Tung Khempila on Nostr: ศาสนาพุทธไม่ใช่ ”faith“ ...
ศาสนาพุทธไม่ใช่ ”faith“ นั่นจึงทำให้หลายๆคนทั่วโลกหลงไหลในมัน แต่เมื่อใดที่ผู้ศรัทธานำมันไปเป็นศีลธรรม มันก็ไม่ต่างอะไรกับศาสนาที่บูชาเทพองค์เดียว
ผมค้นหาอยู่นานว่าชายที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าอย่าง Nietzsche ทำไมมองศาสนาพุทธนั้นมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่าศาสนาอื่นๆ
เพราะว่าชาวพุทธในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นแทบจะไม่มีการรบกัน หรือ แม้จะมีก็เป็นสงครามขนาดพื้นที่ย่อมๆ และคนก็กลับมาคืนดีกัน
การที่ศาสนาพุทธนั้นกระจายตัวออกจากอินเดียและเนปาลช่วงแรกๆ และสามารถไปควบคู่กับชาแมน ตามภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ นั้นถือเป็นสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าการกระจายชุดความคิด ทางศีลธรรมที่แพร่หลาย และสามารถอยู่ร่วมกันได้กับหลายๆประเทศ ดังนั้นเราจะเห็นว่า หลายๆคน หรือ หลายๆครอบครัวจึงวิ่งเข้าหาศาสนาพุทธด้วยตัวของพวกเค้าเอง
กลับมาถึงเรื่องศาสนาและศรัทธาในยุคมืดศีลธรรมที่จะไม่ฆ่าล้างเพ่าพันธุ์กัน เริ่มแพร่หลายกับศาสนาคริสตร์โดยเหล่าศาสนจักรนิกายคาทอลิก ซึ่งมีชุดความคิดและน้อมนำคำสอนของเหล่าสาวกเยซู มาปฏิบัติ น้อมนำคำสอนของพระเจ้าองค์เดียว เฉกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลาม พวกเค้าเหมือนเป็นเส้นขนาน และยึดถือสิ่งที่ดีงามตามพระผู้เป็นเจ้า
การโบยแซ่ของ Nietzsche ลงไปในหนังสือของเค้าเหมือนการเฆี่ยนตีความเชื่อเชิงเผด็จการของพระเจ้าองค์นั้น เทพเจ้าหลายองค์คือคำตอบของเรื่องเล่าของเค้า การนับถือความดีความชั่วของคนนั้นจะขึ้นอยู่การกำหนดศีลธรรม
กรอบของศีลธรรมของแต่ละคนมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ในกรอบความดีความชั่วนั้นผู้ที่ประเสริฐต้องเรียนรู้เรื่องที่จะสามารถครอบครองเจตจำนงค์แห่งอำนาจแลเป็นผู้ก้าวพ้น ดังนั้นมุมมองทางศาสนาพุทธตามการตีความแบบนี้ และการแบ่งเหตุและปัจจัยยิบย่อยนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ศาสนาพุทธ ที่ตั้งอยู่ระหว่างอดีตและอนาคต ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจนในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
กรอบของสติไม่ได้อยู่ที่อนาคต แต่อยู่ที่ลมหายใจในปัจจุบัน ดังนั้นการเจริญสติจึงถือได้ว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงมากกว่าการนั่งเทียนเขียนศีลธรรมให้ผู้อื่น
สิ่งที่ตอนนี้เรามาผิดทางเกี่ยวกับเรื่องศาสนาในประเทศไทยคือเรายังมีคนนับถือศาสนาผี ที่มาประสบปนเปในตำราและคาถาที่มาแต่โบราณ ศาสตร์เหล่านั้นเป็นศาสตร์พื้นถิ่น และ สิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปคือการครอบมันไว้
ดังนั้นศาสนาที่ถูกแทรกแซงโดยรัฐทุกวันนี้หรือระบบกลไกของรัฐบาล มันคือ ศาสนาผีที่เอาศาสนาพุทธและบรรดาพระสงค์หิวแสงทั้งหลายรวมตัวกัน เพื่อลบล้างศาสนาผี ซึ่งไม่เคยหายไปไหน และ เป็นเผด็จการต่อศาสนาของตน ซึ่งเอาตามตรงนั้นขัดกับหลักศาสนาพุทธที่อิงแอบไปในสิ่งที่มันเป็นไป
พอมาพูดถึงตรงหลายคนอาจจะบอกว่าตัวของนักปรัชญาอย่าง Nietzsche นั้นหลงรักศาสนาพุทธ ไม่ครับ ไม่เลย คำตอบของเค้านั้นมองศาสนาก็คือศาสนา เพราะขั้นตอนการปฏิบัติให้ผู้คนเคลิ้มนั้นนำไปสู่ศีลธรรมจำพวกนายซึ่งทำให้เกิดสภาวะสูญนิยม ศาสนาพุธนั้นใกล้เคียงกับปรัชญาสโตอิกซึ่งมีความเป็น Positive ใน Negative ของห้วงภวังค์ของความคิด หรือบางครั้งสลับกันไปมา ขึ้นอยู่กับสภาวะของปัจเจก
แต่ฐานรากที่แท้จริงของปรัชญาสโตอิกและความเป็นจริงนิยมคล้ายคลึงกันคือเรื่องของความทุกข์ ซึ่งเป้าหมายในชีวิตมนุษย์ผู้ประเสริฐนั้นจะพบเจอกับความทุกข์ตรมและการก้าวพ้นของเค้า เรียกได้ว่าสุนทรีย์ของมนุษย์อยู่ในเกณฑ์ที่หาได้ยาก
การหลีกหนีจากความทุกข์ของพุทธศาสนาจึงเป็นไปได้เพียงการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดได้
นี่เป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่งที่กระจัดกระจายตัว ไม่สามารถแบ่งหัวข้อย่อยๆ ได้
หากอ่านแล้วชอบก็ลองไปตีความกันดู
#siamstr
ผมค้นหาอยู่นานว่าชายที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าอย่าง Nietzsche ทำไมมองศาสนาพุทธนั้นมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่าศาสนาอื่นๆ
เพราะว่าชาวพุทธในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นแทบจะไม่มีการรบกัน หรือ แม้จะมีก็เป็นสงครามขนาดพื้นที่ย่อมๆ และคนก็กลับมาคืนดีกัน
การที่ศาสนาพุทธนั้นกระจายตัวออกจากอินเดียและเนปาลช่วงแรกๆ และสามารถไปควบคู่กับชาแมน ตามภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ นั้นถือเป็นสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าการกระจายชุดความคิด ทางศีลธรรมที่แพร่หลาย และสามารถอยู่ร่วมกันได้กับหลายๆประเทศ ดังนั้นเราจะเห็นว่า หลายๆคน หรือ หลายๆครอบครัวจึงวิ่งเข้าหาศาสนาพุทธด้วยตัวของพวกเค้าเอง
กลับมาถึงเรื่องศาสนาและศรัทธาในยุคมืดศีลธรรมที่จะไม่ฆ่าล้างเพ่าพันธุ์กัน เริ่มแพร่หลายกับศาสนาคริสตร์โดยเหล่าศาสนจักรนิกายคาทอลิก ซึ่งมีชุดความคิดและน้อมนำคำสอนของเหล่าสาวกเยซู มาปฏิบัติ น้อมนำคำสอนของพระเจ้าองค์เดียว เฉกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลาม พวกเค้าเหมือนเป็นเส้นขนาน และยึดถือสิ่งที่ดีงามตามพระผู้เป็นเจ้า
การโบยแซ่ของ Nietzsche ลงไปในหนังสือของเค้าเหมือนการเฆี่ยนตีความเชื่อเชิงเผด็จการของพระเจ้าองค์นั้น เทพเจ้าหลายองค์คือคำตอบของเรื่องเล่าของเค้า การนับถือความดีความชั่วของคนนั้นจะขึ้นอยู่การกำหนดศีลธรรม
กรอบของศีลธรรมของแต่ละคนมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ในกรอบความดีความชั่วนั้นผู้ที่ประเสริฐต้องเรียนรู้เรื่องที่จะสามารถครอบครองเจตจำนงค์แห่งอำนาจแลเป็นผู้ก้าวพ้น ดังนั้นมุมมองทางศาสนาพุทธตามการตีความแบบนี้ และการแบ่งเหตุและปัจจัยยิบย่อยนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ศาสนาพุทธ ที่ตั้งอยู่ระหว่างอดีตและอนาคต ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจนในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
กรอบของสติไม่ได้อยู่ที่อนาคต แต่อยู่ที่ลมหายใจในปัจจุบัน ดังนั้นการเจริญสติจึงถือได้ว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงมากกว่าการนั่งเทียนเขียนศีลธรรมให้ผู้อื่น
สิ่งที่ตอนนี้เรามาผิดทางเกี่ยวกับเรื่องศาสนาในประเทศไทยคือเรายังมีคนนับถือศาสนาผี ที่มาประสบปนเปในตำราและคาถาที่มาแต่โบราณ ศาสตร์เหล่านั้นเป็นศาสตร์พื้นถิ่น และ สิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปคือการครอบมันไว้
ดังนั้นศาสนาที่ถูกแทรกแซงโดยรัฐทุกวันนี้หรือระบบกลไกของรัฐบาล มันคือ ศาสนาผีที่เอาศาสนาพุทธและบรรดาพระสงค์หิวแสงทั้งหลายรวมตัวกัน เพื่อลบล้างศาสนาผี ซึ่งไม่เคยหายไปไหน และ เป็นเผด็จการต่อศาสนาของตน ซึ่งเอาตามตรงนั้นขัดกับหลักศาสนาพุทธที่อิงแอบไปในสิ่งที่มันเป็นไป
พอมาพูดถึงตรงหลายคนอาจจะบอกว่าตัวของนักปรัชญาอย่าง Nietzsche นั้นหลงรักศาสนาพุทธ ไม่ครับ ไม่เลย คำตอบของเค้านั้นมองศาสนาก็คือศาสนา เพราะขั้นตอนการปฏิบัติให้ผู้คนเคลิ้มนั้นนำไปสู่ศีลธรรมจำพวกนายซึ่งทำให้เกิดสภาวะสูญนิยม ศาสนาพุธนั้นใกล้เคียงกับปรัชญาสโตอิกซึ่งมีความเป็น Positive ใน Negative ของห้วงภวังค์ของความคิด หรือบางครั้งสลับกันไปมา ขึ้นอยู่กับสภาวะของปัจเจก
แต่ฐานรากที่แท้จริงของปรัชญาสโตอิกและความเป็นจริงนิยมคล้ายคลึงกันคือเรื่องของความทุกข์ ซึ่งเป้าหมายในชีวิตมนุษย์ผู้ประเสริฐนั้นจะพบเจอกับความทุกข์ตรมและการก้าวพ้นของเค้า เรียกได้ว่าสุนทรีย์ของมนุษย์อยู่ในเกณฑ์ที่หาได้ยาก
การหลีกหนีจากความทุกข์ของพุทธศาสนาจึงเป็นไปได้เพียงการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดได้
นี่เป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่งที่กระจัดกระจายตัว ไม่สามารถแบ่งหัวข้อย่อยๆ ได้
หากอ่านแล้วชอบก็ลองไปตีความกันดู
#siamstr