Sirat on Nostr: ขอเขียนเพิ่มเติมซะหน่อยละกัน ...
ขอเขียนเพิ่มเติมซะหน่อยละกัน
อันนี้ผมคิดเล่นๆ ว่าเป็นอีก 1 ตัวอย่างสะท้อนว่ายิ่งภาครัฐใช้ กม. แทรกแซงยิ่งเละนะครับ มันจะทำลายวัฒนธรรมการให้ทิปเอาได้เลยในระยะยาว
เดิม milton friedman เคยบอกว่าการให้ทิปเป็นวิธีการหาทางออกของตลาดรูปแบบหนึ่ง ในการให้รางวัลคนที่ทำดีและลงโทษคนที่บริการห่วย เป็นการหาทางออกอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องพึ่งกลไกรัฐ
ทุกวันนี้กลายเป็นอะไรไปแล้วก็ไม่รู้สินะ
ส่วนนึงผมมองว่าอาจเป็นเพราะประชาชนถูกทำให้ชีวิตอยู่ยากขึ้นจนต้องเห็นแก่ตัวเพื่อเอาตัวรอด (จากเดิมไม่ได้ทิปอาจจะแค่เสียโอกาส แต่ตอนนี้ถ้าไม่ได้ทิปอยู่ไม่ได้แล้ว นายจ้างเองก็อาศัยช่องโหว่ตรงนี้ตัดต้นทุนตัวเองซึ่งถูกบังคับมาจากค่าแรงขั้นต่ำ และแน่นอนว่าผู้ที่ทำชีวิตคนให้ยากขึ้นคือรัฐ ด้วยระบบเงิน fiat)
ในขณะเดียวกัน การศึกษาจากภาครัฐก็ไปบังคับปลูกฝังแนวคิดเรื่องสิทธิต่างๆ ให้คน entitled คิดว่าตัวเองสมควรได้รับสิ่งต่างๆ นานาเพียงแค่เกิดมาเป็นคน ไม่ได้ถูกปลูกฝังให้เน้นเรื่องความรับผิดชอบและยอมรับผลจากการกระทำของตัวเอง คนมันเลยยิ่งคิดกันแต่ว่าฉันทำงานเทอต้องให้ทิปฉัน
เมื่อนายจ้างลำบากจาก กม. ค่าแรงขั้นต่ำจนต้องผลักภาระมาให้ผู้บริโภคช่วยจ่ายทิปให้พนักงาน เมื่อพนักงานรายได้ไม่พอจนต้องลำเลิกเอาเงินจากทุกคนในทุกทางเพื่อเอาตัวรอดแม้จะบริการห่วยแค่ไหน เมื่อผู้บริโภคเจอบรรยากาศแบบนี้และถูกบีบบังคับกลายๆ ให้ต้องจ่ายทิป คิดว่าเค้าจะชื่นชมกับสิ่งที่ได้รับ และมองวัฒนธรรมการจ่ายทิปเป็นเรื่องที่ดีเหรอ จะพาลให้เค้าอยากโจมตีวัฒนธรรมการให้ทิปมากกว่า ทั้งที่จุดเริ่มต้นมันควรจะเป็นเรื่องที่ดีแบบที่ friedman บอก
ไม่อยากอคติ แต่มันก็อดคิดไม่ได้ ว่าบางทีการล่มสลายของวัฒนธรรม มันก็มาจากเรื่องเล็กๆ และฝีมือของภาครัฐที่กระทำการโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ และสร้าง unintended consequences ที่อยู่นอกเหนือโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ของเหล่า central planner ขึ้นมาอีกแล้ว
#siamstr
อันนี้ผมคิดเล่นๆ ว่าเป็นอีก 1 ตัวอย่างสะท้อนว่ายิ่งภาครัฐใช้ กม. แทรกแซงยิ่งเละนะครับ มันจะทำลายวัฒนธรรมการให้ทิปเอาได้เลยในระยะยาว
เดิม milton friedman เคยบอกว่าการให้ทิปเป็นวิธีการหาทางออกของตลาดรูปแบบหนึ่ง ในการให้รางวัลคนที่ทำดีและลงโทษคนที่บริการห่วย เป็นการหาทางออกอย่างชาญฉลาดโดยไม่ต้องพึ่งกลไกรัฐ
ทุกวันนี้กลายเป็นอะไรไปแล้วก็ไม่รู้สินะ
ส่วนนึงผมมองว่าอาจเป็นเพราะประชาชนถูกทำให้ชีวิตอยู่ยากขึ้นจนต้องเห็นแก่ตัวเพื่อเอาตัวรอด (จากเดิมไม่ได้ทิปอาจจะแค่เสียโอกาส แต่ตอนนี้ถ้าไม่ได้ทิปอยู่ไม่ได้แล้ว นายจ้างเองก็อาศัยช่องโหว่ตรงนี้ตัดต้นทุนตัวเองซึ่งถูกบังคับมาจากค่าแรงขั้นต่ำ และแน่นอนว่าผู้ที่ทำชีวิตคนให้ยากขึ้นคือรัฐ ด้วยระบบเงิน fiat)
ในขณะเดียวกัน การศึกษาจากภาครัฐก็ไปบังคับปลูกฝังแนวคิดเรื่องสิทธิต่างๆ ให้คน entitled คิดว่าตัวเองสมควรได้รับสิ่งต่างๆ นานาเพียงแค่เกิดมาเป็นคน ไม่ได้ถูกปลูกฝังให้เน้นเรื่องความรับผิดชอบและยอมรับผลจากการกระทำของตัวเอง คนมันเลยยิ่งคิดกันแต่ว่าฉันทำงานเทอต้องให้ทิปฉัน
เมื่อนายจ้างลำบากจาก กม. ค่าแรงขั้นต่ำจนต้องผลักภาระมาให้ผู้บริโภคช่วยจ่ายทิปให้พนักงาน เมื่อพนักงานรายได้ไม่พอจนต้องลำเลิกเอาเงินจากทุกคนในทุกทางเพื่อเอาตัวรอดแม้จะบริการห่วยแค่ไหน เมื่อผู้บริโภคเจอบรรยากาศแบบนี้และถูกบีบบังคับกลายๆ ให้ต้องจ่ายทิป คิดว่าเค้าจะชื่นชมกับสิ่งที่ได้รับ และมองวัฒนธรรมการจ่ายทิปเป็นเรื่องที่ดีเหรอ จะพาลให้เค้าอยากโจมตีวัฒนธรรมการให้ทิปมากกว่า ทั้งที่จุดเริ่มต้นมันควรจะเป็นเรื่องที่ดีแบบที่ friedman บอก
ไม่อยากอคติ แต่มันก็อดคิดไม่ได้ ว่าบางทีการล่มสลายของวัฒนธรรม มันก็มาจากเรื่องเล็กๆ และฝีมือของภาครัฐที่กระทำการโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ และสร้าง unintended consequences ที่อยู่นอกเหนือโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ของเหล่า central planner ขึ้นมาอีกแล้ว
#siamstr
quoting note1dyu…pjk6ที่ผมเคยฟังคร่าวๆคือ
เป็นผลมาจากการเลี่ยงกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำของฝั่งนายจ้างในเมกาครับ เช่น
กฎหมายบอกว่านายจ้างต้องให้ค่าแรง 100 เหรียญต่อชั่วโมง เอาเข้าจริงนายจ้างอาจจะจ่ายแค่ 50 เหรียญ แล้วให้ลูกจ้างไปรับจากทิปอีก 50++ เหรียญแทน ไม่ถือว่าผิดกฎหมายครับ
= ลดรายจ่ายไป 50 เหรียญต่อชั่วโมงต่อคน
.
แต่ถ้าได้ไม่ถึง นายจ้างมีหน้าที่เติมให้ครบตามสัญญา เช่น ลูกจ้างคนนี้ได้ ทิปแค่ 40 ไม่ถึง 50, ทางร้านก็มีหน้าที่เติมอีก 10 ให้ครบ 100 เหรียญครับ
.
ปล.1 มีกฎหมายค่าแรงอีกตัวในเมกาเรียกว่า “กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานที่รับทิป” หมายถึง
จะเห็นว่าจริงเราสามารถจ่ายลดกว่านั้นอีกเท่าไหร่ก็ได้ใช่มั้ยครับ แค่ให้ค่าแรงเพียงพอกับค่าแรงขั้นต่ำ เราอาจจะไม่ควักเลย ถ้าร้านเราขายดีแล้วพนักงานได้ทิปถึง 100 เหรียญ++ คนฟรี งานฟรี กำไรเหนาะๆ , ตัวกฎหมายนี้เลยออกมากำหนดอีกทีว่าค่าแรงก่อนรวมทิปเนี่ย นายจ้างต้องจ่ายเท่าไหร่ ปิดช่องโหว่นี้ครับ
ปล.2 ทิปถือเป็นทรัพย์สินของลูกจ้าง นายจ้างไม่มีสิทธิ์ในเงินนั้น ได้ 100 ต้องให้ 100 (ในทางปฏิบัติเช่น รับเงินผ่านบัตรเครดิตก็อาจหักค่าใช้จ่ายเล็กน้อยได้)
ปล. 3 ในร้านอาหารบางร้านอาจมีนโยบายกระจายทิปกัน เช่น พนักงานเสิร์ฟรับมา แบ่งให้คนครัว หรือคนอื่นๆ แบบนี้สามารถทำได้ **หลักคือ ทิปต้องส่งให้ลูกจ้างทั้งหมด นายจ้างไม่มีสิทธิ์เก็บไว้เอง** ครับ