Jakk Goodday on Nostr: ## **ช๊อตโน๊ต ...
## **ช๊อตโน๊ต รีบอ่านก่อนเข้าคลาสพี่ Wichit Saiklao (nprofile…jvsz) เย็นนี้
> * "Humanity's symphony of progress is orchestrated by the tireless conductor of labor, wielding the instruments of capital and technology, fueled by the boundless energy of innovation."*
## **แรงงาน (Labor)**
ชีวิตเรามีแค่วันละ 24 ชม. แล้วเราเอาเวลาที่แสนมีค่าเหล่านี้ไปทำอะไรกันบ้าง?
เวลาถูกแบ่งออกเป็น 2 อย่างง่ายๆ ตามมุมมองของสำนักออสเตรียน
**Leisure** (เวลาว่าง) คือเวลาที่เราเอาไปทำอะไรก็ได้ที่มันฟิน เล่นเกม ดูซีรีย์ กินย่างเนื้อ ไปเที่ยวทะเล อะไรก็ได้ที่มันแฮปปี้ เป็นเวลาที่เราใช้ไปเพื่อตัวเอง โดยไม่ต้องสนใจผลลัพธ์อะไรทั้งนั้น
**Labor** (แรงงาน) คือเวลาที่เราเอาไปทำงาน ซึ่งแน่นอน.. ส่วนใหญ่แม่มไม่ค่อยสนุกหรอก แต่เราต้องทำ เพราะมันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการในอนาคต เช่น เงินเดือน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ฯลฯ
แรงงานมันคือการเสียสละความสุขในปัจจุบัน เพื่อแลกกับผลตอบแทนในอนาคต
แรงงานคือพลังแห่งการสร้างสรรค์ที่สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้อย่างแท้จริง
เราลองนึกภาพโลกที่ไม่มีแรงงานกันดูสิ..
ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีมือถือ ไม่มีเสื้อผ้าสวย ๆ ไม่มีอาหารอร่อย ๆ ไม่มี Netflix ไม่มี Nostr ไม่มีอะไรเลย
ทุกอย่างที่เราเห็น ทุกอย่างที่เราใช้ ล้วนเกิดจาก "แรงงาน" ของใครสักคนทั้งนั้น
ยิ่งผลผลิตของแรงงานสูง เราก็ยิ่งรวย แลมีความสุขกันมากขึ้น เพราะเราสามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้น ในเวลาที่น้อยลง
แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้ผลผลิตของแรงงานเพิ่มขึ้น?
**ทุน** (Capital) เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี ที่ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
**เทคโนโลยี** (Technology) ความรู้ นวัตกรรม ที่ช่วยให้เราทำงานได้ฉลาดขึ้น และ แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
**การแบ่งงานกันทำ** (Division of Labor) การที่แต่ละคนเชี่ยวชาญ"ในงานที่ตัวเองถนัด แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน ทำให้ทุกคนต่างได้ประโยชน์
เหล่านี้คือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตของงานเพิ่มขึ้น และทำให้ทุกคนในสังคมอยู่ดีกินดีมากขึ้น
ส่วน “การว่างงาน” สำนักออสเตรียนมองว่าที่มันเกิดขึ้น มันไม่ใช่ความผิดของตลาดเสรีหรอก แต่มันเป็นผลมาจาก "การแทรกแซง" ของรัฐบาลต่างหาก เช่น การพิมพ์เงิน การออกกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ ฯลฯ
ในตลาดเสรี ทุกคนมีอิสระที่จะทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ และเรียกร้องค่าจ้างที่ตัวเองต้องการได้ ถ้าคุณไม่พอใจกับค่าจ้าง คุณก็ลาออกไปหางานใหม่ได้ หรือออกไปเป็นนายตัวเองก็ได้
ตลาดเสรีมัน "แฟร์" กว่าที่เราคิด เพราะมันให้ "โอกาส" กับทุกคน
และหลายคนก็ชอบด่า "นายทุน" ว่ามักจะ "เอารัดเอาเปรียบ" แรงงาน แต่สำนักออสเตรียนเค้าอธิบายว่านายทุนไม่ได้ขูดรีดแรงงา หรอก แต่มันเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยุติธรรมต่างหากล่ะ นายทุนเค้าลงทุนเงินเพื่อสร้างธุรกิจและจ้างงาน เพื่อผลิตสินค้าและบริการ เพื่อขายให้กับผู้บริโภค
ถ้าธุรกิจกำไรนายทุนก็ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน และแรงงานก็ได้ค่าจ้างจากการทำงาน
ถ้าธุรกิจขาดทุนนายทุนก็เสียเงินและแรงงานก็ตกงาน.. มันเป็นเกมที่มี "กฎ" ชัดเจน และ "แฟร์" กับทุกฝ่าย
"แรงงานของมนุษย์” มันมีคุณค่าที่ไม่สิ้นสุด เพราะมนุษย์เรามี "ความคิดสร้างสรรค์" และ "ความสามารถในการปรับตัว" ที่เหนือกว่าหุ่นยนต์ หุ่นยนต์มันทำได้แค่งานซ้ำ ๆ แต่มนุษย์เราสามารถ "คิดค้น" และ "สร้างสรรค์" สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา
สำหรับสำนักออสเตรียน.. แรงงานมันไม่ใช่แค่ "งานหนัก" หรือ "ภาระ" แต่มันคือโอกาส ในการสร้างสรรค์ และพัฒนาตัวเองและสังคม
## **ทุน (Capital)**
> *"Capital is the bridge between present sacrifice and future abundance, a testament to the power of foresight and delayed gratification."*
“ทุน” มันไม่ใช่แค่เงินอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่มันคือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ที่เราใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน ที่ดิน วัตถุดิบ ฯลฯ
ทุน มันคืออาวุธลับที่ช่วยทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราก็จะรวยขึ้นนั่นเอง..
ลองนึกภาพถึงชาวประมงคนนึงที่อยากจะจับปลาให้ได้เยอะๆ
ถ้าเค้าจับปลาด้วยมือเปล่า เค้าก็จะจับได้แค่ไม่กี่ตัว..
แต่ถ้าเค้ามีเบ็ดตกปลา เค้าก็จะจับได้มากขึ้น
ถ้าเค้ามีเรือ เค้าก็จะออกไปจับปลาในทะเลได้ ซึ่งมีปลาเยอะกว่าในแม่น้ำ..
ถ้าเค้ามีเรือประมงขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ไฮเทค เค้าก็จะจับปลาได้มหาศาล
เห็นไหมว่า.. ยิ่งมีทุนมาก เราก็ยิ่งผลิตได้มาก และ รวยมากขึ้น
แต่ทว่า.. ทุนมันไม่ได้หล่นมาจากฟ้านะครับ มันต้องสร้างขึ้นมา
ซึ่งการสร้างทุนมันต้องใช้ "เวลา" และ "ความพยายาม"
กลับไปที่ชาวประมงคนเดิม..
ก่อนที่เค้าจะมีเบ็ดตกปลา เค้าต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการหาไม้มาเหลาเพื่อทำเบ็ด
ก่อนที่เค้าจะมีเรือ เค้าต้องใช้เวลาหลายวันในการตัดไม้มาต่อทำเรือ
ก่อนที่เค้าจะมีเรือประมงขนาดใหญ่ เค้าต้องใช้เวลาหลายปี ในการออกแบบ สร้าง และรวบรวมเงินทุน
การสร้างทุนมันยาก และใช้เวลานาน แต่มันก็ "คุ้มค่าในระยะยาว” เพราะมันจะทำให้เรารวยและสบายในอนาคต
คำตอบง่ายๆ ในการสร้างทุนก็คือ “การออม”
การออม มันคือการเสียสละความสุขจากการบริโภคในปัจจุบัน เพื่อเก็บเงินไว้ลงทุนในอนาคต..
เรายังอยู่กับชาวประมงคนนั้น..
ถ้าเค้ากินปลาทั้งหมดที่จับได้ เค้าก็จะไม่มีเงินเหลือเก็บ
แต่ถ้าเค้าขายปลาบางส่วน และเก็บเงินเอาไว้ เค้าก็จะมีเงินทุนในการสร้างเบ็ด สร้างเรือ หรือลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ
การออมจึงเป็นก้าวแรกสู่ความร่ำรวย..
ระบบที่นิยมในทุน ถูกเรียกว่าทุนนิยม และมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะมันคือระบบที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสที่จะรวยและมีความสุข มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตตามแบบฉบับของตัวเอง
ในโลกที่ไม่มีทุนนิยม ทุกคนอาจก้าวไปสู่ความอดอยาก ยากจน เพราะไม่มีใครกล้าลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจและจ้างงานใดๆ
ทุน จึงเป็นเพื่อน ไม่ใช่ศัตรู..
## **เทคโนโลยี (Technology)**
> *"Technology is the extension of human ingenuity, a force multiplier that amplifies our abilities and expands the horizons of possibility."*
คำว่า “เทคโนโลยี” ไม่ได้หมายความแค่ว่า Gadget หรือ เครื่องจักร แบบตรงไปตรงมาแบบนั้น มันหมายรวมถึงความรู้ วิธีการ และกระบวนการที่เราใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วย
มันช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต่างอะไรกับเวทมนตร์
ในโลกที่ไม่มีเทคโนโลยี..
เราคงต้อง "เดินเท้า" ไปไหนมาไหน
เราต้อง "เขียนจดหมาย" ส่งหากัน
เราต้อง "จุดตะเกียง" ส่องสว่าง
เราต้อง "ใช้แรงงานคน" ทำทุกอย่าง
มันคลาสสิกนะ แต่ก็โคตรลำบาก
แต่เรามี "รถยนต์" "รถไฟ" "เครื่องบิน"
เรามี "โทรศัพท์" "อินเทอร์เน็ต" "โซเชียลมีเดีย"
เรามี "ไฟฟ้า" "เครื่องใช้ไฟฟ้า"
เรามี "หุ่นยนต์" ช่วยทำงาน (มียันเอไอ)
ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าชีวิตเราก็ยิ่งจะสะดวกสบายมากขึ้น (เอาจริงๆ สินค้าก็ควรจะถูกลงด้วย)
สำนักออสเตรียนบอกว่า.. เทคโนโลยีมันไม่ได้เข้ามาทำลายงาน แต่มันเปลี่ยนแปลงลักษณะของงานต่างหาก
สมัยก่อน คนต้องทำงานในไร่นากันทั้งวัน
พอมีรถไถเข้ามา คนก็ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนเดิมอีกต่อไป
แต่คนก็ไม่ได้ตกงาน..
คนก็ไปทำงานอย่างอื่นแทน เช่น เป็น ช่างซ่อมรถไถ หรือไปทำงานในโรงงานที่ผลิตรถไถ
เทคโนโลยีมันไม่ได้ "แย่งงาน" แต่มัน "สร้างงาน" ใหม่ ๆ ขึ้นมา
สมัยก่อน ความรู้มันถูกผูกขาดโดยกลุ่มคนรวย และชนชั้นสูง แต่เทคโนโลยีการพิมพ์ก็ทำให้ทุกคนเข้าถึงความรู้ได้
พอทุกคนมีความรู้ เราก็ยิ่งคิดค้น และ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
ยิ่งเทคโนโลยีแพร่หลาย พวกเราก็ยิ่งก้าวหน้ามากขึ้น
ดังนั้น.. จง "เปิดรับ" เทคโนโลยี และ "เรียนรู้" ที่จะใช้มันให้เกิดประโยชน์
## **พลังงาน (Energy)**
> *"Energy is the lifeblood of civilization, the animating force that fuels progress and empowers us to transcend the limitations of our physical existence."*
“พลังงาน” มันไม่ใช่แค่น้ำมันหรือไฟฟ้าที่เราใช้ แต่มันคือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ที่ทำให้สิ่งของเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงได้
คุณยกของได้ เพราะคุณมีพลังงานในร่างกาย
รถยนต์วิ่งได้ เพราะมีพลังงานจากน้ำมัน
โทรศัพท์ทำงานได้ เพราะมีพลังงานจากแบตเตอรี่
พลังงาน มันอยู่รอบตัวเรา..
ยิ่งเรามีพลังงานมาก เราก็ยิ่งทำอะไร ๆ ได้มากขึ้น
สมัยก่อน เราต้องใช้แรงงานคนหรือสัตว์ในการขนส่งสินค้า ซึ่งโคตรเหนื่อย ใช้เวลานาน แถมยังขนส่งได้ทีละนิดเดียวเท่านั้น
แต่พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมันทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป..
เรามีรถบรรทุก รถไฟ เครื่องบิน ที่ขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมหาศาล รวดเร็ว และทั่วโลก..
พลังงาน มันทำให้เศรษฐกิจเติบโต และทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเยอะ
สำนักออสเตรียนบอกว่า.. พลังงานบนโลกเรามันมีอยู่เหลือเฟือ
พลังงานแสงอาทิตย์ ส่องมาที่โลกทุกวัน
พลังงานลม ก็พัดอยู่ตลอดเวลา
พลังงานน้ำ ไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
เชื้อเพลิงฟอสซิล มีอยู่ใต้ดิน
พลังงานนิวเคลียร์ ก็มีศักยภาพสูง
เราไม่ต้องกลัวพลังงานหมด แต่เราต้องฉลาดในการใช้มัน
ปัญหาของพลังงานมันไม่ได้อยู่ที่ "ปริมาณ" แต่มันอยู่ที่ "วิธีคิด" ของเราต่างหาก
ถ้าเรายึดติดกับวิธีการเดิม ๆ เราก็จะติดกับดักพลังงาน แต่ถ้าเราเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราก็จะปลดล็อคศักยภาพของพลังงานได้
ถ้าเราขาดแคลนพลังงาน เราก็ต้องพึ่งพาคนอื่น
แต่ถ้าเรามีพลังงานเหลือเฟือ เราก็เลือกที่จะทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ
พลังงาน มันทำให้เรา "เป็นนายตัวเอง" ได้
#siamstr #jakkstr #principlesofeconomic
> * "Humanity's symphony of progress is orchestrated by the tireless conductor of labor, wielding the instruments of capital and technology, fueled by the boundless energy of innovation."*
## **แรงงาน (Labor)**
ชีวิตเรามีแค่วันละ 24 ชม. แล้วเราเอาเวลาที่แสนมีค่าเหล่านี้ไปทำอะไรกันบ้าง?
เวลาถูกแบ่งออกเป็น 2 อย่างง่ายๆ ตามมุมมองของสำนักออสเตรียน
**Leisure** (เวลาว่าง) คือเวลาที่เราเอาไปทำอะไรก็ได้ที่มันฟิน เล่นเกม ดูซีรีย์ กินย่างเนื้อ ไปเที่ยวทะเล อะไรก็ได้ที่มันแฮปปี้ เป็นเวลาที่เราใช้ไปเพื่อตัวเอง โดยไม่ต้องสนใจผลลัพธ์อะไรทั้งนั้น
**Labor** (แรงงาน) คือเวลาที่เราเอาไปทำงาน ซึ่งแน่นอน.. ส่วนใหญ่แม่มไม่ค่อยสนุกหรอก แต่เราต้องทำ เพราะมันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการในอนาคต เช่น เงินเดือน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ฯลฯ
แรงงานมันคือการเสียสละความสุขในปัจจุบัน เพื่อแลกกับผลตอบแทนในอนาคต
แรงงานคือพลังแห่งการสร้างสรรค์ที่สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้อย่างแท้จริง
เราลองนึกภาพโลกที่ไม่มีแรงงานกันดูสิ..
ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีมือถือ ไม่มีเสื้อผ้าสวย ๆ ไม่มีอาหารอร่อย ๆ ไม่มี Netflix ไม่มี Nostr ไม่มีอะไรเลย
ทุกอย่างที่เราเห็น ทุกอย่างที่เราใช้ ล้วนเกิดจาก "แรงงาน" ของใครสักคนทั้งนั้น
ยิ่งผลผลิตของแรงงานสูง เราก็ยิ่งรวย แลมีความสุขกันมากขึ้น เพราะเราสามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้น ในเวลาที่น้อยลง
แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้ผลผลิตของแรงงานเพิ่มขึ้น?
**ทุน** (Capital) เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี ที่ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
**เทคโนโลยี** (Technology) ความรู้ นวัตกรรม ที่ช่วยให้เราทำงานได้ฉลาดขึ้น และ แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
**การแบ่งงานกันทำ** (Division of Labor) การที่แต่ละคนเชี่ยวชาญ"ในงานที่ตัวเองถนัด แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน ทำให้ทุกคนต่างได้ประโยชน์
เหล่านี้คือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตของงานเพิ่มขึ้น และทำให้ทุกคนในสังคมอยู่ดีกินดีมากขึ้น
ส่วน “การว่างงาน” สำนักออสเตรียนมองว่าที่มันเกิดขึ้น มันไม่ใช่ความผิดของตลาดเสรีหรอก แต่มันเป็นผลมาจาก "การแทรกแซง" ของรัฐบาลต่างหาก เช่น การพิมพ์เงิน การออกกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ ฯลฯ
ในตลาดเสรี ทุกคนมีอิสระที่จะทำงานหรือไม่ทำงานก็ได้ และเรียกร้องค่าจ้างที่ตัวเองต้องการได้ ถ้าคุณไม่พอใจกับค่าจ้าง คุณก็ลาออกไปหางานใหม่ได้ หรือออกไปเป็นนายตัวเองก็ได้
ตลาดเสรีมัน "แฟร์" กว่าที่เราคิด เพราะมันให้ "โอกาส" กับทุกคน
และหลายคนก็ชอบด่า "นายทุน" ว่ามักจะ "เอารัดเอาเปรียบ" แรงงาน แต่สำนักออสเตรียนเค้าอธิบายว่านายทุนไม่ได้ขูดรีดแรงงา หรอก แต่มันเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยุติธรรมต่างหากล่ะ นายทุนเค้าลงทุนเงินเพื่อสร้างธุรกิจและจ้างงาน เพื่อผลิตสินค้าและบริการ เพื่อขายให้กับผู้บริโภค
ถ้าธุรกิจกำไรนายทุนก็ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน และแรงงานก็ได้ค่าจ้างจากการทำงาน
ถ้าธุรกิจขาดทุนนายทุนก็เสียเงินและแรงงานก็ตกงาน.. มันเป็นเกมที่มี "กฎ" ชัดเจน และ "แฟร์" กับทุกฝ่าย
"แรงงานของมนุษย์” มันมีคุณค่าที่ไม่สิ้นสุด เพราะมนุษย์เรามี "ความคิดสร้างสรรค์" และ "ความสามารถในการปรับตัว" ที่เหนือกว่าหุ่นยนต์ หุ่นยนต์มันทำได้แค่งานซ้ำ ๆ แต่มนุษย์เราสามารถ "คิดค้น" และ "สร้างสรรค์" สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา
สำหรับสำนักออสเตรียน.. แรงงานมันไม่ใช่แค่ "งานหนัก" หรือ "ภาระ" แต่มันคือโอกาส ในการสร้างสรรค์ และพัฒนาตัวเองและสังคม
## **ทุน (Capital)**
> *"Capital is the bridge between present sacrifice and future abundance, a testament to the power of foresight and delayed gratification."*
“ทุน” มันไม่ใช่แค่เงินอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่มันคือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ที่เราใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน ที่ดิน วัตถุดิบ ฯลฯ
ทุน มันคืออาวุธลับที่ช่วยทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราก็จะรวยขึ้นนั่นเอง..
ลองนึกภาพถึงชาวประมงคนนึงที่อยากจะจับปลาให้ได้เยอะๆ
ถ้าเค้าจับปลาด้วยมือเปล่า เค้าก็จะจับได้แค่ไม่กี่ตัว..
แต่ถ้าเค้ามีเบ็ดตกปลา เค้าก็จะจับได้มากขึ้น
ถ้าเค้ามีเรือ เค้าก็จะออกไปจับปลาในทะเลได้ ซึ่งมีปลาเยอะกว่าในแม่น้ำ..
ถ้าเค้ามีเรือประมงขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ไฮเทค เค้าก็จะจับปลาได้มหาศาล
เห็นไหมว่า.. ยิ่งมีทุนมาก เราก็ยิ่งผลิตได้มาก และ รวยมากขึ้น
แต่ทว่า.. ทุนมันไม่ได้หล่นมาจากฟ้านะครับ มันต้องสร้างขึ้นมา
ซึ่งการสร้างทุนมันต้องใช้ "เวลา" และ "ความพยายาม"
กลับไปที่ชาวประมงคนเดิม..
ก่อนที่เค้าจะมีเบ็ดตกปลา เค้าต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการหาไม้มาเหลาเพื่อทำเบ็ด
ก่อนที่เค้าจะมีเรือ เค้าต้องใช้เวลาหลายวันในการตัดไม้มาต่อทำเรือ
ก่อนที่เค้าจะมีเรือประมงขนาดใหญ่ เค้าต้องใช้เวลาหลายปี ในการออกแบบ สร้าง และรวบรวมเงินทุน
การสร้างทุนมันยาก และใช้เวลานาน แต่มันก็ "คุ้มค่าในระยะยาว” เพราะมันจะทำให้เรารวยและสบายในอนาคต
คำตอบง่ายๆ ในการสร้างทุนก็คือ “การออม”
การออม มันคือการเสียสละความสุขจากการบริโภคในปัจจุบัน เพื่อเก็บเงินไว้ลงทุนในอนาคต..
เรายังอยู่กับชาวประมงคนนั้น..
ถ้าเค้ากินปลาทั้งหมดที่จับได้ เค้าก็จะไม่มีเงินเหลือเก็บ
แต่ถ้าเค้าขายปลาบางส่วน และเก็บเงินเอาไว้ เค้าก็จะมีเงินทุนในการสร้างเบ็ด สร้างเรือ หรือลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ
การออมจึงเป็นก้าวแรกสู่ความร่ำรวย..
ระบบที่นิยมในทุน ถูกเรียกว่าทุนนิยม และมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะมันคือระบบที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสที่จะรวยและมีความสุข มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตตามแบบฉบับของตัวเอง
ในโลกที่ไม่มีทุนนิยม ทุกคนอาจก้าวไปสู่ความอดอยาก ยากจน เพราะไม่มีใครกล้าลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจและจ้างงานใดๆ
ทุน จึงเป็นเพื่อน ไม่ใช่ศัตรู..
## **เทคโนโลยี (Technology)**
> *"Technology is the extension of human ingenuity, a force multiplier that amplifies our abilities and expands the horizons of possibility."*
คำว่า “เทคโนโลยี” ไม่ได้หมายความแค่ว่า Gadget หรือ เครื่องจักร แบบตรงไปตรงมาแบบนั้น มันหมายรวมถึงความรู้ วิธีการ และกระบวนการที่เราใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วย
มันช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต่างอะไรกับเวทมนตร์
ในโลกที่ไม่มีเทคโนโลยี..
เราคงต้อง "เดินเท้า" ไปไหนมาไหน
เราต้อง "เขียนจดหมาย" ส่งหากัน
เราต้อง "จุดตะเกียง" ส่องสว่าง
เราต้อง "ใช้แรงงานคน" ทำทุกอย่าง
มันคลาสสิกนะ แต่ก็โคตรลำบาก
แต่เรามี "รถยนต์" "รถไฟ" "เครื่องบิน"
เรามี "โทรศัพท์" "อินเทอร์เน็ต" "โซเชียลมีเดีย"
เรามี "ไฟฟ้า" "เครื่องใช้ไฟฟ้า"
เรามี "หุ่นยนต์" ช่วยทำงาน (มียันเอไอ)
ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าชีวิตเราก็ยิ่งจะสะดวกสบายมากขึ้น (เอาจริงๆ สินค้าก็ควรจะถูกลงด้วย)
สำนักออสเตรียนบอกว่า.. เทคโนโลยีมันไม่ได้เข้ามาทำลายงาน แต่มันเปลี่ยนแปลงลักษณะของงานต่างหาก
สมัยก่อน คนต้องทำงานในไร่นากันทั้งวัน
พอมีรถไถเข้ามา คนก็ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนเดิมอีกต่อไป
แต่คนก็ไม่ได้ตกงาน..
คนก็ไปทำงานอย่างอื่นแทน เช่น เป็น ช่างซ่อมรถไถ หรือไปทำงานในโรงงานที่ผลิตรถไถ
เทคโนโลยีมันไม่ได้ "แย่งงาน" แต่มัน "สร้างงาน" ใหม่ ๆ ขึ้นมา
สมัยก่อน ความรู้มันถูกผูกขาดโดยกลุ่มคนรวย และชนชั้นสูง แต่เทคโนโลยีการพิมพ์ก็ทำให้ทุกคนเข้าถึงความรู้ได้
พอทุกคนมีความรู้ เราก็ยิ่งคิดค้น และ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
ยิ่งเทคโนโลยีแพร่หลาย พวกเราก็ยิ่งก้าวหน้ามากขึ้น
ดังนั้น.. จง "เปิดรับ" เทคโนโลยี และ "เรียนรู้" ที่จะใช้มันให้เกิดประโยชน์
## **พลังงาน (Energy)**
> *"Energy is the lifeblood of civilization, the animating force that fuels progress and empowers us to transcend the limitations of our physical existence."*
“พลังงาน” มันไม่ใช่แค่น้ำมันหรือไฟฟ้าที่เราใช้ แต่มันคือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ที่ทำให้สิ่งของเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงได้
คุณยกของได้ เพราะคุณมีพลังงานในร่างกาย
รถยนต์วิ่งได้ เพราะมีพลังงานจากน้ำมัน
โทรศัพท์ทำงานได้ เพราะมีพลังงานจากแบตเตอรี่
พลังงาน มันอยู่รอบตัวเรา..
ยิ่งเรามีพลังงานมาก เราก็ยิ่งทำอะไร ๆ ได้มากขึ้น
สมัยก่อน เราต้องใช้แรงงานคนหรือสัตว์ในการขนส่งสินค้า ซึ่งโคตรเหนื่อย ใช้เวลานาน แถมยังขนส่งได้ทีละนิดเดียวเท่านั้น
แต่พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมันทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป..
เรามีรถบรรทุก รถไฟ เครื่องบิน ที่ขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมหาศาล รวดเร็ว และทั่วโลก..
พลังงาน มันทำให้เศรษฐกิจเติบโต และทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเยอะ
สำนักออสเตรียนบอกว่า.. พลังงานบนโลกเรามันมีอยู่เหลือเฟือ
พลังงานแสงอาทิตย์ ส่องมาที่โลกทุกวัน
พลังงานลม ก็พัดอยู่ตลอดเวลา
พลังงานน้ำ ไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
เชื้อเพลิงฟอสซิล มีอยู่ใต้ดิน
พลังงานนิวเคลียร์ ก็มีศักยภาพสูง
เราไม่ต้องกลัวพลังงานหมด แต่เราต้องฉลาดในการใช้มัน
ปัญหาของพลังงานมันไม่ได้อยู่ที่ "ปริมาณ" แต่มันอยู่ที่ "วิธีคิด" ของเราต่างหาก
ถ้าเรายึดติดกับวิธีการเดิม ๆ เราก็จะติดกับดักพลังงาน แต่ถ้าเราเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราก็จะปลดล็อคศักยภาพของพลังงานได้
ถ้าเราขาดแคลนพลังงาน เราก็ต้องพึ่งพาคนอื่น
แต่ถ้าเรามีพลังงานเหลือเฟือ เราก็เลือกที่จะทำอะไรก็ได้ที่เราต้องการ
พลังงาน มันทำให้เรา "เป็นนายตัวเอง" ได้
#siamstr #jakkstr #principlesofeconomic