ทำไม CPI ถึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้เงินเฟ้อที่ดีที่สุด
เมื่อมีข่าวพูดถึงอัตราเงินเฟ้อผู้อ่านหลายท่านคงได้ยินคำว่า”ค่าดัชนีราคาผู้บริโภค” หรือ “Consumer Price Index (CPI)” กันบ่อยๆ ทว่าค่าดัชนี CPI ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ระดับอัตราเงินเฟ้อที่ดีนัก เพราะว่าวิธีคิดค่าดัชนี CPI นั้นมาจากมูลค่าของกลุ่มสินค้าในตะกร้าสินค้าของปีปัจจุบันเทียบกับมูลค่าของกลุ่มสินค้าในตะกร้าสินค้าของปีฐาน (สมการคณิตศาสตร์เป็นดังนี้ P1X1/P0X0)
ซึ่งชนิดของสินค้าในตะกร้านั้นไม่ใช่สินค้าชนิดเดียวกัน (หากเราดูตามสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในปีฐานกลุ่มสินค้าเป็นกลุ่ม X0 ส่วนปีปัจจุบันกลุ่มสินค้าเป็นกลุ่ม X1) เนื่องจากสินค้าบางอย่างที่มีในปีฐานนั้นไม่มีการวางขายในปีปัจจุบัน หรือสินค้าชนิดนั้นเคยเป็นสินค้าจำเป็นในปีฐานแต่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในปีปัจจุบัน
ถ้าไม่ใช้ CPI แล้วควรใช้ตัวบ่งชี้อะไร เพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อ
จากแนวคิดของเงินเฟ้อคือสินค้าที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นจากเมื่อครั้งอดีตเป็นจำนวนเท่าไร การวัดอัตราเงินเฟ้อจากกลุ่มสินค้าที่ต่างกันโดยค่าดัชนีอัตราเงินเฟ้อแบบ CPI จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นเราต้องใช้กลุ่มสินค้าเดิมเพื่อเปรียบเทียบราคาปัจจุบันกับราคาปีฐาน (P1X1/P0X1) ซึ่งหลักการนี้ใช้ในการคิดค่า GDP Deflator
ข้อเสียอันใหญ่หลวงของ GDP Deflator
ทว่าการหาค่าดัชนีเงินเฟ้อตามหลัก GDP Deflator นั้นทำได้ยาก เพราะสินค้าในปัจจุบันบางชนิดเมื่อสมัยปีฐานนั้นยังไม่มีการผลิตเกิดขึ้น เช่น ปัจจุบันเราใช้ Tablet อย่าง iPad / Galaxy tab แต่เมื่อสมัยก่อนเรามีแค่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) ซึ่งการเปรียบเทียบราคาทำได้ลำบากเพราะเป็นสินค้าคนละอย่างกัน ด้วยเหตุนี้เราจึงนิยมรายงานอัตราเงินเฟ้อด้วยค่าดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เพราะหาค่าได้ง่ายโดยวิธีการสำรวจราคาสินค้าในตลาด
ถ้าไม่ใช้ CPI มีตัวบ่งชี้อื่น ๆ ที่ใช้งานง่ายกว่า GDP Deflator ไหม
แต่เรายังมีค่าดัชนีอีกตัวคือ ดัชนีราคาผู้ผลิต Producer Price Index (PPI) ซึ่งดัชนีตัวนี้จะรวบรวมมูลค่าของกลุ่มปัจจัยการผลิตที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้ในการผลิตของปีปัจจุบันเทียบกับมูลค่าของกลุ่มปัจจัยการผลิตของปีฐาน ด้วยเหตุที่ปัจจัยการผลิตของสินค้าไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากนัก จึงเหมาะที่จะใช้ค่าดัชนีราคาผู้ผลิต PPI บ่งชี้อัตราเงินเฟ้อมากกว่าค่าดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เพราะค่า PPI มีความเที่ยงตรงมากกว่าค่า CPI อีกทั้งยังหาค่าได้ง่ายเหมือนกับค่า CPI
แล้วถ้าอยากใช้ CPI ต่อไป ควรทำอย่างไรดี
อย่างไรก็ตามหากเราต้องการใช้ค่า CPI ในการวัดเงินเฟ้อ เราควรรายงานเป็นแบบแยกค่า CPI แต่ละประเภทของกลุ่มสินค้าต่างๆ เช่น หมวดอาหาร หมวดของใช้ในชีวิตประจำวัน หมวดการเดินทาง ซึ่งการใช้แนวคิดแบบนี้จะดีกว่าการใช้ค่า CPI แบบดั้งเดิมที่รวมสินค้าหลาย ๆ หมวดมาไว้ในตะกร้าใบเดียว
Published at
2023-08-18 13:17:33Event JSON
{
"id": "47ea5b8ba9475d4d3280b53e2cdd0e36c96a2ee55046c655dec3fbed72d5840b",
"pubkey": "f866d5b1d25b8d4d8f23cb178ca9c9d5114d598e9630f66fb86084c0c526b32f",
"created_at": 1692364653,
"kind": 30023,
"tags": [
[
"d",
"1692363707093"
],
[
"title",
"ทำไม CPI ถึงไม่ใช่ตัวบ่งชี้เงินเฟ้อที่ดีที่สุด"
],
[
"summary",
"CPI เป็นแค่ตัวบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อที่เก็บข้อมูลง่าย แต่ไม่สามารถบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริงในสังคมได้ จริง ๆ ก็มีวิธีการวัดอัตราเงินเฟ้อแบบอื่น ๆ ที่ดีกว่า แต่ว่ามันเก็บข้อมูลยากเลยไม่ค่อยพูดถึงกัน"
],
[
"published_at",
"1692364653"
],
[
"t",
"cpi"
],
[
"t",
"ppi"
],
[
"t",
"GDP Deflator"
],
[
"t",
"inflation"
],
[
"t",
"อัตราเงินเฟ้อ"
],
[
"a",
"34550:0018b7ee33fb253843639c62e292fec700a69a93b08ee374c5bda971c9b39564:AustrianEconomics"
]
],
"content": "เมื่อมีข่าวพูดถึงอัตราเงินเฟ้อผู้อ่านหลายท่านคงได้ยินคำว่า”ค่าดัชนีราคาผู้บริโภค” หรือ “Consumer Price Index (CPI)” กันบ่อยๆ ทว่าค่าดัชนี CPI ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ระดับอัตราเงินเฟ้อที่ดีนัก เพราะว่าวิธีคิดค่าดัชนี CPI นั้นมาจากมูลค่าของกลุ่มสินค้าในตะกร้าสินค้าของปีปัจจุบันเทียบกับมูลค่าของกลุ่มสินค้าในตะกร้าสินค้าของปีฐาน (สมการคณิตศาสตร์เป็นดังนี้ P1X1/P0X0) \n\nซึ่งชนิดของสินค้าในตะกร้านั้นไม่ใช่สินค้าชนิดเดียวกัน (หากเราดูตามสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในปีฐานกลุ่มสินค้าเป็นกลุ่ม X0 ส่วนปีปัจจุบันกลุ่มสินค้าเป็นกลุ่ม X1) เนื่องจากสินค้าบางอย่างที่มีในปีฐานนั้นไม่มีการวางขายในปีปัจจุบัน หรือสินค้าชนิดนั้นเคยเป็นสินค้าจำเป็นในปีฐานแต่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในปีปัจจุบัน\n\n## ถ้าไม่ใช้ CPI แล้วควรใช้ตัวบ่งชี้อะไร เพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อ\n\nจากแนวคิดของเงินเฟ้อคือสินค้าที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นจากเมื่อครั้งอดีตเป็นจำนวนเท่าไร การวัดอัตราเงินเฟ้อจากกลุ่มสินค้าที่ต่างกันโดยค่าดัชนีอัตราเงินเฟ้อแบบ CPI จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นเราต้องใช้กลุ่มสินค้าเดิมเพื่อเปรียบเทียบราคาปัจจุบันกับราคาปีฐาน (P1X1/P0X1) ซึ่งหลักการนี้ใช้ในการคิดค่า GDP Deflator\n\n## ข้อเสียอันใหญ่หลวงของ GDP Deflator\n\u2028\nทว่าการหาค่าดัชนีเงินเฟ้อตามหลัก GDP Deflator นั้นทำได้ยาก เพราะสินค้าในปัจจุบันบางชนิดเมื่อสมัยปีฐานนั้นยังไม่มีการผลิตเกิดขึ้น เช่น ปัจจุบันเราใช้ Tablet อย่าง iPad / Galaxy tab แต่เมื่อสมัยก่อนเรามีแค่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) ซึ่งการเปรียบเทียบราคาทำได้ลำบากเพราะเป็นสินค้าคนละอย่างกัน ด้วยเหตุนี้เราจึงนิยมรายงานอัตราเงินเฟ้อด้วยค่าดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เพราะหาค่าได้ง่ายโดยวิธีการสำรวจราคาสินค้าในตลาด\n\n## ถ้าไม่ใช้ CPI มีตัวบ่งชี้อื่น ๆ ที่ใช้งานง่ายกว่า GDP Deflator ไหม\n\nแต่เรายังมีค่าดัชนีอีกตัวคือ ดัชนีราคาผู้ผลิต Producer Price Index (PPI) ซึ่งดัชนีตัวนี้จะรวบรวมมูลค่าของกลุ่มปัจจัยการผลิตที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้ในการผลิตของปีปัจจุบันเทียบกับมูลค่าของกลุ่มปัจจัยการผลิตของปีฐาน ด้วยเหตุที่ปัจจัยการผลิตของสินค้าไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากนัก จึงเหมาะที่จะใช้ค่าดัชนีราคาผู้ผลิต PPI บ่งชี้อัตราเงินเฟ้อมากกว่าค่าดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เพราะค่า PPI มีความเที่ยงตรงมากกว่าค่า CPI อีกทั้งยังหาค่าได้ง่ายเหมือนกับค่า CPI\n\n## แล้วถ้าอยากใช้ CPI ต่อไป ควรทำอย่างไรดี\n\u2028\nอย่างไรก็ตามหากเราต้องการใช้ค่า CPI ในการวัดเงินเฟ้อ เราควรรายงานเป็นแบบแยกค่า CPI แต่ละประเภทของกลุ่มสินค้าต่างๆ เช่น หมวดอาหาร หมวดของใช้ในชีวิตประจำวัน หมวดการเดินทาง ซึ่งการใช้แนวคิดแบบนี้จะดีกว่าการใช้ค่า CPI แบบดั้งเดิมที่รวมสินค้าหลาย ๆ หมวดมาไว้ในตะกร้าใบเดียว\n",
"sig": "08311d89858a206d9fa7496356f57d68af9c2aa9275b3030ff80e5f95b453b24b5005c65a3980454bc2dee5cfd7e1f9511303fd7ffdc5354203194a5f5a1b8eb"
}