layman_economics on Nostr: ผมคิดว่า “ทุนนิยม” ...
ผมคิดว่า “ทุนนิยม” คือชื่อที่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก เพราะมันสื่อเป็นนัยผ่านชื่อของมันว่า ในสังคมทุนนิยม ผู้มีอำนาจคือนายทุน
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ในสังคมทุนนิยมที่แท้จริง (ซึ่งทุกวันนี้ ไทยเรายังห่างไกลจากคำว่า “ทุนนิยมที่แท้จริง” อยู่มากนัก) ผู้อำนาจคือผู้บริโภคแต่ละคนมากกว่า
ลองนึกถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่ “ไม่มีใครสู้ได้” สิครับ
อะไรที่ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่นี้ “ไม่มีใครสู้ได้”?
เพราะผู้บริโภคแต่ละคน (ซึ่งก็คือพวกเรา) ร่วมใจกันไปซื้อสินค้าบริการของรายใหญ่นี้ มากกว่าที่จะไปซื้อสินค้าบริการของคู่แข่ง
และที่ผู้บริโภคอย่างเราๆเลือกซื้อสินค้าบริการของรายใหญ่นี้ ก็เพราะรายใหญ่นี้ขายสินค้าบริการในราคาที่ดีกว่าคู่แข่ง และมีคุณภาพมากกว่าคู่แข่ง
และหากวันหนึ่ง คู่แข่งสามารถขายสินค้าบริการได้ในราคาที่ถูกกว่า และมีคุณภาพดีกว่า ผู้บริโภคอย่างเราๆก็พร้อมใจกันเฮละโลไปซื้อสินค้าบริการของคู่แข่งเหมือนกัน
เหมือนอย่างกรณีสุกี้เอ็มเคที่ถูกสุกี้ตี๋น้อยแซงหน้า เหมือนอย่างกรณีการบินไทยที่ถูกสายการบินเจ้าอื่นๆแซงหน้า เหมือนอย่างกรณีโชว์ห่วยประจำหมู่บ้านถูกแทนที่ด้วย 7-11
การที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ “ใจง่าย” เช่นนี้จึงบีบให้ผู้ประกอบการทุกคน (ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่) จำเป็นต้องหาหนทางในการผลิตสินค้าบริการที่มีคุณภาพ โดยที่มีต้นทุนต่ำๆตลอดเวลา
ฉะนั้น เวลาที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทที่ลดพนักงานและซื้อเครื่องจักรมาทดแทน เวลาที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทที่ไล่ทีมผู้บริหารเก่าๆที่ทำงานกับบริษัทมานานหลายปี เวลาที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทที่ “เคี่ยว” เรื่องราคากับ supplier ส่วนสำคัญก็เพราะแรงบีบจากผู้บริโภคอย่างเราๆนั่นเอง
ถ้าผู้บริโภคอย่างเราๆไม่ “ใจง่าย” เช่นนี้ บริษัทต่างๆก็คงจะไม่ “โหด” ขนาดนี้
นี่เองครับคืออำนาจของผู้บริโภคในสังคมทุนนิยม (ที่แท้จริง) ครับ
#siamstr
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ในสังคมทุนนิยมที่แท้จริง (ซึ่งทุกวันนี้ ไทยเรายังห่างไกลจากคำว่า “ทุนนิยมที่แท้จริง” อยู่มากนัก) ผู้อำนาจคือผู้บริโภคแต่ละคนมากกว่า
ลองนึกถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่ “ไม่มีใครสู้ได้” สิครับ
อะไรที่ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่นี้ “ไม่มีใครสู้ได้”?
เพราะผู้บริโภคแต่ละคน (ซึ่งก็คือพวกเรา) ร่วมใจกันไปซื้อสินค้าบริการของรายใหญ่นี้ มากกว่าที่จะไปซื้อสินค้าบริการของคู่แข่ง
และที่ผู้บริโภคอย่างเราๆเลือกซื้อสินค้าบริการของรายใหญ่นี้ ก็เพราะรายใหญ่นี้ขายสินค้าบริการในราคาที่ดีกว่าคู่แข่ง และมีคุณภาพมากกว่าคู่แข่ง
และหากวันหนึ่ง คู่แข่งสามารถขายสินค้าบริการได้ในราคาที่ถูกกว่า และมีคุณภาพดีกว่า ผู้บริโภคอย่างเราๆก็พร้อมใจกันเฮละโลไปซื้อสินค้าบริการของคู่แข่งเหมือนกัน
เหมือนอย่างกรณีสุกี้เอ็มเคที่ถูกสุกี้ตี๋น้อยแซงหน้า เหมือนอย่างกรณีการบินไทยที่ถูกสายการบินเจ้าอื่นๆแซงหน้า เหมือนอย่างกรณีโชว์ห่วยประจำหมู่บ้านถูกแทนที่ด้วย 7-11
การที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ “ใจง่าย” เช่นนี้จึงบีบให้ผู้ประกอบการทุกคน (ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่) จำเป็นต้องหาหนทางในการผลิตสินค้าบริการที่มีคุณภาพ โดยที่มีต้นทุนต่ำๆตลอดเวลา
ฉะนั้น เวลาที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทที่ลดพนักงานและซื้อเครื่องจักรมาทดแทน เวลาที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทที่ไล่ทีมผู้บริหารเก่าๆที่ทำงานกับบริษัทมานานหลายปี เวลาที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทที่ “เคี่ยว” เรื่องราคากับ supplier ส่วนสำคัญก็เพราะแรงบีบจากผู้บริโภคอย่างเราๆนั่นเอง
ถ้าผู้บริโภคอย่างเราๆไม่ “ใจง่าย” เช่นนี้ บริษัทต่างๆก็คงจะไม่ “โหด” ขนาดนี้
นี่เองครับคืออำนาจของผู้บริโภคในสังคมทุนนิยม (ที่แท้จริง) ครับ
#siamstr