layman_economics on Nostr: ทำไมเราถึงต้องมีเงิน? ...
ทำไมเราถึงต้องมีเงิน?
เวลาที่เราทำงานบางอย่าง (เช่น ปลูกข้าว) และเราอยากจะเอาผลผลิตของงานที่เราทำไปแลกกับสิ่งที่เราอยากได้ (เช่น อยากเอาข้าวไปแลกไข่ไก่)
มันลำบากเหมือนกันครับที่จะเจอคนที่มีไข่ไก่…ที่กำลังอยากได้ข้าวอยู่พอดี
ฉะนั้น เงินจึงถูกสร้างขึ้นมา
เวลาที่เราทำงานบางอย่าง (เช่น ปลูกข้าว) และเราอยากเอาผลผลิตของงานที่เราทำไปแลกกับสิ่งที่เราอยากได้ (เช่น อยากเอาข้าวไปแลกไข่ไก่)
เราไม่จำเป็นต้องไปหาคนที่มีไข่ไก่…ที่กำลังอยากได้ข้าวอยู่พอดีอีกแล้ว
เราเพียงแค่เอาผลผลิตของการทำงานเรา (เช่น ข้าว) ไปแลกกับเงินแทน
และเราก็ค่อยเอาเงินนั้นไปแลกกับสิ่งที่เราอยากจะได้อีกที (เช่น ไข่ไก่)
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เงิน = ภาชนะเก็บ economic energy
แต่ทุกวันนี้ ภาชนะเก็บ economic energy ของเรามันมีปัญหาอยู่อย่างนึง
ปัญหานั้นก็คือ…มันเป็นภาชนะที่ “ก้นรั่ว”
เมื่อหลายสิบปีก่อน เราทำงานเป็นข้าราชการ 1 เดือน เราได้รับภาชนะเก็บ economic energy ในปริมาณมากพอที่จะซื้อทองคำได้เป็นบาท
จะเกิดอะไรขึ้นหากเราเก็บเงินก้อนนั้นไว้เฉยๆ?
ทุกวันนี้ เงินหรือภาชนะเก็บ economic energy ก้อนนั้น…เอาไปซื้อทองคำไม่ได้แม้กระทั่งครึ่งสลึง
ถ้านี่ไม่เรียกว่าเป็นภาชนะ “ก้นรั่ว” ผมก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรแล้วจริงๆ
คำถามคือ แล้วใครเป็นคนไป “เจาะรู” ให้ภาชนะมัน “ก้นรั่ว” ได้แบบนี้?
คำตอบคือรัฐบาลครับ
การพิมพ์เงินเพิ่มของรัฐบาลทำให้ economic energy ที่ถูกบรรจุไว้ในเหรียญบาทแต่ละเหรียญของเรา…เอาไปแลกซื้อของได้น้อยลงเรื่อยๆ
มันคือการโจรกรรมชัดๆ!
อย่างไรก็ตาม การโจรกรรมนี้มักจะถูก “ปกปิด” ด้วย narrative สวยหรูว่า “เราต้องมีเงินเฟ้ออ่อนๆ เศรษฐกิจถึงจะดี”
ซึ่งแน่นอนครับว่า narrative นี้มันไม่เป็นความจริงเลย
และต่อให้มันเป็นความจริง ถ้าจะเอา narrative นี้มาแปลกันจริงๆ เจ้า narrative นี้กำลังบอกว่า “เราต้องยอมให้ economic energy ที่ถูกบรรจุไว้ในเหรียญบาทแต่ละเหรียญของเราถูกปล้น เราจึงจะรวยขึ้น”
มันไม่สมเหตุสมผลเลยแม้แต่น้อย!
#siamstr
เวลาที่เราทำงานบางอย่าง (เช่น ปลูกข้าว) และเราอยากจะเอาผลผลิตของงานที่เราทำไปแลกกับสิ่งที่เราอยากได้ (เช่น อยากเอาข้าวไปแลกไข่ไก่)
มันลำบากเหมือนกันครับที่จะเจอคนที่มีไข่ไก่…ที่กำลังอยากได้ข้าวอยู่พอดี
ฉะนั้น เงินจึงถูกสร้างขึ้นมา
เวลาที่เราทำงานบางอย่าง (เช่น ปลูกข้าว) และเราอยากเอาผลผลิตของงานที่เราทำไปแลกกับสิ่งที่เราอยากได้ (เช่น อยากเอาข้าวไปแลกไข่ไก่)
เราไม่จำเป็นต้องไปหาคนที่มีไข่ไก่…ที่กำลังอยากได้ข้าวอยู่พอดีอีกแล้ว
เราเพียงแค่เอาผลผลิตของการทำงานเรา (เช่น ข้าว) ไปแลกกับเงินแทน
และเราก็ค่อยเอาเงินนั้นไปแลกกับสิ่งที่เราอยากจะได้อีกที (เช่น ไข่ไก่)
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เงิน = ภาชนะเก็บ economic energy
แต่ทุกวันนี้ ภาชนะเก็บ economic energy ของเรามันมีปัญหาอยู่อย่างนึง
ปัญหานั้นก็คือ…มันเป็นภาชนะที่ “ก้นรั่ว”
เมื่อหลายสิบปีก่อน เราทำงานเป็นข้าราชการ 1 เดือน เราได้รับภาชนะเก็บ economic energy ในปริมาณมากพอที่จะซื้อทองคำได้เป็นบาท
จะเกิดอะไรขึ้นหากเราเก็บเงินก้อนนั้นไว้เฉยๆ?
ทุกวันนี้ เงินหรือภาชนะเก็บ economic energy ก้อนนั้น…เอาไปซื้อทองคำไม่ได้แม้กระทั่งครึ่งสลึง
ถ้านี่ไม่เรียกว่าเป็นภาชนะ “ก้นรั่ว” ผมก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรแล้วจริงๆ
คำถามคือ แล้วใครเป็นคนไป “เจาะรู” ให้ภาชนะมัน “ก้นรั่ว” ได้แบบนี้?
คำตอบคือรัฐบาลครับ
การพิมพ์เงินเพิ่มของรัฐบาลทำให้ economic energy ที่ถูกบรรจุไว้ในเหรียญบาทแต่ละเหรียญของเรา…เอาไปแลกซื้อของได้น้อยลงเรื่อยๆ
มันคือการโจรกรรมชัดๆ!
อย่างไรก็ตาม การโจรกรรมนี้มักจะถูก “ปกปิด” ด้วย narrative สวยหรูว่า “เราต้องมีเงินเฟ้ออ่อนๆ เศรษฐกิจถึงจะดี”
ซึ่งแน่นอนครับว่า narrative นี้มันไม่เป็นความจริงเลย
และต่อให้มันเป็นความจริง ถ้าจะเอา narrative นี้มาแปลกันจริงๆ เจ้า narrative นี้กำลังบอกว่า “เราต้องยอมให้ economic energy ที่ถูกบรรจุไว้ในเหรียญบาทแต่ละเหรียญของเราถูกปล้น เราจึงจะรวยขึ้น”
มันไม่สมเหตุสมผลเลยแม้แต่น้อย!
#siamstr