Jakk Goodday on Nostr: ## **ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด** ...
## **ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด** (The Ultimate Resource)
> *มนุษย์ทุกคนต่างถูกกำหนดโดยกระแสเวลาที่ไหลผ่านไปไม่หยุดหย่อน เราเริ่มต้นชีวิต, เติบโต, แก่ตัว, และสุดท้ายก็ดับไป ในโลกที่เวลาเป็นสิ่งมีค่าและมีจำกัด การบริหารเวลาอย่างชาญฉลาดจึงเป็นศิลปะสำคัญ ไม่ต่างจากการดูแลทรัพยากรหายากอื่นๆ ลักษณะเฉพาะของการจัดการเวลานั้นเกิดจากคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และไม่สามารถย้อนกลับได้ของมัน*
— ลุดวิก ฟอน มีสเซส (Ludwig von Mises)
> *Man is subject to the passing of time. He comes into existence, grows, becomes old, and passes away. His time is scarce. He must economize it as he economizes other scarce factors. The economization of time has a peculiar character because of the uniqueness and irreversibility of the temporal order.
—Ludwig von Mises
---
การกระทำของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทุกการตัดสินใจทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นดำเนินผ่านเวลาไป และการผลิตเองก็ต้องใช้เวลา
ซึ่งด้วยความที่มนุษย์มีชีวิตตั้งอยู่บนเวลาที่จำกัด เวลาที่เหลืออยู่บนโลกนี้ของเราจึงมีค่า และความขาดแคลนนั้นก็ทำให้เวลากลายเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีคุณค่า
คุณลักษณะที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ของเวลา ทำให้มันกลายเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
เพราะคุณไม่สามารถซื้อเวลาที่คุณใช้ไปแล้วกลับคืนมาได้ ไม่สามารถเพิ่มเวลาของคุณได้ไม่จำกัดเหมือนอย่างสินค้าชนิดอื่นๆ
**ลุดวิก ฟอน มีสเซส** (Ludwig von Mises) และนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียน (Austrian economists) ต่างก็เคยได้เขียนถึงความสำคัญของการเข้าใจมิติเวลาในการกระทำของมนุษย์ และลักษณะเฉพาะของเวลาในฐานะสินค้าทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้มันยังถูกขยายความคิดจากงานเขียนในหนังสือ *The Ultimate Resource* ของนักเศรษฐศาสตร์อย่าง **จูเลียน ไซม่อน** (Julian Simon) ว่า.. **เวลาของมนุษย์ คือ ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และความขาดแคลนทางเศรษฐกิจก็เป็นผลมาจากความขาดแคลนในเวลาของมนุษย์**
การประหยัดเวลาหรือบริหารจัดการเวลา (Economization of time) คือการกระทำทางเศรษฐกิจขั้นสูงสุด ซึ่งการตัดสินใจทางเศรษฐกิจแทบทั้งหมดล้วนไหลออกมาจากจุดนั้น
เพราะถ้ามีเวลามากขึ้น.. มนุษย์ก็จะสามารถผลิตสินค้าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ จะไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพที่จะผูกมัดการผลิตสินค้าใดๆ ได้ และด้วยการทุ่มอุทิศเวลาและความพยายามของมนุษย์ ผลผลิตของสินค้าใดๆ ก็สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เพียงแต่ความขาดแคลนของเวลา.. มันก็ทำให้เราต้องเลือกที่จะผลิตสินค้าต่างๆ สิ่งนี้ก็ไปสร้างความขาดแคลนของพวกมันขึ้นมา
เมื่อเด็กคนหนึ่งลืมตาขึ้นมาดูโลก.. เวลาของเขาบนโลกก็เริ่มขึ้น และเวลานั้นก็ไม่แน่นอน มันอาจจะสั้นเพียงแค่ชั่วโมงเดียว หรืออาจจะยืนยาวได้ถึงศตวรรษ
ไม่มีใครรู้ได้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่บนโลกไปได้นานแค่ไหน แต่ทุกคนก็รู้ว่าคงไม่มีใครอยู่ได้ตลอดไป และสุดท้ายแล้ว.. เวลาของเด็กคนนั้นจะหดหายไปจนหมดสิ้น
ด้วยการเติบโตที่มาพร้อมความตระหนักรู้นี้.. ทำให้มนุษย์เริ่มหันมาประหยัดและบริหารจัดการเวลากันมากขึ้น
เมื่อการเติบโตและการแก่ชราทำให้มนุษย์ตระหนักได้ถึงความสำคัญของ **"เวลา"** บนโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
เวลา.. จึงมีค่ามากขึ้นสำหรับมนุษย์
ในตลาดแรงงานก็สามารถเห็นได้ จากการที่ต้องจ่ายให้กับแรงงานมนุษย์เพิ่มขึ้นไปตามเวลาที่ใช้ในการทำงานและการผลิตเพื่อเพิ่มจำนวนวัตถุทางกายภาพ ซึ่งก็ส่งผลให้ "มูลค่า" ของมันลดลงเมื่อวัดด้วยแรงงานมนุษย์
ในหนังสือของไซม่อน (Simon) ได้กล่าวเอาไว้ว่า **"เวลาของมนุษย์"** หรือ **"แรงงานมนุษย์"** คือ ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (Ultimate Resource) เพราะมันสามารถนำไปใช้ในผลิตสินค้าทางเศรษฐกิจและทรัพยากรทุกประเภทได้
การอุทิศเวลาให้กับกระบวนการผลิตใดๆ จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผลผลิตของมัน
จากข้อโต้แย้งในหนังสือของไซม่อน.. การใช้คำว่า “ทรัพยากร” ในการอธิบายสินค้าทางกายภาพเป็นคำใช้คำที่ไม่ถูกต้อง
เนื่องจากทรัพยากรทางกายภาพเป็นผลิตภัณฑ์จากการใช้ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ "เวลาของมนุษย์" ไปในการเปลี่ยนวัตถุดิบที่มีอยู่มากมายไม่สิ้นสุดให้กลายไปเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีประโยชน์
คำว่า “ทรัพยากร” ที่เข้าใจกัน สื่อถึงสิ่งที่จะถูกมนุษย์นำมาใช้ตามการบริโภค แต่แท้จริงแล้ว "ทรัพยากร" ต้องถูกผลิตขึ้นก่อนที่จะถูกบริโภคต่างหากล่ะ (ตามข้อโต้แย้งของไซม่อน)
และการผลิตของมันที่ถูกจำกัด มันไม่ใช่เพราะความอุดมสมบูรณ์ทางกายภาพ (จำนวน) ของมันบนโลก แต่มันเป็นเพราะ.. ปริมาณ "เวลา" ที่มนุษย์อุทิศให้กับการผลิตมัน
จะเห็นได้ว่า.. แนวคิดของไซม่อนได้ชี้แจงถึงธรรมชาติของความขาดแคลนทางเศรษฐกิจในแง่ที่เกี่ยวข้องกับเวลาของมนุษย์ในฐานะทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปได้กำหนดให้ความขาดแคลนของสินค้าทางกายภาพเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
ปริมาณของสินค้าทางกายภาพที่อยู่ในโลกก็เกินกว่าที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ปริมาณของวัสดุดิบจึงไม่ใช่สิ่งที่ทำให้มันขาดแคลนสำหรับเรา..
สิ่งที่ทำให้มันขาดแคลน คือ **"เวลา"** ที่จำเป็นในการผลิตมัน ..ซึ่งถูกจำกัดอย่างชัดเจนสำหรับเรา
สรุปได้ว่า.. "เวลามีค่า.. ศึกษาบิตคอยน์"
อ้าว.. ซะงั้น
---
เรียบเรียงขึ้นใหม่ (ไม่ใช่แปล) จากเนื้อหาส่วนหนึ่งในบทที่ 3 ของหนังสือ Principles of Economics ผลงานของ Saifedean Ammous
#siamstr #jakkstr #time #scarcity
> *มนุษย์ทุกคนต่างถูกกำหนดโดยกระแสเวลาที่ไหลผ่านไปไม่หยุดหย่อน เราเริ่มต้นชีวิต, เติบโต, แก่ตัว, และสุดท้ายก็ดับไป ในโลกที่เวลาเป็นสิ่งมีค่าและมีจำกัด การบริหารเวลาอย่างชาญฉลาดจึงเป็นศิลปะสำคัญ ไม่ต่างจากการดูแลทรัพยากรหายากอื่นๆ ลักษณะเฉพาะของการจัดการเวลานั้นเกิดจากคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และไม่สามารถย้อนกลับได้ของมัน*
— ลุดวิก ฟอน มีสเซส (Ludwig von Mises)
> *Man is subject to the passing of time. He comes into existence, grows, becomes old, and passes away. His time is scarce. He must economize it as he economizes other scarce factors. The economization of time has a peculiar character because of the uniqueness and irreversibility of the temporal order.
—Ludwig von Mises
---
การกระทำของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทุกการตัดสินใจทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นดำเนินผ่านเวลาไป และการผลิตเองก็ต้องใช้เวลา
ซึ่งด้วยความที่มนุษย์มีชีวิตตั้งอยู่บนเวลาที่จำกัด เวลาที่เหลืออยู่บนโลกนี้ของเราจึงมีค่า และความขาดแคลนนั้นก็ทำให้เวลากลายเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีคุณค่า
คุณลักษณะที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ของเวลา ทำให้มันกลายเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
เพราะคุณไม่สามารถซื้อเวลาที่คุณใช้ไปแล้วกลับคืนมาได้ ไม่สามารถเพิ่มเวลาของคุณได้ไม่จำกัดเหมือนอย่างสินค้าชนิดอื่นๆ
**ลุดวิก ฟอน มีสเซส** (Ludwig von Mises) และนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียน (Austrian economists) ต่างก็เคยได้เขียนถึงความสำคัญของการเข้าใจมิติเวลาในการกระทำของมนุษย์ และลักษณะเฉพาะของเวลาในฐานะสินค้าทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้มันยังถูกขยายความคิดจากงานเขียนในหนังสือ *The Ultimate Resource* ของนักเศรษฐศาสตร์อย่าง **จูเลียน ไซม่อน** (Julian Simon) ว่า.. **เวลาของมนุษย์ คือ ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และความขาดแคลนทางเศรษฐกิจก็เป็นผลมาจากความขาดแคลนในเวลาของมนุษย์**
การประหยัดเวลาหรือบริหารจัดการเวลา (Economization of time) คือการกระทำทางเศรษฐกิจขั้นสูงสุด ซึ่งการตัดสินใจทางเศรษฐกิจแทบทั้งหมดล้วนไหลออกมาจากจุดนั้น
เพราะถ้ามีเวลามากขึ้น.. มนุษย์ก็จะสามารถผลิตสินค้าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้ จะไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพที่จะผูกมัดการผลิตสินค้าใดๆ ได้ และด้วยการทุ่มอุทิศเวลาและความพยายามของมนุษย์ ผลผลิตของสินค้าใดๆ ก็สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เพียงแต่ความขาดแคลนของเวลา.. มันก็ทำให้เราต้องเลือกที่จะผลิตสินค้าต่างๆ สิ่งนี้ก็ไปสร้างความขาดแคลนของพวกมันขึ้นมา
เมื่อเด็กคนหนึ่งลืมตาขึ้นมาดูโลก.. เวลาของเขาบนโลกก็เริ่มขึ้น และเวลานั้นก็ไม่แน่นอน มันอาจจะสั้นเพียงแค่ชั่วโมงเดียว หรืออาจจะยืนยาวได้ถึงศตวรรษ
ไม่มีใครรู้ได้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่บนโลกไปได้นานแค่ไหน แต่ทุกคนก็รู้ว่าคงไม่มีใครอยู่ได้ตลอดไป และสุดท้ายแล้ว.. เวลาของเด็กคนนั้นจะหดหายไปจนหมดสิ้น
ด้วยการเติบโตที่มาพร้อมความตระหนักรู้นี้.. ทำให้มนุษย์เริ่มหันมาประหยัดและบริหารจัดการเวลากันมากขึ้น
เมื่อการเติบโตและการแก่ชราทำให้มนุษย์ตระหนักได้ถึงความสำคัญของ **"เวลา"** บนโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
เวลา.. จึงมีค่ามากขึ้นสำหรับมนุษย์
ในตลาดแรงงานก็สามารถเห็นได้ จากการที่ต้องจ่ายให้กับแรงงานมนุษย์เพิ่มขึ้นไปตามเวลาที่ใช้ในการทำงานและการผลิตเพื่อเพิ่มจำนวนวัตถุทางกายภาพ ซึ่งก็ส่งผลให้ "มูลค่า" ของมันลดลงเมื่อวัดด้วยแรงงานมนุษย์
ในหนังสือของไซม่อน (Simon) ได้กล่าวเอาไว้ว่า **"เวลาของมนุษย์"** หรือ **"แรงงานมนุษย์"** คือ ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (Ultimate Resource) เพราะมันสามารถนำไปใช้ในผลิตสินค้าทางเศรษฐกิจและทรัพยากรทุกประเภทได้
การอุทิศเวลาให้กับกระบวนการผลิตใดๆ จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผลผลิตของมัน
จากข้อโต้แย้งในหนังสือของไซม่อน.. การใช้คำว่า “ทรัพยากร” ในการอธิบายสินค้าทางกายภาพเป็นคำใช้คำที่ไม่ถูกต้อง
เนื่องจากทรัพยากรทางกายภาพเป็นผลิตภัณฑ์จากการใช้ทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ "เวลาของมนุษย์" ไปในการเปลี่ยนวัตถุดิบที่มีอยู่มากมายไม่สิ้นสุดให้กลายไปเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีประโยชน์
คำว่า “ทรัพยากร” ที่เข้าใจกัน สื่อถึงสิ่งที่จะถูกมนุษย์นำมาใช้ตามการบริโภค แต่แท้จริงแล้ว "ทรัพยากร" ต้องถูกผลิตขึ้นก่อนที่จะถูกบริโภคต่างหากล่ะ (ตามข้อโต้แย้งของไซม่อน)
และการผลิตของมันที่ถูกจำกัด มันไม่ใช่เพราะความอุดมสมบูรณ์ทางกายภาพ (จำนวน) ของมันบนโลก แต่มันเป็นเพราะ.. ปริมาณ "เวลา" ที่มนุษย์อุทิศให้กับการผลิตมัน
จะเห็นได้ว่า.. แนวคิดของไซม่อนได้ชี้แจงถึงธรรมชาติของความขาดแคลนทางเศรษฐกิจในแง่ที่เกี่ยวข้องกับเวลาของมนุษย์ในฐานะทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปได้กำหนดให้ความขาดแคลนของสินค้าทางกายภาพเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
ปริมาณของสินค้าทางกายภาพที่อยู่ในโลกก็เกินกว่าที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ปริมาณของวัสดุดิบจึงไม่ใช่สิ่งที่ทำให้มันขาดแคลนสำหรับเรา..
สิ่งที่ทำให้มันขาดแคลน คือ **"เวลา"** ที่จำเป็นในการผลิตมัน ..ซึ่งถูกจำกัดอย่างชัดเจนสำหรับเรา
สรุปได้ว่า.. "เวลามีค่า.. ศึกษาบิตคอยน์"
อ้าว.. ซะงั้น
---
เรียบเรียงขึ้นใหม่ (ไม่ใช่แปล) จากเนื้อหาส่วนหนึ่งในบทที่ 3 ของหนังสือ Principles of Economics ผลงานของ Saifedean Ammous
#siamstr #jakkstr #time #scarcity