Gujaba on Nostr: GA. #siamstr ...
GA. #siamstr
"เมื่อโลกหมุนไปไวกว่าในห้องเรียน" ผมกับแฟนได้พูดคุยและคิดทบวนกันอยู่นานเหมือนกันว่าควรจะให้ลูกสาวออกมาทำโฮมสคูลดีไม๊ เราได้ถกเถียงกันมาเป็นปี ทั้งในเรื่องถ้าออกมาทำแล้วจะสอนได้หรือไม่ควรจะเริ่มต้นอะไรยังไงและประเด็นสำคัญที่ทุกคนรอบข้างตั้งข้อสังเกตุหลักๆเลยก็คือ "กลัวว่าเด็กจะไม่มีสังคม" จนวันนึงที่ลูกสาวมาบอกว่าไม่มีความสุขกับการไปโรงเรียน
ผมคิดมาเสมอว่าการเรียนรู้ที่ดีมันต้องสนุกไปกับการเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ คุณลองคิดกลับไปในสมัยที่คุณยังเป็นนักเรียนดูสิครับ ว่าวิชาใดที่คุณทำได้ดี และทุกๆครั้งที่เรียนในวิชานั้นคุณรู้สึกอยากจะโดดเรียน หรือต้องกลับมาบ่นกระปอดกระแปดถึงวิชานั้นทุกครั้งเลยรึเปล่า
เมื่อลูกสาวมาบอกแบบนั้นบวกกับข้อมูลที่ผมได้นับมาจากแฟนจากการไปรับส่งลูกสาวทุกวันสะสมมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น โดนเพื่อนในห้องบูลี่/เพื่อนๆไม่อยากเล่นด้วย/ต้องเสียใจกับการที่คุณครูดูแลไม่ทั่วถึง เน้นเอาเด็กกลุ่มใหญ่ที่ทำได้ไว้ก่อนส่วนเด็กที่ทำตามไม่ทันก็ทิ้งท้ายไว้อย่างนั้น โดยให้เอางานที่ค้างกลับมาทำที่บ้านสะสมจนกลายเป็นดินพอกหางหมู ผมไม่รู้ว่าในห้องเรียนนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละวัน แต่เท่าที่อ่านสมุดพกที่โรงเรียนให้มาครูประจำชั้นได้แต่เขียนบอกแต่ในสิ่งดีๆ เป็นเด็กร่าเริงดี บลาๆๆ
ซึ่งสวนทางกับการที่ครูไลน์มาหาว่าลูกสาวร้องไห้บ่อยมาก ที่ซึ่งการรับมือและการแก้ปัญหาแบบนี้ครูควรจะทำได้ดีกว่านี้ไม่ใช่มาไลน์บอกแล้วจบแค่นั้น ผมเข้าใจดีว่าส่วนนึงอาจเป็นที่ตัวลูกผมเองด้วย แต่ในเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแล้วผมกับแฟนจึงตัดสินใจว่าเราจะให้ลูกออกมาทำโฮมสคูล
หลายคนบอกว่าทำไมไม่ลองย้ายโรงเรียน คำถามคือถ้าย้ายแล้วเป็นเหมือนเดิมล่ะ จะยังไงต่อก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ? ผมขอเลือกเอาลูกมาเรียนที่บ้านดีกว่าให้คนที่ลูกอยู่แล้วรู้สึกปลอดภัยและเข้าใจในตัวลูกช่วยสอนลูกจะดีกว่า ถามว่าแล้วจะสอนได้หมดทุกวิชาเลยไม๊ ตอบเลยว่าไม่ครับ ถ้าสิ่งที่เราสอนไม่ได้เราก็ต้องหาคนหรือสถานที่ๆช่วยเรา เติมเต็มในสิ่งที่เราขาดไปก็ได้หนิครับ และความรู้เดี๋ยวนี้มันก็อยู่ในอากาศเยอะแยะอยู่ที่ว่าคุณจะเลือกดึงตัวไหนมาให้ลูกก็เท่านั้น ร่ายมายาวหน่อยวันนี้ผมจะลองยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผมทำขึ้นในช่วงวันหยุดมาให้ดู
กิจกรรมทำอาหารธรรมดา ที่มากด้วยมิติการเรียนรู้
เมนู "ต้มยำไก่"
กิจกรรมธรรมดาๆ แบบนี้
จะสามารถเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางแบบที่เด็กไปโรงเรียนในระบบ
ได้หลากหลายมิติขนาดนี้
ลองไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
เริ่มจากกลุ่มสาระการงานอาชีพ การปรุงอาหาร
ถือเป็นทักษะชีวิตพื้นฐานสำคัญที่ลูกๆ ควรได้เรียนรู้ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ หั่นผัก ปรุงรส
ไปจนถึงการจัดจานให้สวยงาม
กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยปูพื้นฐานให้ลูก
สามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต
พร้อมทั้งเห็นคุณค่าของอาหารและตระหนัก
ถึงความสำคัญของการประกอบอาชีพ
ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
อีกทั้งยังได้ความสนุกสนาน และโอกาสการเรียนรู้ที่หลากหลาย
แก่ลูกในเวลาเดียวกัน
และฝึกการใช้ Life Skills ทักษะชีวิตเพื่อนำไปในชีวิตประจำวันของเด็กๆ
ครั้งนี้ได้สอนวิธีการก่อเตาถ่านร่วมเข้าไปอีกด้วย
ให้ใช้เศษกระดาษมาวางไว้ตรงกลางเตา จากนั้นให้หาเศษไม้แถวๆบ้านนำ มาเรียงให้เป็นรูปกระโจมกลางเตา
และนำถ่านมาวางรอบๆ ไม้ที่ก่อไว้ จากนั้นให้ลูกจุดไฟใส่เศษกระดาษ
พอไม้ติดให้เอาถ่านก้อนเล็กๆ มาโรยลงบนไม้ แล้วนำพัดมาพัดที่ช่องด้านล่างเตาถ่าน
พอไฟแรงขึ้นก็ค่อยๆเติมถ่านเข้าไป เมื่อได้ที่แล้วก็น้ำหม้อไปวางบนเตาและเติมน้ำ
ต่อมาคือวิทยาศาสตร์ การทำอาหารเปิดโอกาสให้ลูก
ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพของวัตถุดิบ เช่น สีสันของผักที่ค่อยๆ สุกเปลี่ยนไป
เนื้อสัตว์ที่นุ่มขึ้นเมื่อผ่านความร้อน
ไปจนถึงการเกิดฟองไอน้ำและกลิ่นระหว่างต้ม
เรียกได้ว่าเป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์ส่วนตัว
ที่อยู่ใกล้ตัวมากๆ 🔬🥘
และซึ่งแน่นอนว่าต้องมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การชั่งตวงวัตถุดิบ การคำนวณปริมาณและสัดส่วนผสมให้ลงตัว การจับเวลาในการปรุง
ไปจนถึงการแบ่งอาหารเป็นหน่วยเสิร์ฟ
.
สิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยการนำหลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้ทั้งสิ้น ทำให้ลูกเห็นประโยชน์ของตัวเลขในชีวิตประจำวัน และเข้าใจถึงความสำคัญของการคิดคำนวณมากยิ่งขึ้น 🔢🥄
.
ด้านภาษาไทยก็มีส่วนสำคัญ การอ่านสูตรอาหารและทำตามขั้นตอน เป็นการฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจอย่างดีเลยทีเดียว
.
ยิ่งถ้าลูกอ่านสูตรภาษาอังกฤษด้วยแล้ว บอกเลยว่าทักษะภาษาต่างประเทศก็ได้รับการพัฒนาไปในตัว
แถมยังเป็นช่วงเวลาดีๆ ให้คุณพ่อคุณแม่
ได้สนทนากับลูก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในขณะทำอาหาร เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านภาษาพูดได้อีกด้วย 📖💬
.
นอกจากนี้ ศิลปะการจัดจานให้สวยงาม น่ารับประทาน ก็ทำให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จัดองค์ประกอบสีสันและรูปทรงของอาหาร ให้ออกมางดงาม
ตามจินตนาการของตัวเอง เสมือนได้วาดภาพ
บนจานอาหาร ส่งเสริมสุนทรียะและรสนิยมทางศิลปะได้ดีไม่น้อย 🎨🍽️
.
สุดท้าย สุขศึกษาเป็นอีกสาระสำคัญที่แฝงอยู่ในกระบวนการทำอาหาร จากการได้เลือกใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด มีประโยชน์ การควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมัน
ไปจนถึงการรักษาสุขอนามัยในการประกอบอาหาร ล้วนเป็นการปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีและการดูแลสุขภาพให้แก่ลูก เพื่อให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงในอนาคตนั่นเอง 💪🍎
.
เห็นไหมว่าแค่เมนูง่ายๆ อย่างต้มยำไก่
ก็สามารถสอดแทรกการเรียนรู้ได้หลากหลายขนาดนี้ ทั้งการงานอาชีพ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ และสุขศึกษาในกิจกรรมเดียว
.
สิ่งสำคัญคือลูกๆ จะได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
ผ่านการลงมือทำจริง เกิดความภูมิใจในผลงาน
ของตัวเอง แถมได้กินอาหารอร่อยๆ ที่ทำเองอีกต่างหาก ช่างเป็นกิจกรรมดีๆ ที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด 😋👍
ขอบคุณครับ
"เมื่อโลกหมุนไปไวกว่าในห้องเรียน" ผมกับแฟนได้พูดคุยและคิดทบวนกันอยู่นานเหมือนกันว่าควรจะให้ลูกสาวออกมาทำโฮมสคูลดีไม๊ เราได้ถกเถียงกันมาเป็นปี ทั้งในเรื่องถ้าออกมาทำแล้วจะสอนได้หรือไม่ควรจะเริ่มต้นอะไรยังไงและประเด็นสำคัญที่ทุกคนรอบข้างตั้งข้อสังเกตุหลักๆเลยก็คือ "กลัวว่าเด็กจะไม่มีสังคม" จนวันนึงที่ลูกสาวมาบอกว่าไม่มีความสุขกับการไปโรงเรียน
ผมคิดมาเสมอว่าการเรียนรู้ที่ดีมันต้องสนุกไปกับการเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ คุณลองคิดกลับไปในสมัยที่คุณยังเป็นนักเรียนดูสิครับ ว่าวิชาใดที่คุณทำได้ดี และทุกๆครั้งที่เรียนในวิชานั้นคุณรู้สึกอยากจะโดดเรียน หรือต้องกลับมาบ่นกระปอดกระแปดถึงวิชานั้นทุกครั้งเลยรึเปล่า
เมื่อลูกสาวมาบอกแบบนั้นบวกกับข้อมูลที่ผมได้นับมาจากแฟนจากการไปรับส่งลูกสาวทุกวันสะสมมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น โดนเพื่อนในห้องบูลี่/เพื่อนๆไม่อยากเล่นด้วย/ต้องเสียใจกับการที่คุณครูดูแลไม่ทั่วถึง เน้นเอาเด็กกลุ่มใหญ่ที่ทำได้ไว้ก่อนส่วนเด็กที่ทำตามไม่ทันก็ทิ้งท้ายไว้อย่างนั้น โดยให้เอางานที่ค้างกลับมาทำที่บ้านสะสมจนกลายเป็นดินพอกหางหมู ผมไม่รู้ว่าในห้องเรียนนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละวัน แต่เท่าที่อ่านสมุดพกที่โรงเรียนให้มาครูประจำชั้นได้แต่เขียนบอกแต่ในสิ่งดีๆ เป็นเด็กร่าเริงดี บลาๆๆ
ซึ่งสวนทางกับการที่ครูไลน์มาหาว่าลูกสาวร้องไห้บ่อยมาก ที่ซึ่งการรับมือและการแก้ปัญหาแบบนี้ครูควรจะทำได้ดีกว่านี้ไม่ใช่มาไลน์บอกแล้วจบแค่นั้น ผมเข้าใจดีว่าส่วนนึงอาจเป็นที่ตัวลูกผมเองด้วย แต่ในเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแล้วผมกับแฟนจึงตัดสินใจว่าเราจะให้ลูกออกมาทำโฮมสคูล
หลายคนบอกว่าทำไมไม่ลองย้ายโรงเรียน คำถามคือถ้าย้ายแล้วเป็นเหมือนเดิมล่ะ จะยังไงต่อก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ? ผมขอเลือกเอาลูกมาเรียนที่บ้านดีกว่าให้คนที่ลูกอยู่แล้วรู้สึกปลอดภัยและเข้าใจในตัวลูกช่วยสอนลูกจะดีกว่า ถามว่าแล้วจะสอนได้หมดทุกวิชาเลยไม๊ ตอบเลยว่าไม่ครับ ถ้าสิ่งที่เราสอนไม่ได้เราก็ต้องหาคนหรือสถานที่ๆช่วยเรา เติมเต็มในสิ่งที่เราขาดไปก็ได้หนิครับ และความรู้เดี๋ยวนี้มันก็อยู่ในอากาศเยอะแยะอยู่ที่ว่าคุณจะเลือกดึงตัวไหนมาให้ลูกก็เท่านั้น ร่ายมายาวหน่อยวันนี้ผมจะลองยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผมทำขึ้นในช่วงวันหยุดมาให้ดู
กิจกรรมทำอาหารธรรมดา ที่มากด้วยมิติการเรียนรู้
เมนู "ต้มยำไก่"
กิจกรรมธรรมดาๆ แบบนี้
จะสามารถเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางแบบที่เด็กไปโรงเรียนในระบบ
ได้หลากหลายมิติขนาดนี้
ลองไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
เริ่มจากกลุ่มสาระการงานอาชีพ การปรุงอาหาร
ถือเป็นทักษะชีวิตพื้นฐานสำคัญที่ลูกๆ ควรได้เรียนรู้ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ หั่นผัก ปรุงรส
ไปจนถึงการจัดจานให้สวยงาม
กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยปูพื้นฐานให้ลูก
สามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต
พร้อมทั้งเห็นคุณค่าของอาหารและตระหนัก
ถึงความสำคัญของการประกอบอาชีพ
ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
อีกทั้งยังได้ความสนุกสนาน และโอกาสการเรียนรู้ที่หลากหลาย
แก่ลูกในเวลาเดียวกัน
และฝึกการใช้ Life Skills ทักษะชีวิตเพื่อนำไปในชีวิตประจำวันของเด็กๆ
ครั้งนี้ได้สอนวิธีการก่อเตาถ่านร่วมเข้าไปอีกด้วย
ให้ใช้เศษกระดาษมาวางไว้ตรงกลางเตา จากนั้นให้หาเศษไม้แถวๆบ้านนำ มาเรียงให้เป็นรูปกระโจมกลางเตา
และนำถ่านมาวางรอบๆ ไม้ที่ก่อไว้ จากนั้นให้ลูกจุดไฟใส่เศษกระดาษ
พอไม้ติดให้เอาถ่านก้อนเล็กๆ มาโรยลงบนไม้ แล้วนำพัดมาพัดที่ช่องด้านล่างเตาถ่าน
พอไฟแรงขึ้นก็ค่อยๆเติมถ่านเข้าไป เมื่อได้ที่แล้วก็น้ำหม้อไปวางบนเตาและเติมน้ำ
ต่อมาคือวิทยาศาสตร์ การทำอาหารเปิดโอกาสให้ลูก
ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพของวัตถุดิบ เช่น สีสันของผักที่ค่อยๆ สุกเปลี่ยนไป
เนื้อสัตว์ที่นุ่มขึ้นเมื่อผ่านความร้อน
ไปจนถึงการเกิดฟองไอน้ำและกลิ่นระหว่างต้ม
เรียกได้ว่าเป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์ส่วนตัว
ที่อยู่ใกล้ตัวมากๆ 🔬🥘
และซึ่งแน่นอนว่าต้องมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การชั่งตวงวัตถุดิบ การคำนวณปริมาณและสัดส่วนผสมให้ลงตัว การจับเวลาในการปรุง
ไปจนถึงการแบ่งอาหารเป็นหน่วยเสิร์ฟ
.
สิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยการนำหลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้ทั้งสิ้น ทำให้ลูกเห็นประโยชน์ของตัวเลขในชีวิตประจำวัน และเข้าใจถึงความสำคัญของการคิดคำนวณมากยิ่งขึ้น 🔢🥄
.
ด้านภาษาไทยก็มีส่วนสำคัญ การอ่านสูตรอาหารและทำตามขั้นตอน เป็นการฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจอย่างดีเลยทีเดียว
.
ยิ่งถ้าลูกอ่านสูตรภาษาอังกฤษด้วยแล้ว บอกเลยว่าทักษะภาษาต่างประเทศก็ได้รับการพัฒนาไปในตัว
แถมยังเป็นช่วงเวลาดีๆ ให้คุณพ่อคุณแม่
ได้สนทนากับลูก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในขณะทำอาหาร เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านภาษาพูดได้อีกด้วย 📖💬
.
นอกจากนี้ ศิลปะการจัดจานให้สวยงาม น่ารับประทาน ก็ทำให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จัดองค์ประกอบสีสันและรูปทรงของอาหาร ให้ออกมางดงาม
ตามจินตนาการของตัวเอง เสมือนได้วาดภาพ
บนจานอาหาร ส่งเสริมสุนทรียะและรสนิยมทางศิลปะได้ดีไม่น้อย 🎨🍽️
.
สุดท้าย สุขศึกษาเป็นอีกสาระสำคัญที่แฝงอยู่ในกระบวนการทำอาหาร จากการได้เลือกใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด มีประโยชน์ การควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมัน
ไปจนถึงการรักษาสุขอนามัยในการประกอบอาหาร ล้วนเป็นการปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีและการดูแลสุขภาพให้แก่ลูก เพื่อให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงในอนาคตนั่นเอง 💪🍎
.
เห็นไหมว่าแค่เมนูง่ายๆ อย่างต้มยำไก่
ก็สามารถสอดแทรกการเรียนรู้ได้หลากหลายขนาดนี้ ทั้งการงานอาชีพ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ และสุขศึกษาในกิจกรรมเดียว
.
สิ่งสำคัญคือลูกๆ จะได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน
ผ่านการลงมือทำจริง เกิดความภูมิใจในผลงาน
ของตัวเอง แถมได้กินอาหารอร่อยๆ ที่ทำเองอีกต่างหาก ช่างเป็นกิจกรรมดีๆ ที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด 😋👍
ขอบคุณครับ