SiamstrUpdate on Nostr: 😖 ทำไมของแพงขึ้น ...
😖 ทำไมของแพงขึ้น ถึงกระทบกับบ้างคนมากกว่า?
ทฤษฎี Cantillon Effect "ใครใกล้เงิน คนนั้นกินอิ่มก่อน"
.
💸 ช่วงเวลานี้หลายคนจะรู้สึกว่าชีวิตเริ่มได้รับผลกระทบจากราคาข้าวของที่แพงขึ้น จนต้องประหยัดทุกอย่าง รัดเข็มขัดจนแทบหายใจไม่ออก
ในขณะที่มีคนบางกลุ่มพูดว่า "ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแพงขึ้นมากขนาดนั้น"
.
⏳ ปรากฎการณ์นี้ มีชื่อเรียกเท่ๆ ว่า "Cantillon Effect" ตั้งชื่อตามนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Richard Cantillon
ซึ่งเขาสังเกตเห็นว่า "เวลาที่มีเงินถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ มันไม่ได้กระจายไปสู่ทุกคนอย่างทั่วถึง พร้อมๆกัน"
.
❗️เวลารัฐต้องการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการอัดฉีดเงินเข้าระบบ ด้วยโครงการต่างๆ เงินก้อนโตนี้ จะไหลไปที่ไหนก่อน?
.
⏳ คำตอบคือ มันจะไหลไปที่ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นไป
และจะมี "คนกลุ่มแรกๆ" ที่ได้เงินก่อนใครเสมอ เช่น รัฐวิสาหกิจ ธนาคาร ผู้รับเหมาโครงการรัฐ คนกลุ่มนี้ จะได้รับประโยชน์จาก "เงินใหม่" ที่เข้ามาก่อน ทำให้มีพวกเขามีกำลังในการซื้อสินค้าก่อนที่ราคาสินค้าและบริการก็จะค่อยๆ ขยับตัวสูงขึ้น
และเงินใหม่นี้ กว่าจะไหลไปถึง "คนอื่นๆ" เช่น พนักงานบริษัท พ่อค้าแม่ค้า คนหาเช้ากินค่ำ มูลค่าของเงินก็ถูก "เงินเฟ้อ" กัดกินจนแทบไม่เหลือแล้ว
.
🏠 ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น
- อสังหาริมทรัพย์: เวลารัฐบาลอัดฉีดเงิน ราคาที่ดิน คอนโด มักจะพุ่งขึ้นก่อน เพราะคนกลุ่มแรกที่ได้รับเงินไป ย่อมมีกำลังซื้อสูง พวกเขากว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้เก็งกำไร ไว้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ
ทำให้คนทั่วไปที่อยากมีบ้าน ก็ต้องซื้อในราคาแพงขึ้น หรือไม่ก็กู้เงินเพิ่มขึ้น
- ราคาอาหาร: ราคาพลังงาน และวัตถุดิบ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาอาหาร คนกลุ่มหลังๆ ที่รายได้น้อยอยู่แล้ว ที่ต้องแบกรับภาระค่าอาหารที่แพงขึ้น ในขณะที่คนกลุ่มแรก แทบไม่รู้สึกอะไร
.
📉 Cantillon Effect จากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่เพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบนั้น ส่งผลกระทบต่อคนแต่ละกลุ่มในสังคมไม่เท่ากัน
โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มักจะได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในขณะที่รายได้เองก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก
⚠️ แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นพวกเขาเสียเองที่ร้องขอให้สิ่งนี้เกิดขึ้น
ผ่านการร้องขอนโยบายช่วยเหลือจากรัฐบาล
.
#Siamstrupdate #Siamstr #เศรษฐกิจ #เงินเฟ้อ #ค่าเงิน #เงินที่อ่อนแอ #Brokenmoney
ทฤษฎี Cantillon Effect "ใครใกล้เงิน คนนั้นกินอิ่มก่อน"
.
💸 ช่วงเวลานี้หลายคนจะรู้สึกว่าชีวิตเริ่มได้รับผลกระทบจากราคาข้าวของที่แพงขึ้น จนต้องประหยัดทุกอย่าง รัดเข็มขัดจนแทบหายใจไม่ออก
ในขณะที่มีคนบางกลุ่มพูดว่า "ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแพงขึ้นมากขนาดนั้น"
.
⏳ ปรากฎการณ์นี้ มีชื่อเรียกเท่ๆ ว่า "Cantillon Effect" ตั้งชื่อตามนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Richard Cantillon
ซึ่งเขาสังเกตเห็นว่า "เวลาที่มีเงินถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ มันไม่ได้กระจายไปสู่ทุกคนอย่างทั่วถึง พร้อมๆกัน"
.
❗️เวลารัฐต้องการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการอัดฉีดเงินเข้าระบบ ด้วยโครงการต่างๆ เงินก้อนโตนี้ จะไหลไปที่ไหนก่อน?
.
⏳ คำตอบคือ มันจะไหลไปที่ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นไป
และจะมี "คนกลุ่มแรกๆ" ที่ได้เงินก่อนใครเสมอ เช่น รัฐวิสาหกิจ ธนาคาร ผู้รับเหมาโครงการรัฐ คนกลุ่มนี้ จะได้รับประโยชน์จาก "เงินใหม่" ที่เข้ามาก่อน ทำให้มีพวกเขามีกำลังในการซื้อสินค้าก่อนที่ราคาสินค้าและบริการก็จะค่อยๆ ขยับตัวสูงขึ้น
และเงินใหม่นี้ กว่าจะไหลไปถึง "คนอื่นๆ" เช่น พนักงานบริษัท พ่อค้าแม่ค้า คนหาเช้ากินค่ำ มูลค่าของเงินก็ถูก "เงินเฟ้อ" กัดกินจนแทบไม่เหลือแล้ว
.
🏠 ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น
- อสังหาริมทรัพย์: เวลารัฐบาลอัดฉีดเงิน ราคาที่ดิน คอนโด มักจะพุ่งขึ้นก่อน เพราะคนกลุ่มแรกที่ได้รับเงินไป ย่อมมีกำลังซื้อสูง พวกเขากว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้เก็งกำไร ไว้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ
ทำให้คนทั่วไปที่อยากมีบ้าน ก็ต้องซื้อในราคาแพงขึ้น หรือไม่ก็กู้เงินเพิ่มขึ้น
- ราคาอาหาร: ราคาพลังงาน และวัตถุดิบ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาอาหาร คนกลุ่มหลังๆ ที่รายได้น้อยอยู่แล้ว ที่ต้องแบกรับภาระค่าอาหารที่แพงขึ้น ในขณะที่คนกลุ่มแรก แทบไม่รู้สึกอะไร
.
📉 Cantillon Effect จากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่เพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบนั้น ส่งผลกระทบต่อคนแต่ละกลุ่มในสังคมไม่เท่ากัน
โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มักจะได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในขณะที่รายได้เองก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก
⚠️ แต่กลับกลายเป็นว่า เป็นพวกเขาเสียเองที่ร้องขอให้สิ่งนี้เกิดขึ้น
ผ่านการร้องขอนโยบายช่วยเหลือจากรัฐบาล
.
#Siamstrupdate #Siamstr #เศรษฐกิจ #เงินเฟ้อ #ค่าเงิน #เงินที่อ่อนแอ #Brokenmoney