What is Nostr?
Libertarian.realpolitik / Libertarian Studies
npub187f…tz9m
2023-08-12 10:56:36

Libertarian.realpolitik on Nostr: ผู้คนกำหนดมูลค่าอย่างไร : ...

ผู้คนกำหนดมูลค่าอย่างไร : ว่าด้วยคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
.
สิ่งที่น่าขบคิดเกี่ยวกับคุณค่าต่าง ๆ นั้นเริ่มมาจากคำถามที่ว่า "ทำไมเราชอบสิ่งนี้มากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง", "ทำไมเรายินดีที่จะจ่ายให้สินค้าชิ้นนี้ที่มีราคาแพงมากกว่าอีกสินค้าหนึ่งที่มีราคาถูก", "ทำไมเราเลือกกินมาก-น้อยแตกต่างกัน" ฯลฯ หลายคนอาจจะตอบคำถามในเรื่องเหล่าว่ามันจะต้องเป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทานตามหลักเศรษฐศาสตร์แน่นอน แต่ทว่าคำตอบแบบนี้จึงเป็นเพียงคำตอบที่กว้าง ๆ เท่านั้น สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนพบของเหตุผลที่ว่าทำไมคนถึงมีเป้าหมายในการทำสิ่งหนึ่งแต่ไม่ทำสิ่งหนึ่ง หรือ มีความแตกต่างตรงกันข้ามกัน (ceteris paribus) ... มันมาจากกฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (law of diminishing marginal utility) ที่จะเห็นได้จากตัวอย่างของกินก็คือเมื่อยิ่งบริโภคมากก็ยิ่งไม่อยากกินอีก นักเศรษฐศาสตร์อธิบายว่ามันเป็นเรื่องของความพึงพอใจของคน ๆ หนึ่งที่ได้มาจากการบริโภคสินค้า (ชิ้นที่ 1, 2, 3,...., x) โดยที่ความพอใจในลำดับถัดมาจะไม่เท่ากับความพอใจที่ได้รับในตอนแรก เมื่อเป็นเช่นนั้นพฤติกรรมของคนในเรื่องของความเต็มใจจะจ่าย หรือ อยากกินจึงลดลง
.
ตามคำอธิบายของคาร์ล เมนเจอร์ (Carl Menger) ผู้ก่อตั้งสำนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนว่า ชั้นลำดับของปัจเจกบุคคลนั้นมีความหลากหลายทั้งเป้าหมายที่มีลำดับความสำคัญต่อความต้องการของเขาเอง เช่น หากนายก. ผลิตขนมปังขึ้นมา 4 ชิ้น เขาจะต้องพิจารณาความสำคัญที่สุดของเขาคือ การบริโภคขนมปัง 1 ชิ้นและอีก 3 ชิ้นก็นำไปทำอย่างอื่น (ในอีกตัวอย่างหนึ่งถ้าเป็นรายได้สิ่งเหล่านี้จะเป็น "การเก็บออม" ทันที) และนายก.จะสามารถนำขนมปังที่เหลือ 3 ชิ้นไปแลกเปลี่ยนอย่างอื่นได้ ซึ่งเรื่องของคุณค่านี้เองก็อยู่บนฐานของทฤษฏีมูลค่าจิตวิสัย (subjective theory of value) ที่นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนอย่างคาร์ล เมนเจอร์เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาแนวคิดที่ทำให้เกิดปฏิวัติวงการเศรษฐศาสตร์ขึ้นมา
.
สำหรับเรื่องนี้เองถือจะสามารถอธิบายตามหลักการที่เป็นมาตรฐานของคุณค่าได้ (standard of valuation) ที่จะต้องพิจารณาเรื่องของ "ความสำคัญ" (priority) และ "ลำดับชั้น" (ranking) เสมอ ถ้าหากยกตัวอย่างสถานการณ์ในสังคมที่เรามอง "ชาวต่างชาติ" สำคัญน้อยกว่า "ชาวไทย" ก็ถือเป็นลำดับความสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องทั่วไปในสังคม หรือ เรามอง "ครอบครัว" ของเรา สำคัญมากกว่า "คนที่ไม่ใช่ครอบครัว" ของเรา หรือการมองว่า "คนที่อดยากจากประเทศแอฟริกา" สำคัญน้อยกว่า "คนที่อดอยากจากประเทศของตัวเอง" ตามเหตุการณ์นี้เราจะให้ความรู้สึกน่าสงสารหรือความเห็นใจต่อคนอื่นก็จริง แต่ถ้าให้เลือกส่วนใหญ่ก็จะมองที่ประเทศของตัวเองมากกว่าประเทศอื่น นี่จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าระดับความสำคัญเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของธรรมชาติมนุษย์เองที่ไม่สามารถแยกออกจากประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้ หรือ แม้แต่เรื่องลำดับชั้นเองที่ถึงแม้ว่าจะเป็นจิตวิสัย แต่คุณค่าแบบจิตวิสัยก็ย่อมแตกต่างกันตามแต่วัฒนธรรมและสังคม ยกตัวอย่างเช่น “คนที่สวย” ย่อมมีคุณค่าหรืออะไรบางอย่างที่ดีกว่า “คนที่ไม่สวย” หรือ “คนที่หล่อกว่า/ผอมกว่า” ย่อมมีคุณค่าหรืออะไรบางอย่างที่ดีกว่า “คนที่ไม่หล่อ/อ้วนกว่า” สิ่งเหล่านี้สามารถซ้อนทับกันได้และแบ่งแยกกันได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เรามอง “ผู้หญิงอินเดียสวยน้อยกว่าผู้หญิงญี่ปุ่น” หรือ “ผู้ชายชาวเกาหลีหล่อกว่าผู้ชายชาวไทย”
.
หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาเรื่อง Diamonds-Water Paradox ที่นักเศรษฐศาสตร์สายคลาสสิคแก้ปัญหามันไม่ได้เพราะพวกเขาโฟกัสมูลค่าทุก ๆ อย่างไปที่ “แรงงาน” ทางออกของปัญหานี้มันมาจากการพิจารณามูลค่าตามสถานการณ์ตามแต่ละกรณีไป ถ้าหากคุณอยู่กลางทะเลทราย เพชรก็อาจไม่มีค่าเท่าน้ำเนื่องจากการทะเลทรายจำเป็นต้องการน้ำเพื่อแก้กระหายและให้อยู่รอด ในขณะที่ถ้าคุณอยู่ในเมืองน้ำอาจจะไม่มีค่าเท่าเพชรก็เพราะว่าในเมืองนั้นมีการผลิตน้ำออกมาขายให้คนบริโภคได้ตามร้านสะดวกซื้อ ในขณะที่เพชรย่อมมีกระบวนการต่าง ๆ มากมายในการขุดและการทำมันขึ้นมายากลำบากกว่าการหาน้ำในเมือง ด้วยเหตุผลนี้เองการจะประเมินว่าเพชรมีมูลค่ามากกว่าน้ำย่อมเป็นจริง กล่าวคือมันขึ้นอยู่กับ “ลำดับความสำคัญ” ตามแต่ละสถานการณ์
.
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรียกว่า “คุณค่า” เป็นมูลค่าจิตวิสัยแน่นอนที่มีลำดับความสำคัญและลำดับชั้นในตัวเอง ผู้คนจะกำหนดแตกต่างกันอย่างไรขึ้นอยู่กับการประเมินหรือให้ค่ากับสิ่งนั้น ๆ ผ่านความรู้สึกและมุมมองตามแต่ละสังคมและวัฒนธรรม (ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีที่แม่นยำด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์หรือแบบประเมินได้) ซึ่งสิ่งนี้เองในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ย่อมทำให้ไม่สามารถปฏิเสธมันได้ เพราะว่าเรื่องของมูลค่าเป็นสำคัญมากในการจัดสรรทรัพยากร/บริหารจัดการองค์กร แรงจูงใจ หรือ การทำอะไรก็ตามที่มุ่งเน้นไปหาคนเป็นหลักย่อมมี “มูลค่าจิตวิสัย” ถือเป็นเรื่องขั้นพื้นฐานเสมอและแยกออกจากกันไม่ได้ ในทางปฏิบัติที่สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ก็คือ “การประเมินต้นทุนจะต้องดูว่าลูกค้า การตลาดอะไรต่าง ๆ มันประเมินไว้ว่าควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้ทำอย่างแม่นยำไม่ได้ แต่ใช้การกะและเครื่องมือที่ทำให้ทราบถึงการรอบรับอุปสงค์ในอนาคตเท่าที่จะทำได้ และหลังจากนั้นก็ประเมินหลังจากลองงานจริงอีกครั้งจนกว่าจะลงตัว” และนอกเหนือจากที่ไม่ได้กล่าว
.
บรรณานุกรม
Shostak, Frank. How People Determine the Value of a Good. Auburn, AL: Mises Institute. 2023.
James Dingwall and Bert F. Hoselitz, trans., New York: The Free Press, 1950. Online edition, The Mises Institute, 2004.



Author Public Key
npub187fs6hc9k2ase93v54h9qzx3zz5rrhwc89gstjdextprzlxcee9sdltz9m