pao.siwat on Nostr: PARADISE • พาราไดซ์ | ...
PARADISE • พาราไดซ์ | ความอยุติธรรมของทุนนิยมสามานย์ต่อสังคมมนุษย์
" พนักงานบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ค้นพบความจริงอันโหดร้าย (คอสต์จา อัลล์แมนน์) เดินหน้าทําภารกิจชี้เป็นชี้ตายเพื่อช่วย ภรรยา (มาร์ลีเนอ ทันซิก) ทวงคืนเวลาชีวิต 40 ปีที่เสียไป "
นี่คือประโยคสั้นๆ ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวคร่าวๆ
ให้ผู้ชมมีความรู้สึกอยากดูภาพยนตร์เรื่อง
PARADISE • พาราไดซ์ ทาง Netflix แค่ประโยคสั้นๆ และทีเซอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้นี่แหละที่ทำให้เราสนใจเลือกที่จะกดเข้าไปเพื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างตั้งใจ
ซึ่งเมื่อได้ดูจนถึงบทสุดท้ายของภาพยนตร์ก็ไม่ทำให้
ผิดหวังเลยแม้แต่น้อย เป็นภาพยนตร์เรื่องนึงที่มี
เนื้อหา และบทภาพยนตร์ที่ลงตัวมากๆ ที่ทำให้ผู้ชมสามารถติดตามและสามารถขบคิดไปกับบทภาพยนตร์ในแต่ละฉาก ว่าเนื้อเรื่องจะเดินต่อไปยังไง? ตัวละครแต่ละตัวจะตัดสินใจแบบใหน?
เกริ่นมาพอสมควร เดี๋ยวจะลองเล่าบริบทของภาพยนตร์
เรื่องนี้ในแบบที่พยายามจะไม่สปอยเนื้อเรื่อง ฉากเปิดภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มจากโฆษณาในทีวีที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ที่เชิญชวนให้คนในสังคมที่นั่น (ในเรื่องคือยุโรป) ให้เห็นความสำคัญของการขายเวลาชีวิตของตนเอง เพื่อที่จะนำไปให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่บริษัทนั้นบอกว่าคนเหล่านี้จะสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมโลกได้มากๆ ซึ่งการเลือกที่จะสละเวลาชีวิตของตนเองกับเงิน มีความคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปอย่างแน่นอน
เนื้อเรื่องของภาพยนตร์นี้มีสองคนที่เป็นตัวละคร
ดำเนินเรื่อง คนแรกคือพระเอกที่เป็นพนักงานบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีหน้าที่เหมือนกับเซลล์ขายประกัน ที่จะต้องหาลูกค้า พูดจูงใจให้ลูกค้าที่มีความสนใจหรือ
ที่มีสถานะการเงินขัดสน และมีความจำเป็นจะต้องขายเวลาชีวิตของตัวเองเพื่อแลกกับเงิน ซึ่งพระเอกก็สามารถทำได้ดีจนเป็น Top 1 ของเซลล์บริษัทแห่งนี้
ตัวละครคนที่ 2 คือนางเอกที่เป็นภรรยาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองกับพระเอก และคงเป็นธรรมดาของคนในสังคมเมืองที่มีค่าครองชีพสูง ที่ไม่ต่างอะไรในบริบทของสังคมปัจจุบัน และคงด้วยสถานะการเงินของทั้งคู่ที่จำเป็น
จะต้องขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งทั่วไปแล้วการจะขอ
สินเชื่อจากสถาบันการเงินที่รัฐบาลรับรอง นั้นจำเป็น
จะต้องมีเครดิตที่ดีถึงจะสามารถของสินเชื่อได้
แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้เลือก "เวลาชีวิต" ของคนเรามาทำหน้าที่เสมือนกับ "เครดิต" ที่เอามาใช้ค้ำประกันเพื่อมาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
จุดที่สำคัญของเรื่องจุดหนึ่งคือ จะมีเหตุการณ์หนึ่ง
ที่ไม่คลาดคิด ที่ทำให้นางเอกและพระเอกจำเป็นเร่งด่วนต้องไปชำระค่าสินเชื่อกับธนาคาร แต่ทั้งคู่ในขณะนั้นไม่สามารถหาสินทรัพย์อะไรอย่างอื่นได้แล้ว นอกจาก
"เวลาชีวิต" ของนางเอก ที่ได้นำไปค้ำประกันสินเชื่อ
โดยที่พระเอกไม่เคยทราบมาก่อน จุดสำคัญจุดนี้แหละที่ทำให้พระเอกจำเป็นจะต้องหาวิธีทางเพื่อให้นางเอกไม่ต้องเอา "เวลาชีวิต" ไปแลก
บริบทของสังคมที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นตลอดทั้งเรื่องคือ บริบทที่คนในสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนที่มีสถานะทางการเงินมั่นคง กับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ได้หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทแห่งนี้
ว่าถ้าจะสามารถทำให้สังคมโลก สังคมมนุษย์ ดีขึ้นและมีความเจริญมากกว่านี้ ควรจะมีการนำ "เวลาชีวิต" ของตนเองมาขาย เพื่อเอาไปให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์
หรือบอกว่าคนที่มีความสำคัญในการพัฒนาสังคมโลกในอนาคต ให้พวกเขาสามารถมี "เวลาชีวิต" มีมากขึ้น
และจะได้สามารถคิดนวัตกรรม เทคโนโลยี หรือมา
บริหารประเทศ เพื่อให้สังคมโลกเจริญมากยิ่งขึ้น
เมื่อเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากในบริบทของปัจจุบัน) ก็จะเริ่มมีคนในสังคมมองเห็นปัญหาว่า ความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นเกิดจากอะไร และการที่คนเขียนบทภาพยนตร์ เลือกใช้เหตุการณ์ที่พระเอกช่วยนางเอกทวงคืนเวลาชีวิต 40 ปี
ที่เสียไปจากเหตุการณ์ที่ไม่คลาดคิด เป็นการที่จะพา
ผู้ชมไปสัมผัสกับเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องแต่ละเหตุการณ์ที่จะทำให้ผู้ชมได้ขบคิดกับประเด็นต่างๆ ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งพวกเราอาจจะสามารถคิดและ
เชื่อมโยงมาถึงในบริบทสังคมปัจจุบันที่พวกเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน
" การจะซื้อชีวิตใครสักคน
เป็นแค่อีกทางหนึ่งในการคร่าชีวิต
ผมเคยเป็นส่วนหนึ่งของมัน
ตอนนี้ผมรู้แน่แล้ว
ตราบใดที่เอออนยังอยู่
ตราบใดที่มีการถ่ายโอนเวลาชีวิตผิดกฎหมาย
ความอยุติธรรมก็คงอยู่ต่อไป "
" เวลาคุณ โอกาสคุณ ทางเลือกคุณ "
" fix money, fix the world "
ศิวัช สุรัตนวนิช
21 ตุลาคม 2567
---------------------------------------
ปล.ดูจนจบแล้วยังคิดว่าคนเขียนบท ผู้กับกับ เป็น bitcoiner หรือใครที่มีอุดมการณ์แบบอิสระนิยม (libertarian) รึป่าวนะแต่คงไม่ใช่มั้ง ในเรื่องมีบอกว่ารัฐบาลจีนพยายามพูดในเวทีระหว่างประเทศเพื่อ
ต่อต้านสหภาพฯยูโรปในเรื่องการมีกฎหมายให้สามารถ
นำเวลาชีวิตของมนุษย์มาแลกกับเงินของรัฐบาล ซึ่งถ้าลองมองเปรียบเทียบเล่นๆ กับในบริบทปัจจุบันจีนนี่ก็ไม่ต่างอะไรกับสหภาพฯยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาฯ เลยนะ
แต่ถ้าคิดว่าคนเขียนบทมองแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศปกติที่กลุ่มประเทศจีน รัสเซีย อินเดีย
พยามสร้างระบบการเงินศูนย์กลางแห่งใหม่แทนชาติตะวันตก ก็เป็นไปได้แหละนะ
#SiamSTR
![](https://image.nostr.build/f204782af29a99ca6443ff4742a668486b45a3f54281d967d2ce4e426da8331b.jpg)
" พนักงานบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ค้นพบความจริงอันโหดร้าย (คอสต์จา อัลล์แมนน์) เดินหน้าทําภารกิจชี้เป็นชี้ตายเพื่อช่วย ภรรยา (มาร์ลีเนอ ทันซิก) ทวงคืนเวลาชีวิต 40 ปีที่เสียไป "
นี่คือประโยคสั้นๆ ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวคร่าวๆ
ให้ผู้ชมมีความรู้สึกอยากดูภาพยนตร์เรื่อง
PARADISE • พาราไดซ์ ทาง Netflix แค่ประโยคสั้นๆ และทีเซอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้นี่แหละที่ทำให้เราสนใจเลือกที่จะกดเข้าไปเพื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างตั้งใจ
ซึ่งเมื่อได้ดูจนถึงบทสุดท้ายของภาพยนตร์ก็ไม่ทำให้
ผิดหวังเลยแม้แต่น้อย เป็นภาพยนตร์เรื่องนึงที่มี
เนื้อหา และบทภาพยนตร์ที่ลงตัวมากๆ ที่ทำให้ผู้ชมสามารถติดตามและสามารถขบคิดไปกับบทภาพยนตร์ในแต่ละฉาก ว่าเนื้อเรื่องจะเดินต่อไปยังไง? ตัวละครแต่ละตัวจะตัดสินใจแบบใหน?
เกริ่นมาพอสมควร เดี๋ยวจะลองเล่าบริบทของภาพยนตร์
เรื่องนี้ในแบบที่พยายามจะไม่สปอยเนื้อเรื่อง ฉากเปิดภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มจากโฆษณาในทีวีที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ที่เชิญชวนให้คนในสังคมที่นั่น (ในเรื่องคือยุโรป) ให้เห็นความสำคัญของการขายเวลาชีวิตของตนเอง เพื่อที่จะนำไปให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่บริษัทนั้นบอกว่าคนเหล่านี้จะสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมโลกได้มากๆ ซึ่งการเลือกที่จะสละเวลาชีวิตของตนเองกับเงิน มีความคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปอย่างแน่นอน
เนื้อเรื่องของภาพยนตร์นี้มีสองคนที่เป็นตัวละคร
ดำเนินเรื่อง คนแรกคือพระเอกที่เป็นพนักงานบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีหน้าที่เหมือนกับเซลล์ขายประกัน ที่จะต้องหาลูกค้า พูดจูงใจให้ลูกค้าที่มีความสนใจหรือ
ที่มีสถานะการเงินขัดสน และมีความจำเป็นจะต้องขายเวลาชีวิตของตัวเองเพื่อแลกกับเงิน ซึ่งพระเอกก็สามารถทำได้ดีจนเป็น Top 1 ของเซลล์บริษัทแห่งนี้
ตัวละครคนที่ 2 คือนางเอกที่เป็นภรรยาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองกับพระเอก และคงเป็นธรรมดาของคนในสังคมเมืองที่มีค่าครองชีพสูง ที่ไม่ต่างอะไรในบริบทของสังคมปัจจุบัน และคงด้วยสถานะการเงินของทั้งคู่ที่จำเป็น
จะต้องขอสินเชื่อจากธนาคาร ซึ่งทั่วไปแล้วการจะขอ
สินเชื่อจากสถาบันการเงินที่รัฐบาลรับรอง นั้นจำเป็น
จะต้องมีเครดิตที่ดีถึงจะสามารถของสินเชื่อได้
แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้เลือก "เวลาชีวิต" ของคนเรามาทำหน้าที่เสมือนกับ "เครดิต" ที่เอามาใช้ค้ำประกันเพื่อมาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
จุดที่สำคัญของเรื่องจุดหนึ่งคือ จะมีเหตุการณ์หนึ่ง
ที่ไม่คลาดคิด ที่ทำให้นางเอกและพระเอกจำเป็นเร่งด่วนต้องไปชำระค่าสินเชื่อกับธนาคาร แต่ทั้งคู่ในขณะนั้นไม่สามารถหาสินทรัพย์อะไรอย่างอื่นได้แล้ว นอกจาก
"เวลาชีวิต" ของนางเอก ที่ได้นำไปค้ำประกันสินเชื่อ
โดยที่พระเอกไม่เคยทราบมาก่อน จุดสำคัญจุดนี้แหละที่ทำให้พระเอกจำเป็นจะต้องหาวิธีทางเพื่อให้นางเอกไม่ต้องเอา "เวลาชีวิต" ไปแลก
บริบทของสังคมที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นตลอดทั้งเรื่องคือ บริบทที่คนในสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนที่มีสถานะทางการเงินมั่นคง กับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ได้หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อของบริษัทแห่งนี้
ว่าถ้าจะสามารถทำให้สังคมโลก สังคมมนุษย์ ดีขึ้นและมีความเจริญมากกว่านี้ ควรจะมีการนำ "เวลาชีวิต" ของตนเองมาขาย เพื่อเอาไปให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์
หรือบอกว่าคนที่มีความสำคัญในการพัฒนาสังคมโลกในอนาคต ให้พวกเขาสามารถมี "เวลาชีวิต" มีมากขึ้น
และจะได้สามารถคิดนวัตกรรม เทคโนโลยี หรือมา
บริหารประเทศ เพื่อให้สังคมโลกเจริญมากยิ่งขึ้น
เมื่อเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากในบริบทของปัจจุบัน) ก็จะเริ่มมีคนในสังคมมองเห็นปัญหาว่า ความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นเกิดจากอะไร และการที่คนเขียนบทภาพยนตร์ เลือกใช้เหตุการณ์ที่พระเอกช่วยนางเอกทวงคืนเวลาชีวิต 40 ปี
ที่เสียไปจากเหตุการณ์ที่ไม่คลาดคิด เป็นการที่จะพา
ผู้ชมไปสัมผัสกับเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องแต่ละเหตุการณ์ที่จะทำให้ผู้ชมได้ขบคิดกับประเด็นต่างๆ ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งพวกเราอาจจะสามารถคิดและ
เชื่อมโยงมาถึงในบริบทสังคมปัจจุบันที่พวกเรากำลังใช้ชีวิตอยู่ทุกวัน
" การจะซื้อชีวิตใครสักคน
เป็นแค่อีกทางหนึ่งในการคร่าชีวิต
ผมเคยเป็นส่วนหนึ่งของมัน
ตอนนี้ผมรู้แน่แล้ว
ตราบใดที่เอออนยังอยู่
ตราบใดที่มีการถ่ายโอนเวลาชีวิตผิดกฎหมาย
ความอยุติธรรมก็คงอยู่ต่อไป "
" เวลาคุณ โอกาสคุณ ทางเลือกคุณ "
" fix money, fix the world "
ศิวัช สุรัตนวนิช
21 ตุลาคม 2567
---------------------------------------
ปล.ดูจนจบแล้วยังคิดว่าคนเขียนบท ผู้กับกับ เป็น bitcoiner หรือใครที่มีอุดมการณ์แบบอิสระนิยม (libertarian) รึป่าวนะแต่คงไม่ใช่มั้ง ในเรื่องมีบอกว่ารัฐบาลจีนพยายามพูดในเวทีระหว่างประเทศเพื่อ
ต่อต้านสหภาพฯยูโรปในเรื่องการมีกฎหมายให้สามารถ
นำเวลาชีวิตของมนุษย์มาแลกกับเงินของรัฐบาล ซึ่งถ้าลองมองเปรียบเทียบเล่นๆ กับในบริบทปัจจุบันจีนนี่ก็ไม่ต่างอะไรกับสหภาพฯยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาฯ เลยนะ
แต่ถ้าคิดว่าคนเขียนบทมองแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศปกติที่กลุ่มประเทศจีน รัสเซีย อินเดีย
พยามสร้างระบบการเงินศูนย์กลางแห่งใหม่แทนชาติตะวันตก ก็เป็นไปได้แหละนะ
#SiamSTR