Hipknox on Nostr: วันนี้เข้า Yom Kippur ของคนยิว ...
วันนี้เข้า Yom Kippur ของคนยิว (แถมตรงกับวัน Shabbat อีก) ไปอ่านอะไรมา+คุยเล่นกับ chatgpt สนุก ๆ, เอามาเขียนไว้สักหน่อยแล้วกัน
ในยูดาห์นั้นมีแนวคิดของการทำ Teshuvah (תשובה) หมายถึง "การกลับใจ" หรือ "การหวนคืน" ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับแนวคิดของการแก้ไขความผิดพลาดทางจริยธรรม เพื่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า การกลับตัวกลับใจเมื่อมองย้อนกลับไปดูการกระทำของตัวเราเองจากสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมา เพื่อที่จะรีวิวตัวเองว่ามีสิ่งไหนที่ได้ทำลงไปแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องแต่เราก็กลับเลือกที่จะทำมันลงไปด้วยความตั้งใจหรือไม่ได้เจตนาก็ตาม ให้เราได้ทบทวนตัวเราเองสำหรับสิ่งที่ผ่านมา เพื่อที่จะบอกกับตัวเราเองว่าอย่าได้ทำอะไรแบบนั้นอีก (ผมอ่านแล้ว ต่อให้ไม่เชื่อในพระเจ้าก็ดูจะเป็นแนวคิดที่ดีต่อตัวเราเองสำหรับการพัฒนาให้ตัวเราเองเป็นคนที่ดีขึ้น)
หลักการในการปฏิบัติจะมีอยู่ 4 อย่าง (บางข้อมูลก็มีมากกว่านี้) คือ
1. การยอมรับผิด (Hakarat HaChet) ในขั้นแรกของ Teshuvah นั้นจะเป็นการที่ตัวเราเองยอมรับว่าตนเองได้ทำในสิ่งที่ผิด การยอมรับต่อตัวเองที่ไม่ใช่การหลอกตัวเองด้วยการปฏิเสธว่า "เราไม่ได้ทำอะไรผิดไป" แต่มาจากการสำนึกรู้ตัวที่เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะแก้ไขในสิ่งผิดอย่างใจจริง เพราะหากว่าเราไม่ได้ยอมรับผิด หรือหลอกตัวเองต่อไป การแก้ไขย่อมไม่เกิดขึ้น
2. การเสียใจในสิ่งที่ผิด (Charatah) ความรู้สึกสำนึกรู้ต่อ "ความเสียใจ" ในสิ่งที่ได้ทำลงไปผ่านการตระหนักรู้ว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับใจใหม่
3. การร้องขอการให้อภัย (Vidui) เมื่อบุคคลได้สำนึกผิดต่อสิ่งที่ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดลงไปอย่างใจจริงและตั้งเป้าหมายที่จะไม่กลับไปทำในสิ่งที่ผิดพลาดไปอีกครั้ง จะมีอะไรที่จะดีไปกว่าการได้รับการให้อภัย โดยเฉพาะในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า (จริง ๆ แล้วแนวคิดข้อนี้ของคนยิวนั้นไม่ได้ปฏิบัติแค่กับพระเจ้าเท่านั้น แต่พวกเขาจะต้องทำต่อเพื่อนมนุษย์ที่พวกเขาได้เคยกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองอีกด้วย) โดยที่การขอการให้อภัยนั้นจะต้องมาจากความต้องการที่จะแก้ไขความผิดพลาดนั้นจากใจจริง ไม่ใช่การทำเพียงแค่การพูด
4. การตั้งใจที่จะไม่ทำผิดอีก (Azivat HaChet) ในขั้นตอนสุดท้ายของ Teshuvah นี้ จะเป็นการบอกกับตัวเองว่าเราเองว่า เราจะไม่กลับไปทำความผิดนั้นซ้ำอีก ถึงแม้ว่าต่อให้มีโอกาสที่จะกลับไปทำความผิดนั้นซ้ำอีกครั้งในเหตุการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน แต่ผ่านการตัดสินใจในการเลือกอย่างแน่วแน่ตั้งมั่นแล้ว สุดท้ายแล้วเราเอาชนะมันที่จะไม่ทำมันอีกครั้ง ทั้งหมดนี้จึงจะถือได้ว่า การกลับใจนี้เป็นความจริง (ให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์คล้าย ๆ กันนั้น คุณสามารถที่จะหักห้ามใจตัวเองไม่ให้ทำผิดซ้ำได้หรือไม่)
ดังนั้นในทางความเชื่อแล้ว แนวคิดของ Teshuvah นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเมตตา (คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ พระเจ้าที่พร้อมจะให้อภัยมนุษย์หากว่าพวกเขามีความจริงใจที่จะกลับใจใหม่และต้องการที่จะแก้ไขตนเองเรียนรู้จากสิ่งที่เคยทำผิด เพื่อการยกระดับตัวเองให้เป็นคนที่ดีขึ้น หรือทำเพื่อที่จะยกระดับทางจิตวิญญาณ
สำหรับ Yom Kippur แล้ว วันสำคัญนี้จะเป็นวันลบมลทินของชาวยิว ขั้นตอนพิธีการหากสนใจลองค้นหาอ่านเพิ่มเติมได้ (มีการถืออดอาหาร ฟาสกันยาว ๆ ) หลัก ๆ แล้วเป็นไปเพื่อการปฏิบัติทางจิตวิญญาณการละทิ้งสิ่งต่าง ๆ ทางโลกชั่วคราว เพื่อให้จิตวิญญาณได้ใกล้ชิดกับพระเจ้าเป็นพิเศษในช่วงเวลานี้
ว่าไปแล้วก็เหมือนกับคำพูดที่ว่า "คนดีชอบแก้ไข คน...ชอบแก้ตัว" อยู่เหมือนกันนะ, และหากลองมาคิดดูอีกทีสำหรับคนที่เราจะคบค้าสมาคมด้วย คนที่เข้าใจว่าตัวเองกำลังทำผิดแล้วยอมรับตรง ๆ ว่าตัวเองนั้นทำผิด มีความพร้อมและต้องการที่จะแก้ไขมันให้ถูกต้องเนี่ย น่าคบกว่าพวกที่คอยหลอกตัวเองเวลาทำผิดว่า "กูไม่ผิด" ซะอีก
ปล.1 ข้อมูลอาจไม่ครบ ไม่ถูกต้องตามหลักการจริง ๆ ของยูดาห์นะ อ่าน ๆ และสรุปมาอีกที หากใครมีข้อมูลเสริมมาได้เลย จะดีมาก ๆ หากว่ามีข้อมูลจากคนที่รู้มากกว่านี่ เพราะผมจะได้รู้เพิ่มด้วย
ปล.2 จากการสังเกต (ความคิดเห็นส่วนตัว/จากที่เข้าใจในตอนนี้) ถึงแม้ว่าทั้งสามศาสนาจะมีรากฐานเดียวกัน แต่สิ่งที่แปลกมาก ๆ เลยคือในโทราห์ (ยูดาห์) (หรือ bible old testament) เนี่ย แทบจะไม่มีการพูดถึงเรื่องของ "นรก" หรือสถานที่ ๆ พระเจ้าใช้ในการลงทัณฑ์มนุษย์ที่ไม่สามารถหลุดพ้นจากบาป ที่จะต้องถูกไฟเผาไปชั่วนิจนิรันดร์ตามแบบฉบับของอีกสองความเชื่อเลย, เอาจริง ๆ แล้วเคยอ่านเจอว่าจริง ๆ แล้วมันไม่มีคำว่า "บาป" หรือ "Sin" อยู่ในนิยามของยูดาห์เลย แต่ที่มันต้องแปลจากฮีบรูมาอย่างนั้นเพราะว่ามันให้ความหมายได้ใกล้เคียงที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดแค่นั้น
จริง ๆ แล้วมันออกจะเป็นแนว ๆ ที่พระเจ้าคือพ่อที่รอให้ลูก ๆ แสวงหาหนทางกลับไปหาพระองค์ (เพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกัน) แถมยังค่อยเอาใจช่วยในความพยายามของมนุษย์ผ่านการปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต และการทำมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า (recurrent/reincarnation) มากกว่าจะมานั่งตัดสินในวาระสุดท้ายเพียงแค่ครั้งเดียวว่าใครทำอะไรมาก่อนหน้านี้ และควรจะมีที่ไปยังไงหลังจากความตาย
คำถามของผมคือ ถ้าหากพระเจ้าสร้างมนุษย์จากความรัก และสร้างขึ้นตามแบบพระฉายของพระองค์ เป็นสิ่งที่ถูกสะท้อนให้เห็นเหมือนในเวลาที่เราเห็นภาพที่สะท้อนของตัวเราเองในกระจกเงา เหตุผลใดที่พระเจ้าจะเลือกทำลายสิ่งที่เหมือนกันกับพระองค์นี้ที่ตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อให้พระองค์ได้มี "ใคร" ที่นอกเหนือจากพระองค์ เพียงเพราะว่าพวกเขาได้รับสิ่งที่เรียกว่าเจตจำนงเสรีในการเลือกหนทางของตัวเอง ว่าสมควรแล้วที่จะต้องได้รับการลงทัณฑ์ แม้ว่าพวกเขาจะพยายามแล้วแม้ว่าจะเป็นในแบบฉบับของตัวเองโดยที่มันยังไม่อาจจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ตามที่พระเจ้าได้ตั้งใจไว้
เหมือนกันกับการขยำกระดาษจากหน้าสมุด เพียงเพราะแค่ตัวอักษรของการคัดลายมือนั้นยังไม่สวยงามมากพอ ทิ้งมันลงในกองไฟ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็มียางลบอยู่ในมือ
ส่วนตัวผมไม่ buy ไอเดียเรื่องนรกจริง ๆ ไม่ว่าจะในความเชื่อไหนก็ตาม เพราะว่าความทุกข์ในชีวิตจริง ดูจะเป็นกระบวนการในการยกระดับของตัวตนมากกว่าการอยู่ในสถานที่ ๆ มีแต่เปลวเพลิงที่ไม่อาจใครครวญและไตร่ตรองเพื่อการสร้างผลลัพธ์อะไรได้อีกต่อไป
#Siamstr
#ผมมาทางนี้ได้ไง
ในยูดาห์นั้นมีแนวคิดของการทำ Teshuvah (תשובה) หมายถึง "การกลับใจ" หรือ "การหวนคืน" ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับแนวคิดของการแก้ไขความผิดพลาดทางจริยธรรม เพื่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า การกลับตัวกลับใจเมื่อมองย้อนกลับไปดูการกระทำของตัวเราเองจากสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมา เพื่อที่จะรีวิวตัวเองว่ามีสิ่งไหนที่ได้ทำลงไปแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องแต่เราก็กลับเลือกที่จะทำมันลงไปด้วยความตั้งใจหรือไม่ได้เจตนาก็ตาม ให้เราได้ทบทวนตัวเราเองสำหรับสิ่งที่ผ่านมา เพื่อที่จะบอกกับตัวเราเองว่าอย่าได้ทำอะไรแบบนั้นอีก (ผมอ่านแล้ว ต่อให้ไม่เชื่อในพระเจ้าก็ดูจะเป็นแนวคิดที่ดีต่อตัวเราเองสำหรับการพัฒนาให้ตัวเราเองเป็นคนที่ดีขึ้น)
หลักการในการปฏิบัติจะมีอยู่ 4 อย่าง (บางข้อมูลก็มีมากกว่านี้) คือ
1. การยอมรับผิด (Hakarat HaChet) ในขั้นแรกของ Teshuvah นั้นจะเป็นการที่ตัวเราเองยอมรับว่าตนเองได้ทำในสิ่งที่ผิด การยอมรับต่อตัวเองที่ไม่ใช่การหลอกตัวเองด้วยการปฏิเสธว่า "เราไม่ได้ทำอะไรผิดไป" แต่มาจากการสำนึกรู้ตัวที่เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะแก้ไขในสิ่งผิดอย่างใจจริง เพราะหากว่าเราไม่ได้ยอมรับผิด หรือหลอกตัวเองต่อไป การแก้ไขย่อมไม่เกิดขึ้น
2. การเสียใจในสิ่งที่ผิด (Charatah) ความรู้สึกสำนึกรู้ต่อ "ความเสียใจ" ในสิ่งที่ได้ทำลงไปผ่านการตระหนักรู้ว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับใจใหม่
3. การร้องขอการให้อภัย (Vidui) เมื่อบุคคลได้สำนึกผิดต่อสิ่งที่ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดลงไปอย่างใจจริงและตั้งเป้าหมายที่จะไม่กลับไปทำในสิ่งที่ผิดพลาดไปอีกครั้ง จะมีอะไรที่จะดีไปกว่าการได้รับการให้อภัย โดยเฉพาะในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า (จริง ๆ แล้วแนวคิดข้อนี้ของคนยิวนั้นไม่ได้ปฏิบัติแค่กับพระเจ้าเท่านั้น แต่พวกเขาจะต้องทำต่อเพื่อนมนุษย์ที่พวกเขาได้เคยกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองอีกด้วย) โดยที่การขอการให้อภัยนั้นจะต้องมาจากความต้องการที่จะแก้ไขความผิดพลาดนั้นจากใจจริง ไม่ใช่การทำเพียงแค่การพูด
4. การตั้งใจที่จะไม่ทำผิดอีก (Azivat HaChet) ในขั้นตอนสุดท้ายของ Teshuvah นี้ จะเป็นการบอกกับตัวเองว่าเราเองว่า เราจะไม่กลับไปทำความผิดนั้นซ้ำอีก ถึงแม้ว่าต่อให้มีโอกาสที่จะกลับไปทำความผิดนั้นซ้ำอีกครั้งในเหตุการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน แต่ผ่านการตัดสินใจในการเลือกอย่างแน่วแน่ตั้งมั่นแล้ว สุดท้ายแล้วเราเอาชนะมันที่จะไม่ทำมันอีกครั้ง ทั้งหมดนี้จึงจะถือได้ว่า การกลับใจนี้เป็นความจริง (ให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์คล้าย ๆ กันนั้น คุณสามารถที่จะหักห้ามใจตัวเองไม่ให้ทำผิดซ้ำได้หรือไม่)
ดังนั้นในทางความเชื่อแล้ว แนวคิดของ Teshuvah นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเมตตา (คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ พระเจ้าที่พร้อมจะให้อภัยมนุษย์หากว่าพวกเขามีความจริงใจที่จะกลับใจใหม่และต้องการที่จะแก้ไขตนเองเรียนรู้จากสิ่งที่เคยทำผิด เพื่อการยกระดับตัวเองให้เป็นคนที่ดีขึ้น หรือทำเพื่อที่จะยกระดับทางจิตวิญญาณ
สำหรับ Yom Kippur แล้ว วันสำคัญนี้จะเป็นวันลบมลทินของชาวยิว ขั้นตอนพิธีการหากสนใจลองค้นหาอ่านเพิ่มเติมได้ (มีการถืออดอาหาร ฟาสกันยาว ๆ ) หลัก ๆ แล้วเป็นไปเพื่อการปฏิบัติทางจิตวิญญาณการละทิ้งสิ่งต่าง ๆ ทางโลกชั่วคราว เพื่อให้จิตวิญญาณได้ใกล้ชิดกับพระเจ้าเป็นพิเศษในช่วงเวลานี้
ว่าไปแล้วก็เหมือนกับคำพูดที่ว่า "คนดีชอบแก้ไข คน...ชอบแก้ตัว" อยู่เหมือนกันนะ, และหากลองมาคิดดูอีกทีสำหรับคนที่เราจะคบค้าสมาคมด้วย คนที่เข้าใจว่าตัวเองกำลังทำผิดแล้วยอมรับตรง ๆ ว่าตัวเองนั้นทำผิด มีความพร้อมและต้องการที่จะแก้ไขมันให้ถูกต้องเนี่ย น่าคบกว่าพวกที่คอยหลอกตัวเองเวลาทำผิดว่า "กูไม่ผิด" ซะอีก
ปล.1 ข้อมูลอาจไม่ครบ ไม่ถูกต้องตามหลักการจริง ๆ ของยูดาห์นะ อ่าน ๆ และสรุปมาอีกที หากใครมีข้อมูลเสริมมาได้เลย จะดีมาก ๆ หากว่ามีข้อมูลจากคนที่รู้มากกว่านี่ เพราะผมจะได้รู้เพิ่มด้วย
ปล.2 จากการสังเกต (ความคิดเห็นส่วนตัว/จากที่เข้าใจในตอนนี้) ถึงแม้ว่าทั้งสามศาสนาจะมีรากฐานเดียวกัน แต่สิ่งที่แปลกมาก ๆ เลยคือในโทราห์ (ยูดาห์) (หรือ bible old testament) เนี่ย แทบจะไม่มีการพูดถึงเรื่องของ "นรก" หรือสถานที่ ๆ พระเจ้าใช้ในการลงทัณฑ์มนุษย์ที่ไม่สามารถหลุดพ้นจากบาป ที่จะต้องถูกไฟเผาไปชั่วนิจนิรันดร์ตามแบบฉบับของอีกสองความเชื่อเลย, เอาจริง ๆ แล้วเคยอ่านเจอว่าจริง ๆ แล้วมันไม่มีคำว่า "บาป" หรือ "Sin" อยู่ในนิยามของยูดาห์เลย แต่ที่มันต้องแปลจากฮีบรูมาอย่างนั้นเพราะว่ามันให้ความหมายได้ใกล้เคียงที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดแค่นั้น
จริง ๆ แล้วมันออกจะเป็นแนว ๆ ที่พระเจ้าคือพ่อที่รอให้ลูก ๆ แสวงหาหนทางกลับไปหาพระองค์ (เพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกัน) แถมยังค่อยเอาใจช่วยในความพยายามของมนุษย์ผ่านการปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต และการทำมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า (recurrent/reincarnation) มากกว่าจะมานั่งตัดสินในวาระสุดท้ายเพียงแค่ครั้งเดียวว่าใครทำอะไรมาก่อนหน้านี้ และควรจะมีที่ไปยังไงหลังจากความตาย
คำถามของผมคือ ถ้าหากพระเจ้าสร้างมนุษย์จากความรัก และสร้างขึ้นตามแบบพระฉายของพระองค์ เป็นสิ่งที่ถูกสะท้อนให้เห็นเหมือนในเวลาที่เราเห็นภาพที่สะท้อนของตัวเราเองในกระจกเงา เหตุผลใดที่พระเจ้าจะเลือกทำลายสิ่งที่เหมือนกันกับพระองค์นี้ที่ตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อให้พระองค์ได้มี "ใคร" ที่นอกเหนือจากพระองค์ เพียงเพราะว่าพวกเขาได้รับสิ่งที่เรียกว่าเจตจำนงเสรีในการเลือกหนทางของตัวเอง ว่าสมควรแล้วที่จะต้องได้รับการลงทัณฑ์ แม้ว่าพวกเขาจะพยายามแล้วแม้ว่าจะเป็นในแบบฉบับของตัวเองโดยที่มันยังไม่อาจจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ตามที่พระเจ้าได้ตั้งใจไว้
เหมือนกันกับการขยำกระดาษจากหน้าสมุด เพียงเพราะแค่ตัวอักษรของการคัดลายมือนั้นยังไม่สวยงามมากพอ ทิ้งมันลงในกองไฟ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็มียางลบอยู่ในมือ
ส่วนตัวผมไม่ buy ไอเดียเรื่องนรกจริง ๆ ไม่ว่าจะในความเชื่อไหนก็ตาม เพราะว่าความทุกข์ในชีวิตจริง ดูจะเป็นกระบวนการในการยกระดับของตัวตนมากกว่าการอยู่ในสถานที่ ๆ มีแต่เปลวเพลิงที่ไม่อาจใครครวญและไตร่ตรองเพื่อการสร้างผลลัพธ์อะไรได้อีกต่อไป
#Siamstr
#ผมมาทางนี้ได้ไง