lungkaaichaoguay on Nostr: ...
พูดถึงหญ้าทะเลแล้วนึกขึ้นได้ว่า ช่วงต้นปีงบประมาณที่แล้ว 2023 จำได้ว่าเหมือนมีหน่วยงานทางการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัย ซึ่งจำไม่ได้ว่ามหาวิทยาลัยใด เข้ามาเสนอทาง ทีมหญ้าทะเลว่า ทำ dna หญ้าทะเลของประเทศไทยกันไหม เดี๋ยวทางมหาวิทยาลัยจะเป็นคนทำ dna ให้ แล้วทางทีมหญ้าทะเล ช่วยเก็บตัวอย่างให้หน่อยตามแผนการทำสำรวจต่างๆ แต่ด้วยเราลาออกมาก่อน 555555 เลยไม่รู้ว่าเป็นยังไงบ้าง แต่น่าจะเป็นงานระยะยาว เพราะวงรอบการสำรวจหญ้าทะเลจะอัพเดตแผนที่ฐานใหม่ๆ ทุกๆ 4 ปี ซึ่งหมายความว่าถ้าทำจริง ผลน่าจะต้องออกภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี ด้วยจำนวนสถานีสำรวจหญ้าทะเลจำนวนมาก อันนี้คือเราเดาเอง
แต่เท่าที่จำได้คือ เมื่อเรารู้ข่าว เราจะพกcentrifuge tube 50 ml พกไปด้วย แล้วพยายามเก็บตัวอย่างหญ้าทะเลรอไว้เลย ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่าไปกลิ้งคลุกฝุนอยู่ตรงไหนแล้ว 55555 โดยที่ทำไม่ทำก็ไม่เสียหาย เห่อออไว้ก่อนนั้นเอง รวมไปถึงงานนี้มันทำให้เราไปรู้จักงานวิจัยหนึ่ง ที่จำแนกหญ้าทะเลด้วย epidermal cell เซลลฺ์ผิวใบ เพื่อหาชนิดหญ้าทะเลในอึของพะยูน ช่วงนั้นคือการสำรวจสนุกมาก ทุกครั้งเมื่อกลับจากการสำรวจ เราก็จะกลับมาเอาใบหญ้าไปส่องพร้อมบังคับขืนใจ คุณหมอว่า มาดูด้วยกัน มันมีอะไรแบบนี้ด้วยแหละ รวมไปถึง ถ้าคุณหมอไปชันสูตรซากเต่าทะะลแล้วเจอเศษหญ้า ก็จะแบบ เอามาดูดิ เอามาส่องเซลล์ผิวใบบบ 55555 ซึ่งมีประโยชน์ไหม ไม่รู้ แต่ตื่นเต้นแน่นอน 55555
เพราะเรากำลังคิดว่า ที่เราสำรวจหญ้าทะเลกันทุกปี มันคือการสำรวจเพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลของประเทศ แต่พื้นฐานมันน่าจะแน่นขึ้นถ้าเราได้การศึกษาอื่นๆประกอบด้วยเช่น การเปลี่ยนแปลงรอบปี ชาวงเวลาออกดอก ออกผล และ dna ว่าหญ้าทะเลในอ่าวไทย เช่น ภาคตะวันออก กับ ภาคใต้ นี่ มันมีที่มาร่วมกันไหม หรือแตกต่างกัน หรือจะเป็นหญ้าทะเลฝั่งอันดามัน กับ อ่าวไทยละ เป็นยังไงบ้าง ตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ มช.และ ทช. ทำกับพะยูน https://ngthai.com/science/36629/identitiy-thai-dugong/
"เนื่องจากก่อนหน้านี้เราทราบเพียงจำนวนพะยูนที่พบจากการสำรวจ และการรายงานจำนวนซากที่ตาย แต่เราไม่มีข้อมูลเลยว่า ในประชากรพะยูนเหล่านี้ประกอบด้วยกี่ครอบครัว"
มันไม่ใช่แค่การ สำรวจ เย้ เจอ เย้ พบ แต่มันคือฐานข้อมูลที่แน่นพอที่จะไปใช้ประกอบการทำพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งเราก็มองว่าพื้นที่คุ้มครองมันไม่ใช่แบบพื้นที่อุทยาน ที่มันคือการเก็บรักษาไว้ แต่พื้นที่คุ้มครองในมุมมองเรา จะเป็นการจัดการเชิง marine spatial planning ที่แต่ละพื้นที่จะมีข้อกำหนดไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับข้อมูลพื้นฐานนั้น ๆ ทั้งชนิดอุปกรณ์ประมง ชนิดของสัตว์น้ำที่จับ ช่วงเวลาการจับสัตว์น้ำ ขนาดสัตว์น้ำที่สามารถจับได้ และกิจกรรมทางทะเลที่สามารถกระทำได้ อะไรประมาณนั้น
#siamstr
แต่เท่าที่จำได้คือ เมื่อเรารู้ข่าว เราจะพกcentrifuge tube 50 ml พกไปด้วย แล้วพยายามเก็บตัวอย่างหญ้าทะเลรอไว้เลย ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่าไปกลิ้งคลุกฝุนอยู่ตรงไหนแล้ว 55555 โดยที่ทำไม่ทำก็ไม่เสียหาย เห่อออไว้ก่อนนั้นเอง รวมไปถึงงานนี้มันทำให้เราไปรู้จักงานวิจัยหนึ่ง ที่จำแนกหญ้าทะเลด้วย epidermal cell เซลลฺ์ผิวใบ เพื่อหาชนิดหญ้าทะเลในอึของพะยูน ช่วงนั้นคือการสำรวจสนุกมาก ทุกครั้งเมื่อกลับจากการสำรวจ เราก็จะกลับมาเอาใบหญ้าไปส่องพร้อมบังคับขืนใจ คุณหมอว่า มาดูด้วยกัน มันมีอะไรแบบนี้ด้วยแหละ รวมไปถึง ถ้าคุณหมอไปชันสูตรซากเต่าทะะลแล้วเจอเศษหญ้า ก็จะแบบ เอามาดูดิ เอามาส่องเซลล์ผิวใบบบ 55555 ซึ่งมีประโยชน์ไหม ไม่รู้ แต่ตื่นเต้นแน่นอน 55555
เพราะเรากำลังคิดว่า ที่เราสำรวจหญ้าทะเลกันทุกปี มันคือการสำรวจเพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลของประเทศ แต่พื้นฐานมันน่าจะแน่นขึ้นถ้าเราได้การศึกษาอื่นๆประกอบด้วยเช่น การเปลี่ยนแปลงรอบปี ชาวงเวลาออกดอก ออกผล และ dna ว่าหญ้าทะเลในอ่าวไทย เช่น ภาคตะวันออก กับ ภาคใต้ นี่ มันมีที่มาร่วมกันไหม หรือแตกต่างกัน หรือจะเป็นหญ้าทะเลฝั่งอันดามัน กับ อ่าวไทยละ เป็นยังไงบ้าง ตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ มช.และ ทช. ทำกับพะยูน https://ngthai.com/science/36629/identitiy-thai-dugong/
"เนื่องจากก่อนหน้านี้เราทราบเพียงจำนวนพะยูนที่พบจากการสำรวจ และการรายงานจำนวนซากที่ตาย แต่เราไม่มีข้อมูลเลยว่า ในประชากรพะยูนเหล่านี้ประกอบด้วยกี่ครอบครัว"
มันไม่ใช่แค่การ สำรวจ เย้ เจอ เย้ พบ แต่มันคือฐานข้อมูลที่แน่นพอที่จะไปใช้ประกอบการทำพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งเราก็มองว่าพื้นที่คุ้มครองมันไม่ใช่แบบพื้นที่อุทยาน ที่มันคือการเก็บรักษาไว้ แต่พื้นที่คุ้มครองในมุมมองเรา จะเป็นการจัดการเชิง marine spatial planning ที่แต่ละพื้นที่จะมีข้อกำหนดไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับข้อมูลพื้นฐานนั้น ๆ ทั้งชนิดอุปกรณ์ประมง ชนิดของสัตว์น้ำที่จับ ช่วงเวลาการจับสัตว์น้ำ ขนาดสัตว์น้ำที่สามารถจับได้ และกิจกรรมทางทะเลที่สามารถกระทำได้ อะไรประมาณนั้น
#siamstr