journaling_our_journey on Nostr: ...
ในฐานะที่ผมเป็นนักจิตวิทยา
ผมพบว่าหลายๆคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยาอยู่อย่างน้อย 2 จุด
.
.
.
ผมจึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้
เพื่อ “แก้ไข” ความเข้าใจผิด 2 จุดนี้ให้ถูกต้องมากขึ้นครับ
.
.
.
.
.
# 1 “คนบ้า” เท่านั้น…ที่มาคุยกับนักจิตวิทยา
.
.
.
ความจริงก็คือ
ถ้าไม่นับนักจิตวิทยาเฉพาะทางล่ะก็
.
.
.
โดยทั่วไปแล้ว
นักจิตวิทยาไม่ได้ให้บริการกับคนที่มี “ปัญหาสุขภาพจิตร้ายแรง” (เช่น หูแว่ว ยืนคุยกับกำแพง เชื่อว่าตัวเองเป็นพระนเรศวรกลับชาติมาเกิด เป็นต้น) เลยครับ
.
.
.
อย่างกรณีของผม
ผู้รับบริการของผมส่วนใหญ่
มีสุขภาพจิตที่ถือว่า “แข็งแรง” ด้วยซ้ำไปครับ
.
.
.
เพียงแต่ว่า
พวกเขาอาจจะเผชิญกับ “ปัญหาชีวิต” บางอย่าง (เช่น สูญเสียสมาชิกครอบครัว เกิดการหย่าร้าง ตกงาน)
ส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจมาพูดคุยกับนักจิตวิทยา
.
.
.
เปรียบเหมือนกรณีที่เรามีสุขภาพกายที่ “แข็งแรง” อยู่แล้ว
แต่อยู่มาวันหนึ่ง
เราเจอกับ “อุบัติเหตุ” บางอย่าง (เช่น รถชน)
ส่งผลให้เราต้องเข้าโรงพยาบาลมาหาหมอนั่นเองครับ
.
.
.
# 2 ต้อง “มีปัญหา” เท่านั้น…ถึงจะมาพูดคุยกับนักจิตวิทยา
.
.
.
ความจริงก็คือ
.
.
.
เราไม่จำเป็นต้องมีปัญหาทางร่างกาย
เราก็สามารถมาหาหมอได้ฉันใด (เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี)
.
.
.
ต่อให้เราจะไม่มี “ปัญหาชีวิต”
เราก็สามารถมาพูดคุยกับนักจิตวิทยาได้ฉันนั้น
.
.
.
เพราะนักจิตวิทยาไม่ได้พูดคุยแนว “แก้ปัญหา” ได้อย่างเดียวเท่านั้น
แต่นักจิตวิทยายังสามารถพูดคุยแนว “พัฒนาตัวเอง” ได้อีกด้วย (เช่น พัฒนาทักษะการสื่อสาร สำรวจความหมายในชีวิต เป็นต้น)
.
.
.
.
.
ผมหวังว่าบทความนี้
จะช่วยแก้ไขความเข้าใจผิดใน 2 จุดนี้ได้บ้างนะครับ
#siamstr #จิตวิทยา