเลย แต่คุณต้องเอาเวลาและพลังงานมาจัดการกับเรื่องพวกนี้ มันชะลอ productivity ของคุณมาก
เถ่าแก่ส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ อาจจะเพราะเคยผ่านกระบวนการนี้มาหรือเคยได้ยินคนอื่นๆเล่าให้ฟังจนขยาดกับการมีพนักงาน บางคนไม่แม้กระทั่งเริ่มมีลูกจ้างคนแรกด้วยซ้ำ
แม่ผมเริ่มทำขนมที่บ้านตั้งแต่ปี 40 โดยมีคุณพ่อเป็นลูกมือ ทำกันอยู่ 2 คนเป็นเวลาหลายปีมาก งานขนมเป็นงานที่หนัก ยิ่งช่วงปีใหม่นี่หนักมาก พ่อผมจำเป็นต้องนอนตี 2 ตื่นตี 4 แล้วทำขนมต่อไปจนถึงตี 2 อีกวันนึ ทำแบบนี้วนๆไปหลายวันในช่วงนั้น แล้วที่โหดร้ายก็คือ กำลังผลิตของ 2 คนที่ทำทั้งวันทั้งคืน ไม่สามารถสร้างรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้
ผมเคยถามอยู่บ่อยๆว่าทำไมไม่หาลูกจ้าง คำตอบก็จะวนๆไปแบบที่เราเคยได้ยินกัน “วุ่นวาย ไว้ใจไม่ได้ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก เราจ้างไม่ไหวหรอก ของเรามันก็แค่ขนม มันไม่ใหญ่โตอะไรขนาดนั้นได้หรอก”
สุดท้ายพ่อก็ยอมหาคนมาช่วยนะ แต่ตลอด 10 กว่าปีที่ทำกันมา ไม่เคยมีพนักงานเกิน 1 คน
และไม่เคยมีคนไหนอยู่ 3 เดือน
ทางออกส่วนใหญ่ของเถ่าแก่คือ เอาคนในครอบครัวมาทำ เพราะคิดว่าควบคุมได้ ไว้ใจได้
หารู้ไม่ ปัญหาหนักกว่าเดิมอีก พนักงานยังไล่ออกได้ แต่พ่อลูกเลิกเป็นไม่ได้
ยิ่งถ้าใช้ระบบกงสีแล้ว สุดท้ายพังในไม่เกินรุ่นที่ 3 ยิ่งคนในกงสีเริ่มเยอะ แทนที่จะมีคนช่วยกันสร้าง productivity กลับกลายมีแต่คนช่วยกันใช้เงิน ไม่นานรายได้ของกงสีก็เลี้ยงคนทั้งหมดไม่ไหว
อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิด จริงๆแล้วธุรกิจครอบครัวรวมถึงระบบกงสีเป็นระบบที่ผมซื้อไอเดียนี้มาก ความผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่ตัวระบบ แต่อยู่ที่ผู้นำที่บริหารจัดการ
ระบบนี้ควรจะดี เพราะมันเป็นไปได้มากกว่าที่คนในตระกูลจะมีความเชื่อร่วมกัน ช่วยกันพัฒนากิจการ มากกว่าที่จะต้องพึ่งพาคนนอก
แต่ไม่ต่างจากการบริหารประเทศเลย ผู้นำส่วนใหญ่เลือกที่จะรวบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จและผลประโยชน์ไว้กับตนเองแต่ฝ่ายเดียว มันมีทางเลือกไม่มากนักสำหรับคนที่เหลือในองค์กร จะเลือกเดินตามผู้นำแบบจำยอม ทั้งในมิติเรื่องรายได้ แนวความคิด การเติบโต หรือจะเลือกแยกตัวออกไปรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
ที่บ้านผมเองก็ไม่ต่างกันนัก หลังจากช่วยกันทำงานมา 4-5 ปี ครอบครัวผมเองเริ่มขยาย ลูกสาวผมเริ่มโตขึ้น ผมกำลังจะมีลูกคนที่สอง ต้องการค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และกังวลเรื่องความมั่นคงของครอบครัวในอนาคต
ผมพยามคุยไอเดียการเติบโตของร้านและการแบ่งสรรค่าใช้จ่ายให้กับคนในครอบครัวกับพ่อ และมันทำให้เราทะเลาะกันบ่อยมากกกก สุดท้ายก็คงเหมือนๆกับบ้านอื่น ผมต้องออกมาทำร้านของผมเองแบบและก็ออกมาไม่สวยเท่าไหร่นัก
ปัญหาหลักของผู้นำครอบครัวรวมถึงองค์กรต่างๆก็คือไม่เข้าใจ game theory ไม่สร้าง skin in game ให้กับคนที่เข้ามาช่วยกันทำงาน
จริงอยู่ว่า POW ที่พวกท่านสร้างมามันสร้าง value ให้กลับตลาดได้แล้ว แต่โดยวิธีคิดของเถ่าแก่ส่วนใหญ่ ไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นต่อไปเอา POW ของพวกเค้ามาต่อหาง มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีสายของ POW ที่ยาวขึ้น และสุดท้ายมันจะแพ้ให้องค์กรที่มีสาย POW ที่ยาวกว่า
ผมโชคดีผ่านเรื่องนี้ไปได้เพราะได้พิสูจน์อะไรหลายๆอย่างให้ที่บ้านเห็น พร้อมๆกับพยามขายไอเดียเรื่องความเป็น unity อยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ของผมได้คือบริหารธุรกิจครอบครัวแบบบริษัท คือจดบริษัทกันจริงๆเลย ทุกคนมีสัดส่วนหุ้นที่ชัดเจน จัดส่งรายได้และเสียภาษีถูกต้องทั้งหมด ตัดเรื่องที่พี่น้องต้องมาทำงานกันด้วยความเชื่อใจออกไปได้เกือบหมด
ผมสร้างระบบการจ่ายรายได้แก่พนักงานเป็นแบบปันผล ทำให้ทุกๆตำแหน่งต้องมี skin in the game กับงานที่ตัวเองรับผิดชอบ มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ปัญหาเรื่องคนที่ผมเล่ามาข้างต้นหายไปเกือบหมด(ไม่หมดหรอก แต่ดีขึ้นเยอะมาก) turn over ของพนักงานน้อยลงไปมาก ผมเหลือเวลาไปสร้าง POW ของผมได้อีกมากมาย
ทำแบบนี้มันกำไรน้อยมาก แต่ยั่งยืนกว่า สบายใจกว่า
“time preferences ของคุณต่ำแค่ไหนล่ะ”
หวังว่าใครที่อยู่ใน position เดียวกับผม หรือกำลังเจอปัญหาคล้ายๆกับที่ผมเจอคงจะได้ไอเดียบ้าง
อยากได้ละเอียดๆเจอกัน #east101 ผมเล่าได้ทุกเรื่อง ถามได้แบบไม่ต้องเกรงใจ
GN
Countdown
432 blocks left until #east101
#Siamstr
---
Wherostr | https://wherostr.social/g/w4r9xvxjv
Duck Duck Go Maps | https://w3.do/Yia0wmO5
Google Maps | https://w3.do/ddcAvJxk
สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นที่รู้กันดีว่าปัญหาหนักใจที่สุดในการดำเนินธุรกิจ ที่มีอยู่ตลอดและจะคงอยู่ต่อไปไม่ว่าขนาดไซส์ของกิจการคุณจะใหญ่แค่ไหน มันคือปัญหาเรื่อง”คน”
ในวันที่คุณสร้าง POW อะไรซักอย่างมามากพอจนกลายเป็น product และมีคนเริ่มให้ค่ากับมันแล้ว คุณรู้ดีว่าคุณสามารถสร้างรายได้ได้แต่คุณไม่สามารถทำมันคนเดียวได้ คุณก็เลยเริ่มจ้างคนมาช่วยคุณทำงาน
จากนั้นความวุ่ยวาย 108 ก็เกิดขึ้น พนักงานที่คุณเริ่มรับสมัครเข้ามา โดยส่วนใหญ่จะไม่กลับมาทำในวันที่สอง ที่กลับมาก็จะอยู่ได้ไม่เกินอาทิตย์ และที่เหลือทั้งหมดจะออกหลังจากรับเงินเดือน เดือนแรก
คุณจะไม่สามารถคาดเดากำลังผลิตของคุณได้เลย เพราะเดี๋ยวก็มีคนช่วยเดี๋ยวก็ไม่มี
หลังจากมีคนเข้าออกผ่านไปนับสิบ อาจจะมีซักคนที่พอจะทำงานกับเราได้ เราเริ่มสอนงานเค้ามากขึ้น เริ่มแบ่งเบางานได้มากขึ้น เริ่มกลายเป็นคนสำคัญขององค์กร แล้ววันนึงเค้าก็ลาออก…
ออกไปเปิดเอง ได้ผัวรวย ถูกหวย พ่อไม่สบาย ต้องดูแลแม่ ปัญหาหาของพนักงานทั้งหมดแม่งกลายเป็นปัญหาของคุณทันที คนในครอบครัวพนักงานแทบจะกลายเป็นคนในครอบครัวเดียวกับคุณ ที่คุณต้องปวดหัวไปกับเค้าด้วย
แล้วคุณก็ต้องเริ่มต้นนับ 1 กับกระบวนการหาพนักงานคนใหม่อีกครั้ง
ยังไม่รวมปัญหาจุกจิกกวนใจ ประเภทพนักงานไม่ชอบหน้ากัน แอบจีบกัน กินแรงเพื่อน แอบอู้ ลักขโมย ไปจนถึงฉ้อโกงองค์กร
ทั้งหมดมันไม่เกี่ยวกับโปรดักส์หรือบริการที่มาจาก POW ของคุณเลย แต่คุณต้องเอาเวลาและพลังงานมาจัดการกับเรื่องพวกนี้ มันชะลอ productivity ของคุณมาก
เถ่าแก่ส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ อาจจะเพราะเคยผ่านกระบวนการนี้มาหรือเคยได้ยินคนอื่นๆเล่าให้ฟังจนขยาดกับการมีพนักงาน บางคนไม่แม้กระทั่งเริ่มมีลูกจ้างคนแรกด้วยซ้ำ
แม่ผมเริ่มทำขนมที่บ้านตั้งแต่ปี 40 โดยมีคุณพ่อเป็นลูกมือ ทำกันอยู่ 2 คนเป็นเวลาหลายปีมาก งานขนมเป็นงานที่หนัก ยิ่งช่วงปีใหม่นี่หนักมาก พ่อผมจำเป็นต้องนอนตี 2 ตื่นตี 4 แล้วทำขนมต่อไปจนถึงตี 2 อีกวันนึ ทำแบบนี้วนๆไปหลายวันในช่วงนั้น แล้วที่โหดร้ายก็คือ กำลังผลิตของ 2 คนที่ทำทั้งวันทั้งคืน ไม่สามารถสร้างรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้
ผมเคยถามอยู่บ่อยๆว่าทำไมไม่หาลูกจ้าง คำตอบก็จะวนๆไปแบบที่เราเคยได้ยินกัน “วุ่นวาย ไว้ใจไม่ได้ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก เราจ้างไม่ไหวหรอก ของเรามันก็แค่ขนม มันไม่ใหญ่โตอะไรขนาดนั้นได้หรอก”
สุดท้ายพ่อก็ยอมหาคนมาช่วยนะ แต่ตลอด 10 กว่าปีที่ทำกันมา ไม่เคยมีพนักงานเกิน 1 คน
และไม่เคยมีคนไหนอยู่ 3 เดือน
ทางออกส่วนใหญ่ของเถ่าแก่คือ เอาคนในครอบครัวมาทำ เพราะคิดว่าควบคุมได้ ไว้ใจได้
หารู้ไม่ ปัญหาหนักกว่าเดิมอีก พนักงานยังไล่ออกได้ แต่พ่อลูกเลิกเป็นไม่ได้
ยิ่งถ้าใช้ระบบกงสีแล้ว สุดท้ายพังในไม่เกินรุ่นที่ 3 ยิ่งคนในกงสีเริ่มเยอะ แทนที่จะมีคนช่วยกันสร้าง productivity กลับกลายมีแต่คนช่วยกันใช้เงิน ไม่นานรายได้ของกงสีก็เลี้ยงคนทั้งหมดไม่ไหว
อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิด จริงๆแล้วธุรกิจครอบครัวรวมถึงระบบกงสีเป็นระบบที่ผมซื้อไอเดียนี้มาก ความผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่ตัวระบบ แต่อยู่ที่ผู้นำที่บริหารจัดการ
ระบบนี้ควรจะดี เพราะมันเป็นไปได้มากกว่าที่คนในตระกูลจะมีความเชื่อร่วมกัน ช่วยกันพัฒนากิจการ มากกว่าที่จะต้องพึ่งพาคนนอก
แต่ไม่ต่างจากการบริหารประเทศเลย ผู้นำส่วนใหญ่เลือกที่จะรวบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จและผลประโยชน์ไว้กับตนเองแต่ฝ่ายเดียว มันมีทางเลือกไม่มากนักสำหรับคนที่เหลือในองค์กร จะเลือกเดินตามผู้นำแบบจำยอม ทั้งในมิติเรื่องรายได้ แนวความคิด การเติบโต หรือจะเลือกแยกตัวออกไปรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
ที่บ้านผมเองก็ไม่ต่างกันนัก หลังจากช่วยกันทำงานมา 4-5 ปี ครอบครัวผมเองเริ่มขยาย ลูกสาวผมเริ่มโตขึ้น ผมกำลังจะมีลูกคนที่สอง ต้องการค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และกังวลเรื่องความมั่นคงของครอบครัวในอนาคต
ผมพยามคุยไอเดียการเติบโตของร้านและการแบ่งสรรค่าใช้จ่ายให้กับคนในครอบครัวกับพ่อ และมันทำให้เราทะเลาะกันบ่อยมากกกก สุดท้ายก็คงเหมือนๆกับบ้านอื่น ผมต้องออกมาทำร้านของผมเองแบบและก็ออกมาไม่สวยเท่าไหร่นัก
ปัญหาหลักของผู้นำครอบครัวรวมถึงองค์กรต่างๆก็คือไม่เข้าใจ game theory ไม่สร้าง skin in game ให้กับคนที่เข้ามาช่วยกันทำงาน
จริงอยู่ว่า POW ที่พวกท่านสร้างมามันสร้าง value ให้กลับตลาดได้แล้ว แต่โดยวิธีคิดของเถ่าแก่ส่วนใหญ่ ไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นต่อไปเอา POW ของพวกเค้ามาต่อหาง มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีสายของ POW ที่ยาวขึ้น และสุดท้ายมันจะแพ้ให้องค์กรที่มีสาย POW ที่ยาวกว่า
ผมโชคดีผ่านเรื่องนี้ไปได้เพราะได้พิสูจน์อะไรหลายๆอย่างให้ที่บ้านเห็น พร้อมๆกับพยามขายไอเดียเรื่องความเป็น unity อยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ของผมได้คือบริหารธุรกิจครอบครัวแบบบริษัท คือจดบริษัทกันจริงๆเลย ทุกคนมีสัดส่วนหุ้นที่ชัดเจน จัดส่งรายได้และเสียภาษีถูกต้องทั้งหมด ตัดเรื่องที่พี่น้องต้องมาทำงานกันด้วยความเชื่อใจออกไปได้เกือบหมด
ผมสร้างระบบการจ่ายรายได้แก่พนักงานเป็นแบบปันผล ทำให้ทุกๆตำแหน่งต้องมี skin in the game กับงานที่ตัวเองรับผิดชอบ มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ปัญหาเรื่องคนที่ผมเล่ามาข้างต้นหายไปเกือบหมด(ไม่หมดหรอก แต่ดีขึ้นเยอะมาก) turn over ของพนักงานน้อยลงไปมาก ผมเหลือเวลาไปสร้าง POW ของผมได้อีกมากมาย
ทำแบบนี้มันกำไรน้อยมาก แต่ยั่งยืนกว่า สบายใจกว่า
“time preferences ของคุณต่ำแค่ไหนล่ะ”
หวังว่าใครที่อยู่ใน position เดียวกับผม หรือกำลังเจอปัญหาคล้ายๆกับที่ผมเจอคงจะได้ไอเดียบ้าง
อยากได้ละเอียดๆเจอกัน #east101 ผมเล่าได้ทุกเรื่อง ถามได้แบบไม่ต้องเกรงใจ
GN
Countdown
432 blocks left until #east101
#Siamstr
---
Wherostr | https://wherostr.social/g/w4r9xvxjv
Duck Duck Go Maps | https://w3.do/Yia0wmO5
Google Maps | https://w3.do/ddcAvJxk