What is Nostr?
/ SutjaD
npub1l2q…7lzw
2024-04-30 07:19:33

SutjaD on Nostr: ...

ผมขอยกให้หนังสือเล่มนี้แสดงถึง Don't Trust -- Verified "เพื่อนมนุษย์" ได้ดีทีเดียว ( ถ้ารีบอ่าน2พารากราฟแรกก็ได้ครับ ) #siamstr

ผมมีโอกาสได้อ่าน Talking to strangers ของมัลคอล์ม แกลดเวลส์
หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นถึง Don't Trust -- Verified ในแง่การมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า ผมขอดักไว้ตรงนี้ก่อนเลย ถ้าคิดว่าเป็นหนังสือสอนอ่านภาษาทางกาย การแสดงออกทางใบหน้า *คุณคิดผิด* เพราะหนังสือเล่มนี้เขียนมาเพื่อโต้แย้งองค์ความรู้นั้นโดยเฉพาะ

เมนไอเดียของหนังสือเล่มนี้สามารถสรุปได้ภายในไม่กี่คำ
" อย่า Judge ชาวบ้านมั่วซั่ว " ลำพังแค่ตัวเราเอง มั่นใจแค่ไหนว่าเราก็เข้าใจตัวเรามากพอ ? พ่อแม่ที่เลี้ยงเรามาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ก่อนที่เราจะคิดอะไรได้เองเป็น บางทีก็ยังไม่สามารถเข้าใจเราได้เลยด้วยซ้ำ พอเป็นงี้ คิดว่าตัวเองมีความกล้าแค่ไหนกันที่จะไป Judge ชาวบ้านจากแค่สิ่งที่ตาเห็น แล้วก็เชื่อว่าตัวเราสามารถเข้าใจคนอื่นได้จริง ๆ ว่าเขาเป็นแบบนั้นแบบนี้ ????
นี่คือบทเรียนสำคัญ ที่หนังสือเล่มนี้ต้องการบอก

ประเด็นถัดมา หนังสือเล่มนี้บอกว่าทุกคนมีไบแอส " ที่พร้อมจะเชื่อใจคนแปลกหน้า " โดยไม่รู้ตัว แม้ว่าจะถูกอบรมพร่ำสอนขนาดไหนก็ตาม แต่หากคนแปลกหน้านั้นมีโปรไฟล์ที่ดี ถ้ามีเรื่องอะไรที่เขากระทำผิดต่อเรา หรือกระทำผิดต่อคนใกล้ตัวเรา เราก็จะไม่เชื่อเว่ย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ดาราดังในวงการเวลาทำผิด ก็ต้องอาศัยช่วงเวลาและหลักฐานที่มากและนานพอ เพื่อที่จะลบล้าง " ไบแอสที่พร้อมจะเชื่อใจคนแปลกหน้า "

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ตำรวจที่เป็นอาชีพที่ต้องรักษาและป้องกันความไม่สงบ จึงได้มีความพยายามที่จะลบล้างไบแอส " ที่พร้อมจะเชื่อใจคนอื่น " ด้วยการเขียนคู่มือรับมือและสังเกตุคนที่มีแนวโน้มว่า *เดี๋ยวมึงก็คงเป็นผู้ร้ายที่ทำอะไรผิดมาแน่ๆ* พูดง่าย ๆ คือเป็นอีกขั้วนึง ที่ไม่เชื่อใจใคร เรียกได้เรียก จับได้จับ ---- จุดเริ่มต้นมันเกิดขึ้นจากไอเดียที่ว่า หากมีรถสายตรวจตระเวนไปทั่วเมือง ก็คงลดอัตราการเกิดอาชญากรรมได้ แน่นอนว่า ไม่เวิร์ค อัตราการเกิดอาชญากรรมมีเท่าไหร่เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ---- พวกตำรวจจึงคิดอีกว่า ถ้าปัญหาอาชญากรรมมันเริ่มจากการมีปืน งั้นเราก็คอยตรวจค้นประชาชนแล้วยึดปืนซะเลย แต่จะทำยังไงล่ะ ถ้าอยู่จะๆไปค้น มีรัฐธรรมนูญปกป้อง อ๋อ แต่รัฐธรรมนูญปกป้องแค่ตอนอยู่เฉยๆ แต่ถ้าเป็นระหว่างการจราจรที่อยู่ในรถ ก็อีกเรื่องนึง พวกกูจับสุ่มตรวจเรียกรถเลยละกัน โดยพิจารณาจาก " ข้อสงสัย " จากรถนั้น ๆ โดยการพิจารณาจากพื้นฐานเป็นความไม่เชื่อใจล้วน ๆ ---- ในช่วงแรกถามว่าดีมั้ย ก็ดีตำรวจตรวจสอบและยึดปืนได้ จำนวนอาชญากรรม*แค่ในพื้นที่ที่ทดลอง* ลดลงจริง ๆ แต่มันมี Trade off ที่เข้ามาแลก------ หนังสือเล่มนี้บอกว่าวิธีการนี้ไม่ต่างอะไรจากการงมเข็มในกองฟาง จากการเรียกรถ 4แสนคัน ก็เจอปืนแค่17คัน แต่สิ่งที่เลวร้ายกว่าคือเรื่องนี้มันกระทบถึงคนบริสุทธิ์

ตัวอย่างกรณี แซนด้า แบลนด์ 2015 อันเกิดจากตำรวจที่ชื่อเอ็นซิเนีย เรียกตรวจรถของแซนด้า เนื่องจากแซนด้าไม่เปิดไฟเลี้ยวตอนเปลี่ยนเลน ( ทั้งที่แซนด้าขยับเปลี่ยนเลนเพราะเห็นรถของเอนซิเนียตามมา จีงย้ายเลนให้แซง !? ) ถึงตรงนี้แซนด้าก็เซ็งล่ะครับ ถามเอ็นซิเนียว่าเมริงจะเขียนใบสั่งเพราะแค่กูเปลี่ยนเลนโดยไม่เปิดไฟเลี้ยวอะนะ แน่นอนว่าถ้าเอนซิเนียอยากจะสอดส่องว่าในรถมีอะไรผิดปกติมั้ยตามคู่มือ เขาควรจะพูดขอโทษแล้วใช้สายตากวาดมองในรถว่ามีอะไรผิดสังเกตหรือเปล่า แต่เอนซิเนียไม่ทำ ดันพูดจาแย่ ๆ ใส่แซนด้าไปว่า " พูดจบแล้วใช่ไหม " แซนด้าก็ยิ่งโมโหไปอีกครับ แน่นอนว่าเธอพยายามใจเย็น เลยเอาบุหรี่ขึ้นมาสูบ เอนซิเนียก็ควรทำหน้าที่ตัวเองต่อไป แต่เขาไม่ทำ ดันพูดออกมาว่า " เลิกสูบบุหรี่หากไม่เป็นการรบกวน " ทั้งที่แซนด้าสูบในรถตัวเองด้วยซ้ำ แซนด้าที่ยัง งง และโมโห ก็ตอบไปตามนั้นล่ะครับว่า " เพื่ออะไร ฉันสูบในรถของตัวเอง " เอนซิเนียได้ยินก็เหมือนปรีีดแตกประกอบการ*ตัดสินใจจากพฤติกรรม*ของแซนด้า ประมาณว่าโกรธแบบนี้ โมโหแบบนี้คงเป็นคนที่ทำอะไรผิดมาแน่ ๆ หรือไม่ก็ถ้าปล่อยไปก็คงไปทำอะไรผิด เอนซิเนียตัดสินใจบอก " งั้นคุณก็ลงมาจากรถเดี๋ยวนี้เลย " แซนด้าไม่ยอมลง เอนซิเนียเลยใช้กำลังฉุดเธอลงมา พร้อมเรียกกำลังเสริม เอนซิเนียจับแซนด้าได้ตามหวังครับ แต่ 2 วันต่อมาแซนด้าก็ใช้ถุงพลาสติกผูกคอขายในห้องขัง กลายเป็นโศกนาฎกรรมเสียไปอย่างนั้น --- หนังสือเล่มนี้เลยบอกว่าเรื่องที่เกิดนี้ ไม่ได้เกิดแค่เคสนี้ แต่เกิดบ่อยมากในอเมริกา ย้อนกลับมาสักนิดที่เคสนี้แซนด้าดูโมโห พอมีการสืบลึกลงไปก็พบว่าเธอเพิ่งเสียลูกน้อยวัยทารกเมื่อปีก่อน ทำให้เธอมีภาวะซึมเศร้าและPTSD ดังนั้นอารมณ์โมโหมันก็วัดไม่ได้เสมอไปว่าคนที่มีอารมณ์ดังนี้ แสดงสีหน้าแบบนี้ เขาคือคนไม่ดี หากจะพูดว่าโศกนาฎกรรมเกิดเพราะคนเราไม่เชื่อใจกันก็ใช่ แต่พอผมอ่านจบทำให้ผมค้นพบว่าสิ่งที่ใช่ยิ่งกว่าคือ -----" เราไม่รู้วิธีการคุยกับคนแปลกหน้า ทำให้เราตัดสินเขาไวเกินไป ไม่ว่าจะตัดสินโดยมีไบแอสที่พร้อมจะเชื่อใจคนอื่น หรือตัดสินที่จะไม่เชื่อใจเขา ก็ตาม " --------

นี่เป็นตัวอย่างที่หนังสือเล่มนี้ยกภาพให้เห็นชัดที่สุด จึงยกตัวอย่างกรณีแซนด้า แบลนด์มาเปิดเป็นบทแรก และคั่นด้วยตัวอย่างเกี่ยวกับการเชื่อใจกับคนแปลกหน้าหลายเหตุการณ์ เช่น ตอนที่มีคนไปทำการฑูตกับฮิตเลอร์ ได้ร้องขอเขาว่าอย่าบุกโปแลนด์ตอนคุยก็คุยกันดี แต่ทำไมตอนสุดท้ายฮิตเลอร์กลับผิดคำสัญญา ? สปายคิวบาที่แฝงตัวในอเมริกา รู้ได้ไงว่าเขาเป็นสปายจริงมั้ย ? ผู้พิพากษาตัดสินคนทำผิดทำไมตัดสินได้เบากว่าคอมพิวเตอร์ และคนที่พ้นโทษไปจึงกลับมาทำผิดซ้ำทั้งที่ตอนรับผิดบอกว่าจะไม่กลับไปเป็นคนไม่ดี ? ทำไมคนเป็นซึมเศร้าอยากตายถึงเขียนกวีเกี่ยวกับความตายได้บ่อยแต่ไม่ลงมือจบชีวิต แต่พอจะจบชีวิตจริงๆกลับไปโดยไม่ทันตั้งตัว ? และอีกมากมายจนวนมาบทสุดท้ายที่หยิบกรณีแซนด้าขึ้นมาพูดอีกที การเดินทางระหว่างทางในหนังสือทำให้เราได้รับมุมมองใหม่ๆเยอะขึ้นจนเรามองเคสเดิม สถานการณ์เดิม ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปในตอนจบ หนังสือเล่มนี้นี่แหละ จะพาให้เราเข้าใจในอีกมุมของเพื่อนร่วมสังคม ว่าไม่จำเป็นต้องรีบ Trust.... ค่อย ๆ Verified เถอะ
Author Public Key
npub1l2q9eq238x4k4mcuccfw494g0435kymtk390x3hpf2gzgdzta57q3u7lzw