Libertarian.realpolitik on Nostr: "ระบบรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่" ...
"ระบบรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่" สร้างปัญหาให้กับประเทศสวีเดนอย่างไร?
.
บทความนี้คัดส่วนหนึ่งมาจาก "The Mirage of Swedish Socialism : The Economic History of a Welfare State" โดยคุณ Johan Norberg ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.realitiesofsocialism.org
.
สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งมากที่สุดในโลกเป็นผลมาจากพัฒนาการบนระบบเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไป (laissez-faire) ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1840s ถึงทศวรรษ 1970s นับเป็นช่วงที่ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดของสวีเดน การบริหารจัดการของรัฐบาลในด้านการใช้จ่ายนั้นมีสัดส่วนที่ต่ำกว่า 20% ต่อจีดีพี และมีโครงสร้างรัฐบาลขนาดเล็กกว่าประเทศยุโรปตะวันตกบางประเทศและมีการเก็บภาษีต่ำกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวีเดนเคยมีการทดลองการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจให้ใกล้เคียงกับระบบสังคมนิยมมาแล้วในช่วงทศวรรษ 1970s และ 1980s เริ่มจากการขยายการใช้จ่ายภาครัฐ การเพิ่มอัตราภาษีไปทำสวัสดิการและกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงานและการทำธุรกิจของผู้ประกอบการนั้นอ่อนแอ ภาคส่วนเอกชนมีการสร้างงานลดลง ค่าแรงจริงหดตัวและธุรกิจอื่น ๆ อย่าง IKEA, Tetra Pak ต้องจำใจต้องย้ายทุนออกไปจากประเทศเพราะความเสี่ยงจากการขาดดุลรายจ่ายภาครัฐจำนวนที่มหาศาลกับความกลัวในอัตราเงินเฟ้อที่สูง เหตุการณ์เหล่านี้จบลงในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1990s รัฐบาลของประเทศสวีเดนในช่วงเวลานั้นมีฉันทามติร่วมที่จะย้อนกลับไปหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดั้งเดิม พวกเขาลดกฎระเบียบ ลดภาษีและสนับสนุนวินัยทางการคลังให้มั่นคงอีกครั้ง พร้อมกับภาคส่วนหลายอย่างถูกเปลี่ยนกลับไปอยู่ในมือของเอกชนอีกครั้งเพื่อแก้ไขปัญหาที่บานปลายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การกระทำของรัฐที่เกิดขึ้นมันได้ชี้ชัดแล้วว่าการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่ดีอยู่แล้วไปเป็นระบบสังคมนิยมนั้นแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ หรือ การให้รัฐมีบทบาทเหนือปัจเจกบุคคล
=
ประเทศสวีเดนจนมาก่อน แต่ความเสรีทางเศรษฐกิจนำพาความเจริญ
=
โยฮัน ออกัสต์ กริเพนสเตดท์ (Johan August Gripenstedt) อดีตรัฐมนตรีการเงินของสวีเดนช่วงปี ค.ศ.1856 ถึง 1866 เชื่อว่า “สวีเดนมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ ถึงแม้จะเป็นประเทศยากจน” ตามประวัติศาสตร์ของสวีเดนนั้นมีปราสาทไม่มาก และไม่มีศูนย์กลางของเมืองขนาดใหญ่ อีกทั้งผู้พักอาศัยในเมืองขนาดใหญ่ก็มีจำนวนแค่ 75,000 คนที่อยู่ในสต็อกโฮล์ม (Stockholm) และอีก 16,000 คนอาศัยอยู่ในกอเทนเบิร์กเมืองขนาดใหญ่ที่รองลงมา (Gothenburg) จุดเด่นของสวีเดนในช่วงเวลานั้นก็คือ เหล่าชาวนามีความอิสระมากกว่าคนกลุ่มอื่น เนื่องจากประเทศสวีเดนแตกต่างจากประเทศอื่นในยุโรปที่ไม่เคยมีระบบศักดินาอย่างชัดเจน แต่ถึงมีขุนนางในสวีเดนก็เป็นแค่กลุ่มขนาดเล็กและอำนาจที่อ่อนแอทำให้ชาวนาในช่วงเวลานั้นมีความสามารถในการบริหารจัดการแรงงานและพื้นที่ของตัวเองได้ และส่วนใหญ่ชาวนาจะจ่ายภาษีให้กับคนในราชวงศ์และโบสถ์โดยตรงเท่านั้น บางส่วนของชาวนาก็ไม่ได้อิสระมากหากแยกออกจากกลุ่มส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีปากมีเสียงในสังคมมากเท่าที่ควร ชาวนาส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้ก่อนจะมีการศึกษาภาคบังคับในปี ค.ศ.1842 พบว่าราว ๆ 90% ของชาวสวีเดนสามารถอ่านออกเขียนได้อยู่แล้วรวมถึงชาวนา ในเวลาต่อมาก็ได้มีการปฏิรูปที่ดินในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ทำให้กลุ่มชาวนาบางส่วนกลายเป็นกลุ่มนายทุนกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้บางชุมชนได้เลิกการทำนารวม (คนละอย่างกับในคอมมิวนิสต์) แต่ผันเปลี่ยนไปเป็นการลงทุนในวิธีการใหม่ ๆ ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้น
.
กล่าวคือ สวีเดนถือเป็นประเทศที่มีสารตั้งต้นความเจริญมาจาก "ชาวนา" ที่ผันตัวเองไปเป็นนายทุนและเป็นผลให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งทำให้คนหลายคนมีฐานะชีวิตที่ดีขึ้นแต่ก่อนจำนวนมาก ทั้งนี้การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากขาดพรรคการเมืองของสวีเดนในช่วงเวลานั้นที่สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1840s และ 1870s เพราะมีความจำเป็นต้องทลายสังคมเก่าถูกควบคุมโดยพ่อค้าโดยได้รับอภิสิทธิ์จากกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง กิลด์ (guild) ที่ให้สิทธิ์ในการควบคุมปัจจัยการผลิต การจ้างงาน การกำหนดราคาและการควบคุมอื่น ๆ กระทั่งการตั้งธนาคารและอัตราดอกเบี้ยก็ยังถูกควบคุมโดยรัฐบาล กล่าวได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงถูกจำกัดสิทธิ์หลายประการ แม้แต่ชาวนาเองที่ขึ้นชื่อว่ากลุ่มคนที่มีเสรีภาพมากที่สุด ก็เพียงแค่สามารถควบคุมทรัพย์สินของตนเองได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถแยกหรือนำไปขายได้อย่างอิสระ ในด้านทรัพยากรของสวีเดนก็มีหลายอย่างที่สำคัญมาก แต่ถูกจำกัดแค่ในประเทศและรัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะใช้มันมากกว่าคนอื่น หนึ่งในนั้นก็คือ การตัดไม้ (logging) หรือไม้แปรรูป แร่ (ore) เหล็กหล่อ (pig iron) ก็ถูกจำกัดการส่งออกหรือถูกแบน ถ้าหากจะนำเข้าก็ต้องเสียภาษีกุศลากรในระดับที่สูง หรือ บางสินค้าก็นำประเทศเข้าไม่ได้เลย
.
แอนเดอร์ส ไชเดเนียส (Anders Chydenius) เขาเป็นคนแรกที่เสนอการเปลี่ยนทิศทางทางเศรษฐกิจของสวีเดนตามแนวคิดเสรีนิยมแบบดั้งเดิม (classical liberalism) หรือก็คือ จุดเริ่มต้นของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (economic liberalism) เขาเป็นคนวางรากฐานทางความคิดเกี่ยวกับสิทธิ์การค้าของคนในชนบทจนทำให้ชื่อเสียงเขาโด่งดังจนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในสภาฐานันดรนักบวชในสต็อกโฮล์มช่วงปี ค.ศ.1765 ถึง ค.ศ. 1766 เขายื่นข้อเสนอต่อรัฐสภาให้มีเสรีภาพของสื่อมวลชนและยกเลิกการเซ็นเซอร์ ซึ่งหลังจากนั้นกษัตริย์กุสตาฟที่ 3 ฉวยโอกาสควบคุมรัฐสภาเพื่อยกเลิกกฎเกณฑ์ดังกล่าวในปี ค.ศ.1772 แต่ก็มีการรื้อฟื้นบัญญัติขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังปี ค.ศ.1809 เป็นต้นมา ตัวของไชเดเนียสเองได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากปรัชญาในช่วงยุคตื่นรู้ (Enlightenment philosophy) จนทำให้เขาเขียนงานทางเศรษฐศาสตร์ในช่วงเวลานั้นอย่าง The National Gain ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1765 ในหนังสือได้อธิบายว่าตลาดเสรีนั้นจะมีการควบคุมตัวเอง ตั้งแต่กลไกทางกำไรและกลไกราคาจะเป็นการกระตุ้นให้คนอื่นผลิตในสิ่งที่คนอื่นต้องการมากที่สุด ซึ่งในงานเขียนของเขาเองได้อธิบายถึง "มือที่มองไม่เห็น" "บทบาทของตลาดเสรีและการค้าเสรี" ก่อนหน้างานเขียน The Wealth of Nations (1776) ของอดัม สมิท (Adam Smith) จะตีพิมพ์ถึง 11 ปี
.
ต่อมาหนึ่งในลูกศิษย์ของไชเดเนียสที่ชื่อ จอร์จ แอดเลอร์สปาร์ (Georg Adlersparre) เป็นนักคิดคนแรก ๆ ในสวีเดนที่เรียกเสรีภาพในทรัพย์สินและเสรีภาพส่วนบุคคลว่าแนวคิดแบบ "เสรีนิยม" ตัวของแอดเลอร์สปาร์ยังได้แปลงาน The Wealth of Nations ของอดัม สมิทเป็นภาษาสวีเดนและเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติในปี ค.ศ.1809 ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองกษัตริย์กุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟ (Gustav IV Adolf) ได้นำพาประเทศไปสู่สงครามกับรัสเซีย ฝรั่งเศส และเดนมาร์กพร้อม ๆ กัน ในปลายทศวรรษ 1808 กองทัพสวีเดนต้องยอมจำนนในส่วนครึ่งหนึ่งที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ—ฟินแลนด์—เพื่อรุกรานรัสเซียและหลายคนกลัวว่าสวีเดนจะทำเช่นนั้นจะต้องพังทลายลง แอดเลอร์สปาร์จึงได้เข้าควบคุมกองทัพตะวันตกแล้วออกประกาศให้กองทัพต้องยกทัพไปสต็อกโฮล์มและปลดกษัตริย์ออกไปเพื่อกอบกู้ประเทศ กษัตริย์ถูกจับกุมตัวและกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “เสรีนิยม” ได้ต่อสู้เพื่อประเทศและสร้างปฏิรูปที่รุนแรงในรัฐสภาปฏิวัติปี ค.ศ. 1809-10
.
อีกทางหนึ่งในช่วงยุคการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศสวีเดนก็ได้มีผู้ประกอบการคนหนึ่งชื่อว่า ลาร์ส โยฮัน เอียร์ต้า (Lars Johan Hierta) ต่อมาในปี ค.ศ.1830 เขาได้ก่อตั้งสำนักพิมพ์อย่าง Aftonbladet (อาฟตันเบลด) ที่มีอิทธิพลต่อฝ่ายเสรีนิยมในสวีเดนและสร้างพื้นที่ทางการเมืองให้แก่พวกกลุ่มสายกลางปฏิรูปอย่างโยฮัน ออกัสต์ กริเพนสเตดท์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้ช่วงระหว่างปีค.ศ.1840 และ ค.ศ.1870 สวีเดนได้อยู่ในยุคของการปฏิวัติเสรีนิยมที่สงบสุขที่สุด มีการปกป้องสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล เสรีภาพในการแบ่งแยก การโอนถ่าย การซื้อและขายที่ดิน กฎระเบียบที่ขัดขวางการส่งออกเหล็กและไม้ถูกยกเลิก กิลด์การค้าที่เป็นตัวตอการผูกขาดเศรษฐกิจก็ได้ถูกทลายลงในเวลาต่อมา และช่วงต้นปี ค.ศ.1846 และ ค.ศ.1864 ผู้หญิงก็สามารถเริ่มทำธุรกิจได้อย่างเสรีมากขึ้น สวีเดนมีกฎหมายบริษัทร่วมหุ้นที่มีความรับผิดจำกัดตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.1848 ซึ่งถูกทำให้ทันสมัยมากขึ้นอีกทีในปี ค.ศ. 1895 มีการก่อตั้งระบบธนาคารและยกเลิกการควบคุมอัตราดอกเบี้ย ระบบเก่าที่กีดกันทางการค้าถูกรื้อออก และในปี ค.ศ.1865 รัฐมนตรีการเงินอย่างกริเพนสเตดท์เป็นผู้ทำให้สวีเดนเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาการค้าระหว่างฝรั่งเศสและบริเตนใหญ่ซึ่งเป็นสนธิสัญญาด้วยข้อกำหนดของประเทศที่ได้รับความโปรดปรานมากที่สุด ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนสามารถเข้าถึงตลาดของผู้อื่นเป็นผลสืบเนื่องในการเปิดการค้าขายของยุโรป
.
อีกหลายประเด็นที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจก็คือ เสรีภาพในการนับถือศาสนาและการพิมพ์/สื่อสารมวลชนก็ได้เพิ่มขยายมากขึ้น ผู้หญิงมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและตนเอง มีสิทธิ์ได้รับการศึกษาและการมีอาชีพ และอื่น ๆ ซึ่งมาพร้อมกับการแพร่กระจายแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย วัฒนธรรมและเทคโนโลยีภายในประเทศอีกด้วย แต่ยังมีหลายอย่างที่ยังคงมี "การแทรกแซงของรัฐ" ที่ยังคงอยู่เช่น การศึกษาการบังคับสำหรับนักเรียนประถม (mandatory elementary education) การสร้างระบบรางรถไฟแห่งชาติ (national railway system) แต่ทั้งสองอย่างนี้มันก็ได้ถูกอธิบายโดยเสรีนิยมสายกลางที่มองว่ากองทุนรัฐบาลในเรื่องของสินค้าสาธารณะจะเป็นประโยชน์กับทุกคนเช่น การศึกษาขั้นพื้นฐานและรถไฟ ในขณะเดียวกันก็มองว่าการแทรกแซงของรัฐจะเป็นประโยชน์แต่คนกลุ่มเดียวที่คนอื่นไม่เต็มใจจะจ่ายเงินภาษีให้คนกลุ่มนั้น มากไปกว่านั้นพวกสนับสนุนการให้รัฐสร้างรางรถไฟเฉพาะสายหลักเท่านั้น ส่วนสายรองหรือสายในท้องที่ควรจะเป็นของเอกชนดูแลเป็นเจ้าของ
.
อย่างไรก็ตามความสำเร็จของระบบตลาดเสรีในช่วงเวลานี้เองก็ทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมเก่าและกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวแรงงานยอมรับกับ "Gripenstedt System" (แนวคิดของรัฐมนตรีการเงินที่เป็นหัวคิดเสรีนิยม) ที่เป็นแนวคิดสามารถแสดงให้เห็นว่าใช้ได้และมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปนี้ก็กินเวลาไปประมาณเกือบ 100 ปีทำให้เศรษฐกิจสวีเดนร่ำรวยและเหนือชั้นกว่าบางประเทศในยุโรปตามที่กริพเพนสเตดท์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า "สวีเดนมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ ถึงแม้จะเป็นประเทศยากจน"
=
รัฐสวัสดิการสร้างความรุ่งเรืองให้สวีเดนจริงหรือไม่?
=
ประเทศสวีเดนไม่ได้เดินตามรอยเท้าประเทศสังคมนิยมหลายประเทศแบบรุนแรง แต่แนวทางของพรรคสังคมประชาธิปไตย (social democrat) ต้องการจะควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย Employee Funds ซึ่งเป็นแบบแผนจากสหภาพแรงงานในปี ค.ศ.1976 ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของผลกำไรของบริษัทจะต้องถูกรัฐบาลเก็บภาษีไว้เพื่อนำไปใช้ซื้อหุ้นในบริษัทสวีเดนอีกทีเพื่อเป้าหมายในการโอนบริษัทเหล่านั้นจากมือของเอกชนไปสู่การเป็นเจ้าของร่วม (ควบคุมโดยรัฐผ่านการซื้อหุ้นเอกชนและใช้เงินจากภาษีไปซื้อหุ้น) แต่ทว่าการกระทำนี้ถูกปฏิเสธจากความคิดเห็นของประชาชนและต้องถอยห่างจากแนวทางนี้เนื่องจากกระแสโต้กลับของกลุ่มธุรกิจเองด้วยส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมล็ดพันธุ์ทางความคิดแบบสังคมนิยมในปีทศวรรษ 1970s และ 1980s ส่วนใหญ่จะเป็นการควบคุมจากรัฐภายนอกมากกว่าเกิดขึ้นในกระบวนการภายในเศรษฐกิจ อย่างเช่น การควบคุมภายนอกผ่านกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ การควบคุมราคา การเพิ่มภาษีเพื่อให้มีการรวมศูนย์ทางเศรษฐกิจ หรือ การทำให้กระบวนการตัดสินใจเศรษฐกิจที่ควรเป็นของปัจเจกกับเจ้าของธุรกิจเอง แต่กลับถูกยึดโดยนักการเมืองและผู้มีอำนาจในรัฐบาล ซึ่งใช่เวลานี้เองทำให้เศรษฐกิจของประเทศสวีเดนมีแนวโน้มที่จะเอียงไปทางสังคมนิยมมากกว่าตลาดเสรีทุนนิยม หากตอบสั้น ๆ ว่าทำให้รุ่งเรืองจริงหรือไม่? คำตอบก็คือ “ไม่อย่างแน่นอน”
.
กลุ่มสังคมประชาธิปไตยตื่นตระหนกกับการขึ้นมาของกลุ่มสังคมนิยมหัวรุนแรงในปัจจุบันที่เป็นนักเรียนและปัญญาชนในช่วงทศวรรษ 1960s แต่ว่ากลุ่มสังคมประชาธิปไตยมีความพยายามสร้างพันธมิตรกับชนชั้นแรงงาน จึงเป็นเหตุผลให้พรรคสังคมประชาธิปไตยและผองเพื่อนใช้โอกาสตรงนี้ในการเถลิงอำนาจตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 เป็นต้นมาแทนที่จะเป็นกลุ่มสังคมนิยมหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง รัฐบาลสังคมประชาธิปไตยผลักดันการทำให้เป็นสังคม (socialize) เพื่อเอื้อต่อการบริโภคทางเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ซึ่งตรงนี้้เองมันได้นำไปสู่การขยายขนาดอำนาจรัฐบาลอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพียงใช้เวลาแค่ 20 ปี การใช้จ่ายภาครัฐมีมากกว่า 2 เท่าจาก 25.4 ถึง 58.5 ระหว่างปี ค.ศ.1965 และ ค.ศ.1985 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการขยับขยายการให้บริการทางสังคมอย่าง ระบบสาธารณสุข ระบบดูแลผู้สูงอายุ ระบบดูแลเด็กแรกเกิด หรือ ระบบเงินบำนาญและเบี้ยเลี้ยงที่อยู่อาศัย มีการเก็บอัตราภาษีส่วนเพิ่มจากกลุ่มคนงานหรือกรรมกรจากที่เคยน้อยกว่า 40% ในปี ค.ศ.1960 กลายเป็นมากกว่า 60% ในปี ค.ศ.1980 ในขณะที่พนักงานออฟฟิต มนุษย์เงินเดือน ข้าราชการ หรือ ผู้บริหารมีการเก็บภาษีสูงกว่า 70% ส่วนภาษีเงินเดือน (payroll tax) ก็เพิ่มขึ้นจาก 12.5% ในปี ค.ศ.1970 ไปเป็น 36.7% ในปี ค.ศ.1979 ยังรวมไปถึงภาษีที่นักลงทุนจ่ายเมื่อขายสินทรัพย์ได้กำไร (Capital gains tax) จะต้องมีการเก็บแบบอัตราก้าวหน้า (ยิ่งได้กำไรเยอะยิ่งเก็บเยอะ) และภาษีบริษัทที่สูงเกือบ 60% ในปี ค.ศ.1980s ในช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลสังคมประชาธิปไตยก็ยังเพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจและออกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันอีกด้วย มีการควบคุมราคาที่บังคับให้ธุรกิจจะต้องเข้าสู่การเจรจาต่อรองการเปลี่ยนแปลงราคากับรัฐบาล หมายความว่า แม้แต่การเปลี่ยนแปลงราคาเล็กน้อยก็อาจมีปัญหาได้ทันที มันส่งผลให้สกุลเงินของสวีเดนเสื่อมคุณค่าลงเพราะมีการดำเนินการควบคุมการเพิ่มราคาสินค้าและบริการหลายประการ ในปี ค.ศ.1974 รัฐบาลยังออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีการควบคุมมากมาย ทั้งการกำหนดเหตุผลทางกฎหมายในการเลิกจ้างและกำหนดให้สถานที่ทำงานจำเป็นต้องไล่พนักงานคนก่อนออกเนื่องจากมีความอาวุโสกว่าแล้วให้พนักงานคนใหม่เข้ามาแทนที่ (“คนหลังเข้า คนก่อนออก”) และอื่น ๆ
=
รัฐสวัสดิการเป็นภาระหนักหนาจนไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในที่สุด
=
สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นนี้นำไปสู่การขยับขยายวิกฤตทางเศรษฐกิจของสวีเดนอย่างมีนัยสำคัญ (a). รัฐบาลสวีเดนมีความพยายามลดค่าเงินและคงค่าเงินเอาไว้คานกับมาร์คเยอรมัน (ค่าเงินขอเยอรมันตะวันตก) กับหน่วยสกุลเงินของยุโรป (ECU) ส่งผลทำให้ในปี ค.ศ.1976 โครนาสวีเดนลดค่าลง 3 เปอร์เซ็นต์ อีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ.1977 ลง 6 เปอร์เซ็นต์ และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันเพิ่มขึ้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกันยายน ค.ศ.1981 มีการลดมูลค่าลง 10 เปอร์เซ็นต์ และสุดท้ายคือในปีค.ศ. 1982 หลังจากที่พรรคสังคมประชาธิปไตยกลับมามีอำนาจอีกครั้งมูลค่าของเงินก็ลดลงไปอีกถึงถึง 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุหนึ่งในการลดค่าเงินครั้งนี้ไม่ใช่แค่การแข่งขันในกับสกุลเงินอื่นเท่านั้นแต่ยังเป็นเพราะ (i).สหภาพแรงงานเรียกร้องการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานโดยทันที ซึ่งส่งผลทำให้ค่าของเงินลดลง และ (ii).การเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างประเทศช่วงทศวรรษ 1980s ทำให้เกิดการการลดค่าเงินที่สูงมากในปี ค.ศ. 1982 ได้ซ่อนปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการในเศรษฐกิจสวีเดน ซึ่งตรงนี้การแก้ไขปัญหาแบบเคนส์ก็คือการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดเงินเฟ้อและเพิ่มเงินหมุนเวียนมาจ่ายค่าแรงกับแรงงาน แต่กลับกันค่าครองชีพที่สูงขึ้น สหภาพแรงงานก็ย่อมที่จะเรียกร้องไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด และ (iii).การลดค่าเงินได้กระตุ้นภาคการส่งออก แต่ก็เป็นเรื่องเอาแน่เอานอนไม่ได้เพราะมันเป็นการบ่อนทำลายการลงทุนระยะยาวและบิดเบือนกลไกราคา แทนที่จะปล่อยให้กลไกตลาดสนับสนุนบริษัทที่มีประสิทธิผลและลงโทษบริษัทที่ไม่มีการแข่งขันทั้งหมด บริษัทส่งออกได้รับการเพิ่มอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ในขณะที่การลดค่าเงินช่วยปกป้องธุรกิจในประเทศที่ไม่ก่อผลจากการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งการส่งออกของตลาด OECD ของสวีเดนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องโดยในทศวรรษ 1970s และ 1990s ลดลงเกือบ 30%
.
(b).บริษัทเกิดใหม่ในประเทศสวีเดนมีจำนวนน้อยลงและบริษัทที่ยังเหลืออยู่ไม่มีการขยับขยายกิจการมากเท่าที่ควร โดยเฉพาะในปี ค.ศ.1990 เศรษฐกิจสวีเดนไม่ได้สร้างงานสุทธิในภาคเอกชนมาก ซึ่งสวนทางกับประชากรที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลสวีเดนยังคงการขาดดุลงบประมาณทุก ๆ ปีตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 จนถึงปี ค.ศ.1987 และมีจำนวนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 18% ต่อจีดีพีในปี ค.ศ.1970 กระโดดไปมากกว่า 70% ในปีค.ศ.1985; (c).ในปีค.ศ.1973 อิงวาร์ คัมปราด (Ingvar Kamprad) ผู้ก่อตั้งบริษัทเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่อย่าง IKEA ถอนทุนออกจากสวีเดนและมูลนิธิที่เขาเป็นเจ้าของบริษัทได้ย้ายไปยังเนเธอร์แลนด์ Tetra Pak ก็ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1981 และเฟรดริก ลุนด์เบิร์ก (Fredrik Lundberg) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดของสวีเดนก็เดินทางออกจากประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการและนักลงทุนอีกหลายคนในปี ค.ศ.1985 กลายเป็นว่าสวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเท่าเทียมกันมากที่สุดในโลก ส่วนหนึ่งเพราะ "คนรวยและเจ้าของกิจการร้านค้าต่าง ๆ ย้ายไปที่อื่นหมด"
.
และ (d).ช่วงวิกฤตในปีค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ.1994 เกิดการประทุจากเหตุผลข้างต้นซึ่งถือเป็นปัญหาในระยะยาวทางเศรษฐกิจของสวีเดนมาเป็นเวลาช้านาน (long-term problem) โดยการเติบโตในปีค.ศ.1990 อยู่ที่ 0.75% ต่อจีดีพี ในปี ค.ศ.1991 อยู่ที่ -1.10% ต่อจีดีพี ในปี ค.ศ.1992 อยู่ที่ -0.94% ต่อจีดีพี และในปี ค.ศ.1993 อยู่ที่ -1.83% ต่อจีดีพี แล้วเริ่มฟื้นตัวจากการปฏิรูปเศรษฐกิจอีกครั้งในปี ค.ศ.1994 อยู่ที่ 3.93% ต่อจีดีพี และถัดมาในปี ค.ศ.1995 อยู่ที่ 3.94% ต่อจีดีพี ซึ่งกระแสการปฏิรูปเศรษฐกิจมีจุดเริ่มต้นมาจาก (i).ประชากรทั่วไปเริ่มตั้งคำถามกับการที่รัฐบาลเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเสรีภาพของตนและมองว่าการที่รัฐบาลมีภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้นเป็นปัญหาทำให้เศรษฐกิจเอียงไปทางสังคมนิยมมากขึ้น คนเริ่มมีปฏิกริยาต่อต้าน Employee Funds และการแทรกแซงของรัฐอื่น ๆ ผ่านการโอบกอดแนวคิดของตลาดเสรีทุนนิยม (ii).โมเดลทางเศรษฐกิจของสวีเดนนั้นมีปัญหาเพราะการขาดผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กลุ่มนักการเมืองของพรรคสังคมประชาธิปไตยก็เริ่มกลับมาขบคิดถึงการเอาชีวิตรอดให้กับระบบรัฐสวัสดิการของตนโดยการดำเนินการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (economic liberalization) จากการลดกฎระเบียบด้านคมนาคม ยกเลิกการควบคุมปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ยกเลิกการควบคุมเงินตราต่างประเทศ และลดกฎระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมราคาและอัตราภาษีลง พร้อมปฏิรูประบบภาษีแบบก้าวหน้าที่เก็บโหด ๆ กลับไปเป็นระบบอัตราภาษีคงที่ และสุดท้าย (iii).วิกฤตทางการเงินในปี 1990-94 เป็นวิกฤตที่สร้างบาดแผลให้กับประเทศอย่างมากจนทำให้เกิดฉันทามติที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจไปเป็นตลาดเสรีอีกครั้งเพื่อทำให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโตเหมือนเดิม วิกฤตนี้เองเป็นผลมาจากการสะสมปัญหาในระยะยาวทั้งในส่วนของผลิตภาพการแข่งขันที่ไม่ถูกแก้ไข การเกิดฟองสบู่เป็นผลมาจากนโยบายการเงินแบบหลวมของธนาคารกลาง (loose monetary policy) หลังจากปี ค.ศ.1986 และก่อนหน้านั้นก็มีการแทรกแซงจากรัฐอย่างหม่ำเสมออยู่แล้ว ทั้งจากการขาดดุลงบประมาณ การเสื่อมค่าของเงินและกำลังซื้อ การเพิ่มค่าแรงและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การแบกภาระจากรัฐสวัสดิการเป็นผลทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธนาคารกลางแห่งชาติของสวีเดนในช่วงเวลานั้นต้องตอบโต้โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น 500% เพื่อยับยั้งการขาดดุล การเสื่อมมูลค่าของเงิน อัตราเงินเฟ้อที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั้ง 3 ไตรมาสติดลบ
.
อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันนี้เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมาอีกครั้ง มีความพยายามทำให้อัตราภาษีลดลง การพยายามแปรรูปจากกิจการรัฐไปเป็นเอกชน แต่ในขณะเดียวกันก็ผูกระบบรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่เอาไว้กับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีทุนนิยม ชื่อเฉพาะของมันได้ว่ามันคือ "capitalist welfare state" มันไม่ใช่ระบบสายกลาง หรือ ทางที่สามแต่อย่างใด แต่เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอียงไปทางทุนนิยมมากกว่าการแทรกแซงของรัฐและสังคมนิยมเท่านั้น
.
บทความนี้คัดส่วนหนึ่งมาจาก "The Mirage of Swedish Socialism : The Economic History of a Welfare State" โดยคุณ Johan Norberg ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.realitiesofsocialism.org
.
สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งมากที่สุดในโลกเป็นผลมาจากพัฒนาการบนระบบเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไป (laissez-faire) ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1840s ถึงทศวรรษ 1970s นับเป็นช่วงที่ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดของสวีเดน การบริหารจัดการของรัฐบาลในด้านการใช้จ่ายนั้นมีสัดส่วนที่ต่ำกว่า 20% ต่อจีดีพี และมีโครงสร้างรัฐบาลขนาดเล็กกว่าประเทศยุโรปตะวันตกบางประเทศและมีการเก็บภาษีต่ำกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวีเดนเคยมีการทดลองการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจให้ใกล้เคียงกับระบบสังคมนิยมมาแล้วในช่วงทศวรรษ 1970s และ 1980s เริ่มจากการขยายการใช้จ่ายภาครัฐ การเพิ่มอัตราภาษีไปทำสวัสดิการและกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้แรงจูงใจในการทำงานและการทำธุรกิจของผู้ประกอบการนั้นอ่อนแอ ภาคส่วนเอกชนมีการสร้างงานลดลง ค่าแรงจริงหดตัวและธุรกิจอื่น ๆ อย่าง IKEA, Tetra Pak ต้องจำใจต้องย้ายทุนออกไปจากประเทศเพราะความเสี่ยงจากการขาดดุลรายจ่ายภาครัฐจำนวนที่มหาศาลกับความกลัวในอัตราเงินเฟ้อที่สูง เหตุการณ์เหล่านี้จบลงในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1990s รัฐบาลของประเทศสวีเดนในช่วงเวลานั้นมีฉันทามติร่วมที่จะย้อนกลับไปหาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดั้งเดิม พวกเขาลดกฎระเบียบ ลดภาษีและสนับสนุนวินัยทางการคลังให้มั่นคงอีกครั้ง พร้อมกับภาคส่วนหลายอย่างถูกเปลี่ยนกลับไปอยู่ในมือของเอกชนอีกครั้งเพื่อแก้ไขปัญหาที่บานปลายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การกระทำของรัฐที่เกิดขึ้นมันได้ชี้ชัดแล้วว่าการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่ดีอยู่แล้วไปเป็นระบบสังคมนิยมนั้นแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ หรือ การให้รัฐมีบทบาทเหนือปัจเจกบุคคล
=
ประเทศสวีเดนจนมาก่อน แต่ความเสรีทางเศรษฐกิจนำพาความเจริญ
=
โยฮัน ออกัสต์ กริเพนสเตดท์ (Johan August Gripenstedt) อดีตรัฐมนตรีการเงินของสวีเดนช่วงปี ค.ศ.1856 ถึง 1866 เชื่อว่า “สวีเดนมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ ถึงแม้จะเป็นประเทศยากจน” ตามประวัติศาสตร์ของสวีเดนนั้นมีปราสาทไม่มาก และไม่มีศูนย์กลางของเมืองขนาดใหญ่ อีกทั้งผู้พักอาศัยในเมืองขนาดใหญ่ก็มีจำนวนแค่ 75,000 คนที่อยู่ในสต็อกโฮล์ม (Stockholm) และอีก 16,000 คนอาศัยอยู่ในกอเทนเบิร์กเมืองขนาดใหญ่ที่รองลงมา (Gothenburg) จุดเด่นของสวีเดนในช่วงเวลานั้นก็คือ เหล่าชาวนามีความอิสระมากกว่าคนกลุ่มอื่น เนื่องจากประเทศสวีเดนแตกต่างจากประเทศอื่นในยุโรปที่ไม่เคยมีระบบศักดินาอย่างชัดเจน แต่ถึงมีขุนนางในสวีเดนก็เป็นแค่กลุ่มขนาดเล็กและอำนาจที่อ่อนแอทำให้ชาวนาในช่วงเวลานั้นมีความสามารถในการบริหารจัดการแรงงานและพื้นที่ของตัวเองได้ และส่วนใหญ่ชาวนาจะจ่ายภาษีให้กับคนในราชวงศ์และโบสถ์โดยตรงเท่านั้น บางส่วนของชาวนาก็ไม่ได้อิสระมากหากแยกออกจากกลุ่มส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีปากมีเสียงในสังคมมากเท่าที่ควร ชาวนาส่วนใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้ก่อนจะมีการศึกษาภาคบังคับในปี ค.ศ.1842 พบว่าราว ๆ 90% ของชาวสวีเดนสามารถอ่านออกเขียนได้อยู่แล้วรวมถึงชาวนา ในเวลาต่อมาก็ได้มีการปฏิรูปที่ดินในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ทำให้กลุ่มชาวนาบางส่วนกลายเป็นกลุ่มนายทุนกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้บางชุมชนได้เลิกการทำนารวม (คนละอย่างกับในคอมมิวนิสต์) แต่ผันเปลี่ยนไปเป็นการลงทุนในวิธีการใหม่ ๆ ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้น
.
กล่าวคือ สวีเดนถือเป็นประเทศที่มีสารตั้งต้นความเจริญมาจาก "ชาวนา" ที่ผันตัวเองไปเป็นนายทุนและเป็นผลให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งทำให้คนหลายคนมีฐานะชีวิตที่ดีขึ้นแต่ก่อนจำนวนมาก ทั้งนี้การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากขาดพรรคการเมืองของสวีเดนในช่วงเวลานั้นที่สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1840s และ 1870s เพราะมีความจำเป็นต้องทลายสังคมเก่าถูกควบคุมโดยพ่อค้าโดยได้รับอภิสิทธิ์จากกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง กิลด์ (guild) ที่ให้สิทธิ์ในการควบคุมปัจจัยการผลิต การจ้างงาน การกำหนดราคาและการควบคุมอื่น ๆ กระทั่งการตั้งธนาคารและอัตราดอกเบี้ยก็ยังถูกควบคุมโดยรัฐบาล กล่าวได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงถูกจำกัดสิทธิ์หลายประการ แม้แต่ชาวนาเองที่ขึ้นชื่อว่ากลุ่มคนที่มีเสรีภาพมากที่สุด ก็เพียงแค่สามารถควบคุมทรัพย์สินของตนเองได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถแยกหรือนำไปขายได้อย่างอิสระ ในด้านทรัพยากรของสวีเดนก็มีหลายอย่างที่สำคัญมาก แต่ถูกจำกัดแค่ในประเทศและรัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะใช้มันมากกว่าคนอื่น หนึ่งในนั้นก็คือ การตัดไม้ (logging) หรือไม้แปรรูป แร่ (ore) เหล็กหล่อ (pig iron) ก็ถูกจำกัดการส่งออกหรือถูกแบน ถ้าหากจะนำเข้าก็ต้องเสียภาษีกุศลากรในระดับที่สูง หรือ บางสินค้าก็นำประเทศเข้าไม่ได้เลย
.
แอนเดอร์ส ไชเดเนียส (Anders Chydenius) เขาเป็นคนแรกที่เสนอการเปลี่ยนทิศทางทางเศรษฐกิจของสวีเดนตามแนวคิดเสรีนิยมแบบดั้งเดิม (classical liberalism) หรือก็คือ จุดเริ่มต้นของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (economic liberalism) เขาเป็นคนวางรากฐานทางความคิดเกี่ยวกับสิทธิ์การค้าของคนในชนบทจนทำให้ชื่อเสียงเขาโด่งดังจนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในสภาฐานันดรนักบวชในสต็อกโฮล์มช่วงปี ค.ศ.1765 ถึง ค.ศ. 1766 เขายื่นข้อเสนอต่อรัฐสภาให้มีเสรีภาพของสื่อมวลชนและยกเลิกการเซ็นเซอร์ ซึ่งหลังจากนั้นกษัตริย์กุสตาฟที่ 3 ฉวยโอกาสควบคุมรัฐสภาเพื่อยกเลิกกฎเกณฑ์ดังกล่าวในปี ค.ศ.1772 แต่ก็มีการรื้อฟื้นบัญญัติขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังปี ค.ศ.1809 เป็นต้นมา ตัวของไชเดเนียสเองได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากปรัชญาในช่วงยุคตื่นรู้ (Enlightenment philosophy) จนทำให้เขาเขียนงานทางเศรษฐศาสตร์ในช่วงเวลานั้นอย่าง The National Gain ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1765 ในหนังสือได้อธิบายว่าตลาดเสรีนั้นจะมีการควบคุมตัวเอง ตั้งแต่กลไกทางกำไรและกลไกราคาจะเป็นการกระตุ้นให้คนอื่นผลิตในสิ่งที่คนอื่นต้องการมากที่สุด ซึ่งในงานเขียนของเขาเองได้อธิบายถึง "มือที่มองไม่เห็น" "บทบาทของตลาดเสรีและการค้าเสรี" ก่อนหน้างานเขียน The Wealth of Nations (1776) ของอดัม สมิท (Adam Smith) จะตีพิมพ์ถึง 11 ปี
.
ต่อมาหนึ่งในลูกศิษย์ของไชเดเนียสที่ชื่อ จอร์จ แอดเลอร์สปาร์ (Georg Adlersparre) เป็นนักคิดคนแรก ๆ ในสวีเดนที่เรียกเสรีภาพในทรัพย์สินและเสรีภาพส่วนบุคคลว่าแนวคิดแบบ "เสรีนิยม" ตัวของแอดเลอร์สปาร์ยังได้แปลงาน The Wealth of Nations ของอดัม สมิทเป็นภาษาสวีเดนและเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติในปี ค.ศ.1809 ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองกษัตริย์กุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟ (Gustav IV Adolf) ได้นำพาประเทศไปสู่สงครามกับรัสเซีย ฝรั่งเศส และเดนมาร์กพร้อม ๆ กัน ในปลายทศวรรษ 1808 กองทัพสวีเดนต้องยอมจำนนในส่วนครึ่งหนึ่งที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ—ฟินแลนด์—เพื่อรุกรานรัสเซียและหลายคนกลัวว่าสวีเดนจะทำเช่นนั้นจะต้องพังทลายลง แอดเลอร์สปาร์จึงได้เข้าควบคุมกองทัพตะวันตกแล้วออกประกาศให้กองทัพต้องยกทัพไปสต็อกโฮล์มและปลดกษัตริย์ออกไปเพื่อกอบกู้ประเทศ กษัตริย์ถูกจับกุมตัวและกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “เสรีนิยม” ได้ต่อสู้เพื่อประเทศและสร้างปฏิรูปที่รุนแรงในรัฐสภาปฏิวัติปี ค.ศ. 1809-10
.
อีกทางหนึ่งในช่วงยุคการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศสวีเดนก็ได้มีผู้ประกอบการคนหนึ่งชื่อว่า ลาร์ส โยฮัน เอียร์ต้า (Lars Johan Hierta) ต่อมาในปี ค.ศ.1830 เขาได้ก่อตั้งสำนักพิมพ์อย่าง Aftonbladet (อาฟตันเบลด) ที่มีอิทธิพลต่อฝ่ายเสรีนิยมในสวีเดนและสร้างพื้นที่ทางการเมืองให้แก่พวกกลุ่มสายกลางปฏิรูปอย่างโยฮัน ออกัสต์ กริเพนสเตดท์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้ช่วงระหว่างปีค.ศ.1840 และ ค.ศ.1870 สวีเดนได้อยู่ในยุคของการปฏิวัติเสรีนิยมที่สงบสุขที่สุด มีการปกป้องสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล เสรีภาพในการแบ่งแยก การโอนถ่าย การซื้อและขายที่ดิน กฎระเบียบที่ขัดขวางการส่งออกเหล็กและไม้ถูกยกเลิก กิลด์การค้าที่เป็นตัวตอการผูกขาดเศรษฐกิจก็ได้ถูกทลายลงในเวลาต่อมา และช่วงต้นปี ค.ศ.1846 และ ค.ศ.1864 ผู้หญิงก็สามารถเริ่มทำธุรกิจได้อย่างเสรีมากขึ้น สวีเดนมีกฎหมายบริษัทร่วมหุ้นที่มีความรับผิดจำกัดตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.1848 ซึ่งถูกทำให้ทันสมัยมากขึ้นอีกทีในปี ค.ศ. 1895 มีการก่อตั้งระบบธนาคารและยกเลิกการควบคุมอัตราดอกเบี้ย ระบบเก่าที่กีดกันทางการค้าถูกรื้อออก และในปี ค.ศ.1865 รัฐมนตรีการเงินอย่างกริเพนสเตดท์เป็นผู้ทำให้สวีเดนเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาการค้าระหว่างฝรั่งเศสและบริเตนใหญ่ซึ่งเป็นสนธิสัญญาด้วยข้อกำหนดของประเทศที่ได้รับความโปรดปรานมากที่สุด ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนสามารถเข้าถึงตลาดของผู้อื่นเป็นผลสืบเนื่องในการเปิดการค้าขายของยุโรป
.
อีกหลายประเด็นที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจก็คือ เสรีภาพในการนับถือศาสนาและการพิมพ์/สื่อสารมวลชนก็ได้เพิ่มขยายมากขึ้น ผู้หญิงมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและตนเอง มีสิทธิ์ได้รับการศึกษาและการมีอาชีพ และอื่น ๆ ซึ่งมาพร้อมกับการแพร่กระจายแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย วัฒนธรรมและเทคโนโลยีภายในประเทศอีกด้วย แต่ยังมีหลายอย่างที่ยังคงมี "การแทรกแซงของรัฐ" ที่ยังคงอยู่เช่น การศึกษาการบังคับสำหรับนักเรียนประถม (mandatory elementary education) การสร้างระบบรางรถไฟแห่งชาติ (national railway system) แต่ทั้งสองอย่างนี้มันก็ได้ถูกอธิบายโดยเสรีนิยมสายกลางที่มองว่ากองทุนรัฐบาลในเรื่องของสินค้าสาธารณะจะเป็นประโยชน์กับทุกคนเช่น การศึกษาขั้นพื้นฐานและรถไฟ ในขณะเดียวกันก็มองว่าการแทรกแซงของรัฐจะเป็นประโยชน์แต่คนกลุ่มเดียวที่คนอื่นไม่เต็มใจจะจ่ายเงินภาษีให้คนกลุ่มนั้น มากไปกว่านั้นพวกสนับสนุนการให้รัฐสร้างรางรถไฟเฉพาะสายหลักเท่านั้น ส่วนสายรองหรือสายในท้องที่ควรจะเป็นของเอกชนดูแลเป็นเจ้าของ
.
อย่างไรก็ตามความสำเร็จของระบบตลาดเสรีในช่วงเวลานี้เองก็ทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมเก่าและกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวแรงงานยอมรับกับ "Gripenstedt System" (แนวคิดของรัฐมนตรีการเงินที่เป็นหัวคิดเสรีนิยม) ที่เป็นแนวคิดสามารถแสดงให้เห็นว่าใช้ได้และมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปนี้ก็กินเวลาไปประมาณเกือบ 100 ปีทำให้เศรษฐกิจสวีเดนร่ำรวยและเหนือชั้นกว่าบางประเทศในยุโรปตามที่กริพเพนสเตดท์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า "สวีเดนมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ ถึงแม้จะเป็นประเทศยากจน"
=
รัฐสวัสดิการสร้างความรุ่งเรืองให้สวีเดนจริงหรือไม่?
=
ประเทศสวีเดนไม่ได้เดินตามรอยเท้าประเทศสังคมนิยมหลายประเทศแบบรุนแรง แต่แนวทางของพรรคสังคมประชาธิปไตย (social democrat) ต้องการจะควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย Employee Funds ซึ่งเป็นแบบแผนจากสหภาพแรงงานในปี ค.ศ.1976 ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของผลกำไรของบริษัทจะต้องถูกรัฐบาลเก็บภาษีไว้เพื่อนำไปใช้ซื้อหุ้นในบริษัทสวีเดนอีกทีเพื่อเป้าหมายในการโอนบริษัทเหล่านั้นจากมือของเอกชนไปสู่การเป็นเจ้าของร่วม (ควบคุมโดยรัฐผ่านการซื้อหุ้นเอกชนและใช้เงินจากภาษีไปซื้อหุ้น) แต่ทว่าการกระทำนี้ถูกปฏิเสธจากความคิดเห็นของประชาชนและต้องถอยห่างจากแนวทางนี้เนื่องจากกระแสโต้กลับของกลุ่มธุรกิจเองด้วยส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมล็ดพันธุ์ทางความคิดแบบสังคมนิยมในปีทศวรรษ 1970s และ 1980s ส่วนใหญ่จะเป็นการควบคุมจากรัฐภายนอกมากกว่าเกิดขึ้นในกระบวนการภายในเศรษฐกิจ อย่างเช่น การควบคุมภายนอกผ่านกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ การควบคุมราคา การเพิ่มภาษีเพื่อให้มีการรวมศูนย์ทางเศรษฐกิจ หรือ การทำให้กระบวนการตัดสินใจเศรษฐกิจที่ควรเป็นของปัจเจกกับเจ้าของธุรกิจเอง แต่กลับถูกยึดโดยนักการเมืองและผู้มีอำนาจในรัฐบาล ซึ่งใช่เวลานี้เองทำให้เศรษฐกิจของประเทศสวีเดนมีแนวโน้มที่จะเอียงไปทางสังคมนิยมมากกว่าตลาดเสรีทุนนิยม หากตอบสั้น ๆ ว่าทำให้รุ่งเรืองจริงหรือไม่? คำตอบก็คือ “ไม่อย่างแน่นอน”
.
กลุ่มสังคมประชาธิปไตยตื่นตระหนกกับการขึ้นมาของกลุ่มสังคมนิยมหัวรุนแรงในปัจจุบันที่เป็นนักเรียนและปัญญาชนในช่วงทศวรรษ 1960s แต่ว่ากลุ่มสังคมประชาธิปไตยมีความพยายามสร้างพันธมิตรกับชนชั้นแรงงาน จึงเป็นเหตุผลให้พรรคสังคมประชาธิปไตยและผองเพื่อนใช้โอกาสตรงนี้ในการเถลิงอำนาจตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 เป็นต้นมาแทนที่จะเป็นกลุ่มสังคมนิยมหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง รัฐบาลสังคมประชาธิปไตยผลักดันการทำให้เป็นสังคม (socialize) เพื่อเอื้อต่อการบริโภคทางเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ซึ่งตรงนี้้เองมันได้นำไปสู่การขยายขนาดอำนาจรัฐบาลอย่างไม่เคยมีมาก่อนเพียงใช้เวลาแค่ 20 ปี การใช้จ่ายภาครัฐมีมากกว่า 2 เท่าจาก 25.4 ถึง 58.5 ระหว่างปี ค.ศ.1965 และ ค.ศ.1985 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการขยับขยายการให้บริการทางสังคมอย่าง ระบบสาธารณสุข ระบบดูแลผู้สูงอายุ ระบบดูแลเด็กแรกเกิด หรือ ระบบเงินบำนาญและเบี้ยเลี้ยงที่อยู่อาศัย มีการเก็บอัตราภาษีส่วนเพิ่มจากกลุ่มคนงานหรือกรรมกรจากที่เคยน้อยกว่า 40% ในปี ค.ศ.1960 กลายเป็นมากกว่า 60% ในปี ค.ศ.1980 ในขณะที่พนักงานออฟฟิต มนุษย์เงินเดือน ข้าราชการ หรือ ผู้บริหารมีการเก็บภาษีสูงกว่า 70% ส่วนภาษีเงินเดือน (payroll tax) ก็เพิ่มขึ้นจาก 12.5% ในปี ค.ศ.1970 ไปเป็น 36.7% ในปี ค.ศ.1979 ยังรวมไปถึงภาษีที่นักลงทุนจ่ายเมื่อขายสินทรัพย์ได้กำไร (Capital gains tax) จะต้องมีการเก็บแบบอัตราก้าวหน้า (ยิ่งได้กำไรเยอะยิ่งเก็บเยอะ) และภาษีบริษัทที่สูงเกือบ 60% ในปี ค.ศ.1980s ในช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลสังคมประชาธิปไตยก็ยังเพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจและออกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันอีกด้วย มีการควบคุมราคาที่บังคับให้ธุรกิจจะต้องเข้าสู่การเจรจาต่อรองการเปลี่ยนแปลงราคากับรัฐบาล หมายความว่า แม้แต่การเปลี่ยนแปลงราคาเล็กน้อยก็อาจมีปัญหาได้ทันที มันส่งผลให้สกุลเงินของสวีเดนเสื่อมคุณค่าลงเพราะมีการดำเนินการควบคุมการเพิ่มราคาสินค้าและบริการหลายประการ ในปี ค.ศ.1974 รัฐบาลยังออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีการควบคุมมากมาย ทั้งการกำหนดเหตุผลทางกฎหมายในการเลิกจ้างและกำหนดให้สถานที่ทำงานจำเป็นต้องไล่พนักงานคนก่อนออกเนื่องจากมีความอาวุโสกว่าแล้วให้พนักงานคนใหม่เข้ามาแทนที่ (“คนหลังเข้า คนก่อนออก”) และอื่น ๆ
=
รัฐสวัสดิการเป็นภาระหนักหนาจนไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในที่สุด
=
สิ่งที่กล่าวไปข้างต้นนี้นำไปสู่การขยับขยายวิกฤตทางเศรษฐกิจของสวีเดนอย่างมีนัยสำคัญ (a). รัฐบาลสวีเดนมีความพยายามลดค่าเงินและคงค่าเงินเอาไว้คานกับมาร์คเยอรมัน (ค่าเงินขอเยอรมันตะวันตก) กับหน่วยสกุลเงินของยุโรป (ECU) ส่งผลทำให้ในปี ค.ศ.1976 โครนาสวีเดนลดค่าลง 3 เปอร์เซ็นต์ อีกครั้งในเดือนเมษายน ค.ศ.1977 ลง 6 เปอร์เซ็นต์ และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันเพิ่มขึ้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกันยายน ค.ศ.1981 มีการลดมูลค่าลง 10 เปอร์เซ็นต์ และสุดท้ายคือในปีค.ศ. 1982 หลังจากที่พรรคสังคมประชาธิปไตยกลับมามีอำนาจอีกครั้งมูลค่าของเงินก็ลดลงไปอีกถึงถึง 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสาเหตุหนึ่งในการลดค่าเงินครั้งนี้ไม่ใช่แค่การแข่งขันในกับสกุลเงินอื่นเท่านั้นแต่ยังเป็นเพราะ (i).สหภาพแรงงานเรียกร้องการเพิ่มค่าแรงให้กับแรงงานโดยทันที ซึ่งส่งผลทำให้ค่าของเงินลดลง และ (ii).การเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างประเทศช่วงทศวรรษ 1980s ทำให้เกิดการการลดค่าเงินที่สูงมากในปี ค.ศ. 1982 ได้ซ่อนปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการในเศรษฐกิจสวีเดน ซึ่งตรงนี้การแก้ไขปัญหาแบบเคนส์ก็คือการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดเงินเฟ้อและเพิ่มเงินหมุนเวียนมาจ่ายค่าแรงกับแรงงาน แต่กลับกันค่าครองชีพที่สูงขึ้น สหภาพแรงงานก็ย่อมที่จะเรียกร้องไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด และ (iii).การลดค่าเงินได้กระตุ้นภาคการส่งออก แต่ก็เป็นเรื่องเอาแน่เอานอนไม่ได้เพราะมันเป็นการบ่อนทำลายการลงทุนระยะยาวและบิดเบือนกลไกราคา แทนที่จะปล่อยให้กลไกตลาดสนับสนุนบริษัทที่มีประสิทธิผลและลงโทษบริษัทที่ไม่มีการแข่งขันทั้งหมด บริษัทส่งออกได้รับการเพิ่มอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ในขณะที่การลดค่าเงินช่วยปกป้องธุรกิจในประเทศที่ไม่ก่อผลจากการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งการส่งออกของตลาด OECD ของสวีเดนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องโดยในทศวรรษ 1970s และ 1990s ลดลงเกือบ 30%
.
(b).บริษัทเกิดใหม่ในประเทศสวีเดนมีจำนวนน้อยลงและบริษัทที่ยังเหลืออยู่ไม่มีการขยับขยายกิจการมากเท่าที่ควร โดยเฉพาะในปี ค.ศ.1990 เศรษฐกิจสวีเดนไม่ได้สร้างงานสุทธิในภาคเอกชนมาก ซึ่งสวนทางกับประชากรที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลสวีเดนยังคงการขาดดุลงบประมาณทุก ๆ ปีตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 จนถึงปี ค.ศ.1987 และมีจำนวนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 18% ต่อจีดีพีในปี ค.ศ.1970 กระโดดไปมากกว่า 70% ในปีค.ศ.1985; (c).ในปีค.ศ.1973 อิงวาร์ คัมปราด (Ingvar Kamprad) ผู้ก่อตั้งบริษัทเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่อย่าง IKEA ถอนทุนออกจากสวีเดนและมูลนิธิที่เขาเป็นเจ้าของบริษัทได้ย้ายไปยังเนเธอร์แลนด์ Tetra Pak ก็ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1981 และเฟรดริก ลุนด์เบิร์ก (Fredrik Lundberg) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดของสวีเดนก็เดินทางออกจากประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการและนักลงทุนอีกหลายคนในปี ค.ศ.1985 กลายเป็นว่าสวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเท่าเทียมกันมากที่สุดในโลก ส่วนหนึ่งเพราะ "คนรวยและเจ้าของกิจการร้านค้าต่าง ๆ ย้ายไปที่อื่นหมด"
.
และ (d).ช่วงวิกฤตในปีค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ.1994 เกิดการประทุจากเหตุผลข้างต้นซึ่งถือเป็นปัญหาในระยะยาวทางเศรษฐกิจของสวีเดนมาเป็นเวลาช้านาน (long-term problem) โดยการเติบโตในปีค.ศ.1990 อยู่ที่ 0.75% ต่อจีดีพี ในปี ค.ศ.1991 อยู่ที่ -1.10% ต่อจีดีพี ในปี ค.ศ.1992 อยู่ที่ -0.94% ต่อจีดีพี และในปี ค.ศ.1993 อยู่ที่ -1.83% ต่อจีดีพี แล้วเริ่มฟื้นตัวจากการปฏิรูปเศรษฐกิจอีกครั้งในปี ค.ศ.1994 อยู่ที่ 3.93% ต่อจีดีพี และถัดมาในปี ค.ศ.1995 อยู่ที่ 3.94% ต่อจีดีพี ซึ่งกระแสการปฏิรูปเศรษฐกิจมีจุดเริ่มต้นมาจาก (i).ประชากรทั่วไปเริ่มตั้งคำถามกับการที่รัฐบาลเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเสรีภาพของตนและมองว่าการที่รัฐบาลมีภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้นเป็นปัญหาทำให้เศรษฐกิจเอียงไปทางสังคมนิยมมากขึ้น คนเริ่มมีปฏิกริยาต่อต้าน Employee Funds และการแทรกแซงของรัฐอื่น ๆ ผ่านการโอบกอดแนวคิดของตลาดเสรีทุนนิยม (ii).โมเดลทางเศรษฐกิจของสวีเดนนั้นมีปัญหาเพราะการขาดผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กลุ่มนักการเมืองของพรรคสังคมประชาธิปไตยก็เริ่มกลับมาขบคิดถึงการเอาชีวิตรอดให้กับระบบรัฐสวัสดิการของตนโดยการดำเนินการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (economic liberalization) จากการลดกฎระเบียบด้านคมนาคม ยกเลิกการควบคุมปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ยกเลิกการควบคุมเงินตราต่างประเทศ และลดกฎระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมราคาและอัตราภาษีลง พร้อมปฏิรูประบบภาษีแบบก้าวหน้าที่เก็บโหด ๆ กลับไปเป็นระบบอัตราภาษีคงที่ และสุดท้าย (iii).วิกฤตทางการเงินในปี 1990-94 เป็นวิกฤตที่สร้างบาดแผลให้กับประเทศอย่างมากจนทำให้เกิดฉันทามติที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจไปเป็นตลาดเสรีอีกครั้งเพื่อทำให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโตเหมือนเดิม วิกฤตนี้เองเป็นผลมาจากการสะสมปัญหาในระยะยาวทั้งในส่วนของผลิตภาพการแข่งขันที่ไม่ถูกแก้ไข การเกิดฟองสบู่เป็นผลมาจากนโยบายการเงินแบบหลวมของธนาคารกลาง (loose monetary policy) หลังจากปี ค.ศ.1986 และก่อนหน้านั้นก็มีการแทรกแซงจากรัฐอย่างหม่ำเสมออยู่แล้ว ทั้งจากการขาดดุลงบประมาณ การเสื่อมค่าของเงินและกำลังซื้อ การเพิ่มค่าแรงและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การแบกภาระจากรัฐสวัสดิการเป็นผลทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้ขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธนาคารกลางแห่งชาติของสวีเดนในช่วงเวลานั้นต้องตอบโต้โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น 500% เพื่อยับยั้งการขาดดุล การเสื่อมมูลค่าของเงิน อัตราเงินเฟ้อที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั้ง 3 ไตรมาสติดลบ
.
อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันนี้เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมาอีกครั้ง มีความพยายามทำให้อัตราภาษีลดลง การพยายามแปรรูปจากกิจการรัฐไปเป็นเอกชน แต่ในขณะเดียวกันก็ผูกระบบรัฐสวัสดิการขนาดใหญ่เอาไว้กับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีทุนนิยม ชื่อเฉพาะของมันได้ว่ามันคือ "capitalist welfare state" มันไม่ใช่ระบบสายกลาง หรือ ทางที่สามแต่อย่างใด แต่เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอียงไปทางทุนนิยมมากกว่าการแทรกแซงของรัฐและสังคมนิยมเท่านั้น