Mr.Note on Nostr: GM #siamstr Flow..ภาวะลื่นไหล ...
GM #siamstr Flow..ภาวะลื่นไหล จิตวิทยาของประสบการณ์อันเลิศ งานชิ้นสำคัญที่ส่องสว่างเส้นทางสู่ความสุขของ Mihaly Robert Csikszentmihalyi นักจิตวิทยาชาวฮังการี จากที่ผมอ่านหนังสือพีระมิดสามสุข ได้แนะนำหนังสือเล่มนี้ เลยตามมาอ่าน กว่าจะหาซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ หายากมากๆ แต่ก็สั่งซื้อมาจนได้😁…หนังสือเล่มนี้ให้เรารู้ถึงจิตที่เกิดสภาวะลื่นไหล เป็นช่วงเวลาที่เราเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เราทุกคนก็มีสภาวะนี้ ซึ่งมันจะพาให้เรามีความสุข สรุปเนื้อหาคร่าวๆดังนี้
บทที่ 1 พบกับความสุขอีกครั้งหนึ่ง
ความสุขคือสภาวะที่เราแต่ละคนต้องเตรียมพร้อม ปลูกฝังและปกป้องเป็นการส่วนตัว คนที่เรียนรู้ที่จะควบคุมประสบการณ์ภายในจะสามารถกำหนดคุณภาพชีวิตของตัวเองได้ เราจะเข้าถึงความสุขได้จริง ประสบการณ์ที่ยากลำบาก แต่ถ้าเราผ่านพ้นมันไปได้ ทำมันสำเร็จได้ มันจะเป็นความสุขที่วิเศษสุดๆ
บทที่ 2 โครงสร้างของจิต
การได้มาซึ่งความสุขผ่านการทำงานของจิตและการควบคุมจิต หากเราเข้าใจการเกิดขึ้นของขั้นตอนภายในของเรา เราจะเป็นนายของมันได้ ความสุข,ความเจ็บปวด,เบื่อหน่าย,ความสนใจ มันถูกแสดงออกมาเป็นข้อมูลอยู่ในจิตใจ ถ้าเราควบคุมได้ เราก็สามารถเลือกการใช้ชีวิตของเราได้ ในการจัดระเบียบของจิต จะเกิดขึ้นเมื่อเราตั้งจุดมุ่งหมายที่เป็นไปได้จริง เมื่อทักษะเท่าเทียมกับโอกาสแล้วต้องลงมือทำ เมื่อเรามีสมาธิจดจ่อไปกับงานหรือสิ่งที่ทำอยู่และลืมเรื่องอื่นๆในช่วงขณะนั้นไป มันเป็นช่วงเวลาแห่งการต่อสู้เพื่อเอาชนะความท้าทายนี้คือสิ่งพบว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลิดเพลินที่สุดในชีวิต
บทที่ 3 ความเพลิดเพลินและคุณภาพชีวิต
คนที่สามารถควบคุมพลังงานทางจิตได้สำเร็จและใช้มันอย่างตั้งใจในการไปสู้เป้าหมายที่เลือกไว้ เราจะกลายเป็นคนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอย่างช่วยไม่ได้เมื่อเราได้ขยายทักษะความสามารถออกไป เมื่อเราได้พยายามเอื้อมไปให้ถึงความท้าทายต่างๆที่สูงขึ้น เราก็จะกลายเป็นคนที่มีความเป็นพิเศษมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเราไม่รู้ตัว
บทที่ 4 เงื่อนไขของการเกิดสภาวะลื่นไหล
ภาวะลื่นไหล คือสิ่งที่คนใช้อธิบายสภาพจิตใจเมื่อจิตมีความเป็นระเบียบอย่างกลมกลืนและเราก็จะทำสิ่งนั้นต่อไปอย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นกีฬา, เล่นเกมส์,เล่นดนตรี,เล่นโยคะ,ทำงานศิลปะ งานอะไรก็ได้ที่ทำให้คนนั้นมีความสุข มีความเพลิดเพลินได้
บทที่ 5 ร่างกายกับสภาวะลื่นไหล
เราต้องใช้ร่างกายให้คุ้มค่า พัฒนาคุณภาพชีวิตก็คือการเรียนรู้การควบคุมร่างกายและประสาทสัมผัสของเราได้ มีความสุขจากการเคลื่อนไหว เช่น การเล่นกีฬา เราจะเพลิดเพลินไปกับการควบคุมศักยภาพในการแสดงออกของร่างกาย ได้เหงื่อ ได้สุขภาพ, การมีเพศสัมพันธ์ ช่วงเวลาที่เรามีความเพลิดเพลินพาเราไปสู่จุด Climax รวมทั้งการมองเห็นที่พาเราสู่สภาวะลื่นไหล เช่น ชื่นชมงานศิลปะอันยอดเยี่ยม หรือการเล่นดนตรี ทำให้ความสนใจของผู้ฟังพุ่งไปยังรูปแบบที่เหมาะสมกับอารมณ์ที่ต้องการ หรือความสุขจากการลิ้มรสอาหาร ทำให้เพลิดเพลินมีความสุขจากการกิน
บทที่ 6 ภาวะลื่นไหลของความคิด
คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาในชีวิตไปกับการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะคนในครอบครัว ดังนั้นจึงสำคัญมากๆที่เราต้องเรียนรู้กันและกัน เปลี่ยนงานให้กลายเป็นกิจกรรมสร้างภาวะลื่นไหล กิจกรรมทางความคิดสามารถสร้างความเพลิดเพลินได้ อย่างน้อยจิตใจของเราได้ให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆได้เช่นเดียวกับร่างกาย ที่ต้องใช้แขนขาและประสาทสัมผัสได้โดยไม่มีข้อจำกัด ทุกคนสามารถเข้าถึงความทรงจำ ภาษา ตรรกะ กฎเกณฑ์ของเหตุและผลเพื่อให้ควบคุมจิตได้
บทที่ 7 การทำงานและภาวะลื่นไหล
เป็นการคิดถึงวิธีในการทำให้ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ คู่สมรส ลูกและเพื่อนๆมีความเพลิดเพลินมากกว่าเดิม งานและเวลาว่างสามารถปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของเราได้ ผู้เรียนรู้ที่จะเพลิดเพลินกับงานของตนและผู้ไม่เสียเวลาว่างไปโดยเปล่าประโยชน์ จะรู้สึกว่าชีวิตโดยรวมมีค่ามากขึ้น
บทที่ 8 การเพลิดเพลินกับการอยู่คนเดียวและการอยู่กับผู้อื่น
หลายชีวีตต้องหยุดชะงักเพราะอุบัติเหตุอันน่าเศร้า เผชิญกับความเครียดในรูปแบบต่างๆ แต่เรื่องร้ายอย่างนั้นไม่ควรทำให้ความสุขลดน้อยลง วิธีที่คนเราตอบสนองต่อความเครียดต่างหากเป็นตัวกำหนดว่าจะได้รับประโยชน์จากโชคร้ายหรืออยู่อย่างทุกข์ทรมาน
ประโยคเด็ด ประโยคเด็ดในบทนี้คือ “ปฏิรูปตัวเองก่อน เมื่อทำอย่างนั้นได้ ก็จะมีคนคดโกงลดลงหนึ่งคนในโลกนี้” คนที่พยายามทำให้ชีวิตดีขึ้นโดยที่ไม่เรียนรู้การควบคุมชีวิตของตัวเองก่อน มักจบลงด้วยการทำทุกสิ่งทุกอย่างเลวร้ายเสมอ
บทที่ 9 เอาชนะภาวะยุ่งเหยิง
จะอธิบายถึงวิธีที่คนเราสามารถมีความสุขกับชีวิตได้แม้ต้องพบกับความทุกข์ยากก็ตาม ความมุ่งมั่นและความมีวินัยเป็นสิ่งจำเป็นในการได้มาซึ่งการควบคุมภาวะยุ่งเหยิง บริบทโดยรวมของเป้าหมายต่างๆของเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต้องเป็นเหตุเป็นผลด้วย ทฤษฎีภาวะลื่นไหลจะนำเสนอต่อผู้ต้องการได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด โดยมีเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ การทำให้เกิดเป้าหมายของชีวิตอย่างต่อเนื่อง
บทที่ 10 การสร้างความหมาย
จะอธิบายถึงวิธีที่ผู้คนสามารถจัดการ รวมประสบการณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันให้เป็นรูปแบบที่มีความหมาย เมื่อสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้และรู้สึกถึงความเป็นเหตุเป็นผล คนคนนั้นก็ไม่มีอะไรให้ปรารถนาอีกต่อไปแล้ว เพราะมีความสุข เพลิดเพลินอยู่กับปัจจุบัน
ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ….ในหนังสือเล่มนี้ยังมีการยกเคสตัวอย่างอีกมากมาย จาก 3 สารที่หลั่งในสมอง(หนังสือพีระมิดสามสุข) บวกกับการฝึกจิตให้มีสภาวะลื่นไหล เราจะใช้ชีวิตมีความสุขในทุกๆวันครับ 🙂 ก็ลองหาอ่านกันดู ถ้าผมอ่านเล่มไหนเห็นว่าดี มีประโยชน์ ขออนุญาตมาแชร์ให้ชาวทุ่งม่วงอีกนะครับ🙏❤️
#TBC2024 Countdown: 22Days
บทที่ 1 พบกับความสุขอีกครั้งหนึ่ง
ความสุขคือสภาวะที่เราแต่ละคนต้องเตรียมพร้อม ปลูกฝังและปกป้องเป็นการส่วนตัว คนที่เรียนรู้ที่จะควบคุมประสบการณ์ภายในจะสามารถกำหนดคุณภาพชีวิตของตัวเองได้ เราจะเข้าถึงความสุขได้จริง ประสบการณ์ที่ยากลำบาก แต่ถ้าเราผ่านพ้นมันไปได้ ทำมันสำเร็จได้ มันจะเป็นความสุขที่วิเศษสุดๆ
บทที่ 2 โครงสร้างของจิต
การได้มาซึ่งความสุขผ่านการทำงานของจิตและการควบคุมจิต หากเราเข้าใจการเกิดขึ้นของขั้นตอนภายในของเรา เราจะเป็นนายของมันได้ ความสุข,ความเจ็บปวด,เบื่อหน่าย,ความสนใจ มันถูกแสดงออกมาเป็นข้อมูลอยู่ในจิตใจ ถ้าเราควบคุมได้ เราก็สามารถเลือกการใช้ชีวิตของเราได้ ในการจัดระเบียบของจิต จะเกิดขึ้นเมื่อเราตั้งจุดมุ่งหมายที่เป็นไปได้จริง เมื่อทักษะเท่าเทียมกับโอกาสแล้วต้องลงมือทำ เมื่อเรามีสมาธิจดจ่อไปกับงานหรือสิ่งที่ทำอยู่และลืมเรื่องอื่นๆในช่วงขณะนั้นไป มันเป็นช่วงเวลาแห่งการต่อสู้เพื่อเอาชนะความท้าทายนี้คือสิ่งพบว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลิดเพลินที่สุดในชีวิต
บทที่ 3 ความเพลิดเพลินและคุณภาพชีวิต
คนที่สามารถควบคุมพลังงานทางจิตได้สำเร็จและใช้มันอย่างตั้งใจในการไปสู้เป้าหมายที่เลือกไว้ เราจะกลายเป็นคนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอย่างช่วยไม่ได้เมื่อเราได้ขยายทักษะความสามารถออกไป เมื่อเราได้พยายามเอื้อมไปให้ถึงความท้าทายต่างๆที่สูงขึ้น เราก็จะกลายเป็นคนที่มีความเป็นพิเศษมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเราไม่รู้ตัว
บทที่ 4 เงื่อนไขของการเกิดสภาวะลื่นไหล
ภาวะลื่นไหล คือสิ่งที่คนใช้อธิบายสภาพจิตใจเมื่อจิตมีความเป็นระเบียบอย่างกลมกลืนและเราก็จะทำสิ่งนั้นต่อไปอย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นกีฬา, เล่นเกมส์,เล่นดนตรี,เล่นโยคะ,ทำงานศิลปะ งานอะไรก็ได้ที่ทำให้คนนั้นมีความสุข มีความเพลิดเพลินได้
บทที่ 5 ร่างกายกับสภาวะลื่นไหล
เราต้องใช้ร่างกายให้คุ้มค่า พัฒนาคุณภาพชีวิตก็คือการเรียนรู้การควบคุมร่างกายและประสาทสัมผัสของเราได้ มีความสุขจากการเคลื่อนไหว เช่น การเล่นกีฬา เราจะเพลิดเพลินไปกับการควบคุมศักยภาพในการแสดงออกของร่างกาย ได้เหงื่อ ได้สุขภาพ, การมีเพศสัมพันธ์ ช่วงเวลาที่เรามีความเพลิดเพลินพาเราไปสู่จุด Climax รวมทั้งการมองเห็นที่พาเราสู่สภาวะลื่นไหล เช่น ชื่นชมงานศิลปะอันยอดเยี่ยม หรือการเล่นดนตรี ทำให้ความสนใจของผู้ฟังพุ่งไปยังรูปแบบที่เหมาะสมกับอารมณ์ที่ต้องการ หรือความสุขจากการลิ้มรสอาหาร ทำให้เพลิดเพลินมีความสุขจากการกิน
บทที่ 6 ภาวะลื่นไหลของความคิด
คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาในชีวิตไปกับการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะคนในครอบครัว ดังนั้นจึงสำคัญมากๆที่เราต้องเรียนรู้กันและกัน เปลี่ยนงานให้กลายเป็นกิจกรรมสร้างภาวะลื่นไหล กิจกรรมทางความคิดสามารถสร้างความเพลิดเพลินได้ อย่างน้อยจิตใจของเราได้ให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆได้เช่นเดียวกับร่างกาย ที่ต้องใช้แขนขาและประสาทสัมผัสได้โดยไม่มีข้อจำกัด ทุกคนสามารถเข้าถึงความทรงจำ ภาษา ตรรกะ กฎเกณฑ์ของเหตุและผลเพื่อให้ควบคุมจิตได้
บทที่ 7 การทำงานและภาวะลื่นไหล
เป็นการคิดถึงวิธีในการทำให้ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ คู่สมรส ลูกและเพื่อนๆมีความเพลิดเพลินมากกว่าเดิม งานและเวลาว่างสามารถปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของเราได้ ผู้เรียนรู้ที่จะเพลิดเพลินกับงานของตนและผู้ไม่เสียเวลาว่างไปโดยเปล่าประโยชน์ จะรู้สึกว่าชีวิตโดยรวมมีค่ามากขึ้น
บทที่ 8 การเพลิดเพลินกับการอยู่คนเดียวและการอยู่กับผู้อื่น
หลายชีวีตต้องหยุดชะงักเพราะอุบัติเหตุอันน่าเศร้า เผชิญกับความเครียดในรูปแบบต่างๆ แต่เรื่องร้ายอย่างนั้นไม่ควรทำให้ความสุขลดน้อยลง วิธีที่คนเราตอบสนองต่อความเครียดต่างหากเป็นตัวกำหนดว่าจะได้รับประโยชน์จากโชคร้ายหรืออยู่อย่างทุกข์ทรมาน
ประโยคเด็ด ประโยคเด็ดในบทนี้คือ “ปฏิรูปตัวเองก่อน เมื่อทำอย่างนั้นได้ ก็จะมีคนคดโกงลดลงหนึ่งคนในโลกนี้” คนที่พยายามทำให้ชีวิตดีขึ้นโดยที่ไม่เรียนรู้การควบคุมชีวิตของตัวเองก่อน มักจบลงด้วยการทำทุกสิ่งทุกอย่างเลวร้ายเสมอ
บทที่ 9 เอาชนะภาวะยุ่งเหยิง
จะอธิบายถึงวิธีที่คนเราสามารถมีความสุขกับชีวิตได้แม้ต้องพบกับความทุกข์ยากก็ตาม ความมุ่งมั่นและความมีวินัยเป็นสิ่งจำเป็นในการได้มาซึ่งการควบคุมภาวะยุ่งเหยิง บริบทโดยรวมของเป้าหมายต่างๆของเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต้องเป็นเหตุเป็นผลด้วย ทฤษฎีภาวะลื่นไหลจะนำเสนอต่อผู้ต้องการได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด โดยมีเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ การทำให้เกิดเป้าหมายของชีวิตอย่างต่อเนื่อง
บทที่ 10 การสร้างความหมาย
จะอธิบายถึงวิธีที่ผู้คนสามารถจัดการ รวมประสบการณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันให้เป็นรูปแบบที่มีความหมาย เมื่อสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้และรู้สึกถึงความเป็นเหตุเป็นผล คนคนนั้นก็ไม่มีอะไรให้ปรารถนาอีกต่อไปแล้ว เพราะมีความสุข เพลิดเพลินอยู่กับปัจจุบัน
ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ….ในหนังสือเล่มนี้ยังมีการยกเคสตัวอย่างอีกมากมาย จาก 3 สารที่หลั่งในสมอง(หนังสือพีระมิดสามสุข) บวกกับการฝึกจิตให้มีสภาวะลื่นไหล เราจะใช้ชีวิตมีความสุขในทุกๆวันครับ 🙂 ก็ลองหาอ่านกันดู ถ้าผมอ่านเล่มไหนเห็นว่าดี มีประโยชน์ ขออนุญาตมาแชร์ให้ชาวทุ่งม่วงอีกนะครับ🙏❤️
#TBC2024 Countdown: 22Days