What is Nostr?
chontit
npub1r27…hxu8
2024-12-25 12:11:40

chontit on Nostr: ‼️เราจะรู้ได้ไงนะว่า ...

‼️เราจะรู้ได้ไงนะว่า 'บิตคอยน์' ที่เราพึ่งโอนออกจาก Exchange .. เป็นของเราจริง ๆ หรือป่าว ? 🤭

.

➡️ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าระบบ 'บิตคอยน์' ทำงานแบบโปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่มีความเป็นส่วนตัวสูงมากกก ,, งงล่ะสิ 5555

..คืองี้นะ 🧡😇

➡️ ระบบบิตคอยน์สามารถตรวจสอบข้อมูลธุรกรรม 'ทุกอย่าง' ได้หมด ,, ไม่ว่าจะเป็น.. การตรวจสอบจาก Bitcoin Address หรือการตรวจสอบจาก Transaction ID

❗️วิธีการก็ไม่ได้ยากอะไรเลย ,, เพียงแค่เราเข้าไปในเว็บไซต์ Bitcoin Explorer ต่าง ๆ (ซึ่งมีหลายเว็บนะ) ➡️ แล้วก็นำ Address ของบิตคอยน์ หรือ Transaction ID (ที่เป็นข้อมูลยาว ๆ ๆ อ่านไม่รู้เรื่องนั่นแหละ) ไปใส่ในช่อง 'ค้นหา' แล้วก็เคาะ Enter สักทีนึง

✅ เราก็จะได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin Address นั้น หรือเลขที่ทำธุรกรรมนั้น ๆ มาทั้งหมด!!

.

➡️ สมมุติว่า.. เราค้นหาด้วย Transaction ID เราก็จะได้ข้อมูลตามในรูปประกอบเลย ,, ขออธิบายสั้น ๆ เท่าที่จำเป็นต้องรู้ดังนี้นะ 😘

1️⃣ หมายเลข 1. ช่องที่เราสามารถนำ Bitcoin Address หรือ Tx ID ไปวางแล้วค้นหาได้

2️⃣ หมายเลข 2. ข้อมูลธุรกรรมนี้โดยสรุป เช่น หมายเลขธุรกรรม, จำนวนบิตคอยน์ที่ใช้ทำธุรกรรม รวมถึงค่าธรรมเนียมในการโอน และก็สถานะของธุรกรรมนี้ว่าได้รับการ 'ยืนยัน' แล้วหรือยัง ? โดยถ้าธุรกรรมได้รับการยืนยันแล้วหมายความว่า...

✅ ข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกบันทึกลงบน Bitcoin Blockchain เป็นที่เรียบร้อยแล้ว .. ไม่สามารถ 'ยกเลิก' หรือ 'ย้อนกลับ' ได้แล้ว และหากเราโอนผิด.. นั่นหมายถึงเราสูญเสียบิตคอยน์นั้นไปถาวร (ยกเว้นว่ารู้เจ้าของ Bitcoin Address ที่โอนไปผิด,, ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลย 5555) ‼️🥹

3️⃣ หมายเลข 3. ถ้าเพื่อนโอนบิตคอยน์ให้เรา .. เราสามารถดูตรงนี้เพื่อเป็นการยืนยันได้ว่า 'บิตคอยน์' นี้เป็นของเราโดยสมบูรณ์ (ยิ่งจำนวน Block Confirmation เยอะ ๆ ยิ่งย้อนกลับยาก ,, จริง ๆ แค่ 1 Confirmation ก็ถือว่าโอนสมบูรณ์แล้ว) 😇

4️⃣ หมายเลข 4. ข้อมูลส่วนนี้เป็นฝั่ง Input หรือฝั่งโอนออก โดยในตัวอย่างเป็นการโอนออกจาก Address เดียว ,, ซึ่งถ้าเป็นการรวมบิตคอยน์จากหลาย ๆ Address เป็นบิตคอยน์ก้อนใหญ่อันเดียว (เรียกว่า Consolidation) ก็จะมีจำนวน Input Address ได้เยอะกว่านี้

5️⃣ หมายเลข 5. ข้อมูลฝั่งของผู้รับ หรือ Output โดยมีจำนวน Address ได้จำนวนมาก ๆ ได้เช่นเดียวกัน (เช่น การโอนบิตคอยน์ไปให้เพื่อนหลาย ๆ คนในครั้งเดียว) ,, โดยฝั่ง Output จะมีความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ...

✅ ถ้าการโอนบิตคอยน์ครั้งนี้แล้วเหลือเศษ .. เราจะได้บิตคอยน์คืนกลับมาในกระเป๋าของผู้โอนเอง ซึ่งเรียกว่าเป็น Bitcoin Change Address หรือมีลักษณะเหมือนเงินทอน

‼️ถ้านึกภาพไม่ออก.. สมมุติเรามีแบงค์ 100 บาทอยู่ 1 ใบ และใช้ซื้อของราคา 50 บาท ,, เราก็จะจ่ายแบงค์ 100 บาทนั้นให้ร้านค้า และรับเงินทอนจำนวน 50 บาทกลับคืนมา ,, พอเข้าใจมั้ยนะ ? 🧡😇

...ส่วนข้อมูลอื่น ๆ มัน Nice to knows นะ .. ถ้าสนใจเรียนรู้ก็ดี แต่ก็มองว่าไม่จำเป็นขนาดนั้น😘

.

🧡 สุดท้ายนี้... พอเห็นมั้ยครับว่า เราสามารถรู้ได้หมดเลยว่า Bitcoin Address ไหน.. ถูกโอนไปไหนบ้าง? จำนวนเท่าไหร่บ้าง? 😊✌️

แต่!!! เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า Address ไหนเป็นของใคร‼️

มันจึงเป็นที่มาของคำว่า 'Bitcoin is Pseudonymous' ✅🙏

ป.ล.การยืนยันว่าเราได้รับบิตคอยน์ ‘จริง ๆ’ ก็คือ การตรวจสอบใน Bitcoin Blockchain Explorer แล้ว.. มี ‘satoshi’ อยู่ใน Address ของเรานั่นเอง 😊🧡✅

#เวลามีค่าศึกษาบิตคอยน์
#bitcoinselfcustody
#Siamstr

Author Public Key
npub1r27yp3vmr53gx9z2ltzxt8pah07p5xext2u7eeeg5zs5cmxkpeqst2hxu8