Jackie_LoveReading on Nostr: สมมติว่า ...
สมมติว่า “ถ้าหยิบบทเรียนได้เพียงแค่ 1 บท” ในตอนนี้นะ ส่วนตัวคิดว่าข้อนี้คือ “แก่นที่เราพึงรู้เป็นอันดับต้นๆ เลย”
ขอบเขตแห่งความสามารถ...
เพราะจำนวนครั้งที่เราผิดพลาดและล้มเหลว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนหนึ่งมาจาก ”ความไม่รู้และเผลอคิดเอาเองว่ารู้แล้ว“
เรานิยามตัวเองเกี่ยวกับ “ความรู้ไว้อย่างไร” พักไว้ก่อน แต่สำหรับวอร์เรน บัฟเฟตต์ได้กล่าวไว้ว่า
ขอบเขตของความสามารถคือ คือพื้นที่ที่เราเชี่ยวชาญขณะที่นอกเหนือจากพื้นที่นี้เป็นสิ่งที่เราอาจรู้เพียงบางส่วนหรือไม่รู้เลย (ศิลปะขอบการมีชีวิตที่ดี สำนักพิมพ์วีเลิร์น)
ประเด็นสำคัญก็คือไม่ได้อยู่ที่ขนาด
แต่อยู่ที่ขอบเขตของมันมากกว่า นั่นหมายความว่าการที่เราออกนอกขอบเขตนั้น ทำให้เราตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บัฟเฟตต์ ไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้
ดังนั้นการตระหนักถึงขอบเขตแห่งความสามารถว่า เราเชี่ยวชาญสิ่งใด และเก่งในด้านไหน นั่นยอมทำให้เราอยู่ในเกมที่เราถนัด สิ่งที่ดีก็คือ “เราจะแม่นยำและมีความสุข” ในการอยู่ในขอบเขตนี้
ที่สำคัญ
ทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งนี้ได้นานกว่า...ด้านอื่น แต่...
หากมองในแง่ของการใช้ชีวิต ส่วนนี้ก็ตอบโจทย์ดีอยู่ คำถามคือ
“เราเชี่ยวชาญในพื้นที่นี้จริง และสามารถพัฒนาจนนำไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จได้รึเปล่า”
ถ้าใช่ ก็ลงมือทำให้เต็มที่
แต่ถ้าไม่ใช่ ขอบเขตนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ “งานอดิเรก” หรือกิจกรรมสันทนาการให้ลดความตึงเครียดจากการทำงานก็เป็นได้
โลกออกแบบให้เราอยู่ในกรอบละขอบเขตได้ตามที่เราต้องการ แต่วันหนึ่งเราเองก็อยากจะขยายขอบเขต หรือลองก้าวข้ามไปทดลองสิ่งที่น่าสนใจ
อย่ากลัวที่จะลอง
อย่าขีดเส้น “พื้นที่ปลอดภัย” จนเกินไป ถ้าเราทดลองแล้วไม่ใช่ เราก็ตัด “สิ่งนั้น” ออก เพื่อให้รู้ว่า “ขอบเขตแห่งความสามารถของเราอยู่ตรงไหน” ได้อยู่นะ
การทดลองแล้วล้มเหลวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต
ลองดูบ้างก็ได้ ถ้าเรายังมีเส้นทางหลักให้ย้อนกลับมา แต่..
ถ้าไม่ ก็ขอให้รู้จัก “ขอบเขตของความสามารถ” ตัวเองให้ดี
#siamstr
ขอบเขตแห่งความสามารถ...
เพราะจำนวนครั้งที่เราผิดพลาดและล้มเหลว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนหนึ่งมาจาก ”ความไม่รู้และเผลอคิดเอาเองว่ารู้แล้ว“
เรานิยามตัวเองเกี่ยวกับ “ความรู้ไว้อย่างไร” พักไว้ก่อน แต่สำหรับวอร์เรน บัฟเฟตต์ได้กล่าวไว้ว่า
ขอบเขตของความสามารถคือ คือพื้นที่ที่เราเชี่ยวชาญขณะที่นอกเหนือจากพื้นที่นี้เป็นสิ่งที่เราอาจรู้เพียงบางส่วนหรือไม่รู้เลย (ศิลปะขอบการมีชีวิตที่ดี สำนักพิมพ์วีเลิร์น)
ประเด็นสำคัญก็คือไม่ได้อยู่ที่ขนาด
แต่อยู่ที่ขอบเขตของมันมากกว่า นั่นหมายความว่าการที่เราออกนอกขอบเขตนั้น ทำให้เราตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บัฟเฟตต์ ไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้
ดังนั้นการตระหนักถึงขอบเขตแห่งความสามารถว่า เราเชี่ยวชาญสิ่งใด และเก่งในด้านไหน นั่นยอมทำให้เราอยู่ในเกมที่เราถนัด สิ่งที่ดีก็คือ “เราจะแม่นยำและมีความสุข” ในการอยู่ในขอบเขตนี้
ที่สำคัญ
ทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งนี้ได้นานกว่า...ด้านอื่น แต่...
หากมองในแง่ของการใช้ชีวิต ส่วนนี้ก็ตอบโจทย์ดีอยู่ คำถามคือ
“เราเชี่ยวชาญในพื้นที่นี้จริง และสามารถพัฒนาจนนำไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จได้รึเปล่า”
ถ้าใช่ ก็ลงมือทำให้เต็มที่
แต่ถ้าไม่ใช่ ขอบเขตนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ “งานอดิเรก” หรือกิจกรรมสันทนาการให้ลดความตึงเครียดจากการทำงานก็เป็นได้
โลกออกแบบให้เราอยู่ในกรอบละขอบเขตได้ตามที่เราต้องการ แต่วันหนึ่งเราเองก็อยากจะขยายขอบเขต หรือลองก้าวข้ามไปทดลองสิ่งที่น่าสนใจ
อย่ากลัวที่จะลอง
อย่าขีดเส้น “พื้นที่ปลอดภัย” จนเกินไป ถ้าเราทดลองแล้วไม่ใช่ เราก็ตัด “สิ่งนั้น” ออก เพื่อให้รู้ว่า “ขอบเขตแห่งความสามารถของเราอยู่ตรงไหน” ได้อยู่นะ
การทดลองแล้วล้มเหลวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต
ลองดูบ้างก็ได้ ถ้าเรายังมีเส้นทางหลักให้ย้อนกลับมา แต่..
ถ้าไม่ ก็ขอให้รู้จัก “ขอบเขตของความสามารถ” ตัวเองให้ดี
#siamstr