sitt on Nostr: มีมาต่อกันที่ ColliderScript ...
มีมาต่อกันที่ ColliderScript กันเลยดีกว่า เพราะหลังจากเพื่อน ๆ กลับมาจาก #East102 กันแล้ว ก็ต้องอยากรู้เป็นแน่ว่า หัวหอก Covenants บนบิทคอยน์ทำงานก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว
เมื่อโพสท์ที่แล้วเราได้กล่าวถึงการทำงาน ของอ๊อพโค้ดสามตัวที่หลายฝ่ายนักพัฒนาอยากให้อยู่ในซอฟท์ฟอร์กถัดไปของบิทคอยน์ และจำนวนการใช้ที่เห็นชัดของ OP_CAT อย่างล้ำหน้าบนบิทคอยน์ซิกเน็ต แต่ทีมงานที่ StarkWare กลับออกมาออกผลงานใหม่แทนที่ชื่อว่า ColliderScript ด้วยเปเปอร์ที่อ่านง่ายยิ่งกว่า BitVM ของทีม ZeroSync
เราลองมาวาดภาพในหัวแบบผังการเขียนสคริปท์ของบิทคอยน์กันก่อน เป็นการประเมินตรรกะแบบ stack บนอ๊อพโค้ดหลาย ๆ ตัวซ้อนกัน เหมือนใส่น้ำลงแก้ว ตัวที่อยู่เหนือสุดของแก้ว ก็จะเป็นน้ำที่ไหลเทออกมาก่อน แต่ว่าสคริปท์ของบิทคอยน์ถูกเว้นการใช้งานอ๊อพโค้ดบางตัวในปีคศ. 2010 เช่นการคูณหาร และใช้ตัวเลขใหญ่ ๆ เกินควรในระบบคอมพิวเตอร์กระจายศูนย์แบบ trustless ป้องกันไม่ให้โหนดโจมตีกันได้ หากเราใช้ความไว้ใจระหว่างคอมพิวเตอร์ บิทคอยน์ก็จะไม่ใช่เงิน หรือเป็น trusted PoS ไปนั้นเอง.
คล้อยมาถึงปัจจุบันหลังการอัพเกรดโปรโตคอล taproot ที่ส่งเสริมการพัฒนามากกว่า stack แล้วกลายเป็น tree นักพัฒนาในโลกปัจจุบันสามารถเขียนตรรกะ logic แบบกะทัดรัดมากขึ้น แล้วแขวนไว้บนกิ่งไม้ของต้นไม้เมอร์เคิ่ล merkle tree เพื่อสำแดงการแลกเปลี่ยนมูลค่าได้หลากหลายรูปแบบ
เวทมนต์ที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อหลากหลายทีมไซเฟอร์พังก์ต้องการจะใช้ตรรกะที่ถูกเว้นออก เหมือนจินตนาการที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัด อยากสร้าง covenants ขึ้นมาบนบิทคอยน์โดยไม่จำเป็นต้องซอฟท์ฟอร์ก โดยใช้ความสามารถสมาร์ทคอนแทร็กท์อย่างแท้ทรู หรือการเข้ารหัส-ถอดรหัสแทนที่ตรรกะโบราณที่คอมพิวเตอร์ หรือ vm มาก reentrancy ใช้กัน เกิดเหตุชิงทรัพย์กันไม่หยุดหย่อน
คอลไลเดอร์สคริปท์ จากหัวหอกบริษัท starkware ได้เข้ามาเสนอความเพ้อฝันใหม่ของตรรกะชั้นสูงบนบิทคอยน์ที่หากใครในโลกต้องการโจมตีถอดรหัสเพื่อชิงทรัพย์ จำเป็นต้องใช้เวลา 450,000 ปีแบบใช้แฮชเรทของบิทคอยน์เน็ตเวิร์กทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็นเกราะป้องกันชั้นสูงสุดของโลกนี้ที่เราเคยเห็นบนระบบเปิดกระจายศูนย์ก็เป็นได้ Ethan Heilman, Avihu Levy, Victor Kobolov และ Andrew Poelstra เขียนถึงการใช้ 160-bit hash functions เช่น SHA1 และ RIPEMD160 (แพร่หลายด้วยไลท์นิ่ง) ในการสร้าง covenant ด้วยบิทคอยน์เน็ตเวิร์กปัจจุบัน แต่ว่าใช้เวลาในการสร้าง 30 ชั่วโมง และจำนวนเงินประมาณ 50,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐด้วยมูลค่าบิทคอยน์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นมูลค่าที่ถูกลงมาจากหกเดือนที่แล้ว จากผลวิจัยของ Andrew Poelstra ที่กล่าวถึงความเป็นไปไม่ได้ ในการสร้างตรรกะชั้นสูงแบบไม่มีข้อจำกัดการทำงานเม็มโมรี่เช่นนี้
"If we imagine that SHA1 and RIPEMD160 can be computed as efficiently as Bitcoin ASICs compute SHA256, then the cost of such a computation would be about the same as 200 blocks, or around 625 BTC (46 million dollars). This is a lot of money, but many people have access to such a sum, so this is possible." Andrew Poelstra.
น่าสนใจยิ่งกว่า คือหัวข้อ 7.2 บน ColliderScript เปเปอร์ที่ใช้ Lamport Signature หรือการเข้ารหัสใช้แล้วทิ้ง one-time signature ที่สามารถเพิ่ม state ให้กับบิทคอยน์ขั้นสูงได้ เป็นความรังสรรค์ที่ได้รับมาจากกลุ่มนักพัฒนา BitVM ใกล้ตัวเรา ทีม Bitlayer ที่สิงคโปร์ได้เคยกล่าวไว้
"None of this shit ever goes anywhere," nvk ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์วอลเล็ทเจ้าดังของโลก และเจ้าของพอดแคสท์บิทคอยน์รีวิว ได้ตักเตือนนักพัฒนาทุกคนไว้ว่า จะไม่มีใครที่โง่พอนำเงินมาวางเทคโนโลยีที่ยากต่อการใช้จริงเช่นนี้
ใกล้ความเป็นจริงมากกว่าการทำตรรกะล้อมรอบอ๊อพโค้ดที่หายไป คือการซัพพอร์ท Great Script Restoration Project ที่ต้องการนำอ๊อพโค้ดเหล่านี้คืนมาด้วยซอฟท์ฟอร์ก ด้วยเหตุผลที่โค้ดของบิทคอยน์คอร์ในปี 2024 ต่างจากโค้ดที่เขียนเมื่อปี 2010 มาก ด้วยจำนวนนักพัฒนาที่มากขึ้น การป้องกันลอจิกบอมบ์หาใช่เรื่องยากอีกต่อไป
#Bitcoin #Siamstr #ColliderScript #Verifier #GSR #LNHANCE
เมื่อโพสท์ที่แล้วเราได้กล่าวถึงการทำงาน ของอ๊อพโค้ดสามตัวที่หลายฝ่ายนักพัฒนาอยากให้อยู่ในซอฟท์ฟอร์กถัดไปของบิทคอยน์ และจำนวนการใช้ที่เห็นชัดของ OP_CAT อย่างล้ำหน้าบนบิทคอยน์ซิกเน็ต แต่ทีมงานที่ StarkWare กลับออกมาออกผลงานใหม่แทนที่ชื่อว่า ColliderScript ด้วยเปเปอร์ที่อ่านง่ายยิ่งกว่า BitVM ของทีม ZeroSync
เราลองมาวาดภาพในหัวแบบผังการเขียนสคริปท์ของบิทคอยน์กันก่อน เป็นการประเมินตรรกะแบบ stack บนอ๊อพโค้ดหลาย ๆ ตัวซ้อนกัน เหมือนใส่น้ำลงแก้ว ตัวที่อยู่เหนือสุดของแก้ว ก็จะเป็นน้ำที่ไหลเทออกมาก่อน แต่ว่าสคริปท์ของบิทคอยน์ถูกเว้นการใช้งานอ๊อพโค้ดบางตัวในปีคศ. 2010 เช่นการคูณหาร และใช้ตัวเลขใหญ่ ๆ เกินควรในระบบคอมพิวเตอร์กระจายศูนย์แบบ trustless ป้องกันไม่ให้โหนดโจมตีกันได้ หากเราใช้ความไว้ใจระหว่างคอมพิวเตอร์ บิทคอยน์ก็จะไม่ใช่เงิน หรือเป็น trusted PoS ไปนั้นเอง.
คล้อยมาถึงปัจจุบันหลังการอัพเกรดโปรโตคอล taproot ที่ส่งเสริมการพัฒนามากกว่า stack แล้วกลายเป็น tree นักพัฒนาในโลกปัจจุบันสามารถเขียนตรรกะ logic แบบกะทัดรัดมากขึ้น แล้วแขวนไว้บนกิ่งไม้ของต้นไม้เมอร์เคิ่ล merkle tree เพื่อสำแดงการแลกเปลี่ยนมูลค่าได้หลากหลายรูปแบบ
เวทมนต์ที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อหลากหลายทีมไซเฟอร์พังก์ต้องการจะใช้ตรรกะที่ถูกเว้นออก เหมือนจินตนาการที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัด อยากสร้าง covenants ขึ้นมาบนบิทคอยน์โดยไม่จำเป็นต้องซอฟท์ฟอร์ก โดยใช้ความสามารถสมาร์ทคอนแทร็กท์อย่างแท้ทรู หรือการเข้ารหัส-ถอดรหัสแทนที่ตรรกะโบราณที่คอมพิวเตอร์ หรือ vm มาก reentrancy ใช้กัน เกิดเหตุชิงทรัพย์กันไม่หยุดหย่อน
คอลไลเดอร์สคริปท์ จากหัวหอกบริษัท starkware ได้เข้ามาเสนอความเพ้อฝันใหม่ของตรรกะชั้นสูงบนบิทคอยน์ที่หากใครในโลกต้องการโจมตีถอดรหัสเพื่อชิงทรัพย์ จำเป็นต้องใช้เวลา 450,000 ปีแบบใช้แฮชเรทของบิทคอยน์เน็ตเวิร์กทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็นเกราะป้องกันชั้นสูงสุดของโลกนี้ที่เราเคยเห็นบนระบบเปิดกระจายศูนย์ก็เป็นได้ Ethan Heilman, Avihu Levy, Victor Kobolov และ Andrew Poelstra เขียนถึงการใช้ 160-bit hash functions เช่น SHA1 และ RIPEMD160 (แพร่หลายด้วยไลท์นิ่ง) ในการสร้าง covenant ด้วยบิทคอยน์เน็ตเวิร์กปัจจุบัน แต่ว่าใช้เวลาในการสร้าง 30 ชั่วโมง และจำนวนเงินประมาณ 50,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐด้วยมูลค่าบิทคอยน์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นมูลค่าที่ถูกลงมาจากหกเดือนที่แล้ว จากผลวิจัยของ Andrew Poelstra ที่กล่าวถึงความเป็นไปไม่ได้ ในการสร้างตรรกะชั้นสูงแบบไม่มีข้อจำกัดการทำงานเม็มโมรี่เช่นนี้
"If we imagine that SHA1 and RIPEMD160 can be computed as efficiently as Bitcoin ASICs compute SHA256, then the cost of such a computation would be about the same as 200 blocks, or around 625 BTC (46 million dollars). This is a lot of money, but many people have access to such a sum, so this is possible." Andrew Poelstra.
น่าสนใจยิ่งกว่า คือหัวข้อ 7.2 บน ColliderScript เปเปอร์ที่ใช้ Lamport Signature หรือการเข้ารหัสใช้แล้วทิ้ง one-time signature ที่สามารถเพิ่ม state ให้กับบิทคอยน์ขั้นสูงได้ เป็นความรังสรรค์ที่ได้รับมาจากกลุ่มนักพัฒนา BitVM ใกล้ตัวเรา ทีม Bitlayer ที่สิงคโปร์ได้เคยกล่าวไว้
"None of this shit ever goes anywhere," nvk ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์วอลเล็ทเจ้าดังของโลก และเจ้าของพอดแคสท์บิทคอยน์รีวิว ได้ตักเตือนนักพัฒนาทุกคนไว้ว่า จะไม่มีใครที่โง่พอนำเงินมาวางเทคโนโลยีที่ยากต่อการใช้จริงเช่นนี้
ใกล้ความเป็นจริงมากกว่าการทำตรรกะล้อมรอบอ๊อพโค้ดที่หายไป คือการซัพพอร์ท Great Script Restoration Project ที่ต้องการนำอ๊อพโค้ดเหล่านี้คืนมาด้วยซอฟท์ฟอร์ก ด้วยเหตุผลที่โค้ดของบิทคอยน์คอร์ในปี 2024 ต่างจากโค้ดที่เขียนเมื่อปี 2010 มาก ด้วยจำนวนนักพัฒนาที่มากขึ้น การป้องกันลอจิกบอมบ์หาใช่เรื่องยากอีกต่อไป
#Bitcoin #Siamstr #ColliderScript #Verifier #GSR #LNHANCE