Ayasa on Nostr: “การสาธารณสุข (Public Health) ...
“การสาธารณสุข (Public Health) จะป้องกันการคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural Selection)”
ว่าง ๆ มหาลัยปิดเทอมแบบนี้ ก็อยากจะแอคทีฟเขียนอะไรซักอย่างลง Nostr บ้าง เรื่องนี้ก็เป็นเกี่ยวกับวิชาพัฒนาชุมชน ทำให้เห็นมุมมองของผู้มีอำนาจเป็นอย่างไร จึงทำให้เกิดการจัดสรรงบประมาณภาษีไปกับการสาธารณสุขเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งอาจารย์ของผมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ ”การสาธารณสุข“ เป็นยังไง จะเฟียตไหม กายพร้อม ใจพร้อม ลุยกัน!!
โลกสมัยก่อนคือธรรมชาติคัดสรร (Natural Selection)
ในสมัยที่วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่คีบหน้า อัตราการรอดของทารกเรียกได้ว่า 50-50 อายุขัยประชากรคือ 16-22-36 ปี(มันแล้วแต่ประเทศ แต่จะราว ๆ นี้) ซึ่งเป็นผลจากธรรมชาติที่เป็นผู้ทดสอบว่าใครจะรอด ใครจะไป ทดสอบความแข็งแรงของร่างกายและความสมบูรณ์ของยีน ถ้ายีนดี ก็รอดสืบพันธุ์ต่อไป ถ้ายีนไม่ดี ก็ตายไป โลกเป็นแบบนี้มาอย่างช้านาน
จนกระทั่งเมื่อมนุษยชาติมีความก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ มากขึ้น เราสามารถเอาชนะบททดสอบของธรรมชาติได้ อายุขัยของมนุษย์มากขึ้น อัตราการตายของทารกเกือบเป็นศูนย์ ผู้คนมองเห็นว่าการช่วยให้ผู้ไม่แข็งแรงผ่านบททดสอบของธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม จึงเกิดเป็นการสาธารณสุข (Public Health) ขึ้น
จุดเริ่มต้นการสาธารณสุข (Public Health)
ย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเป็นอยู่ของประชากรผู้ด้อยโอกาส ประกอบกับการระบาดของโรคไข้รากสาดใหญ่ที่ทำให้คุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ชิบหายลงกว่าเดิม นักกฎหมายคนหนึ่งชื่อ Edwin Chadwick ที่เป็นห่วงด้านสวัสดิภาพของสวัสดิการของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กังวลว่าความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมือง เขามีความเชื่อว่าถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี ชีวิตก็ไม่ดีหรือทฤษฎีการเกิดโรคจากการปนเปื้อนของสิ่งแวดล้อม (Miasma Theory) จึงขับเคลื่อนการออกตัวกฎหมายความยากจน (Poor Law Act of 1832) ที่มุ่งหวังให้มีมาตรการจัดหาที่พำนักพึงสำหรับกลุ่มแรงงานและคนไร้บ้าน
Chadwick ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับสุขภาวการณ์ของผู้ใช้แรงงานในอังกฤษที่รวบรวมข้อมูลการป่วย การตายของประชากรโดยจำแนกตามสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ และนำเสนอต่อคณะกรรมธิการด้านสุขาภิบาล เกิดการปฏิรูปสุขาภิบาลอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยและชุมชน Edwin Chadwick ที่เป็นหอกแรกในการปฏิรูปสุขาภิบาลจึงถูกยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการสาธารณสุขยุคใหม่”
เป้าหมายของการสาธารณสุข (Scope)
การสาธารณสุขเป็นการผลักดันเชิงนโยบายที่ทางส่วนใหญ่ภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน เพิ่มส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี แต่จะสุขภาพดีได้ยังไงบ้าง มี 3 ทาง
- ส่งเสริมศูนย์สาธารณสุข เช่น การกระจายศูนย์อนามัยด้วยเงินสนับสนุน การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือให้โรงพยาบาลเก็บสถิติทางสุขภาพเพื่อนำไปทำแผนพัฒนาชุมชน
- ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี + จูงใจคนให้รักสุขภาพ เช่น อบรบให้คนเข้าใจว่า “สุขภาพดี” เป็นยังไง (อาจจะเป็นกิน 3 มื้อ มี LDL ต่ำ กินยาที่หมอสั่งก็ได้นะ หรือใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ดี) จูงใจให้คนออกกำลังกาย
- ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่น กำกับดูแลความสะอาดของอาหาร แหล่งน้ำ ยา ร้านค้า บ้านเรือน ฉีดยากันแมลง พาหะนำโรค ยุงลายหน้าฝน ดูแลไม่ให้มีการปนเปื้อนมลพิษในดินหรือน้ำ
Public Health vs. Natural Selection
การมีอยู่ของการสาธารณสุขป้องกันการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เนื่องจากการสาธารณสุขจะช่วยให้คนที่ไม่แข็งแรงสามารถผ่านบททดสอบของธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โรคระบาด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ผู้มีอำนาจที่หวังดีออกนโยบายสาธารณสุขคือเรื่องจริยธรรมล้วน ๆ เรามองว่าพวกเขา (ผู้ที่ไม่แข็งแรง) คือมนุษย์เหมือนกับเรา ทุกคนควรได้รับ “โอกาส” ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
การสาธารณสุขเป็นสิ่งที่คนมองว่าถูกจริยธรรม เราช่วยเหลือคนไม่แข็งแรง ยีนไม่ดีก็สามารถรอดได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ทางรัฐบาล ทำยังไงได้ละ เราก็ต้องช่วยเหลือพวกเขาอยู่ดี ด้วยการที่ศีลธรรมมันค้ำคอและความประสงค์ดี ด้วยภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เราจึงไม่สามารถช่วยเหลือทุกคนอย่างที่ต้องการได้ จึงจำเป็นต้องเลือกช่วยเหลือผู้ที่ไม่แข็งแรงที่สุดก่อน ยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้คนแก่หรือผู้มีโรคประจำตัวก่อนคนปกติ ซึ่งผู้มีอำนาจจะมองว่าไม่ธรรมชาติคัดสรรแล้ว เย้
“Unfits” พวกยีนด้อยก็ตายไป คนจนก็ตายไป มีแต่คนรวย แข็งแรงรอด
สุดท้ายแล้วในโลกปัจจุบัน แม้คนส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกว่ารัฐไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้ดีเท่ากับเอกชน แต่ด้วยความคิดที่ว่าถ้าเราไม่จ่าย “ภาษี” แล้วคนที่ลำบากเขาจะอยู่ยังไง จริยธรรมยังคงมีอยู่ในสังคม เราอยากจะช่วยเหลือเขาเหลือเกินแต่แค่ตนเองยังเอาตัวไม่รอดเลย ทำไมทางออกมันกลับคลุมเคลือเสียเหลือเกินนะ
โลกก็ยังคงมีการคัดเลือกตามธรรมชาติอยู่ เพื่อหาผู้ที่แข็งแรง ยีนที่ดี หรือมีทรัพยากรมากเพียงพอ ซึ่งปัจจัยยีนเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่ความสามารถในการหาทรัพยากรเป็นสิ่งที่เราเลือกได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่สามารถเลื่อนฐานะตนเองจนมีเงินพอที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีเงิน แต่หากความสามารถในการหาทรัพยากรเป็นสิ่งจริงแท้ แต่เหตุใดคนจนที่หาเช้ากินค่ำอย่างขยันขันแข็ง เพื่อหวังว่าเขาจะเลื่อนฐานะตนเอง กลับไม่สามารถรอดจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติได้ ราวกับว่ามีบางอย่างกำลังบิดเบี้ยว
บ่นส่งท้าย
ตอนนั่งเรียน ๆ อยู่คือแบบว้าว รัฐสวัสดิการสินะ ทุกคนในห้องเรียนที่กำลังซึมซัมคำพูดอาจารย์เรื่องจริยธรรม มันดีมากเลย รัฐบาลนี่สิ พระเอกขี่ม้าขาวที่จะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ทุกคนเผลอลืมผลกระทบระยะยาวไป ซึ่งหากมองว่าเราจะไม่จ่ายภาษี เพราะมองว่ารัฐบริหารไร้ประสิทธิภาพ เป็นเพียงการปล้นเงินจากภาคเอกชนที่ทำได้ดีกว่า เราก็จะถูกมองว่าเป็นพวกไร้จรรยาบรรณ อยู่ในสังคมไปได้ยังไงวะ ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น โตมายังไงพ่อแม่สั่งสอนป่าว คนที่ไม่มีจะกินเขาจะอยู่ยังไงวะ ภาษีกลายเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นเช่นเดียวกับความตาย
ถึงตอนนี้ผมจะรู้สึกว่ามีทางออกเรื่องการลดอำนาจรัฐแล้ว แต่ว่าเรื่องการสาธารณสุขแบบนี้ ผมยังคงมองทางออกได้ไม่ชัดว่าหากเอกชนหรือผู้ใจบุญมาช่วยเหลือ เขาจะเป็นใครและทำยังไงได้บ้างให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ใครมีแนวทางช่วยเหลือด้านสาธารณสุขที่ทำโดยเอกชนและมีประสิทธิภาพก็นำมาแชร์กันได้นะครับ เผื่อตอนผมออกชุมชนช่วงเรียนปี 6 ไม่ก็ช่วงใช้ทุนแล้วโดนสสจ.เรียก จะได้มีแนวทางบริหารงบประมาณเงินเฟียตจากรัฐให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ถ้ามีข้อมูลตรงไหนที่ผิดพลาด ก็กราบอภัยด้วยครับ น้อมรับทุกคำติชม เรียนไปก็เข้าหัวบ้างไม่เข้าบ้าง ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
#siamstr
ว่าง ๆ มหาลัยปิดเทอมแบบนี้ ก็อยากจะแอคทีฟเขียนอะไรซักอย่างลง Nostr บ้าง เรื่องนี้ก็เป็นเกี่ยวกับวิชาพัฒนาชุมชน ทำให้เห็นมุมมองของผู้มีอำนาจเป็นอย่างไร จึงทำให้เกิดการจัดสรรงบประมาณภาษีไปกับการสาธารณสุขเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งอาจารย์ของผมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ ”การสาธารณสุข“ เป็นยังไง จะเฟียตไหม กายพร้อม ใจพร้อม ลุยกัน!!
โลกสมัยก่อนคือธรรมชาติคัดสรร (Natural Selection)
ในสมัยที่วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่คีบหน้า อัตราการรอดของทารกเรียกได้ว่า 50-50 อายุขัยประชากรคือ 16-22-36 ปี(มันแล้วแต่ประเทศ แต่จะราว ๆ นี้) ซึ่งเป็นผลจากธรรมชาติที่เป็นผู้ทดสอบว่าใครจะรอด ใครจะไป ทดสอบความแข็งแรงของร่างกายและความสมบูรณ์ของยีน ถ้ายีนดี ก็รอดสืบพันธุ์ต่อไป ถ้ายีนไม่ดี ก็ตายไป โลกเป็นแบบนี้มาอย่างช้านาน
จนกระทั่งเมื่อมนุษยชาติมีความก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ มากขึ้น เราสามารถเอาชนะบททดสอบของธรรมชาติได้ อายุขัยของมนุษย์มากขึ้น อัตราการตายของทารกเกือบเป็นศูนย์ ผู้คนมองเห็นว่าการช่วยให้ผู้ไม่แข็งแรงผ่านบททดสอบของธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม จึงเกิดเป็นการสาธารณสุข (Public Health) ขึ้น
จุดเริ่มต้นการสาธารณสุข (Public Health)
ย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเป็นอยู่ของประชากรผู้ด้อยโอกาส ประกอบกับการระบาดของโรคไข้รากสาดใหญ่ที่ทำให้คุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ชิบหายลงกว่าเดิม นักกฎหมายคนหนึ่งชื่อ Edwin Chadwick ที่เป็นห่วงด้านสวัสดิภาพของสวัสดิการของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กังวลว่าความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมือง เขามีความเชื่อว่าถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี ชีวิตก็ไม่ดีหรือทฤษฎีการเกิดโรคจากการปนเปื้อนของสิ่งแวดล้อม (Miasma Theory) จึงขับเคลื่อนการออกตัวกฎหมายความยากจน (Poor Law Act of 1832) ที่มุ่งหวังให้มีมาตรการจัดหาที่พำนักพึงสำหรับกลุ่มแรงงานและคนไร้บ้าน
Chadwick ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับสุขภาวการณ์ของผู้ใช้แรงงานในอังกฤษที่รวบรวมข้อมูลการป่วย การตายของประชากรโดยจำแนกตามสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ และนำเสนอต่อคณะกรรมธิการด้านสุขาภิบาล เกิดการปฏิรูปสุขาภิบาลอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยและชุมชน Edwin Chadwick ที่เป็นหอกแรกในการปฏิรูปสุขาภิบาลจึงถูกยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการสาธารณสุขยุคใหม่”
เป้าหมายของการสาธารณสุข (Scope)
การสาธารณสุขเป็นการผลักดันเชิงนโยบายที่ทางส่วนใหญ่ภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน เพิ่มส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี แต่จะสุขภาพดีได้ยังไงบ้าง มี 3 ทาง
- ส่งเสริมศูนย์สาธารณสุข เช่น การกระจายศูนย์อนามัยด้วยเงินสนับสนุน การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือให้โรงพยาบาลเก็บสถิติทางสุขภาพเพื่อนำไปทำแผนพัฒนาชุมชน
- ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี + จูงใจคนให้รักสุขภาพ เช่น อบรบให้คนเข้าใจว่า “สุขภาพดี” เป็นยังไง (อาจจะเป็นกิน 3 มื้อ มี LDL ต่ำ กินยาที่หมอสั่งก็ได้นะ หรือใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ดี) จูงใจให้คนออกกำลังกาย
- ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่น กำกับดูแลความสะอาดของอาหาร แหล่งน้ำ ยา ร้านค้า บ้านเรือน ฉีดยากันแมลง พาหะนำโรค ยุงลายหน้าฝน ดูแลไม่ให้มีการปนเปื้อนมลพิษในดินหรือน้ำ
Public Health vs. Natural Selection
การมีอยู่ของการสาธารณสุขป้องกันการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เนื่องจากการสาธารณสุขจะช่วยให้คนที่ไม่แข็งแรงสามารถผ่านบททดสอบของธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โรคระบาด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ผู้มีอำนาจที่หวังดีออกนโยบายสาธารณสุขคือเรื่องจริยธรรมล้วน ๆ เรามองว่าพวกเขา (ผู้ที่ไม่แข็งแรง) คือมนุษย์เหมือนกับเรา ทุกคนควรได้รับ “โอกาส” ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
การสาธารณสุขเป็นสิ่งที่คนมองว่าถูกจริยธรรม เราช่วยเหลือคนไม่แข็งแรง ยีนไม่ดีก็สามารถรอดได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ทางรัฐบาล ทำยังไงได้ละ เราก็ต้องช่วยเหลือพวกเขาอยู่ดี ด้วยการที่ศีลธรรมมันค้ำคอและความประสงค์ดี ด้วยภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เราจึงไม่สามารถช่วยเหลือทุกคนอย่างที่ต้องการได้ จึงจำเป็นต้องเลือกช่วยเหลือผู้ที่ไม่แข็งแรงที่สุดก่อน ยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้คนแก่หรือผู้มีโรคประจำตัวก่อนคนปกติ ซึ่งผู้มีอำนาจจะมองว่าไม่ธรรมชาติคัดสรรแล้ว เย้
“Unfits” พวกยีนด้อยก็ตายไป คนจนก็ตายไป มีแต่คนรวย แข็งแรงรอด
สุดท้ายแล้วในโลกปัจจุบัน แม้คนส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกว่ารัฐไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้ดีเท่ากับเอกชน แต่ด้วยความคิดที่ว่าถ้าเราไม่จ่าย “ภาษี” แล้วคนที่ลำบากเขาจะอยู่ยังไง จริยธรรมยังคงมีอยู่ในสังคม เราอยากจะช่วยเหลือเขาเหลือเกินแต่แค่ตนเองยังเอาตัวไม่รอดเลย ทำไมทางออกมันกลับคลุมเคลือเสียเหลือเกินนะ
โลกก็ยังคงมีการคัดเลือกตามธรรมชาติอยู่ เพื่อหาผู้ที่แข็งแรง ยีนที่ดี หรือมีทรัพยากรมากเพียงพอ ซึ่งปัจจัยยีนเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่ความสามารถในการหาทรัพยากรเป็นสิ่งที่เราเลือกได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่สามารถเลื่อนฐานะตนเองจนมีเงินพอที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีเงิน แต่หากความสามารถในการหาทรัพยากรเป็นสิ่งจริงแท้ แต่เหตุใดคนจนที่หาเช้ากินค่ำอย่างขยันขันแข็ง เพื่อหวังว่าเขาจะเลื่อนฐานะตนเอง กลับไม่สามารถรอดจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติได้ ราวกับว่ามีบางอย่างกำลังบิดเบี้ยว
บ่นส่งท้าย
ตอนนั่งเรียน ๆ อยู่คือแบบว้าว รัฐสวัสดิการสินะ ทุกคนในห้องเรียนที่กำลังซึมซัมคำพูดอาจารย์เรื่องจริยธรรม มันดีมากเลย รัฐบาลนี่สิ พระเอกขี่ม้าขาวที่จะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ทุกคนเผลอลืมผลกระทบระยะยาวไป ซึ่งหากมองว่าเราจะไม่จ่ายภาษี เพราะมองว่ารัฐบริหารไร้ประสิทธิภาพ เป็นเพียงการปล้นเงินจากภาคเอกชนที่ทำได้ดีกว่า เราก็จะถูกมองว่าเป็นพวกไร้จรรยาบรรณ อยู่ในสังคมไปได้ยังไงวะ ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น โตมายังไงพ่อแม่สั่งสอนป่าว คนที่ไม่มีจะกินเขาจะอยู่ยังไงวะ ภาษีกลายเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นเช่นเดียวกับความตาย
ถึงตอนนี้ผมจะรู้สึกว่ามีทางออกเรื่องการลดอำนาจรัฐแล้ว แต่ว่าเรื่องการสาธารณสุขแบบนี้ ผมยังคงมองทางออกได้ไม่ชัดว่าหากเอกชนหรือผู้ใจบุญมาช่วยเหลือ เขาจะเป็นใครและทำยังไงได้บ้างให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ใครมีแนวทางช่วยเหลือด้านสาธารณสุขที่ทำโดยเอกชนและมีประสิทธิภาพก็นำมาแชร์กันได้นะครับ เผื่อตอนผมออกชุมชนช่วงเรียนปี 6 ไม่ก็ช่วงใช้ทุนแล้วโดนสสจ.เรียก จะได้มีแนวทางบริหารงบประมาณเงินเฟียตจากรัฐให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ถ้ามีข้อมูลตรงไหนที่ผิดพลาด ก็กราบอภัยด้วยครับ น้อมรับทุกคำติชม เรียนไปก็เข้าหัวบ้างไม่เข้าบ้าง ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
#siamstr