What is Nostr?
journaling_our_journey / Journaling Our Journey
npub1kmu…wk8n
2025-02-08 04:34:11

journaling_our_journey on Nostr: ...



ผู้หญิงเก่งที่เป็น working woman หลายคนบอกผมว่า ชีวิตการทำงานของพวกเธอไม่ได้ยากลำบากเพราะตัวงาน
.
.
.
แต่ชีวิตการทำงานของพวกเธอยากลำบากเพราะคนที่พวกเธอเจอในที่ทำงาน
.
.
.
คนที่พวกเธอเจอในที่ทำงานเหล่านี้ พวกเขาอาจจะไม่ได้มีพฤติกรรมที่ถือว่า “ร้ายแรง” กับพวกเธอเท่าไหร่นัก (เช่น ไม่ได้มีการล่วงละเมิดทางเพศ)
.
.
.
แต่คนที่พวกเธอเจอในที่ทำงานเหล่านี้ จะมีพฤติกรรมที่บั่นทอนพลังใจในการทำงานของพวกเธอทีละเล็กทีละน้อยในรูปแบบต่างๆอยู่เรื่อยๆ (เช่น เพิกเฉย ใช้คำพูดดูถูกถากถาง นินทาลับหลัง)
.
.
.
และที่สำคัญที่สุดก็คือ บุคคลที่บั่นทอนพลังใจของพวกเธอเหล่านี้ มักจะไม่ใช่ผู้ชายในที่ทำงาน
.
.
.
แต่มันมักจะเป็นผู้หญิงด้วยกันเอง!
.
.
.
ตอนที่ผมได้ยินเรื่องราวทำนองนี้เป็นครั้งแรกๆ ผมอดไม่ได้ที่จะเกิดข้อสงสัยอยู่ในใจว่า
.
.
.
ทำไม?
.
.
.
ทำไมผู้หญิงเหล่านี้จึงมีพฤติกรรมที่ “บั่นทอน” เพื่อนผู้หญิงด้วยกันแบบนี้?
.
.
.
สำหรับข้อสงสัยนี้ นักจิตวิทยามีคำตอบในเบื้องต้นให้ดังนี้ครับ
.
.
.
.
.
.
# 1 นักจิตวิทยา Allison S. Gabriel (และทีมวิจัยของเธอ) พบว่า แม้หลายคนจะมองว่าผู้ชายเป็นเพศที่ชอบการแข่งขัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแข่งขันก็เกิดขึ้นภายในกลุ่มผู้หญิงด้วยกันเช่นกัน
.
.
.
ฉะนั้น ผู้หญิงคนไหนที่เป็นผู้หญิงเก่ง ผู้หญิงคนไหนที่มีความโดดเด่นขึ้นมา ผู้หญิงคนนั้นก็มีแนวโน้มที่จะถูกผู้หญิงคนอื่นๆ “บั่นทอน” ในรูปแบบต่างๆที่กล่าวไว้ในข้างต้นได้
.
.
.
# 2 สิ่งที่ผมนำเสนอใน # 1 อาจจะทำให้บางคนเกิดคำถามต่อขึ้นมาว่า “อ้าว! แล้วทำไมผู้หญิงถึงเปรียบเทียบเฉพาะผู้หญิงกันเองด้วย? ทำไมผู้หญิงถึงไม่เปรียบเทียบกับทุกๆคนในที่ทำงาน (ไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม) เล่า?
.
.
.
สำหรับคำถามนี้ นักจิตวิทยา Erika Holiday และ Joan Rosenberg ให้เหตุผลไว้ว่า…
.
.
.
ถ้าผู้หญิงเปรียบเทียบกับทุกๆคนในที่ทำงาน (ไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม) นั่นหมายความว่า มันจะต้องมีการเปรียบเทียบกับผู้ชายด้วย
.
.
.
และถ้ามันมีการเปรียบกับผู้ชายด้วย นั่นหมายความว่า มันจะต้องมีการแข่งขันกับผู้ชายด้วย
.
.
.
ซึ่ง Holiday และ Rosenberg มองว่า สำหรับผู้หญิงจำนวนไม่น้อย พวกเธอรู้สึก “ปลอดภัย” ที่จะมี “คู่แข่ง” เป็นผู้หญิงด้วยกันเองมากกว่าผู้ชาย
.
.
.
นี่จึงเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีการเปรียบเทียบกับภายในกลุ่มผู้หญิงด้วยกันเองมากกว่าที่จะเปรียบเทียบกับผู้ชายครับ
.
.
.
# 3 นอกจากเหตุผลในเรื่องของการแข่งขันแล้ว Gabriel (และทีมวิจัยของเธอ) ระบุว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผู้หญิงบางกลุ่มมีพฤติกรรมที่ “บั่นทอน” เพื่อนผู้หญิงด้วยกันเองในที่ทำงาน (โดยเฉพาะผู้หญิงเก่งๆ) คือปัจจัยในเรื่องของ “มาตรฐานทางสังคม” ครับ
.
.
.
กล่าวคือ “มาตรฐานทางสังคม” บอกว่า ผู้หญิงควรจะมีท่าทีที่ “ใจดี ดูแลคนอื่น อ่อนหวาน ประณีประณอม ฯลฯ”
.
.
.
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงเก่งหลายคนไม่ได้มีท่าทีเช่นนั้น
.
.
.
ผู้หญิงเก่งหลายคนเป็นคนที่ “กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด มีความเป็นผู้นำ ตรงไปตรงมา ฯลฯ” ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สวนทางกับ “มาตรฐานทางสังคม” อย่างชัดเจน
.
.
.
ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงเก่งจึงถูกผู้หญิงคนอื่น “ลงโทษ” ด้วยพฤติกรรมที่ “บั่นทอน” เหล่านี้นั่นเองครับ
.
.
.
.
.
.
ท่านผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับกับประเด็นทั้ง 3 ข้อในข้างต้น? มีประเด็นข้อไหนที่ท่านผู้อ่านเห็นด้วยหรือพบเจอด้วยตัวเองบ้างไหมครับ?
.
.
.
ท่านสามารถร่วมแบ่งปันความคิดเห็นและประสบการณ์ของท่านกันได้ทางช่อง comment ด้านล่างนี้เลยนะครับ!
.
.
.
แหล่งอ้างอิง
https://psycnet.apa.org/doi/10.1037/apl0000289
Holiday, E., & Rosenberg, J. I. (2009). Mean girls, meaner women: Understanding why women backstab, betray and trash-talk each other and how to heal. E. Holiday, JI Rosenberg.

#จิตวิทยา #siamstr
Author Public Key
npub1kmuax8ezgue2zz8z9mhpjgr5x83584g5fqlqlp42048hez4sjp8sz7wk8n