coffee on Nostr: เทคนิคการเรียนแบบ Feynman ...
เทคนิคการเรียนแบบ Feynman
Richard Feynman เป็นนักฟิสิกส์ระดับรางวัลโนเบลคนนึง ซึ่งมีความสามารถระดับสูง ในการอธิบายสิ่งที่ยากๆให้เข้าใจง่าย
วิธีที่ใช้เรียนรู้ของ Richard ถูกนำมาขยายความในภายหลัง ซึ่งในตอนที่เค้าใช้หลักการนี้ มันยังไม่ได้ถูกนิยามว่าเป็น How-to ด้วยซ้ำ
มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน
1. เลือก topic ที่เราสนใจ อาจจะเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว แต่อยากรู้มากขึ้น หรือเป็นเรื่องใหม่ๆที่เรามีความสงสัย จากนั้น ก็หยิบกระดาษเปล่าขึ้นมา แล้วก็เขียนสิ่งที่อยู่ในหัวของเราเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ว่าเรารู้อะไรบ้างออกมาให้หมด จากนั้นก็เริ่มหาข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบว่า ความรู้ที่เพิ่มขึ้นมามีอะไรบ้าง หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆ มันถูกต้องการความรู้เดิมที่เรามียังไง ในขณะที่เราเก็บข้อมูลไป คลังความรู้เราก็จะเริ่มใหญ่ขึ้นจาก topic ที่เราเริ่มจากกระดาษเปล่า
2. สอนให้เด็กเข้าใจ อาจจะเป็นลูกหรือหลาน ที่อายุซัก 10-12 ขวบ เหมือนกับ quote ที่ Albert Einstein พูดว่า “If you can’t explain it to a six-year-old, you don’t understand it yourself.” กำจัดพวกคำศัพท์แสง และใช้คำพูดง่ายๆอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ เพราะถ้าเราไม่สามารถเล่าออกมาให้เรียบง่ายได้ เราอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องที่เราได้เรียนรู้จริงๆ
3. รีวิวและปรับปรุง ให้เราเขียนเรื่องที่เราคิดว่าสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายลงกระดาษ และลองพิจารณาว่าจุดไหนที่สำคัญ การเขียนจะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่คิดมากขึ้น ปรับปรุงจนกว่าเด็กจะเข้าใจในสิ่งที่เราสอน และกลับมาเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังอธิบายได้ไม่ดีพอ
4. จัดระเบียบความรู้ที่ได้เรียนมา จากนั้นก็ลองเปลี่ยนคนที่เราอยากจะเล่าให้ฟัง อาจจะเป็นคนทั่วไป ประเด็นของขั้นตอนนี้คือ คนมักจะมีข้อสงสัยในสิ่งที่เราสอน หากเราตอบไม่ได้ เราจะได้มีข้อมูลเพื่อกลับมาเรียนรู้เพิ่ม
สิ่งที่ Richard หรือ ผู้ที่เป็นกูรูในสาขาต่างๆ มักจะพูดเหมือนกันในการศึกษาคือ Make it simple เพราะบางทีการที่ผู้สอนพยายามใช้ศัพท์เฉพาะ คำที่ยากจะเข้าใจมากเกินไป ก็เพื่อปิดบังความไม่เข้าใจของตัวเอง และการไม่ยอมรับ “ความไม่รู้จริงของตัวเอง” ซึ่งนั้นก็คืออุปสรรคใหญ่ในการเรียนรู้

Richard Feynman เป็นนักฟิสิกส์ระดับรางวัลโนเบลคนนึง ซึ่งมีความสามารถระดับสูง ในการอธิบายสิ่งที่ยากๆให้เข้าใจง่าย
วิธีที่ใช้เรียนรู้ของ Richard ถูกนำมาขยายความในภายหลัง ซึ่งในตอนที่เค้าใช้หลักการนี้ มันยังไม่ได้ถูกนิยามว่าเป็น How-to ด้วยซ้ำ
มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน
1. เลือก topic ที่เราสนใจ อาจจะเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว แต่อยากรู้มากขึ้น หรือเป็นเรื่องใหม่ๆที่เรามีความสงสัย จากนั้น ก็หยิบกระดาษเปล่าขึ้นมา แล้วก็เขียนสิ่งที่อยู่ในหัวของเราเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ว่าเรารู้อะไรบ้างออกมาให้หมด จากนั้นก็เริ่มหาข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบว่า ความรู้ที่เพิ่มขึ้นมามีอะไรบ้าง หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆ มันถูกต้องการความรู้เดิมที่เรามียังไง ในขณะที่เราเก็บข้อมูลไป คลังความรู้เราก็จะเริ่มใหญ่ขึ้นจาก topic ที่เราเริ่มจากกระดาษเปล่า
2. สอนให้เด็กเข้าใจ อาจจะเป็นลูกหรือหลาน ที่อายุซัก 10-12 ขวบ เหมือนกับ quote ที่ Albert Einstein พูดว่า “If you can’t explain it to a six-year-old, you don’t understand it yourself.” กำจัดพวกคำศัพท์แสง และใช้คำพูดง่ายๆอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ เพราะถ้าเราไม่สามารถเล่าออกมาให้เรียบง่ายได้ เราอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องที่เราได้เรียนรู้จริงๆ
3. รีวิวและปรับปรุง ให้เราเขียนเรื่องที่เราคิดว่าสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายลงกระดาษ และลองพิจารณาว่าจุดไหนที่สำคัญ การเขียนจะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่คิดมากขึ้น ปรับปรุงจนกว่าเด็กจะเข้าใจในสิ่งที่เราสอน และกลับมาเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่เรายังอธิบายได้ไม่ดีพอ
4. จัดระเบียบความรู้ที่ได้เรียนมา จากนั้นก็ลองเปลี่ยนคนที่เราอยากจะเล่าให้ฟัง อาจจะเป็นคนทั่วไป ประเด็นของขั้นตอนนี้คือ คนมักจะมีข้อสงสัยในสิ่งที่เราสอน หากเราตอบไม่ได้ เราจะได้มีข้อมูลเพื่อกลับมาเรียนรู้เพิ่ม
สิ่งที่ Richard หรือ ผู้ที่เป็นกูรูในสาขาต่างๆ มักจะพูดเหมือนกันในการศึกษาคือ Make it simple เพราะบางทีการที่ผู้สอนพยายามใช้ศัพท์เฉพาะ คำที่ยากจะเข้าใจมากเกินไป ก็เพื่อปิดบังความไม่เข้าใจของตัวเอง และการไม่ยอมรับ “ความไม่รู้จริงของตัวเอง” ซึ่งนั้นก็คืออุปสรรคใหญ่ในการเรียนรู้