What is Nostr?
PJB
npub1jhm…43pt
2023-11-11 09:03:03

PJB on Nostr: ...

มนุษย์เราเกิดมาเพื่อวิ่ง(ทน)..เพราะร่างกายเราออกแบบมาแบบนั้น

วันนี้อยากลองเขียนอะไรยาวๆ ดูบ้าง แต่ถ้าเขียนแต่เรื่อง Bitcoin ก็ดูจะน่าเบื่อไปเพราะมีคนเขียนเยอะแล้ว เลยลองเลือกเรื่องที่ตัวเองสนใจและชอบอยู่แล้ว แบบน่าจะไม่ fiat มาขยายความต่อละกัน

ทำไมเราถึงเกิดมาเพื่อวิ่งระยะไกล?

เอาแบบสั้นๆก็มีข้อได้เปรียบ 4 อย่างที่ต่างจากสัตว์อื่นๆ

1. สรีระของเท้า
2. การระบายความร้อนด้วยเหงื่อ
3. สรีระของศีรษะ ที่เป็นอิสระจากไหล่และตัว
4. ก้นขนาดใหญ่ ที่บ่งบอกถึงความเป็นนักวิ่ง

ถ้าแบบยาวๆก็เชิญตามอ่านด้านล่าง


ก่อนอื่นคงต้องไปย้อนดูก่อนว่าทำไมมนุษย์เราถึงได้ครองโลกอย่างทุกวันนี้

ย้อนกลับไปประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว ถ้าถามนักวิทยาศาสตร์ว่า อะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มนุษย์วิวัฒนาการกลายมาเป็นมนุษย์ที่ต่างไปจากลิงอื่นทั่วไป

คำตอบที่เชื่อกันมากในช่วงเวลานั้นคือ
วิวัฒนาการของสมองที่ใหญ่นักวิ่งที่เร็วที่สุดในโลกก็ยังวิ่งช้ากว่าชิมแปนซีทั่วๆไป
ยังไม่นับว่า มนุษย์ไม่สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เหมือนลิงอื่นๆ

ดังนั้นเหมือนว่าสมองจะเป็นอวัยวะเดียวที่ทำให้มนุษย์เอาชนะลิงอื่นๆได้ฉลาดขึ้นกว่าลิงอื่น

สำหรับเหตุผลก็เข้าใจได้ไม่ยาก
เพราะร่างกายของมนุษย์นั้นถือได้ว่า อ่อนแอมากๆเมื่อเทียบกับลิงอื่นๆ
เรามีปากและขากรรไกรที่กัดได้ไม่แรง มนุษย์ที่แข็งแรงที่สุดในโลกไม่สามารถเทียบกำลังกับกอริลล่าทั่วๆไปได้


นักวิ่งที่เร็วที่สุดในโลกก็ยังวิ่งช้ากว่าชิมแปนซีทั่วๆไป
ยังไม่นับว่า มนุษย์ไม่สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เหมือนลิงอื่นๆ
ดังนั้นเหมือนว่าสมองจะเป็นอวัยวะเดียวที่ทำให้มนุษย์เอาชนะลิงอื่นๆได้

แต่ต่อมาเมื่อมีการค้นพบฟอสซิลของลิงที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆก็พบว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์แยกสายวิวัฒนาการมาจากลิงอื่นๆนั้น
ไม่ใช่สมอง .... แต่เป็นการเดินสองขา


ทำไมเราถึงวิ่งระยะไกลได้ดี??

1. สรีระของเท้า

เมื่อประมาณ 7-10 ล้านปีที่แล้ว ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิเฉลี่ยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องหลายล้านปี ทำให้ป่าที่บรรพบุรุษเราอาศัยอยู่หดเล็กลง
เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของเราน่าจะเป็นลิงที่ปกติอาศัยอยู่ชายขอบของป่า ดังนั้นเมื่อป่าหดเล็กลง บรรพบุรุษของเราจึงถูกบีบให้ลงมาเดินหากินบนพื้นดินในทุ่งหญ้า

การเดินสองขา ถือเป็นจุดเปลี่ยนแรก ที่ทำให้มนุษย์ฉลาดขึ้น แต่ไม่ใช่จุดเปลี่ยนเดียว ความอดอยากถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่ง เช่นกันที่ทำให้บรรพบุรุษ Homo จำเป็นต้องกิน ซากสัตว์ จากในทุ่งหญ้า จากแต่เดิมที่กินแค่ผลไม้และแมลงตัวเล็กๆ

การวิวัฒนาการกินไขสันหลังสัตว์ ส่งผลต่อวิวัฒนาการการของมนุษย์อย่างมากเพราะ มีพลังงานสูง และสารอาหารสำคัญมาก ถ้าเทียบสมัยนี้ก็คงเป็น super food ของยุคนั้น

เมื่อบรรพบุรุษเราต้องเดินหากินสองขามากขึ้น

เท้าจึงวิวัฒนาการมาให้เหมาะกับการเดินมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆที่เกิดขึ้นกับเท้า มีอยู่สองอย่างด้วยกัน


หนึ่ง คือ นิ้วเท้าของมนุษย์สั้นลง เพราะนิ้วที่สั้นจะทำให้เดินได้มีประสิทธิภาพกว่า ต่างไปจากนิ้วมือที่ยาวซึ่งช่วยให้จับหรือกำสิ่งต่างๆได้ดี


หัวแม่เท้าเปลี่ยนมามีความยาวเท่ากับนิ้วเท้าอื่นๆ และเป็นพระเอกในการรับน้ำหนักร่างกายระหว่างที่เราเดิน เพราะน้ำหนักตัวเปลี่ยนมาตกเข้าใกล้แกนกลางลำตัวมากขึ้น ทำให้บรรพบุรุษเราเดินได้นิ่ง ต่างจากลิงที่น้ำหนักตัวจะตกไปฝั่งนิ้วก้อย เวลาเดินจึงตัวเอียงไปทางซ้ายทีขวาที


สองคือ กระดูกเท้าของบรรพบุรุษเราเริ่มมีสิ่งที่เรียกว่า arch หรือโค้งเกิดขึ้น ซึ่งกระดูกเท้าร่วมกับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะผูกและเรียงตัวกันเหมือนคันธนูที่วางคว่ำโดยโค้งของคันธนูหันขึ้นด้านบน เวลาเดินแต่ละก้าวน้ำหนักจะถูกกดลง บนโค้งนี้ ทำให้โค้งถูกดัดให้เหยียดตรงขึ้นและพร้อมจะดีดกลับเมื่อแรงกดถูกย้ายไปที่เท้าอีกข้าง


อยากจะให้เริ่มต้นโดยการให้ลองคลำที่ฝ่าเท้าตัวเองก่อน
จะเห็นว่าเท้าของคนเราไม่ได้แบนราบ แต่มีส่วนที่โค้งที่พอจะเห็นและคลำได้

Arch แรก (อาร์ค) ที่เห็นได้ชัดสุดคือ โค้งจากหัวแม่เท้าไปที่ส้นเท้า
แต่เท้าเรายังมีโค้งอื่นอีก โค้งที่มองด้วยตาไม่ชัด แต่จะเห็นได้จากการถ่ายภาพ x-ray


Arch ที่สองคือ โค้งจากนิ้วก้อยเท้าไปที่ส้นเท้า
Arch ที่สามคือ โค้งจากซ้ายไปขวาของเท้า


Arch ทั้งสามของเท้าจึงทำหน้าที่เหมือนสปริง ที่คอยช่วยผ่อนแรงเราขณะเดิน โดยจะแปลงหรือรีไซเคิลน้ำหนักร่างกายเราออกมาเป็นแรงดีดที่ทำให้เราเดินได้สบายขึ้นอย่างด้วยกัน


โดยปกติเมื่อ arch ของเราทำงานได้ดีเราจะไม่เห็นว่า arch เหล่านี้ทำงานมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเราไปเดินหรือวิ่งบนทรายซึ่งทำให้ระบบสปริงเหล่านี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ เราจะเห็นว่ากำลังที่ต้องใช้เพื่อเดินจะต้องเพิ่มขึ้นอีกมาก


เมื่อมนุษย์เดินและวิ่งบนสองขาได้มั่นคงและเร็วขึ้น วิถีการหากินก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จากการเดินหรือยืนเพื่อเด็ดผลไม้ ก็มาสู่การเดินไปตามทุ่งหญ้าหรือวิ่งตามนกแร้ง เพื่อหาซากสัตว์อื่นที่สัตว์อย่างสิงโตหรือหมาไนกินเหลือทิ้งไว้


หรืออาจจะสรุปแบบง่ายๆได้ว่า หลังจากที่บรรพบุรุษของมนุษย์เริ่มเดินและวิ่งสองขา ก็สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ (ในแง่ของการให้พลังงาน) มากขึ้น ต่อมาเมื่อใช้ไฟ้ฟ้าทำอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารวิวัฒนาการเล็กลงได้ พลังงานที่ประหยัดขึ้นนี้ จึงสามารถนำไปเลี้ยงสมองที่วิวัฒนาการใหญ่ขึ้นเรื่อยๆได้

โดยการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนโดมิโนล้มต่อกันเป็นทอดๆนี้ ถือได้ว่าเริ่มต้นขึ้นมาจากการวิวัฒนาการของเท้า นำไปสู่ปัจจัยที่ 2


2. การระบายความร้อน (เหงื่อ)


คนยุคที่มีวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์หาของป่า แค่การเดินเพื่อให้มีอาหารพอกิน มีน้ำพอดื่ม โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะเดินประมาณ 10 กิโลเมตรต่อวัน ส่วนผู้ชายจะเดินประมาณ 14 กิโลเมตรต่อวัน แล้วไม่ได้เดินตัวเปล่า แต่มักจะแบกของ หรืออุ้มลูกไว้ด้วย

การล่าสัตว์ในยุคนี้นั้น มนุษย์จะใช้วิธีแก่รอย วิ่งไล่บี้ ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่ลดละ แรก ๆ สัตว์ที่ถูกล่าจะวิ่งหนีเมื่อมนุษย์วิ่งเข้าไปใกล้ แต่การคอยวิ่งไล่ตามไปเรื่อย ๆ จะทำให้สัตว์มีเวลาพักไม่เพียงพอที่จะระบายความร้อนออกจากร่างกาย จนถึงจุดหนึ่ง สัตว์นั้นจะไม่สามารถวิ่งหนีต่อไปได้ ทำให้มนุษย์สามารถที่จะเดินเข้าไปสังหารโดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถที่จะขยับตัวหนีไปได้

เพราะสัตว์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต้องใช้วิธี อ้าปากหายใจหอบ ๆ ซึ่งจะทำได้ไม่ดีขณะที่กำลังวิ่งอยู่ โดยจะวิ่งได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจำเป็นต้องหยุดพัก เมื่อร่างกายของสัตว์จะร้อนเกินไป (overheat)

วิธีการล่าสัตว์แบบนี้มีชื่อเรียกว่า persistence hunting ซึ่งคนที่ยังมีวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์หาของป่าในปัจจุบัน ในหลายทวีปก็ยังใช้วิธีนี้ในการล่าสัตว์

คำถามคือ ทำไมมนุษย์จึงวิ่งได้ทนกว่าสัตว์ชนิดอื่น?

คำตอบคือ เพราะเรามีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก และสามารถทำงานได้ตลอดเวลาแม้แต่ขณะที่กำลังวิ่ง เพราะมนุษย์เราระบายความร้อนด้วย .... เหงื่อ นั้นเอง


ปกติเมื่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของเราทำงานมากขึ้น อุณหภูมิในแกนกลางของร่างกายก็จะร้อนขึ้น แต่เลือดจะพาความร้อนนั้นไหลไปสู่ผิวหนัง เมื่อเราเหงื่อออก น้ำเหงื่อที่ระเหยออกไปจากผิวหนังจะดึงความร้อนจากผิวหนังออกไปด้วย ทำให้ผิวหนังของเราเย็นลง ดังนั้นความร้อนจากเส้นเลือด (ฝอย) ก็จะถูกส่งไปที่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น แล้วเลือดที่เย็นก็จะวนไปรับความร้อนจากแกนกลางของร่างกายเพื่อวนมาระบายออกที่ผิวหนังได้อีกรอบ และเพราะมนุษย์ไม่มีขนเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เราจึงระบายความร้อนได้เหงื่อได้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น แต่มนุษย์ยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีต่อมเหงื่อมากที่สุดในโลก

3. สรีระของศีรษะ ที่เป็นอิสระจากไหล่และตัว

นอกเหนือไปจากต่อมเหงื่อทีมีมากแล้ว ร่างกายมนุษย์ยังมีการปรับเปลี่ยนหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เราต่างไปจากลิงอื่น และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์วิวัฒนาการมาให้เป็นลิงที่วิ่งได้ทน ตัวอย่างเช่น ในลิงชิมแปนซี หรือลิงที่ต้องปีนป่ายตามต้นไม้ บริเวณของกะโหลก คอ และหลังจะค่อนข้างเชื่อมติดกัน ทำให้ลิงดูเหมือนคอสั้น และเหมือนยักไหล่ค้างไว้ตลอดเวลา ซึ่งลักษณะนี้จะช่วยให้บริเวณหัวของลิงมั่นคงไม่โคลงเคลงไปมาระหว่างโหนไปตามกิ่งไม้ แต่ศรีษะของมนุษย์จะเป็นอิสระจากไหล่และลำตัวค่อนข้างมาก


ทำให้เวลาวิ่งด้วยความเร็ว เราสามารถแกว่งแขน หมุนตัวซ้ายขวา (ตามจังหวะการแกว่งแขน) ได้โดยที่ศรีษะไม่หมุนไปมาตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ศรีษะของเราก็ต้องมีอะไรยึดไว้เพื่อให้ศรีษะไม่โคลงไปมาขณะที่วิ่ง 
ถ้าคลึงบริเวณท้ายทอยเราจะพบตุ่มกระดูกอยู่ ตุ่มนี้เป็นที่เกาะของเส้นเอ็นที่ชื่อว่า nuchal ligament ซึ่งจะทำหน้าที่ยึดศรีษะของเรากับกระดูกคอ ทำให้เวลาเราวิ่งศรีษะของเราจะมั่นคงไม่โยกเยกไปมา สายตาจึงจับจ้องไปข้างหน้าได้ เส้นเอ็นนี้จะพบในสัตว์ที่ต้องวิ่งเร็ว เช่น หมา ม้า อูฐ แต่จะไม่พบในสัตว์ที่ไม่ค่อยวิ่ง เช่น หมู ชิมแปนซี

เมื่อศึกษาฟอสซิลของบรรพบุรุษมนุษย์ พบว่าเส้นเอ็นนี้เริ่มพบในบรรพบุรุษของเราเมื่อประมาณ 2-3 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เชื่อว่า ช่วงเวลานั้นบรรพบุรุษของเราคงจะเริ่มวิ่งมากขึ้น จึงวิวัฒนาการมีเส้นเอ็นนี้เกิดขึ้น



4. ก้นขนาดใหญ่ ที่บ่งบอกถึงความเป็นนักวิ่ง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วิ่งเร็วทั้งหลายจะมีหางไว้เพื่อช่วยการทรงตัวเมื่อเปลี่ยนทิศทางขณะที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว

แม้ว่ามนุษย์จะไม่มีหางแต่เรามีกล้ามเนื้อก้นที่ใหญ่กว่าลิงอื่น ๆ มาก กล้ามเนื้อก้นนี้มีความจำเป็นต่อการเดินไม่มากนัก แต่จะทำงานมากเมื่อเราออกวิ่ง ซึ่งบอกใบ้ว่า บรรพบุรุษของเราน่าจะเป็นนักวิ่ง เราจึงมีก้นที่ใหญ่เช่นนี้

และทั้งหมดนี้ก็เป็นบางส่วนของหลักฐานที่บอกใบ้ให้เรารู้ว่า ร่างกายของเราออกแบบมาเพื่อให้เป็นลิงที่วิ่งทน


ร่างกายมนุษย์วิวัฒนาการมาให้เป็นสัตว์ที่วิ่งได้ไกลมาก ๆ แต่ถ้าถามว่าวิ่งได้ไกลแค่ไหน คำตอบจริง ๆ คือ ปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่เรารู้ว่าร่างกายของมนุษย์มีความสามารถที่ยืดหยุ่นสูงมาก หมายความว่า ในคนที่ได้รับการฝึกฝนมาดี ก็สามารถที่จะวิ่งระยะไกล ๆ ได้มาก

ถ้าจะพูดว่าสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา
หรือเราเกิดมาเพื่อวิ่ง สิ่งนี้ก็ไม่น่าจะผิด

มนุษย์เราเกิดมาเพื่อวิ่ง(ทน)..
เพราะร่างกายเราออกแบบมาแบบนั้น นั้นเอง
วันนี้คุณไปวิ่งหรือยัง?

#siamstr
#running
#history
#science
#health


ข้อมูลอ้างอิงต้นฉบับไปตามอ่านได้

https://www.blockdit.com/posts/60584b741a28c00c22e528d0

https://www.blockdit.com/posts/605d880fb286300c4f728f38
Author Public Key
npub1jhmmcdw3k4j63nl2fu4lnm0dxtcf8v978hx4g4940fypjhuaqxhqal43pt