What is Nostr?
LearnBN / Learning_BTC&NOSTR
npub10yq…hcl3
2024-11-27 09:40:59

LearnBN on Nostr: ...

เกริ่นนำเรื่องราวของบิตคอยน์แบบกระทัดรัด

บิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นชุดแนวคิดและเทคโนโลยีที่เข้ามาผสมผสานรวมกันจนได้กลายเป็นระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยเงินที่เรียกว่าบิตคอยน์นั้น ใช้เพื่อเก็บและส่งต่อมูลค่าให้กับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในระบบ ผู้ใช้ทั้งระบบสื่อสารกันบนโปรโตคอลของบิตคอยน์ โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็เข้าถึงกันผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าระบบนี้ไม่สามารถใช้เครือข่ายการสื่อสารรูปแบบอื่นได้ ซอฟต์แวร์ของโปรโตคอลนี้เป็นโอเพนซอร์สและสามารถรันได้บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายประเภท เช่น แล็ปท็อปและสมาร์ทโฟน และสิ่งนี้เองที่ทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถเข้าถึงได้ง่าย

ผู้ใช้งานสามารถส่งบิตคอยน์ให้กันผ่านเครือข่ายของบิตคอยน์เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ หรือใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต เพราะมีทั้งความรวดเร็ว ความปลอดภัย และยังข้อจำกัดเรื่องพรมแดน

ซึ่งบิตคอยน์นั้นแตกต่างจากสกุลเงินโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่มีเหรียญหรือธนบัตรจริง ๆ ให้ได้จับต้อง แต่คำว่าเหรียญที่มักใช้กันในสังคมของบิตคอยน์จะหมายถึงในธุรกรรมที่ผู้ใช้รายหนึ่งโอนมูลค่าไปยังผู้ใช้อีกรายหนึ่ง ผู้ใช้งานบิตคอยน์จะควบคุมคีย์ (Private Key) ที่ใช้พิสูจน์ความเป็นเจ้าของในบิตคอยน์นั้น ๆ ในเครือข่าย และด้วยคีย์นี้เองทำให้พวกเขาสามารถเซ็นชื่อในธุรกรรมเพื่อปลดล็อกมูลค่าและทำการส่งมันต่อไปยังผู้รับอีกรายหนึ่ง ซึ่งมักจะถูกเก็บอยู่ในกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน การครอบครองคีย์ที่สามารถเซ็นชื่อในธุรกรรมได้เป็นสิ่งเดียวที่จำเป็นในการใช้จ่ายในระบบของบิตคอยน์ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ความสามารถในการควบคุมบิตคอยน์อยู่ในมือผู้ใช้แต่ละคน

* เข้าใจว่าในบริบทนี้น่าจะหมายถึง Hot-wallet เพราะงั้นผมไม่ได้แนะนำให้เก็บคีย์คอมพิวเตอร์หรือมือถือนะครับ ส่วนถ้าคุณอยากทำก็เรื่องของคุณจ้าแนะนำเฉย ๆ อยากทำไรทำ

บิตคอยน์นั้นเป็นระบบแบบกระจายศูนย์และทำงานแบบเพียร์-ทู-เพียร์ (Peer-to-Peer) หรือเอาภาษาบ้าน ๆ ว่า เป็นระบบการทำงานแบบบุคคลสู่บุลคลที่ไม่มีตัวกลางระหว่างการทำงาน ดังนั้นจึงไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลางหรือจุดควบคุม บิตคอยน์นั้นถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เรียกว่าการขุด ซึ่งเป็นการทำงานทางการคำนวณซ้ำ ๆ ที่อ้างอิงกับรายการธุรกรรมบิตคอยน์ล่าสุด (จริง ๆ ก็มี hash ของบล็อกก่อนหน้าด้วย) ซึ่งผู้ใช้งานบิตคอยน์ทุกคนสามารถที่จะขุดบิตคอยน์ได้ โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของตนเพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยในธุรกรรม โดยทุก ๆ สิบนาทีโดยเฉลี่ยนั้น จะมีนักขุดคนหนึ่งที่ได้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับธุรกรรมในอดีต และจะได้รับรางวัลเป็นบิตคอยน์ใหม่และค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมชุดล่าสุด ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้การออกสกุลเงินและการชำระธุรกรรมไม่จำเป็นต้องมีธนาคารกลาง

โปรโตคอลของบิตคอยน์ มีอัลกอรึทึมที่คอยควบคุมความยากง่ายในการการขุดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยความยากง่ายในการขุดจะขึ้นจะถูกปรับตามระยะเวลาเฉลี่ยของการขุดในช่วงก่อนหน้านี้เพื่อให้การขุดนั้นมีโอกาสสำเร็จเฉลี่ยในทุก ๆ 10 นาที ไม่ว่ามีจำนวนผู้ขุดและการประมวลผลเท่าใดก็ตาม และนอกจากนี้เองโปรโตคอลของบิตคอยน์นั้นยังลดจำนวนของบิตคอยน์ที่นักขุดจะได้เป็นรางวัลลงเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้บิตคอยน์ที่สร้างได้ในระบบนั้นมีไม่เกิน 21,000,000 ล้านบิตคอยน์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ จำนวนบิตคอยน์ที่หมุนเวียนในระบบนั้นจะสามารถคาดเดาได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอีกครึ่งหนึ่งของบิตคอยน์ที่เหลืออยู่จะถูกเพิ่มเข้าไปในระบบทุก ๆ 4 ปี และที่บล๊อกประมาณ 1,411,200 ซึ่งคาดว่าจะเกิดประมาณปี 2035 จะมีบิตคอยน์เป็นจำนวน 99 % ของที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบ เนื่องจากอัตราการการผลิตของบิตคอยน์ที่น้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้บิตคอยน์มีลักษณะของเงินฝืดในระยะยาว นอกจากนี้ยังไม่มีใครที่สามารถบังคับให้คุณรับบิตคอยน์ที่ถูกผลิตมานอกเหนือจากชุดกฎที่คุณเลือกได้

เบื้องหลังต่าง ๆ ของโปรโตคอลบิตคอยน์ที่ทำให้มันเป็น เครือข่ายแบบบุคคลถึงบุคคล และการคำนวณแบบกระจายศูนย์นั้น ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของงานวิจัยในด้านการเข้ารหัสและระบบกระจายศูนย์มาเนิ่นนานหลายทศวรรษ โดยมีการรวมเอานวัตกรรมสำคัญ ๆ 4 อย่างนี้มารวมเข้าด้วยกัน:
- เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ที่กระจายศูนย์ (ฺBitcoin protocol)
- บัญชีธุรกรรมสาธารณะ (Blockchain)
- ชุดของกฎในการตรวจสอบธุรกรรมอย่างอิสระและการออกสกุลเงิน ( consensus rules )
- กลไกในการหาข้อตกลงร่วมกันทั่วโลกเกี่ยวกับบล็อกเชนที่ถูกต้อง (PoW algorithm)

* ในมุมมองของนักพัฒนา นาย Andreas M. Antonopoulos and David A. Harding ( ไม่ใช่ผมจ้าา ถึงจะเห็นด้วยก็ตาม) พวกเขามองว่าบิตคอยน์นั้นคล้ายกับอินเทอร์เน็ตของเงิน เป็นเครือข่ายสำหรับการกระจายมูลค่าและการรักษาความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านการคำนวณแบบกระจายศูนย์ ซึ่งบิตคอยน์มีรายระเอียดเยอะกว่าที่พวกเขาเห็นในตอนแรกมาก ๆ

ในบทนี้เองจะเป็นการอธิบายแนวคิด และคำศัพท์หลัก ๆ รวมทั้งการติดตั้งซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทอดลองใช้บิตคอยน์สำหรับทำธุรกรรมง่าย ๆ และสำหรับในบทถัดไป เราจะทำการดำดิ่งลงไปในเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ประกอบรวมกันเป็นบิตคอยน์ว่าทำไมมันถึงเป็นไปได้ และตรวจสอบการทำงานภายในของเครือข่ายและโปรโตคอล

****************
ไปค้นเจอโน็ตสมัยเรียนกับ chaincode น่าจะเป็นตอนที่ต้องอ่าน mastering Bitcoin ผมพยายามเอาเนื้อหาไปเทียบกับหนังสือแล้ว โดยรวมก็ครบอยู่แหละ มีบางย่อหน้าที่ตัดทิ้งไปบ้างเหราะรู้สึกไม่สำคัญอะไร น่าจะเอามาลงให้เรื่อย ๆ จนถึงบทที่ 8 เพราะน่าจะมีแค่นั้น ถ้ามีเวลาว่างจะพยายามไล่จนจบให้ครับ
****************

#siamstr
Author Public Key
npub10yqgu7q6mmrk0nywywd4x0kukx029cnqly5p4yf9ay6zthavjw2syrhcl3