9shrek on Nostr: ...
วันนี้มีเรื่องสนุกๆมาเล่าให้ฟัง
ผมรู้จักกับอาจารย์ท่านนึง ท่านสอนวิชาเทอโมไดนามิกส์(วิชาที่ผมสอบตก) เราจะเรียนด้วยกันทุกบ่ายวันพฤหัส
//ตอนที่ทุกคนนั่งในห้องรออาจารย์มาสอน
อยู่ๆอาจารย์ก็เดินเข้ามาแล้วเปิดว่า “ มีใครเห็นข่าวมั้ย ที่นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อน ก่อนที่โลกจะเลยจุดหวนกลับมั้ย(ถ้าผ่านจุดหวนกลับที่ว่าเราจะไม่มีโลกที่อากาศดีอีกต่อไป โลกที่แปรปรวนคือปลายทางถัดไป) “
หลังจากอาจารย์พูดจบผมคิดในใจว่า “ อาจารย์ต้องมาเรียกร้องให้เราช่วยกันแน่ เพราะเราเป็นนักศึกษา เราเป็นคนรุ่นใหม่ “
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เขียนกระดานหน้าห้องเป็น รูปด้านล่าง (อันนี้ผมวาดเอง อาจจะผิดพลาดต้องขออภัยล่วงหน้าตรงนี้เลย) มันเป็นรูปของ การที่เราหยิบเอา ดวงอาทิตย์ และ โลก เข้าไปในระบบ แล้วเราก็สนใจแค่โลกกับดวงอาทิตย์ เราจะเรียกว่า system boundary มันเหมือนเป็นการตีกรอบว่าเราจะเอาวัตถุอะไรบ้างมาคิดในระบบนี้(เอาแค่ที่เราสนใจไรงี้) จากรูป ด้านนอกกรอบคือไม่มีอะไรเลย(ส่วนที่จักรวาลยังขยายตัวไปไม่ถึง) ส่วนด้านในคือจักรวาลของเรา สมมติให้มีแค่ดวงอาทิตย์กับโลก มองง่ายๆคือเหมือนเราเอาโลกกับดวงอาทิตย์ลงไปไวในน้ำแก้วเดียวกัน
จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอโมไดนามิกส์คือพลังงานจะไม่หายไปไหน ไม่เกิดใหม่ แค่จะเปลี่ยนรูป(หรือที่ผมมองแบบอย่างง่ายสุดคือย้ายที่)
สมมติเรามีดวงอาทิตย์ที่ร้อนมากหย่อนลงในน้ำแก้วเดียวกันที่มีโลกอุณหภูมิน้อยๆเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ มันจะเหมือนเราเอาเหล็กก้อนกลมร้อนๆจุ่มลงในน้ำที่มีเหล็กกลมอีกก้อน ตอนแรกน้ำบริเวณรอบๆจะร้อนก่อน แล้วค่อยๆร้อนจนหมดทั้งแก้ว แต่ในแก้วน้ำไม่ได้มีแค่เหล็กที่ร้อน มีเหล็กอีกก้อนด้วย น้ำจะถ่ายเทพลังงาน(ความร้อน)ไปให้เหล็กอีกก้อน(โลก) จนสุดท้ายทั้งอุณหภูมิของน้ำ ดวงอาทิตย์ และโลก จะเท่ากันในที่สุด
ไปเข้ากับกฎเทอโมไดนามิกส์ข้อที่ศูนย์(อาจารย์บอกว่า “ที่เรียกว่ากฎข้อที่ศูนย์คือจริงๆเป็นข้อหนึ่งแต่ลืมเขียนตั้งแต่แรก เลยเอามาเป็นข้อศูนย์แทน” ผมแบบ “ห๊ะ5555 มีงี้ด้วยแฮะ”)
กฎข้อที่ศูนย์ของเทอโมไดนามิกส์คือการที่วัตถุ A และ B อุณหภูมิเท่ากัน และอุณหภูมิของ B และ C ก็เท่ากันด้วย แปลว่าอุณหภูมิของ A เท่ากับ C (ขออนุญาตอธิบายแบบเข้าใจง่าย) เลยเป็นการที่สุดท้ายแล้วทั้ง 3 วัตถุในกรอบระบบที่เราคิดขึ้นมา(ในแก้วน้ำ) คือเหล็กที่ร้อน(ดวงอาทิตย์) น้ำในแก้ว และเหล็กอีกลูก(โลก) ทั้ง 3 จะอุณหภูมิเท่ากันเพราะดวงอาทิตย์ทำการปล่อยความร้อนตลอดเวลา เอาง่ายๆคือโลกกับดวงอาทิตย์จะต้องร้อนเท่ากันในวันใดวันนึง ถ้ามีดาวในระบบสุริยะเยอะก็จะช่วยกันหารค่าความร้อนเฉยๆ
หลังจากนั้นอาจารย์บอกกับพวกเราในห้องว่า “ ผมว่าจริงๆแล้วเราไม่ได้มีจุดหวนกลับมาตั้งแต่แรกหรอก แค่มีคนบางกลุ่มมองเห็นการใช้ประโยชน์จากการที่โลกร้อนมาหาผลกำไรเท่านั้น ”
มุมมองที่อาจารย์มองเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนก็แอบน่าคิดน่าเอามาแบ่งปัน
ถูกผิดยังไงขออภัยด้วยนะครับ
#siamstr
#zap
#nostr
ผมรู้จักกับอาจารย์ท่านนึง ท่านสอนวิชาเทอโมไดนามิกส์(วิชาที่ผมสอบตก) เราจะเรียนด้วยกันทุกบ่ายวันพฤหัส
//ตอนที่ทุกคนนั่งในห้องรออาจารย์มาสอน
อยู่ๆอาจารย์ก็เดินเข้ามาแล้วเปิดว่า “ มีใครเห็นข่าวมั้ย ที่นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆให้ความสำคัญเรื่องโลกร้อน ก่อนที่โลกจะเลยจุดหวนกลับมั้ย(ถ้าผ่านจุดหวนกลับที่ว่าเราจะไม่มีโลกที่อากาศดีอีกต่อไป โลกที่แปรปรวนคือปลายทางถัดไป) “
หลังจากอาจารย์พูดจบผมคิดในใจว่า “ อาจารย์ต้องมาเรียกร้องให้เราช่วยกันแน่ เพราะเราเป็นนักศึกษา เราเป็นคนรุ่นใหม่ “
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เขียนกระดานหน้าห้องเป็น รูปด้านล่าง (อันนี้ผมวาดเอง อาจจะผิดพลาดต้องขออภัยล่วงหน้าตรงนี้เลย) มันเป็นรูปของ การที่เราหยิบเอา ดวงอาทิตย์ และ โลก เข้าไปในระบบ แล้วเราก็สนใจแค่โลกกับดวงอาทิตย์ เราจะเรียกว่า system boundary มันเหมือนเป็นการตีกรอบว่าเราจะเอาวัตถุอะไรบ้างมาคิดในระบบนี้(เอาแค่ที่เราสนใจไรงี้) จากรูป ด้านนอกกรอบคือไม่มีอะไรเลย(ส่วนที่จักรวาลยังขยายตัวไปไม่ถึง) ส่วนด้านในคือจักรวาลของเรา สมมติให้มีแค่ดวงอาทิตย์กับโลก มองง่ายๆคือเหมือนเราเอาโลกกับดวงอาทิตย์ลงไปไวในน้ำแก้วเดียวกัน
จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอโมไดนามิกส์คือพลังงานจะไม่หายไปไหน ไม่เกิดใหม่ แค่จะเปลี่ยนรูป(หรือที่ผมมองแบบอย่างง่ายสุดคือย้ายที่)
สมมติเรามีดวงอาทิตย์ที่ร้อนมากหย่อนลงในน้ำแก้วเดียวกันที่มีโลกอุณหภูมิน้อยๆเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ มันจะเหมือนเราเอาเหล็กก้อนกลมร้อนๆจุ่มลงในน้ำที่มีเหล็กกลมอีกก้อน ตอนแรกน้ำบริเวณรอบๆจะร้อนก่อน แล้วค่อยๆร้อนจนหมดทั้งแก้ว แต่ในแก้วน้ำไม่ได้มีแค่เหล็กที่ร้อน มีเหล็กอีกก้อนด้วย น้ำจะถ่ายเทพลังงาน(ความร้อน)ไปให้เหล็กอีกก้อน(โลก) จนสุดท้ายทั้งอุณหภูมิของน้ำ ดวงอาทิตย์ และโลก จะเท่ากันในที่สุด
ไปเข้ากับกฎเทอโมไดนามิกส์ข้อที่ศูนย์(อาจารย์บอกว่า “ที่เรียกว่ากฎข้อที่ศูนย์คือจริงๆเป็นข้อหนึ่งแต่ลืมเขียนตั้งแต่แรก เลยเอามาเป็นข้อศูนย์แทน” ผมแบบ “ห๊ะ5555 มีงี้ด้วยแฮะ”)
กฎข้อที่ศูนย์ของเทอโมไดนามิกส์คือการที่วัตถุ A และ B อุณหภูมิเท่ากัน และอุณหภูมิของ B และ C ก็เท่ากันด้วย แปลว่าอุณหภูมิของ A เท่ากับ C (ขออนุญาตอธิบายแบบเข้าใจง่าย) เลยเป็นการที่สุดท้ายแล้วทั้ง 3 วัตถุในกรอบระบบที่เราคิดขึ้นมา(ในแก้วน้ำ) คือเหล็กที่ร้อน(ดวงอาทิตย์) น้ำในแก้ว และเหล็กอีกลูก(โลก) ทั้ง 3 จะอุณหภูมิเท่ากันเพราะดวงอาทิตย์ทำการปล่อยความร้อนตลอดเวลา เอาง่ายๆคือโลกกับดวงอาทิตย์จะต้องร้อนเท่ากันในวันใดวันนึง ถ้ามีดาวในระบบสุริยะเยอะก็จะช่วยกันหารค่าความร้อนเฉยๆ
หลังจากนั้นอาจารย์บอกกับพวกเราในห้องว่า “ ผมว่าจริงๆแล้วเราไม่ได้มีจุดหวนกลับมาตั้งแต่แรกหรอก แค่มีคนบางกลุ่มมองเห็นการใช้ประโยชน์จากการที่โลกร้อนมาหาผลกำไรเท่านั้น ”
มุมมองที่อาจารย์มองเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนก็แอบน่าคิดน่าเอามาแบ่งปัน
ถูกผิดยังไงขออภัยด้วยนะครับ
#siamstr
#zap
#nostr