tangnibbana on Nostr: ...
#สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย #เพราะไม่รู้อริยสัจ
ภิกษุ ท. ! #เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : #ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ #กับมหาปฐพีนั้น #ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”.
ภิกษุ ท. ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย ; สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. #อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือ #ทุกข์ อริยสัจคือ #เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือ #ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือ #ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.
-- 📙ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๒ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗
-- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thaibt/2/7/
--------------------------
//ในกรณีที่ไม่เห็นอริยสัจนั้น ยังมีผลทำให้ :
#สัตว์มาเกิดในมัชฌิมชนบท #มีน้อย
#สัตว์มีปัญญาจักษุ #มีน้อย
#สัตว์ไม่เสพของเมา #มีน้อย
สัตว์เกิดเป็นสัตว์บก มีน้อย (สัตว์น้ำมาก)
#สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา #มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์ มีน้อย
#สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน #มีน้อย https://etipitaka.com/read/thai/19/457/
นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงแสดงภาวะแห่งสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนา อีกมากอย่างตาม ที่เรารู้กันอยู่ เช่น สัตว์ที่ไม่ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ เป็นต้น, ผู้รวบรวมเห็นว่ามากเกินความ จำเป็น จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้. //
//โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “โยคะ”//
--------------------------
#อริยสัจ #ทางนิพพาน #พุทธวจน #ธรรมะ #TangNibbana #BuddhaWajana #Dhamma
ภิกษุ ท. ! #เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : #ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ #กับมหาปฐพีนั้น #ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”.
ภิกษุ ท. ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย ; สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. #อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือ #ทุกข์ อริยสัจคือ #เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือ #ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือ #ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.
-- 📙ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๒ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗
-- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thaibt/2/7/
--------------------------
//ในกรณีที่ไม่เห็นอริยสัจนั้น ยังมีผลทำให้ :
#สัตว์มาเกิดในมัชฌิมชนบท #มีน้อย
#สัตว์มีปัญญาจักษุ #มีน้อย
#สัตว์ไม่เสพของเมา #มีน้อย
สัตว์เกิดเป็นสัตว์บก มีน้อย (สัตว์น้ำมาก)
#สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา #มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์ มีน้อย
#สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน #มีน้อย https://etipitaka.com/read/thai/19/457/
นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงแสดงภาวะแห่งสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนา อีกมากอย่างตาม ที่เรารู้กันอยู่ เช่น สัตว์ที่ไม่ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ เป็นต้น, ผู้รวบรวมเห็นว่ามากเกินความ จำเป็น จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้. //
//โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “โยคะ”//
--------------------------
#อริยสัจ #ทางนิพพาน #พุทธวจน #ธรรมะ #TangNibbana #BuddhaWajana #Dhamma