market210 on Nostr: ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ...
ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ในเกาหลีใต้และปัญหาผีน้อยและปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเกี่ยวข้องกันหรือไม่
เกาหลีใต้ช่วงเวลาทศวรรษปี 1970 ถึง 1980 เป็นช่วงเวลาที่เกาหลีใต้มีกำลังการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กสำหรับการผลิตเหล็กกล้า เพื่อใช้ในการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่แบรนด์รถยนต์อย่าง Hyundai และ KIA ได้เริ่มผลิตรถยนต์คันแรกสำหรับวางขายในช่วงเวลาดังกล่าว อุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดเด่นในช่วงเวลานั้นยังคงมีอุตสาหกรรมภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ภายใต้แบรนด์ samsung และ Goldstar (ที่ต่อมาคือ LG)
แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นมาจากการทำงาน(work) เพื่อให้เกิดมูลค่า(value) และการสร้างมูลค่าจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก
สหภาพแรงงานที่มีการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1945 จึงเริ่มกลับมามีอำนาจต่อรองที่มากขึ้นหลังจากการมีการลุกฮือของขบวนการประชาธิปไตยหลังล้มรัฐบาลเผด็จการทหารลงได้ในปี 1987 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมทำตามนโยบายที่ฟังเสียงของคนกลุ่มใหญ่มากกว่าฟังความต้องการทางเศรษฐกิจ
ปี 1988 มีการแทรกแซงกลไกราคาของตลาดแรงงานโดยใช้นโยบายจากทางภาครัฐ จนไปถึงทำให้เป็นกฎหมาย ส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิต(ต้นทุนค่าแรง)ที่ถูกบังคับให้สูงขึ้น โดยสินค้าที่มาจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ในขณะนั้น ได้ถูกบีบให้มองหาถิ่นฐานในการขยายโรงงานการผลิตใหม่ โดยมองหาประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าประเทศต้นกำเนิดเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้า เพื่อให้ราคาขายสินค้า ยังคงสู้กับแบรนด์อื่นๆในตลาดโลกได้ การหันหลังหนีของแบรนด์สินค้าและโรงงานผู้ผลิตสินค้าจากแรงงานในประเทศตัวเองที่เป็นทั้งฐานเสียงของรัฐบาล เป็นทั้งคะแนนโหวตและเป็นผู้ต้องการกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (minimum wage law) กลับเป็นผู้ที่ทำให้มีอัตราว่างงานในประเทศเพิ่มมากขึ้นเสียเอง
นำพามาถึงปัญหาการนำเข้าแรงงานผิดกฎหมาย(ผีน้อย)
ซึ่งพวกเขา เข้ามาตอบสนองต่อความต้องการแรงงานของตลาดโดยเฉพาะอุตสหกรรมที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก อย่างภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง การผลิต จะเห็นได้ว่า ผีน้อย ไม่ใช่ตัวปัญหาในสายตาผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการแรงงาน แต่เป็นผลพวงจากตลาดเสรีที่ต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อเอาตัวรอดในประเทศ ไม่ต่างอะไรกับการที่แบรนด์หลายแบรนด์ย้ายฐานการผลิตออกจากเกาหลีใต้
ชาวเกาหลีใต้บางส่วนที่เป็นผู้ขายแรงงาน(ไม่ใช่ผู้ประกอบการ)มองว่าแรงงานเหล่านี้ทั้งที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเข้ามาแย่งงานชาวเกาหลีใต้ทำ รวมไปถึงการที่แรงงานเหล่านี้สามารถยอมรับค่าแรงที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด(ตามกฎหมาย minimum wage law) ได้บ้างเป็นการเอาเปรียบพวกเขา แต่การที่แรงงานเหล่านี้ถูกเลือกเข้าไปทำงานนั้น ประกอบไปด้วยเหตุผลเล็กน้อยที่เข้าใจง่ายไม่กี่ประการ หากมองจากมุมมองของผู้ว่าจ้าง
1.ต้นทุนถูก
2.พวกเขาอยากได้งาน
การนำเข้าแรงงานต่างชาติที่(ถูกทำให้ผิดกฎหมาย)เข้ามาทำงาน จะอยู่นอกสายตาของรัฐ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถมี Free contract (สัญญาจ้างเสรี) ที่ผู้ว่าจ้างยินยอมพร้อมใจและเข้าใจไปพร้อมกับลูกจ้างถึงเงื่อนการทำงาน ลักษณะงาน ระยะเวลาในการทำงาน ผลตอบแทน ที่ยินยอมพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อ Free contract ไม่สามารถเกิดขึ้นปัญหาการละเมิดชีวิตความเป็นส่วนตัวของลูกจ้างจึงเกิดตามมา ในบางกรณีนำไปถึงการทำร้ายร่างกาย จนถึงขั้นเสียชีวิต
รัฐแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายเพื่อตอบสนองทั้งกระแสสังคม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแบบ รัฐๆ คือการทำให้ประเทศที่รัฐดูแลมีความน่าเยี่ยมเยือนลดน้อยลง โดยการเพิ่มเงื่อนไขจุกจิกมากมายเพื่อป้องกันการเข้าไปเป็นแรงงานผิดกฎหมายซึ่งคนที่เป็นเหยื่อในการใช้อำนาจรัฐในครั้งนี้ กลับเป็นนักท่องเที่ยวที่ถูกส่งตัวกลับเสียมากกว่า การที่นักท่องเที่ยวถูกส่งตัวกลับเป็นจำนวนมาก แต่ลูกทัวร์หายตัวจากกรุ๊ปทัวร์ไปเกินครึ่ง เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักสำหรับนักท่องเที่ยว เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ขาดแคลนลูกค้าต่างชาติจำนวนมากแทน
ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ที่สามารถจับพิรุธคนที่ตั้งใจเข้าเมืองมาเป็น ผีน้อย ในช่วงปีแรกที่มีกระแสปราบปรามแรงงานผิดกฎหมายได้อย่างแม่นยำ กลับไม่สามารถมองเห็นว่าใครเป็นนักท่องเที่ยวจริงๆได้ในช่วงเวลาปัจจุบันที่เกิดกระแส #แบนเที่ยวเกาหลี แต่ปัญหากรุ๊ปทัวร์ที่นั่งว่างยังคงเกิดขึ้น สำหรับรัฐบาลเกาหลีใต้ย่อมต้องรู้ดีถึงวัฐจักรเศรษฐกิจภายในประเทศ ความต้องการแรงงานผิดกฎหมายในแต่ละช่วงเวลาของปีที่ต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของภาคเกษตรกรรม อาจเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอาจจะผ่อนปรนมาตรการบ้างอย่างก็เป็นได้
#siamstr
เกาหลีใต้ช่วงเวลาทศวรรษปี 1970 ถึง 1980 เป็นช่วงเวลาที่เกาหลีใต้มีกำลังการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กสำหรับการผลิตเหล็กกล้า เพื่อใช้ในการต่อเรือขนาดใหญ่เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่แบรนด์รถยนต์อย่าง Hyundai และ KIA ได้เริ่มผลิตรถยนต์คันแรกสำหรับวางขายในช่วงเวลาดังกล่าว อุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดเด่นในช่วงเวลานั้นยังคงมีอุตสาหกรรมภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ภายใต้แบรนด์ samsung และ Goldstar (ที่ต่อมาคือ LG)
แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นมาจากการทำงาน(work) เพื่อให้เกิดมูลค่า(value) และการสร้างมูลค่าจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก
สหภาพแรงงานที่มีการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1945 จึงเริ่มกลับมามีอำนาจต่อรองที่มากขึ้นหลังจากการมีการลุกฮือของขบวนการประชาธิปไตยหลังล้มรัฐบาลเผด็จการทหารลงได้ในปี 1987 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมทำตามนโยบายที่ฟังเสียงของคนกลุ่มใหญ่มากกว่าฟังความต้องการทางเศรษฐกิจ
ปี 1988 มีการแทรกแซงกลไกราคาของตลาดแรงงานโดยใช้นโยบายจากทางภาครัฐ จนไปถึงทำให้เป็นกฎหมาย ส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิต(ต้นทุนค่าแรง)ที่ถูกบังคับให้สูงขึ้น โดยสินค้าที่มาจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ในขณะนั้น ได้ถูกบีบให้มองหาถิ่นฐานในการขยายโรงงานการผลิตใหม่ โดยมองหาประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าประเทศต้นกำเนิดเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้า เพื่อให้ราคาขายสินค้า ยังคงสู้กับแบรนด์อื่นๆในตลาดโลกได้ การหันหลังหนีของแบรนด์สินค้าและโรงงานผู้ผลิตสินค้าจากแรงงานในประเทศตัวเองที่เป็นทั้งฐานเสียงของรัฐบาล เป็นทั้งคะแนนโหวตและเป็นผู้ต้องการกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (minimum wage law) กลับเป็นผู้ที่ทำให้มีอัตราว่างงานในประเทศเพิ่มมากขึ้นเสียเอง
นำพามาถึงปัญหาการนำเข้าแรงงานผิดกฎหมาย(ผีน้อย)
ซึ่งพวกเขา เข้ามาตอบสนองต่อความต้องการแรงงานของตลาดโดยเฉพาะอุตสหกรรมที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก อย่างภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง การผลิต จะเห็นได้ว่า ผีน้อย ไม่ใช่ตัวปัญหาในสายตาผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการแรงงาน แต่เป็นผลพวงจากตลาดเสรีที่ต้องการแก้ไขปัญหาเพื่อเอาตัวรอดในประเทศ ไม่ต่างอะไรกับการที่แบรนด์หลายแบรนด์ย้ายฐานการผลิตออกจากเกาหลีใต้
ชาวเกาหลีใต้บางส่วนที่เป็นผู้ขายแรงงาน(ไม่ใช่ผู้ประกอบการ)มองว่าแรงงานเหล่านี้ทั้งที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเข้ามาแย่งงานชาวเกาหลีใต้ทำ รวมไปถึงการที่แรงงานเหล่านี้สามารถยอมรับค่าแรงที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด(ตามกฎหมาย minimum wage law) ได้บ้างเป็นการเอาเปรียบพวกเขา แต่การที่แรงงานเหล่านี้ถูกเลือกเข้าไปทำงานนั้น ประกอบไปด้วยเหตุผลเล็กน้อยที่เข้าใจง่ายไม่กี่ประการ หากมองจากมุมมองของผู้ว่าจ้าง
1.ต้นทุนถูก
2.พวกเขาอยากได้งาน
การนำเข้าแรงงานต่างชาติที่(ถูกทำให้ผิดกฎหมาย)เข้ามาทำงาน จะอยู่นอกสายตาของรัฐ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถมี Free contract (สัญญาจ้างเสรี) ที่ผู้ว่าจ้างยินยอมพร้อมใจและเข้าใจไปพร้อมกับลูกจ้างถึงเงื่อนการทำงาน ลักษณะงาน ระยะเวลาในการทำงาน ผลตอบแทน ที่ยินยอมพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อ Free contract ไม่สามารถเกิดขึ้นปัญหาการละเมิดชีวิตความเป็นส่วนตัวของลูกจ้างจึงเกิดตามมา ในบางกรณีนำไปถึงการทำร้ายร่างกาย จนถึงขั้นเสียชีวิต
รัฐแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายเพื่อตอบสนองทั้งกระแสสังคม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแบบ รัฐๆ คือการทำให้ประเทศที่รัฐดูแลมีความน่าเยี่ยมเยือนลดน้อยลง โดยการเพิ่มเงื่อนไขจุกจิกมากมายเพื่อป้องกันการเข้าไปเป็นแรงงานผิดกฎหมายซึ่งคนที่เป็นเหยื่อในการใช้อำนาจรัฐในครั้งนี้ กลับเป็นนักท่องเที่ยวที่ถูกส่งตัวกลับเสียมากกว่า การที่นักท่องเที่ยวถูกส่งตัวกลับเป็นจำนวนมาก แต่ลูกทัวร์หายตัวจากกรุ๊ปทัวร์ไปเกินครึ่ง เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักสำหรับนักท่องเที่ยว เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ขาดแคลนลูกค้าต่างชาติจำนวนมากแทน
ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ที่สามารถจับพิรุธคนที่ตั้งใจเข้าเมืองมาเป็น ผีน้อย ในช่วงปีแรกที่มีกระแสปราบปรามแรงงานผิดกฎหมายได้อย่างแม่นยำ กลับไม่สามารถมองเห็นว่าใครเป็นนักท่องเที่ยวจริงๆได้ในช่วงเวลาปัจจุบันที่เกิดกระแส #แบนเที่ยวเกาหลี แต่ปัญหากรุ๊ปทัวร์ที่นั่งว่างยังคงเกิดขึ้น สำหรับรัฐบาลเกาหลีใต้ย่อมต้องรู้ดีถึงวัฐจักรเศรษฐกิจภายในประเทศ ความต้องการแรงงานผิดกฎหมายในแต่ละช่วงเวลาของปีที่ต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของภาคเกษตรกรรม อาจเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอาจจะผ่อนปรนมาตรการบ้างอย่างก็เป็นได้
#siamstr