Sirat on Nostr: (3/4) ...
(3/4)
(ประเด็นหลักของบทความเค้าหมดแล้ว หลังจากนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงบ่นนะ ถ้าอยากเนิร์ดก็อ่านต่อได้)
ผมว่าอันนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการสร้างข้อโต้แย้งโดยไม่ทำความเข้าใจบริบทของผู้พูดให้ดี จนนำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบผิดประเด็น ซึ่งเมื่อมาผสมกับการด่วนสรุปความแบบจับแพะชนแกะตามความเชื่อตัวเองแล้ว มันเลยพังไม่เป็นท่าครับ จะป้องรัฐบาลและโทษนายทุนแต่ปูหลักการมาไม่ดีพอ
ประเด็นนึงที่คนเขียนบทความเค้าควรเข้าใจก่อนคือ เวลา Friedman พูดถึงเงินเฟ้อ เค้าให้ความสำคัญกับปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมปริมาณเงินได้มีเพียงหนึ่งเดียวคือรัฐบาล (ชื่อสำนักเค้าก็บอกอยู่ว่าการเงินนิยม คือเชื่อว่าควรควบคุมปริมาณเงินในระบบให้เหมาะสมกับกำลังการผลิตของประเทศ)
นั่นแปลว่า การที่ผู้เขียนไปสาธยายว่า บ. ใหญ่ๆ ก็เป็นคนทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นได้เหมือนกัน มันแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย
เพราะคุณดันไปตีความนิยามเงินเฟ้อแบบที่สมัยใหม่นิยมใช้กัน คือหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ
แต่ราคามันเป็นแค่อาการแสดง เป็นผลที่ปลายน้ำแล้ว แปลว่าต่อให้คุณไปขุดไส้ในของราคาออกมาวิเคราะห์ขนาดไหน มันก็ไม่ตอบข้อสรุปของ Friedman อยู่ดี คุณจะล้มข้อเสนอของเค้าได้ก็ต่อเมื่อคุณพิสูจน์ได้ว่าการที่ภาครัฐพิมพ์เงินมีผลต่อระดับราคาสินค้าน้อยมากทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว ซึ่งก็ยากหน่อยนะ เพราะมันสอดคล้องกับกฎของ Demand & Supply
คว่ำเค้าไม่ลง ตอบคนละประเด็น แต่จั่วหัวบทความซะแรงเลยว่า “Why Milton Friedman Was Wrong, Again“ 🤪
(ประเด็นหลักของบทความเค้าหมดแล้ว หลังจากนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงบ่นนะ ถ้าอยากเนิร์ดก็อ่านต่อได้)
ผมว่าอันนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการสร้างข้อโต้แย้งโดยไม่ทำความเข้าใจบริบทของผู้พูดให้ดี จนนำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบผิดประเด็น ซึ่งเมื่อมาผสมกับการด่วนสรุปความแบบจับแพะชนแกะตามความเชื่อตัวเองแล้ว มันเลยพังไม่เป็นท่าครับ จะป้องรัฐบาลและโทษนายทุนแต่ปูหลักการมาไม่ดีพอ
ประเด็นนึงที่คนเขียนบทความเค้าควรเข้าใจก่อนคือ เวลา Friedman พูดถึงเงินเฟ้อ เค้าให้ความสำคัญกับปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมปริมาณเงินได้มีเพียงหนึ่งเดียวคือรัฐบาล (ชื่อสำนักเค้าก็บอกอยู่ว่าการเงินนิยม คือเชื่อว่าควรควบคุมปริมาณเงินในระบบให้เหมาะสมกับกำลังการผลิตของประเทศ)
นั่นแปลว่า การที่ผู้เขียนไปสาธยายว่า บ. ใหญ่ๆ ก็เป็นคนทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นได้เหมือนกัน มันแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย
เพราะคุณดันไปตีความนิยามเงินเฟ้อแบบที่สมัยใหม่นิยมใช้กัน คือหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ
แต่ราคามันเป็นแค่อาการแสดง เป็นผลที่ปลายน้ำแล้ว แปลว่าต่อให้คุณไปขุดไส้ในของราคาออกมาวิเคราะห์ขนาดไหน มันก็ไม่ตอบข้อสรุปของ Friedman อยู่ดี คุณจะล้มข้อเสนอของเค้าได้ก็ต่อเมื่อคุณพิสูจน์ได้ว่าการที่ภาครัฐพิมพ์เงินมีผลต่อระดับราคาสินค้าน้อยมากทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว ซึ่งก็ยากหน่อยนะ เพราะมันสอดคล้องกับกฎของ Demand & Supply
คว่ำเค้าไม่ลง ตอบคนละประเด็น แต่จั่วหัวบทความซะแรงเลยว่า “Why Milton Friedman Was Wrong, Again“ 🤪