Riina on Nostr: ...
เรามีปัญหากับการนอนตั้งแต่เด็กๆ เลยคือมักจะหลับยาก และแม้วันไหนจะเข้านอนเร็วก็ตาม ก็ยังตื่นสายเสมอ รู้สึกช่วงเช้าๆเป็นช่วงเวลาที่หลับสบายที่สุดมาตลอด และทุกวันๆสมัยวัยเรียน ก็คือมักจะไปหลับในห้องเรียนตลอด ตลอดจริงๆ แบบครูเดินมาพร้อมไม้เรียวฟาดโต๊ะเราทุกวัน แต่พอบ่ายคล้อยใกล้เย็น ตาจะเริ่มแป๋ว ดึกๆยิ่งมีไอเดียมากมายอยากทำนู่นนี่นั่น ทั้งชีวิตพยายามปรับการนอนให้ตื่นเช้าก็ไหลไปตื่นสายตลอด ถ้าเข้านอนไวจะตื่นกลางดึก แต่ถ้าเข้านอนดึกจะนอนเต็มอิ่ม แม่เราก็มีปัญหาแบบนี้คล้ายๆกัน ดึกๆไอเดียบรรเจิด เช้าๆไม่อยากจะตื่น
จนกระทั่งล่าสุด พาแม่ไปกับลูกๆไปตรวจยีน ตรวจDNA แบบละเอียดมากๆ ดูทั้งการแพ้อาหาร แพ้ยา โรคทางพันธุกรรม พรสวรรค์หรืออะไรต่างๆจากยีน ไปสะดุดอย่างนึงคือ ยีนที่เกี่ยวกับการนอนหลับ คุณภาพการนอนหลับ แล้วพึ่งรู้ว่า ยีนของคนเรากำหนดนาฬิกาชีวิตด้วย แล้วแม่เราก็เป็นแบบพวก Night owl คือ ตกเย็นจะดีด ตกดึกไอเดียบรรเจิด เช้าไม่อยากตื่น 😳
ถึงกับต้องไปค้นหาข้อมูลเลยว่า ยีนแบบพวก Night owl นี่มันเป็นยังไง เพราะมันมีอีกกลุ่มที่เป็นคนปกติทั่วไป นาฬิกาชีวิตเป็นแบบ Morning Lark
ไปถาม AIมา ก็ได้ข้อมูลมาแบบคร่าวๆว่า
การเป็น "night owl" หรือ "morning lark" นั้นเกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) ของร่างกาย ซึ่งถูกกำหนดส่วนหนึ่งโดยยีนหลายตัวที่มีบทบาทในการควบคุมจังหวะเวลาของการนอนหลับและตื่นนอน ยีนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่านาฬิกาชีวภาพของคุณเป็นแบบ "night owl" (นอนดึก ตื่นสาย) หรือ "morning lark" (นอนเร็ว ตื่นเช้า) นั้นได้แก่:
### ยีนที่มีบทบาทสำคัญ:
1. **PER3 (Period Circadian Regulator 3):**
ยีน PER3 เกี่ยวข้องกับการควบคุมจังหวะเวลาของการนอนหลับและตื่นนอน ยีนนี้มีหลายรูปแบบ (polymorphisms) ที่สามารถกำหนดว่านาฬิกาชีวภาพของคนเป็นแบบไหน ตัวอย่างเช่น รูปแบบของยีน PER3 ที่มีการซ้ำซ้อนของหน่วยฐาน (VNTR - Variable Number Tandem Repeat) สามารถเชื่อมโยงกับลักษณะการเป็น "morning lark" หรือ "night owl" ได้
2. **CLOCK (Circadian Locomotor Output Cycles Kaput):**
ยีน CLOCK มีบทบาทในการควบคุม circadian rhythm ของร่างกาย และการศึกษาบางงานพบว่าการกลายพันธุ์หรือรูปแบบบางอย่างของยีน CLOCK อาจเชื่อมโยงกับการเป็น night owl
3. **BMAL1 (Brain and Muscle ARNT-Like 1):**
BMAL1 ทำงานร่วมกับยีน CLOCK เพื่อสร้างโปรตีนที่มีส่วนในการควบคุม circadian rhythm ความแตกต่างในยีน BMAL1 สามารถส่งผลต่อจังหวะเวลาของการนอนหลับ
4. **CRY1 (Cryptochrome Circadian Regulator 1):**
การกลายพันธุ์ของยีน CRY1 ถูกพบว่าเชื่อมโยงกับภาวะ circadian rhythm sleep disorder หรือการมีนาฬิกาชีวภาพที่ทำงานช้ากว่าปกติ ซึ่งมักพบในคนที่เป็น night owl
5. **PER1 และ PER2 (Period Circadian Regulator 1 and 2):**
เช่นเดียวกับ PER3, ยีน PER1 และ PER2 ก็มีบทบาทในการกำหนด circadian rhythm ของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในยีนเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการตั้งเวลาของการนอนหลับและการตื่นนอน
ตอนนี้คลายข้อสงสัยกับปัญหาการนอนของตัวเองแล้ว ว่าทำไมชอบนอนดึกแล้วตื่นสายประจำ ทำยังไงก็ไม่หาย ตื่นเช้าก็ทำได้นะ แต่ไม่เคยสดชื่นเลย เพราะถ้านอนเร็วจะตื่นกลางดึกเสมอ 555 นอนดึกตื่นสายจะรู้สึกสดชื่นและเต็มอิ่มที่สุดเพราะหลับยาว
สงสัยจะได้ยีน Night owl มาจากแม่แน่ๆ
ผิดกับคนนอนข้างๆ หัวแตะหมอนปุ๊บกรนเลย แปลกมากๆ
ใครอ่านถึงตรงนี้ ช่วยบอกหน่อยค่ะ มีใครมีลักษณะแบบ Night owl เหมือนเราไหม ถ้าเช้ายังตื่นอยู่แปลว่าเมื่อคืนไม่ได้นอน 😂
หรือใครที่เป็นนกตื่นเช้า อยากรู้ว่าหัวค่ำคือง่วงเลยหรอคะ เช้าตื่นแล้วสดชื่นทุกเช้าเลยไหม
#siamstr
จนกระทั่งล่าสุด พาแม่ไปกับลูกๆไปตรวจยีน ตรวจDNA แบบละเอียดมากๆ ดูทั้งการแพ้อาหาร แพ้ยา โรคทางพันธุกรรม พรสวรรค์หรืออะไรต่างๆจากยีน ไปสะดุดอย่างนึงคือ ยีนที่เกี่ยวกับการนอนหลับ คุณภาพการนอนหลับ แล้วพึ่งรู้ว่า ยีนของคนเรากำหนดนาฬิกาชีวิตด้วย แล้วแม่เราก็เป็นแบบพวก Night owl คือ ตกเย็นจะดีด ตกดึกไอเดียบรรเจิด เช้าไม่อยากตื่น 😳
ถึงกับต้องไปค้นหาข้อมูลเลยว่า ยีนแบบพวก Night owl นี่มันเป็นยังไง เพราะมันมีอีกกลุ่มที่เป็นคนปกติทั่วไป นาฬิกาชีวิตเป็นแบบ Morning Lark
ไปถาม AIมา ก็ได้ข้อมูลมาแบบคร่าวๆว่า
การเป็น "night owl" หรือ "morning lark" นั้นเกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythm) ของร่างกาย ซึ่งถูกกำหนดส่วนหนึ่งโดยยีนหลายตัวที่มีบทบาทในการควบคุมจังหวะเวลาของการนอนหลับและตื่นนอน ยีนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่านาฬิกาชีวภาพของคุณเป็นแบบ "night owl" (นอนดึก ตื่นสาย) หรือ "morning lark" (นอนเร็ว ตื่นเช้า) นั้นได้แก่:
### ยีนที่มีบทบาทสำคัญ:
1. **PER3 (Period Circadian Regulator 3):**
ยีน PER3 เกี่ยวข้องกับการควบคุมจังหวะเวลาของการนอนหลับและตื่นนอน ยีนนี้มีหลายรูปแบบ (polymorphisms) ที่สามารถกำหนดว่านาฬิกาชีวภาพของคนเป็นแบบไหน ตัวอย่างเช่น รูปแบบของยีน PER3 ที่มีการซ้ำซ้อนของหน่วยฐาน (VNTR - Variable Number Tandem Repeat) สามารถเชื่อมโยงกับลักษณะการเป็น "morning lark" หรือ "night owl" ได้
2. **CLOCK (Circadian Locomotor Output Cycles Kaput):**
ยีน CLOCK มีบทบาทในการควบคุม circadian rhythm ของร่างกาย และการศึกษาบางงานพบว่าการกลายพันธุ์หรือรูปแบบบางอย่างของยีน CLOCK อาจเชื่อมโยงกับการเป็น night owl
3. **BMAL1 (Brain and Muscle ARNT-Like 1):**
BMAL1 ทำงานร่วมกับยีน CLOCK เพื่อสร้างโปรตีนที่มีส่วนในการควบคุม circadian rhythm ความแตกต่างในยีน BMAL1 สามารถส่งผลต่อจังหวะเวลาของการนอนหลับ
4. **CRY1 (Cryptochrome Circadian Regulator 1):**
การกลายพันธุ์ของยีน CRY1 ถูกพบว่าเชื่อมโยงกับภาวะ circadian rhythm sleep disorder หรือการมีนาฬิกาชีวภาพที่ทำงานช้ากว่าปกติ ซึ่งมักพบในคนที่เป็น night owl
5. **PER1 และ PER2 (Period Circadian Regulator 1 and 2):**
เช่นเดียวกับ PER3, ยีน PER1 และ PER2 ก็มีบทบาทในการกำหนด circadian rhythm ของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงในยีนเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการตั้งเวลาของการนอนหลับและการตื่นนอน
ตอนนี้คลายข้อสงสัยกับปัญหาการนอนของตัวเองแล้ว ว่าทำไมชอบนอนดึกแล้วตื่นสายประจำ ทำยังไงก็ไม่หาย ตื่นเช้าก็ทำได้นะ แต่ไม่เคยสดชื่นเลย เพราะถ้านอนเร็วจะตื่นกลางดึกเสมอ 555 นอนดึกตื่นสายจะรู้สึกสดชื่นและเต็มอิ่มที่สุดเพราะหลับยาว
สงสัยจะได้ยีน Night owl มาจากแม่แน่ๆ
ผิดกับคนนอนข้างๆ หัวแตะหมอนปุ๊บกรนเลย แปลกมากๆ
ใครอ่านถึงตรงนี้ ช่วยบอกหน่อยค่ะ มีใครมีลักษณะแบบ Night owl เหมือนเราไหม ถ้าเช้ายังตื่นอยู่แปลว่าเมื่อคืนไม่ได้นอน 😂
หรือใครที่เป็นนกตื่นเช้า อยากรู้ว่าหัวค่ำคือง่วงเลยหรอคะ เช้าตื่นแล้วสดชื่นทุกเช้าเลยไหม
#siamstr