JohnnyJun on Nostr: Gm #siamstr ตอนเที่ยงๆครับ ...
Gm #siamstr ตอนเที่ยงๆครับ
สังคมเราตัดสินคนในเรื่องความสำเร็จ ด้วยความดีความชอบของปัจเจคบุคคล เพียงเท่านั้นจริงหรือ …
คนที่ประสบความสำเร็จ ได้โอกาสต่างๆมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของเขาเองจริงหรือ ? นี่คือคำถามที่หนังสือ Outlier ของ Malcolm Gladwell ตั้งคำถามไว้อย่างน่าสนใจและมีตัวอย่างประกอบเป็นเรื่องนักกีฬาและเรื่องผลงานในสถานศึกษาของนักเรียนไว้อย่างน่าสนใจ
ว่าจริงๆแล้ว เดือนเกิดของเด็กสักคนมีผลอย่างมากในช่วงเวลาที่สโมสรกีฬาหรือสถานศึกษากำลัง“จัดกลุ่ม”เด็กตามความสามารถ ณ ขณะนั้น และการจัดกลุ่มก็ส่งผลอย่างมากกับโอกาสในด้านต่างๆ ที่จะมอบให้กลุ่มที่โดดเด่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ นานวันไปช่องว่างก็จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกลุ่มเด็กเก่งได้รับโอกาสให้เก่งมากขึ้นๆๆๆไปเรื่อยๆ
เพราะอายุที่ห่างกันเกือบปีของเด็กต้นปีกับเด็กท้ายปี จริงๆแล้วการพัฒนาทางร่าฃกายและสมองมันต่างกันค่อนข้างมากในวัยเด็ก ทำให้เด็กที่อายุมากกว่ามีแนวโน้มจะได้รับโอกาสมากกว่า และปัจจัยนี้ก็ไม่ใช่ความดีความชอบส่วนบุคคล มันก็แค่เป็นไปตามนี้ ตามที่มันเกิด
นอกจากเล่มนี้ยังมีงานวิจัยที่ผมเคยอ่าน วันหลังจะลองหามาอ่านอึกจำไม่ได้ว่ามาจากไหน ทำแบบจำลองของสังคมหนึ่งขึ้นมา โดยกลุ่ม 1 จะมุ่งการอัพสกิลของตัวแปร ไปที่ตัวแปรที่โดดเด่น (เหมือนสังคมเรา) กับกลุ่ม 2 จะอัพสกิลให้ทุกตัวแปรเท่าๅกัน ไม่สนว่าจะเปนตัวแปรที่เก่งหรือไม่เก่ง ผลสรุปว่ากลุ่มที่สอง ที่ให้โอกาสทุกคนเท่าๆกัน ในท้ายที่สุดจะมีผลลัพท์โดยรวมดีกว่ากลุ่ม 1 ที่โอกาสคนตามแบบสังคมปัจจุบันของเรา
แล้วเพื่อนๆคิดยังไงกับเรื่องนี้ มาแชร์กันครับ
สังคมเราตัดสินคนในเรื่องความสำเร็จ ด้วยความดีความชอบของปัจเจคบุคคล เพียงเท่านั้นจริงหรือ …
คนที่ประสบความสำเร็จ ได้โอกาสต่างๆมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของเขาเองจริงหรือ ? นี่คือคำถามที่หนังสือ Outlier ของ Malcolm Gladwell ตั้งคำถามไว้อย่างน่าสนใจและมีตัวอย่างประกอบเป็นเรื่องนักกีฬาและเรื่องผลงานในสถานศึกษาของนักเรียนไว้อย่างน่าสนใจ
ว่าจริงๆแล้ว เดือนเกิดของเด็กสักคนมีผลอย่างมากในช่วงเวลาที่สโมสรกีฬาหรือสถานศึกษากำลัง“จัดกลุ่ม”เด็กตามความสามารถ ณ ขณะนั้น และการจัดกลุ่มก็ส่งผลอย่างมากกับโอกาสในด้านต่างๆ ที่จะมอบให้กลุ่มที่โดดเด่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ นานวันไปช่องว่างก็จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกลุ่มเด็กเก่งได้รับโอกาสให้เก่งมากขึ้นๆๆๆไปเรื่อยๆ
เพราะอายุที่ห่างกันเกือบปีของเด็กต้นปีกับเด็กท้ายปี จริงๆแล้วการพัฒนาทางร่าฃกายและสมองมันต่างกันค่อนข้างมากในวัยเด็ก ทำให้เด็กที่อายุมากกว่ามีแนวโน้มจะได้รับโอกาสมากกว่า และปัจจัยนี้ก็ไม่ใช่ความดีความชอบส่วนบุคคล มันก็แค่เป็นไปตามนี้ ตามที่มันเกิด
นอกจากเล่มนี้ยังมีงานวิจัยที่ผมเคยอ่าน วันหลังจะลองหามาอ่านอึกจำไม่ได้ว่ามาจากไหน ทำแบบจำลองของสังคมหนึ่งขึ้นมา โดยกลุ่ม 1 จะมุ่งการอัพสกิลของตัวแปร ไปที่ตัวแปรที่โดดเด่น (เหมือนสังคมเรา) กับกลุ่ม 2 จะอัพสกิลให้ทุกตัวแปรเท่าๅกัน ไม่สนว่าจะเปนตัวแปรที่เก่งหรือไม่เก่ง ผลสรุปว่ากลุ่มที่สอง ที่ให้โอกาสทุกคนเท่าๆกัน ในท้ายที่สุดจะมีผลลัพท์โดยรวมดีกว่ากลุ่ม 1 ที่โอกาสคนตามแบบสังคมปัจจุบันของเรา
แล้วเพื่อนๆคิดยังไงกับเรื่องนี้ มาแชร์กันครับ