Evil Ocelot on Nostr: ## ค่าเงินแข็ง ...
## ค่าเงินแข็ง ส่งผลเสียต่อการส่งออกขนาดนั้นเลยเหรอ?
เวลาที่ค่าเงินของประเทศเราอ่อน พวกเราเห็นผลกระทบของมันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว สินค้าบางอย่างเราไม่สามารถผลิตเองในประเทศได้ทั้งหมดก็ต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการสูงขึ้น เวลาไปเที่ยวต่างประเทศก็แลกเงินได้น้อยลง เวลากู้เงินจากต่างประเทศก็ต้องจ่ายเยอะขึ้น
แต่พอค่าเงินของประเทศเราแข็งบ้าง เราก็ควรจะดีใจไม่ใช่เหรอ เราสามารถนำเข้าสินค้าได้ในราคาถูกลง เราไปเที่ยวต่างประเทศได้หรูขึ้น หรือถ้ามีหนี้ในต่างประเทศก็ใช้เงินน้อยลงในการใช้คืน แต่สิ่งที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆจากนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ก็คือ “มันทำให้เราสามารถส่งออกได้น้อยลงเพราะสินค้าภายในประเทศดูมีราคาแพงขึ้นเมื่อมองจากภายนอก”
ถ้ามองในระยะสั้นมันก็ดูสมเหตุสมผล ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้มีการปรับราคาสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนสินค้านำเข้าที่ถูกลง มันก็ทำให้สินค้าแพงขึ้นในมุมมองของต่างขาติ แต่ถ้ามองให้ลึกกว่านั้น ผู้ประกอบการจะเห็นว่าสินค้าของเขาส่งออกได้น้อยลง เขาก็อาจจะลดราคาสินค้าของเขาได้บ้างจากต้นทุนที่ถูกลงเพื่อเพิ่มยอดขาย สุดท้ายราคาก็ควรกลับมาสู่สมดุลที่ใกล้เคียงเดิม
ในทางกลับกัน "ค่าเงินอ่อนส่งผลดีต่อการส่งออก" ก็ดูจะสมเหตุสมผลเช่นเดียวกันถ้าผู้ประกอบการไม่ได้ปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ต้นทุนการผลิตสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจะผลักให้ผู้ประกอบการต้องขึ้นราคาสินค้าส่งออกของตัวเอง สุดท้ายราคาก็ควรกลับมาสู่สมดุลที่ใกล้เคียงเดิมเช่นเดียวกัน
ถ้าในเมื่อสุดท้ายไม่ว่าค่าเงินจะแข็งหรือจะอ่อน ผู้ประกอบการก็ต้องปรับราคาสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว ทำไมเราจะต้องเลือกให้ค่าเงินอ่อนด้วยล่ะ? ค่าเงินแข็งหมายความว่ากำลังซื้อของเราเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถมีต้นทุนในการดำรงชีวิตที่ต่ำลงได้ ถ้ากังวลว่าค่าเงินแข็งแล้วจะส่งผลเสียต่อการส่งออก ก็ปล่อยให้ผู้ประกอบการเป็นคนตัดสินเองว่าจะปรับราคาสินค้าตอบสนองกับค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่ใช่ว่าบังคับให้ทุกคนต้องลดราคาสินค้าของตัวเองด้วยการออกนโยบายลดค่าสกุลเงินของตัวเอง ในวงการธุรกิจเขาว่ากันว่า "ถ้าคุณเริ่มจะใช้นโยบายขายตัดราคา นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะแพ้แล้ว" แต่ทำไมในระดับประเทศ เราถึงยังใช้นโยบายนี้กันอยู่?
หมายเหตุ: ต้นทุนราคาสินค้าอาจไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับสินค้าทุกชนิดสักทีเดียว แต่มันสามารถส่งผลกระทบทางอ้อมได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง หรือราคาต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกที
ฝากติดตามเพจ "ชวนให้คิด" ด้วยนะครับ นานๆลงที แต่เอาไว้เป็นช่องทาง mainstream ให้คนที่ยังอยู่ใน mainstream ได้อ่านเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนและเรื่องราวที่หลายๆคนเชื่อกันโดยไม่ตั้งคำถามครับ https://www.facebook.com/profile.php?id=61564056704166
#siamstr
เวลาที่ค่าเงินของประเทศเราอ่อน พวกเราเห็นผลกระทบของมันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว สินค้าบางอย่างเราไม่สามารถผลิตเองในประเทศได้ทั้งหมดก็ต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการสูงขึ้น เวลาไปเที่ยวต่างประเทศก็แลกเงินได้น้อยลง เวลากู้เงินจากต่างประเทศก็ต้องจ่ายเยอะขึ้น
แต่พอค่าเงินของประเทศเราแข็งบ้าง เราก็ควรจะดีใจไม่ใช่เหรอ เราสามารถนำเข้าสินค้าได้ในราคาถูกลง เราไปเที่ยวต่างประเทศได้หรูขึ้น หรือถ้ามีหนี้ในต่างประเทศก็ใช้เงินน้อยลงในการใช้คืน แต่สิ่งที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆจากนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ก็คือ “มันทำให้เราสามารถส่งออกได้น้อยลงเพราะสินค้าภายในประเทศดูมีราคาแพงขึ้นเมื่อมองจากภายนอก”
ถ้ามองในระยะสั้นมันก็ดูสมเหตุสมผล ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้มีการปรับราคาสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนสินค้านำเข้าที่ถูกลง มันก็ทำให้สินค้าแพงขึ้นในมุมมองของต่างขาติ แต่ถ้ามองให้ลึกกว่านั้น ผู้ประกอบการจะเห็นว่าสินค้าของเขาส่งออกได้น้อยลง เขาก็อาจจะลดราคาสินค้าของเขาได้บ้างจากต้นทุนที่ถูกลงเพื่อเพิ่มยอดขาย สุดท้ายราคาก็ควรกลับมาสู่สมดุลที่ใกล้เคียงเดิม
ในทางกลับกัน "ค่าเงินอ่อนส่งผลดีต่อการส่งออก" ก็ดูจะสมเหตุสมผลเช่นเดียวกันถ้าผู้ประกอบการไม่ได้ปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ต้นทุนการผลิตสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจะผลักให้ผู้ประกอบการต้องขึ้นราคาสินค้าส่งออกของตัวเอง สุดท้ายราคาก็ควรกลับมาสู่สมดุลที่ใกล้เคียงเดิมเช่นเดียวกัน
ถ้าในเมื่อสุดท้ายไม่ว่าค่าเงินจะแข็งหรือจะอ่อน ผู้ประกอบการก็ต้องปรับราคาสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตอยู่แล้ว ทำไมเราจะต้องเลือกให้ค่าเงินอ่อนด้วยล่ะ? ค่าเงินแข็งหมายความว่ากำลังซื้อของเราเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถมีต้นทุนในการดำรงชีวิตที่ต่ำลงได้ ถ้ากังวลว่าค่าเงินแข็งแล้วจะส่งผลเสียต่อการส่งออก ก็ปล่อยให้ผู้ประกอบการเป็นคนตัดสินเองว่าจะปรับราคาสินค้าตอบสนองกับค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่ใช่ว่าบังคับให้ทุกคนต้องลดราคาสินค้าของตัวเองด้วยการออกนโยบายลดค่าสกุลเงินของตัวเอง ในวงการธุรกิจเขาว่ากันว่า "ถ้าคุณเริ่มจะใช้นโยบายขายตัดราคา นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะแพ้แล้ว" แต่ทำไมในระดับประเทศ เราถึงยังใช้นโยบายนี้กันอยู่?
หมายเหตุ: ต้นทุนราคาสินค้าอาจไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับสินค้าทุกชนิดสักทีเดียว แต่มันสามารถส่งผลกระทบทางอ้อมได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง หรือราคาต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกที
ฝากติดตามเพจ "ชวนให้คิด" ด้วยนะครับ นานๆลงที แต่เอาไว้เป็นช่องทาง mainstream ให้คนที่ยังอยู่ใน mainstream ได้อ่านเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนและเรื่องราวที่หลายๆคนเชื่อกันโดยไม่ตั้งคำถามครับ https://www.facebook.com/profile.php?id=61564056704166
#siamstr