Right Shift on Nostr: ถ้าจะบอกว่าลึกๆ แล้ว เราทุกคน ...
ถ้าจะบอกว่าลึกๆ แล้ว เราทุกคน "เห็นแก่ตัว" คุณจะเชื่อไหม?
คำถามนี้อาจจะฟังดูแรง แต่ อดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์กลับมองว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ ที่ฝังรากลึกอยู่ในตัวเราแทบทุกคน
เป็นแรงขับเคลื่อนพื้นฐาน ที่ผลักดันให้เราแสวงหาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตัวเอง
แต่... อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่า สมิธ กำลังบอกว่ามนุษย์เลวร้าย หรือเห็นแก่ได้เพียงอย่างเดียว
ในหนังสือเล่มแรกของเขา "The Theory of Moral Sentiments" สมิธ ไม่ได้แค่ชี้ให้เห็นถึง "ความเห็นแก่ตัว" ในตัวมนุษย์ แต่เขาอธิบายอย่างละเอียดถึงความซับซ้อน และความขัดแย้ง ในธรรมชาติของมนุษย์ ที่ทำให้เราเป็นสัตว์สังคมที่มีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง
เขาเชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยความเห็นแก่ตัวเพียงอย่างเดียว แต่ภายในจิตใจของเรายังมีความปรารถนาที่จะ "เป็นที่รัก" (loved) และ "เป็นคนที่คู่ควรกับการเป็นที่รัก" (lovely) รวมอยู่ด้วย
เราต้องการการยอมรับ การชื่นชม และความรักจากคนรอบข้าง
เพื่อที่จะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และรู้สึกว่าชีวิตของเรามีคุณค่า
สมมติว่า.. นักเรียนคนหนึ่งอยากได้เกรดดีๆ เขาจะตั้งใจเรียน ทำการบ้าน สอบให้ได้คะแนนสูงๆ ไม่ใช่แค่เพื่ออวดเพื่อนหรือเอาชนะคนอื่น แต่เพราะเขาต้องการที่จะ "คู่ควร" กับเกรดดีๆ นั้น
เขาต้องการให้คนอื่น "ยอมรับ" และ "ชื่นชม" ในความสามารถของเขา
ความปรารถนา ที่จะเป็นที่รักและเป็นคนที่คู่ควรกับการเป็นที่รักนี่แหละ ที่ทำให้มนุษย์สามารถควบคุมความเห็นแก่ตัว และสร้างสังคมชที่น่าอยู่ขึ้นมาได้
สมิธ ไม่ได้บอกให้เราหลอกตัวเองว่าเราเป็นคนดี แต่เขาแนะนำให้มองตัวเองผ่านมุมมองของ "ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง" (impartial spectator)
ลองจินตนาการว่า มีคนกลางที่เป็นกลางยืนมองเราอยู่ตลอดเวลา คอยสังเกตการกระทำของเรา วิเคราะห์ความคิดของเรา และสะกิดเตือนสติ เมื่อเรากำลังจะทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เช่น กำลังจะโกงข้อสอบ "ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง" ก็จะดังขึ้นในใจเราว่า...
"เฮ้ย! อย่าทำแบบนั้น มันไม่แฟร์"
ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลางนี้ ก็คือมโนธรรมในใจเรานั่นเอง ที่คอยย้ำเตือนให้เราตระหนักถึงผลกระทบของการกระทำของเราต่อผู้อื่น และต่อสังคมโดยรวม
การรู้จักตัวเอง ยอมรับข้อบกพร่อง และทำในสิ่งที่ถูกต้อง คือก้าวสำคัญ ที่จะทำให้เราคู่ควรกับการเป็นที่รัก และการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง
แล้ว "ผลประโยชน์ส่วนตน" (self-interest) มันเกี่ยวอะไรด้วยไหม?
ในหนังสือเล่มที่สอง "The Wealth of Nations" สมิธ อธิบายว่าผลประโยชน์ส่วนตนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ
คนเราทำงาน ค้าขาย ทำธุรกิจ ก็เพราะต้องการเงิน ต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น
สมิธ เชื่อว่าระบบตลาดเสรี จะนำพาเราไปสู่สังคมที่เจริญรุ่งเรือง ตราบใดที่คนเรามีศีลธรรม และไม่เอาเปรียบผู้อื่น
"มือที่มองไม่เห็น" (Invisible Hand) ที่สมิธกล่าวถึง จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์ในระบบนั้น มีจริยธรรมคอยควบคุมความเห็นแก่ตัวของพวกเขา
ถ้าทุกคน มุ่งแต่จะเอาเปรียบ โกง และทำลายซึ่งกันและกัน สังคมก็จะล่มสลาย
สมิธ ยังเชื่ออีกว่า "ความสุขที่แท้จริง" ไม่ได้อยู่ที่เงินทอง แต่อยู่ที่สายสัมพันธ์ที่ดี การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง
เงินทอง ชื่อเสียง หรืออำนาจ อาจจะทำให้เรามีความสุขในระยะสั้น
แต่ความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการที่เรารู้สึกเป็นที่รัก เป็นที่ยอมรับ และมีคุณค่าในสายตาของผู้อื่น
แล้วสังคมที่ดีมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
สมิธ เชื่อว่าสังคมมันถูกสร้างขึ้นจากการกระทำของทุกคน Russ Roberts ผู้เขียนหนังสือ "How Adam Smith Can Change Your Life" เรียกสิ่งนี้ว่า "ระเบียบที่เกิดขึ้นเอง" (emergent order)
มันคือระเบียบที่ไม่ได้เกิดจากการออกแบบ หรือควบคุมจากส่วนกลาง แต่เกิดจากการที่ "ปัจเจกบุคคล" แต่ละคน ต่างเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด
เหมือนกับการจราจร ที่ไม่มีใครสั่งให้รถทุกคันต้องวิ่งไปทางเดียวกัน แต่ทุกคนเลือกที่จะทำ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกสบาย ของทุกคน บนท้องถนน
สังคมที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีใครมาควบคุม แต่เกิดจาก "เสรีภาพ" ในการเลือก และตัดสินใจของแต่ละคน ภายใต้กรอบของศีลธรรมและ จริยธรรม
เราทำดี เพราะต้องการเป็นที่รัก และต้องการเป็นคนที่คู่ควรกับความรักนั้น
เมื่อคนส่วนใหญ่ทำดี สังคมก็จะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ
สมิธ มองว่ามนุษย์มีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง
ด้านมืด คือ ความเห็นแก่ตัว ความอยากเอาชนะ ความอยากได้อยากมี
ด้านสว่าง คือ ความอยากทำดี ความอยากเป็นที่รัก ความอยากมีคุณค่า
และด้านสว่างนี่แหละ.. ที่ทำให้โลกนี้น่าอยู่
การทำดีต่อคนรอบข้าง การช่วยเหลือผู้อื่น การยิ้มให้กับคนแปลกหน้า สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจดูเหมือนไม่มีความหมาย แต่มัน "ทรงพลัง" เพราะมันทำให้ "ด้านสว่าง" ของเราและคนรอบข้างเปล่งประกายออกมา
มันทำให้โลกนี้ อบอุ่น และน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ลองฝึกมองตัวเอง ผ่านมุมมองของ "ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง" ดูนะครับ.. แล้วคุณจะเข้าใจตัวเองมากขึ้น
และอย่าลืมทำดีในทุกๆ วัน รับรองว่าโลกนี้ จะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะอย่างแน่นอนครับ..
— SOUP (nprofile…tu89) #Siamstr
คำถามนี้อาจจะฟังดูแรง แต่ อดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์กลับมองว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ ที่ฝังรากลึกอยู่ในตัวเราแทบทุกคน
เป็นแรงขับเคลื่อนพื้นฐาน ที่ผลักดันให้เราแสวงหาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตัวเอง
แต่... อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่า สมิธ กำลังบอกว่ามนุษย์เลวร้าย หรือเห็นแก่ได้เพียงอย่างเดียว
ในหนังสือเล่มแรกของเขา "The Theory of Moral Sentiments" สมิธ ไม่ได้แค่ชี้ให้เห็นถึง "ความเห็นแก่ตัว" ในตัวมนุษย์ แต่เขาอธิบายอย่างละเอียดถึงความซับซ้อน และความขัดแย้ง ในธรรมชาติของมนุษย์ ที่ทำให้เราเป็นสัตว์สังคมที่มีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง
เขาเชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยความเห็นแก่ตัวเพียงอย่างเดียว แต่ภายในจิตใจของเรายังมีความปรารถนาที่จะ "เป็นที่รัก" (loved) และ "เป็นคนที่คู่ควรกับการเป็นที่รัก" (lovely) รวมอยู่ด้วย
เราต้องการการยอมรับ การชื่นชม และความรักจากคนรอบข้าง
เพื่อที่จะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และรู้สึกว่าชีวิตของเรามีคุณค่า
สมมติว่า.. นักเรียนคนหนึ่งอยากได้เกรดดีๆ เขาจะตั้งใจเรียน ทำการบ้าน สอบให้ได้คะแนนสูงๆ ไม่ใช่แค่เพื่ออวดเพื่อนหรือเอาชนะคนอื่น แต่เพราะเขาต้องการที่จะ "คู่ควร" กับเกรดดีๆ นั้น
เขาต้องการให้คนอื่น "ยอมรับ" และ "ชื่นชม" ในความสามารถของเขา
ความปรารถนา ที่จะเป็นที่รักและเป็นคนที่คู่ควรกับการเป็นที่รักนี่แหละ ที่ทำให้มนุษย์สามารถควบคุมความเห็นแก่ตัว และสร้างสังคมชที่น่าอยู่ขึ้นมาได้
สมิธ ไม่ได้บอกให้เราหลอกตัวเองว่าเราเป็นคนดี แต่เขาแนะนำให้มองตัวเองผ่านมุมมองของ "ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง" (impartial spectator)
ลองจินตนาการว่า มีคนกลางที่เป็นกลางยืนมองเราอยู่ตลอดเวลา คอยสังเกตการกระทำของเรา วิเคราะห์ความคิดของเรา และสะกิดเตือนสติ เมื่อเรากำลังจะทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เช่น กำลังจะโกงข้อสอบ "ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง" ก็จะดังขึ้นในใจเราว่า...
"เฮ้ย! อย่าทำแบบนั้น มันไม่แฟร์"
ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลางนี้ ก็คือมโนธรรมในใจเรานั่นเอง ที่คอยย้ำเตือนให้เราตระหนักถึงผลกระทบของการกระทำของเราต่อผู้อื่น และต่อสังคมโดยรวม
การรู้จักตัวเอง ยอมรับข้อบกพร่อง และทำในสิ่งที่ถูกต้อง คือก้าวสำคัญ ที่จะทำให้เราคู่ควรกับการเป็นที่รัก และการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง
แล้ว "ผลประโยชน์ส่วนตน" (self-interest) มันเกี่ยวอะไรด้วยไหม?
ในหนังสือเล่มที่สอง "The Wealth of Nations" สมิธ อธิบายว่าผลประโยชน์ส่วนตนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ
คนเราทำงาน ค้าขาย ทำธุรกิจ ก็เพราะต้องการเงิน ต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น
สมิธ เชื่อว่าระบบตลาดเสรี จะนำพาเราไปสู่สังคมที่เจริญรุ่งเรือง ตราบใดที่คนเรามีศีลธรรม และไม่เอาเปรียบผู้อื่น
"มือที่มองไม่เห็น" (Invisible Hand) ที่สมิธกล่าวถึง จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์ในระบบนั้น มีจริยธรรมคอยควบคุมความเห็นแก่ตัวของพวกเขา
ถ้าทุกคน มุ่งแต่จะเอาเปรียบ โกง และทำลายซึ่งกันและกัน สังคมก็จะล่มสลาย
สมิธ ยังเชื่ออีกว่า "ความสุขที่แท้จริง" ไม่ได้อยู่ที่เงินทอง แต่อยู่ที่สายสัมพันธ์ที่ดี การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง
เงินทอง ชื่อเสียง หรืออำนาจ อาจจะทำให้เรามีความสุขในระยะสั้น
แต่ความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการที่เรารู้สึกเป็นที่รัก เป็นที่ยอมรับ และมีคุณค่าในสายตาของผู้อื่น
แล้วสังคมที่ดีมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
สมิธ เชื่อว่าสังคมมันถูกสร้างขึ้นจากการกระทำของทุกคน Russ Roberts ผู้เขียนหนังสือ "How Adam Smith Can Change Your Life" เรียกสิ่งนี้ว่า "ระเบียบที่เกิดขึ้นเอง" (emergent order)
มันคือระเบียบที่ไม่ได้เกิดจากการออกแบบ หรือควบคุมจากส่วนกลาง แต่เกิดจากการที่ "ปัจเจกบุคคล" แต่ละคน ต่างเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด
เหมือนกับการจราจร ที่ไม่มีใครสั่งให้รถทุกคันต้องวิ่งไปทางเดียวกัน แต่ทุกคนเลือกที่จะทำ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกสบาย ของทุกคน บนท้องถนน
สังคมที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีใครมาควบคุม แต่เกิดจาก "เสรีภาพ" ในการเลือก และตัดสินใจของแต่ละคน ภายใต้กรอบของศีลธรรมและ จริยธรรม
เราทำดี เพราะต้องการเป็นที่รัก และต้องการเป็นคนที่คู่ควรกับความรักนั้น
เมื่อคนส่วนใหญ่ทำดี สังคมก็จะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ
สมิธ มองว่ามนุษย์มีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง
ด้านมืด คือ ความเห็นแก่ตัว ความอยากเอาชนะ ความอยากได้อยากมี
ด้านสว่าง คือ ความอยากทำดี ความอยากเป็นที่รัก ความอยากมีคุณค่า
และด้านสว่างนี่แหละ.. ที่ทำให้โลกนี้น่าอยู่
การทำดีต่อคนรอบข้าง การช่วยเหลือผู้อื่น การยิ้มให้กับคนแปลกหน้า สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจดูเหมือนไม่มีความหมาย แต่มัน "ทรงพลัง" เพราะมันทำให้ "ด้านสว่าง" ของเราและคนรอบข้างเปล่งประกายออกมา
มันทำให้โลกนี้ อบอุ่น และน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ลองฝึกมองตัวเอง ผ่านมุมมองของ "ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง" ดูนะครับ.. แล้วคุณจะเข้าใจตัวเองมากขึ้น
และอย่าลืมทำดีในทุกๆ วัน รับรองว่าโลกนี้ จะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะอย่างแน่นอนครับ..
— SOUP (nprofile…tu89) #Siamstr