heretong on Nostr: ...
หญ้าหวานเป็นธรรมชาติไหม?
เอารายละเอียดแนวทางการพิจารณาสาร ให้อ่านละกันครับ เค้าจำแนกและอธิบายภาพรวมได้ละเอียดดีนะ ลองดูครับ กว่าจะได้มาให้กิน มันผ่านอะไรแล้วยังฟินอีกไหม 5555
แนวทางการพิจารณาสารกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งวัตถุแต่งกลิ่นรสและสารให้ความหวาน
(มติคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวินิจฉัยในเชิงวิชาการเกี่ยวกับอาหาร (อ.1)
ครั้งที่ 8-8/2564 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 และ ครั้งที่ 22-12/2565 วันที่ 27 กรกฎาคม 2565]
ปัจจุบันสารกลุ่มสติวิออลไกลโคไซด์ (STEVIOL GLYCOSIDES) จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร โดยกำหนดหน้าที่ทางเทคโนโลยีการผลิตเป็นสารให้ความหวาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งจะต้องมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตาม Codex Advisory Specification for the Identity and Purity of Food Additives ซึ่งปัจจุบันอ้างอิง Specification Monograph prepared by the meeting of the Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA), 91** Meeting 2021 โดยข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานดังกล่าวแบ่งสารกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามกระบวนการผลิต ดังนี้
(1) Steviol Glycosides from Stevia Rebaudiana Bertoni (INS 960a) หมายถึง สตีวิออล
ไกลโคไซด์ที่ได้จากการนำใบหญ้าหวานนำไปสกัดด้วยน้ำร้อนและสารละลายที่ใช้ในการสกัด และนำไปผ่านเรซิน ดูดซับและทำให้สตีวิออลไกลโคไซด์เข้มข้นขึ้น
[Assay: Not less than 95% of total of steviol glycosides, on the dried basis]
(2) Steviol Glycosides from Fermentation (INS 960b) หมายถึง สตีวิออลไกลโคไซด์ที่ได้จาก
กระบวนการหมักโดยยีสต์ดัดแปรพันธุกรรมสายพันธุ์ Yarrowia lipolytica และ Saccharomyces cerevisiae ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดโรค
[Assay: Not less than 95% of total of steviol glycosides, on the dried basis]
(3) Enzyme Modified Steviol Glycosides (INS 960c) ได้จากการนำสตีวิออลไกลโคไซด์
ที่สกัดได้จากใบของหญ้าหวานไปผ่านกระบวนการทางเอนไซม์ โดยใช้เอนไซม์ที่สร้างจากจุลินทรีย์ดัดแปร พันธุกรรมสายพันธุ์ที่ไม่เป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดโรค คือ Pichia pastoris และ Escherichia coli ที่สามารถสร้างเอนไซม์กลูโคซิลทรานส์เฟอเรส (EC 2.4.1.17) และซูโครสซินเทส (EC 2.4.1.13) ซึ่งเทคนิคดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการผลิต สตีวิออลไกลโคไซด์ที่จำเพาะเจาะจง ที่ปกติไม่สามารถเกิดได้ตามธรรมชาติได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้เป็น รีบาวดิโอไซด์ M และรีบาวดิโอไซด์ D และสตีวิออลไกลโคไซด์อื่นๆเล็กน้อย
[Assay: Not less than 95% of total of steviol glycosides, on the dried basis]
(4) Enzyme Modified Glucosylated Steviol Glycosides (INS 960 d) ได้จากการนำ
สตีวิออลไกลโคไซด์ที่ได้จากใบหญ้าหวานมาเติมกลูโคสในโครงสร้างด้วยกระบวนการทางเอนไซม์ โดยใช้เอนไซม์ไซโคลมอลโทเดกซ์ทรินกลูคาโนทรานส์เฟอเรส (EC 2.4.1.19) และเอนไซม์แอลฟ่าอะไมเลส (EC 3.2.1.1) ที่ได้
จากจุลินทรีย์ Bacillus stearothermophilus, Bacillus licheniformis, และ Bacillus subtilis สายพันธุ์ที่ไม่เป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งเทคนิคดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการผลิต Glucosylated Steviol Glycosides ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
[Assay: Not less than 95% of total of steviol glycosides, on the dried, dextrin-
free basis, determined as the sum of glucosylated steviol glycosides and steviol glycosides]
สารกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งวัตถุแต่งกลิ่นรสและสารให้ความหวาน (ฉบับปรับปรุง มกราคม 2567)
1|37
นอกจากนี้จะต้องมีข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร
ซึ่งปัจจุบันอ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 444) พ.ศ. 2566 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขวิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 3)
ทั้งนี้มีสารกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ จำนวน 28 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 กันยายน 2565) ที่นอกจาก
จะมีคุณสมบัติเป็นสารให้ความหวานแล้ว ยังมีคุณสมบัติเป็นวัตถุแต่งกลิ่นรส โดยมีรายชื่ออยู่ในบัญชี GRAS List ของ Flavor Extract Manufacturers Association (FEMA) ดังมีรายชื่อตามตารางในรูป
#ASS
#pirateketo
#ฉลาก3รู้
#siamste