piriya on Nostr: *แก้ไข ...
*แก้ไข เมื่อกี๊ก๊อปหลุดไปสองย่อหน้า**
*Nostr edit post ไม่ได้สินะ***
เมื่อปริมาณอุปทานเงินเพิ่มสูงขึ้นด้วยเงินเฟ้อ ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หากอัดตราคาจ้างไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ภาระหน้าที่ในการต่อรองขอขึ้นค่าจ้างเพียงเพื่อจะไล่ให้ทันอัตราเงินเฟ้อกลับตกเป็นของผู้รับจ้าง
ผลของมันอาจไม่ได้เห็นได้ชัดนักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (ลินเขียนผิดมั๊ง) ที่เงินเฟ้อขึ้นเพียงปีละไม่กี่ % แต่มันก็เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นอยู่เบื้องหลังอยู่ตลอดเวลา ผู้คนมักจำเป็นต้องย้ายงานเพื่อที่จะได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการยึดติดระดับราคาค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างเดิม ทั้งหมดนี้ก็เนื่องมาจากเงินเฟียตที่ค่อย ๆ เสื่อมค่าลงเรื่อย ๆ
ปัญหาดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
ยกตัวอย่างกรณีที่ IMF บอกอียิปต์ให้ลดค่าเงินลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางสินเชื่อ ซึ่งรัฐบาลอียิปต์ก็ได้ทำเช่นนั้น ในตอนนี้ผู้รับจ้างชาวอียิปต์จำเป็นต้องพยายามต่อรองขอขึ้นค่าจ้าง เพื่อที่จะพยายามทวงคืนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยสากลของรายได้ที่หายไป โดยพวกเขาแทบไม่มีทางประสบความสำเร็จเลยแม้แต่คนเดียว และเจ็ดปีหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว พวกเขาก็ทำแบบเดิมซ้ำอีกครั้ง
แต่เมื่ออุปทานของเงินหดตัวลง ส่งผลให้หน่วยวัดมูลค่าของเงินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้รับค่าจ้างจะกลับกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในการต่อรอง หากเงินเดือนของพวกเขาคงที่อยู่ที่ระดับเดิมในขณะที่ราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการต่าง ๆ ลดลง มันก็จะเหมือนกับว่าพวกเขาได้รับการขึ้นเงินเดือน (ซึ่งมันก็สมเหตุสมผล เพราะพวกเขามีประสบการณ์การทำงานมากขึ้น)
ภาระในการต่อรองค่าจ้างก็จะตกเป็นของผู้ว่าจ้าง ที่จะต้องหาเหตุผลมาโต้แย้งว่าค่าแรงควรจะลดลงตามราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ
ฉันคิดว่ายังมีน้อยคนที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งนี้ ถ้าหากผู้คนเข้าใจมันมากขึ้น ฉันคิดว่ากลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดทางการเมืองที่ให้ความสำคัญกับแรงงาน จะเริ่มหันมาให้ความสนใจเงินสร้างยากอันแข็งแกร่งมากขึ้นไม่มากก็น้อย
*Nostr edit post ไม่ได้สินะ***
เมื่อปริมาณอุปทานเงินเพิ่มสูงขึ้นด้วยเงินเฟ้อ ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หากอัดตราคาจ้างไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ภาระหน้าที่ในการต่อรองขอขึ้นค่าจ้างเพียงเพื่อจะไล่ให้ทันอัตราเงินเฟ้อกลับตกเป็นของผู้รับจ้าง
ผลของมันอาจไม่ได้เห็นได้ชัดนักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (ลินเขียนผิดมั๊ง) ที่เงินเฟ้อขึ้นเพียงปีละไม่กี่ % แต่มันก็เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นอยู่เบื้องหลังอยู่ตลอดเวลา ผู้คนมักจำเป็นต้องย้ายงานเพื่อที่จะได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการยึดติดระดับราคาค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างเดิม ทั้งหมดนี้ก็เนื่องมาจากเงินเฟียตที่ค่อย ๆ เสื่อมค่าลงเรื่อย ๆ
ปัญหาดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
ยกตัวอย่างกรณีที่ IMF บอกอียิปต์ให้ลดค่าเงินลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางสินเชื่อ ซึ่งรัฐบาลอียิปต์ก็ได้ทำเช่นนั้น ในตอนนี้ผู้รับจ้างชาวอียิปต์จำเป็นต้องพยายามต่อรองขอขึ้นค่าจ้าง เพื่อที่จะพยายามทวงคืนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยสากลของรายได้ที่หายไป โดยพวกเขาแทบไม่มีทางประสบความสำเร็จเลยแม้แต่คนเดียว และเจ็ดปีหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว พวกเขาก็ทำแบบเดิมซ้ำอีกครั้ง
แต่เมื่ออุปทานของเงินหดตัวลง ส่งผลให้หน่วยวัดมูลค่าของเงินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้รับค่าจ้างจะกลับกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในการต่อรอง หากเงินเดือนของพวกเขาคงที่อยู่ที่ระดับเดิมในขณะที่ราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการต่าง ๆ ลดลง มันก็จะเหมือนกับว่าพวกเขาได้รับการขึ้นเงินเดือน (ซึ่งมันก็สมเหตุสมผล เพราะพวกเขามีประสบการณ์การทำงานมากขึ้น)
ภาระในการต่อรองค่าจ้างก็จะตกเป็นของผู้ว่าจ้าง ที่จะต้องหาเหตุผลมาโต้แย้งว่าค่าแรงควรจะลดลงตามราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ
ฉันคิดว่ายังมีน้อยคนที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งนี้ ถ้าหากผู้คนเข้าใจมันมากขึ้น ฉันคิดว่ากลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดทางการเมืองที่ให้ความสำคัญกับแรงงาน จะเริ่มหันมาให้ความสนใจเงินสร้างยากอันแข็งแกร่งมากขึ้นไม่มากก็น้อย
quoting nevent1q…2ww2When money inflates in supply, employers have the benefit of the status quo, and wage earners have the burden of work to negotiate higher nominal wages to keep up.
The effect is subtle in developing countries, a few percentage points per year, but it's always there behind the scenes. People often have to switch jobs to get proper higher wages, and avoid the anchoring bias from their prior employer. This is all because of dilutive fiat money.
The problem becomes more obvious in developing countries.
For example, the IMF tells Egypt to cut its currency in half relative to the dollar, if it wants some loan relief. It does. Now, every Egyptian wage earner has to try to negotiate a raise to regain some portion of their prior wages in terms of global purchasing power. Virtually all of them will not be able to. And then seven years later they do it again.
But when money deflates in supply, and the unit of account therefore appreciates, wage earners gain the benefit of the status quo in negotiations. If their salaries merely remain the same as averages prices go down, they have gained a raise (which makes sense, with greater experience).
The burden of work shifts to the employer, who has to argue that wages should be cut in line with prices.
I think the magnitude of this effect is poorly understood. If it were more understood, I think a subset of labor-oriented political proponents would appreciate hard money a bit more.