สมองเล็ก เต็ดเดียว on Nostr: ...
สมบัติมูลค่านับแสนล้านซึ่งนำมาซึ่งหายนะ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของ “พลเอกโทโมยูกิ ยามาชิตะ (Tomoyuki Yamashita)” ได้ครอบครองทองคำเป็นจำนวนมาก
กองทัพญี่ปุ่นได้ปล้นทรัพย์สินมีค่าจากหลายๆ สถานที่ ทั้งธนาคารต่างๆ พิพิธภัณฑ์ อาคารบ้านเรือน รวมทั้งสถานที่สำคัญทางศาสนาต่างๆ ทั่วเอเชีย โดยทรัพย์สินเหล่านั้นก็ถูกนำมาเป็นทุนในการสนับสนุนกองทัพญี่ปุ่น
แต่อย่างที่ทราบ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก่อนที่จะพ่ายแพ้ กองทัพญี่ปุ่นได้นำสมบัติไปเก็บรักษาไว้ในที่มั่นที่ฟิลิปปินส์ โดยพลเอกยามาชิตะได้สั่งให้นำสมบัติไปฝังซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ และปิดปากทางเข้าที่เก็บสมบัติด้วยระเบิดไดนาไมต์
ในเวลาต่อมา พลเอกยามาชิตะถูกจับกุมและถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากรสงคราม ต้องรับโทษประหารชีวิต โดยเขาถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปีค.ศ.1946 (พ.ศ.2489)
นอกจากพลเอกยามาชิตะจะเสียชีวิตไปแล้ว ข้อมูลสถานที่ซุกซ่อนสมบัติของเขาก็สาปสูญไปพร้อมกับเขาด้วย
หลังจากพลเอกยามาชิตะเสียชีวิตได้เกือบ 30 ปี ช่างทำกุญแจและนักล่าสมบัติชาวฟิลิปปินส์ที่ชื่อ “โรเกลิโอ โรซัส (Rogelio Roxas)” ก็ได้พบกับเบาะแสถึงที่ซ่อนสมบัติ
โรซัสเป็นช่างทำกุญแจแต่มีงานอดิเรกคือตามหาสมบัติ และในปีค.ศ.1961 (พ.ศ.2504) โรซัสก็ได้พบกับลูกชายของอดีตทหารญี่ปุ่น ซึ่งผู้เป็นลูกชายก็ได้วาดแผนที่ตามบันทึกของผู้เป็นพ่อ และด้วยเบาะแสนี้ โรซัสก็ใช้เวลาอีกกว่า 10 ปีต่อมาออกตามหาที่ซ่อนทองคำของกองทัพญี่ปุ่น
ในปีค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) โรซัสได้พบถ้ำแห่งหนึ่งบนเขา ภายในมีโครงกระดูกแต่งชุดทหารญี่ปุ่น และหลังจากสำรวจบริเวณถ้ำที่พบเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก็พบทองคำในที่สุด
โรซัสพบหีบนับร้อยใบซึ่งบรรจุทองคำแท่ง พร้อมด้วยพระพุทธรูปทองคำ
พระพุทธรูปทองคำมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม ทำมาจากทองคำทั้งองค์ ซึ่งโรซัสก็ได้นำพระพุทธรูปและทองคำจำนวน 24 แท่งกลับบ้าน และทำการปิดปากถ้ำ เตรียมจะกลับมาสำรวจต่อภายหลัง
จากนั้นโรซัสก็ได้ติดต่อผู้ซื้อทองคำ ซึ่งก็ได้มาดูพระพุทธรูป และพบว่าพระพุทธรูปนั้นล้ำค่าจริงๆ ทำมาจากทองคำบริสุทธิ์
หากแต่เป็นโชคร้ายของโรซัส เนื่องจากหนึ่งในผู้ซื้อนั้นทำงานให้กับ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos)” ประธานาธิบดีเผด็จการแห่งฟิลิปปินส์ในเวลานั้น
สองเดือนหลังโรซัสค้นพบสมบัติ ทหารก็ได้มาล้อมบ้านโรซัส โดยกระบอกปืนทุกกระบอกจะมีริบบิ้นสีแดงพันไว้อยู่ เป็นสัญลักษณ์ว่านี่คือกองทัพของประธานาธิบดี และหากโรซัสต่อต้าน สิ่งที่จะได้รับก็คือความตาย
ไม่กี่วันหลังจากนั้น โรซัสก็ได้ไปแจ้งความแก่ทางการ หากแต่ทางการก็ไม่ยอมช่วยเหลือ เนื่องจากในเวลานั้นประธานาธิบดีมาร์กอสนั้นควบคุมทุกอย่างในประเทศ ทำให้มาร์กอสต้องหันหน้าไปหาสื่อ
เรื่องราวของมาร์กอสได้ถูกตีพิมพ์บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ก็ได้นำเสนอเรื่องนี้ด้วย หากแต่ฝ่ายมาร์กอสก็ตอบโต้โดยอ้างว่าโรซัสเป็นคนของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่มาดิสเครดิตตน
18 พฤษภาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) โรซัสได้ถูกชายสามคนซึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้าปกติจับกุม และผู้ที่จับกุมก็ได้บอกกับโรซัสว่าจะนำเขาไปพบกับประธานาธิบดีมาร์กอสเพื่อเจรจา และผู้ที่จับกุมก็ขอให้โรซัสยอมรับว่าข้อกล่าวหาทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องโกหก เขาถูกพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามจ้างมา และยังถามถึงสถานที่ซุกซ่อนทองคำของกองทัพญี่ปุ่นอีกด้วย
โรซัสปฏิเสธ ซึ่งเขาก็ถูกทรมานอย่างหนักจนต้องยอม ก่อนจะได้พบกับครอบครัวและถูกนำกลับไปขัง
โรซัสถูกทรมานซ้ำเพื่อให้เผยที่ซ่อนสมบัติ หากแต่โรซัสก็ปฏิเสธ และในวันหนึ่ง โอกาสหนีของโรซัสก็มาถึง
วันหนึ่ง โรซัสถูกปล่อยไว้ในห้องขังเพียงลำพัง มีเพียงเวรยามเฝ้าหน้าประตู หากแต่คนของประธานาธิบดีมาร์กอสลืมเรื่องสำคัญไปเรื่องหนึ่ง
โรซัสเป็นช่างทำกุญแจ
โรซัสได้หนีไปทางหน้าต่างในห้องน้ำ และค่อยๆ ไต่ลงมาจากหลังคา ก่อนจะไปพบครอบครัวและหนีไปยังที่ห่างไกลในฟิลิปปินส์ และต้องหลบซ่อนตัวเป็นเวลากว่า 10 ปี
ประธานาธิบดีมาร์กอสถูกโค่นอำนาจในปีค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ทำให้เขาต้องหนีไปฮาวาย และเสียชีวิตในปีค.ศ.1989 (พ.ศ.2532)
หลังจากประธานาธิบดีมาร์กอสสิ้นอำนาจ ก็มีการเปิดเผยว่าทรัพย์สินของมาร์กอสนั้นมีมากกว่าคลังสมบัติชาติฟิลิปปินส์ซะอีก และ “อีเมลดา มาร์กอส (Imelda Marcos)” ภรรยาของประธานาธิบดีมาร์กอส ก็ได้ยอมรับว่าทรัพย์สินส่วนมากนั้นมาจากคลังสมบัติของกองทัพญี่ปุ่น
โรซัสได้ยื่นฟ้องมาร์กอส โดยฟ้องตามมูลค่าพระพุทธรูปทองคำและทองคำแท่งที่ทหารยึดไปจากตน แต่ก่อนคดีจะสิ้นสุด โรซัสก็ได้เสียชีวิตไปก่อน
แต่โชคดีที่จากพยานหลักฐานต่างๆ ทำให้คณะลูกขุนเข้าข้างโรซัส และตัดสินให้โรซัสได้รับการชดใช้เป็นเงินจำนวน 22,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 720,000 ล้านบาท) ซึ่งในเวลานั้น นี่เป็นจำนวนเงินค่าเสียหายที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
หากแต่ด้วยกระบวนการทางศาล ทำให้ค่าชดใช้นั้นลดลงมาเรื่อยๆ และจนถึงทุกวันนี้ อีเมลดาและครอบครัวก็จ่ายเงินชดใช้เพียงแค่ 1.4 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 50 ล้านบาท) เท่านั้น
และนี่ก็คือเรื่องราวของสมบัติที่นำพาหายนะและความวุ่นวายมาสู่ผู้ครอบครอง
-----
#siamstr
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของ “พลเอกโทโมยูกิ ยามาชิตะ (Tomoyuki Yamashita)” ได้ครอบครองทองคำเป็นจำนวนมาก
กองทัพญี่ปุ่นได้ปล้นทรัพย์สินมีค่าจากหลายๆ สถานที่ ทั้งธนาคารต่างๆ พิพิธภัณฑ์ อาคารบ้านเรือน รวมทั้งสถานที่สำคัญทางศาสนาต่างๆ ทั่วเอเชีย โดยทรัพย์สินเหล่านั้นก็ถูกนำมาเป็นทุนในการสนับสนุนกองทัพญี่ปุ่น
แต่อย่างที่ทราบ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก่อนที่จะพ่ายแพ้ กองทัพญี่ปุ่นได้นำสมบัติไปเก็บรักษาไว้ในที่มั่นที่ฟิลิปปินส์ โดยพลเอกยามาชิตะได้สั่งให้นำสมบัติไปฝังซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ และปิดปากทางเข้าที่เก็บสมบัติด้วยระเบิดไดนาไมต์
ในเวลาต่อมา พลเอกยามาชิตะถูกจับกุมและถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากรสงคราม ต้องรับโทษประหารชีวิต โดยเขาถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปีค.ศ.1946 (พ.ศ.2489)
นอกจากพลเอกยามาชิตะจะเสียชีวิตไปแล้ว ข้อมูลสถานที่ซุกซ่อนสมบัติของเขาก็สาปสูญไปพร้อมกับเขาด้วย
หลังจากพลเอกยามาชิตะเสียชีวิตได้เกือบ 30 ปี ช่างทำกุญแจและนักล่าสมบัติชาวฟิลิปปินส์ที่ชื่อ “โรเกลิโอ โรซัส (Rogelio Roxas)” ก็ได้พบกับเบาะแสถึงที่ซ่อนสมบัติ
โรซัสเป็นช่างทำกุญแจแต่มีงานอดิเรกคือตามหาสมบัติ และในปีค.ศ.1961 (พ.ศ.2504) โรซัสก็ได้พบกับลูกชายของอดีตทหารญี่ปุ่น ซึ่งผู้เป็นลูกชายก็ได้วาดแผนที่ตามบันทึกของผู้เป็นพ่อ และด้วยเบาะแสนี้ โรซัสก็ใช้เวลาอีกกว่า 10 ปีต่อมาออกตามหาที่ซ่อนทองคำของกองทัพญี่ปุ่น
ในปีค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) โรซัสได้พบถ้ำแห่งหนึ่งบนเขา ภายในมีโครงกระดูกแต่งชุดทหารญี่ปุ่น และหลังจากสำรวจบริเวณถ้ำที่พบเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก็พบทองคำในที่สุด
โรซัสพบหีบนับร้อยใบซึ่งบรรจุทองคำแท่ง พร้อมด้วยพระพุทธรูปทองคำ
พระพุทธรูปทองคำมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม ทำมาจากทองคำทั้งองค์ ซึ่งโรซัสก็ได้นำพระพุทธรูปและทองคำจำนวน 24 แท่งกลับบ้าน และทำการปิดปากถ้ำ เตรียมจะกลับมาสำรวจต่อภายหลัง
จากนั้นโรซัสก็ได้ติดต่อผู้ซื้อทองคำ ซึ่งก็ได้มาดูพระพุทธรูป และพบว่าพระพุทธรูปนั้นล้ำค่าจริงๆ ทำมาจากทองคำบริสุทธิ์
หากแต่เป็นโชคร้ายของโรซัส เนื่องจากหนึ่งในผู้ซื้อนั้นทำงานให้กับ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos)” ประธานาธิบดีเผด็จการแห่งฟิลิปปินส์ในเวลานั้น
สองเดือนหลังโรซัสค้นพบสมบัติ ทหารก็ได้มาล้อมบ้านโรซัส โดยกระบอกปืนทุกกระบอกจะมีริบบิ้นสีแดงพันไว้อยู่ เป็นสัญลักษณ์ว่านี่คือกองทัพของประธานาธิบดี และหากโรซัสต่อต้าน สิ่งที่จะได้รับก็คือความตาย
ไม่กี่วันหลังจากนั้น โรซัสก็ได้ไปแจ้งความแก่ทางการ หากแต่ทางการก็ไม่ยอมช่วยเหลือ เนื่องจากในเวลานั้นประธานาธิบดีมาร์กอสนั้นควบคุมทุกอย่างในประเทศ ทำให้มาร์กอสต้องหันหน้าไปหาสื่อ
เรื่องราวของมาร์กอสได้ถูกตีพิมพ์บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ก็ได้นำเสนอเรื่องนี้ด้วย หากแต่ฝ่ายมาร์กอสก็ตอบโต้โดยอ้างว่าโรซัสเป็นคนของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่มาดิสเครดิตตน
18 พฤษภาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) โรซัสได้ถูกชายสามคนซึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้าปกติจับกุม และผู้ที่จับกุมก็ได้บอกกับโรซัสว่าจะนำเขาไปพบกับประธานาธิบดีมาร์กอสเพื่อเจรจา และผู้ที่จับกุมก็ขอให้โรซัสยอมรับว่าข้อกล่าวหาทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องโกหก เขาถูกพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามจ้างมา และยังถามถึงสถานที่ซุกซ่อนทองคำของกองทัพญี่ปุ่นอีกด้วย
โรซัสปฏิเสธ ซึ่งเขาก็ถูกทรมานอย่างหนักจนต้องยอม ก่อนจะได้พบกับครอบครัวและถูกนำกลับไปขัง
โรซัสถูกทรมานซ้ำเพื่อให้เผยที่ซ่อนสมบัติ หากแต่โรซัสก็ปฏิเสธ และในวันหนึ่ง โอกาสหนีของโรซัสก็มาถึง
วันหนึ่ง โรซัสถูกปล่อยไว้ในห้องขังเพียงลำพัง มีเพียงเวรยามเฝ้าหน้าประตู หากแต่คนของประธานาธิบดีมาร์กอสลืมเรื่องสำคัญไปเรื่องหนึ่ง
โรซัสเป็นช่างทำกุญแจ
โรซัสได้หนีไปทางหน้าต่างในห้องน้ำ และค่อยๆ ไต่ลงมาจากหลังคา ก่อนจะไปพบครอบครัวและหนีไปยังที่ห่างไกลในฟิลิปปินส์ และต้องหลบซ่อนตัวเป็นเวลากว่า 10 ปี
ประธานาธิบดีมาร์กอสถูกโค่นอำนาจในปีค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ทำให้เขาต้องหนีไปฮาวาย และเสียชีวิตในปีค.ศ.1989 (พ.ศ.2532)
หลังจากประธานาธิบดีมาร์กอสสิ้นอำนาจ ก็มีการเปิดเผยว่าทรัพย์สินของมาร์กอสนั้นมีมากกว่าคลังสมบัติชาติฟิลิปปินส์ซะอีก และ “อีเมลดา มาร์กอส (Imelda Marcos)” ภรรยาของประธานาธิบดีมาร์กอส ก็ได้ยอมรับว่าทรัพย์สินส่วนมากนั้นมาจากคลังสมบัติของกองทัพญี่ปุ่น
โรซัสได้ยื่นฟ้องมาร์กอส โดยฟ้องตามมูลค่าพระพุทธรูปทองคำและทองคำแท่งที่ทหารยึดไปจากตน แต่ก่อนคดีจะสิ้นสุด โรซัสก็ได้เสียชีวิตไปก่อน
แต่โชคดีที่จากพยานหลักฐานต่างๆ ทำให้คณะลูกขุนเข้าข้างโรซัส และตัดสินให้โรซัสได้รับการชดใช้เป็นเงินจำนวน 22,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 720,000 ล้านบาท) ซึ่งในเวลานั้น นี่เป็นจำนวนเงินค่าเสียหายที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
หากแต่ด้วยกระบวนการทางศาล ทำให้ค่าชดใช้นั้นลดลงมาเรื่อยๆ และจนถึงทุกวันนี้ อีเมลดาและครอบครัวก็จ่ายเงินชดใช้เพียงแค่ 1.4 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 50 ล้านบาท) เท่านั้น
และนี่ก็คือเรื่องราวของสมบัติที่นำพาหายนะและความวุ่นวายมาสู่ผู้ครอบครอง
-----
#siamstr