minseo on Nostr: เราเป็นใครในสมการนี้? ...
เราเป็นใครในสมการนี้?
มารู้จักหน้าที่ชาวเดฟในการพัฒนา Product กัน
content นี้เรามาสรุปสิ่งที่เรียนจากคอร์ส “Intro to Product Management” ของทาง Skooldio บวกกับประสบการณ์การทำงานจริง เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพในมุมของ developer มากขึ้น (เพราะในคอร์สจะเป็นมุม product manager แหละ)
ก่อนอื่นเลย เราคิดว่าทุกคนน่าจะทำ digital product กันเนอะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราทุกคน โดยตัว product เน้นไปที่การ focus ลูกค้า ด้วย technology และเป็นสิ่งที่ไม่มีวันทำจบ (นอกจากว่าด้าน business ไม่รอดจริง ๆ)
มารู้จักคนเบื้องหลัง product ผ่านภาพ Software Developer Life Cycle (SDLC) ซึ่งมีหลาย ๆ role ด้วยกัน
- Developer: เป็นคนสร้างของ โดยการ coding เพื่อให้ได้ product อันนี้มา ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็น web developer, mobile developer, backend developer หรืออะไรใด ๆ
- Product Manger: หน้าที่คือไป research ว่าปัญหาของลูกค้าคืออะไร และทำอะไรเพื่อตอบโจทย์ หรือแก้ pain point ของเขา
- UX Designer: มีหน้าที่ในการ focus user experience ว่า user ได้รับ value จาก product ของเราจากต้นจนจบ
- QA: ช่วย developer ตรวจสอบคุณภาพของ product
ใด ๆ คือแล้วแต่บริษัทนะ แล้วแต่ทีมนั้น ๆ
ส่วน scope งานบางอย่าง สำหรับ product manager และ product owner สำหรับเนื้องาน product manager ดูฝั่ง discover ด้านซ้าย ส่วนเนื้องานของ product owner ดูว่าเอาอะไรใน backlog เข้า sprint ให้เดฟทำดี จึงมองได้ว่าเป็น subset กัน
ในความจริง เรื่องเนื้องาน scope งานก็แล้ว บางทีรวมถึงชื่อตำแหน่ง ต่างกันไปในแต่องค์กรแหละ อย่างที่เราก็ไม่มีตำแหน่ง product owner แต่ทำหน้าที่เป็น product owner เลย บางที่คนที่เนื้องานเป็น product manager อาจจะเป็นชื่อตำแหน่งอื่นก็ได้งี้
ในส่วน UI UX ซึ่งบางที่มี UI Designer ที่ทำงานออกแบบ user interface ที่ตอบโจทย์ UX ด้วย แยกกัน หรือบางที่อาจจะมีตำแหน่ง UI/UX Designer ทำสองอย่างนี้รวมกัน
.
จากภาพเราพบว่าฟากฝั่งของ Product Manager อยู่ฝั่ง discover ค้นหาคำตอบว่าลูกค้า หรือ user ต้องการอะไร เริ่มจากรับ feedback จาก user มาก่อน บวกกับ vision ขององค์กร ก่อให้เกิดไอเดีย list สิ่งที่น่าจะทำใน idea backlog แล้ว product manager มาดูว่าอันนี้ตรงกับสิ่งที่ focus หรือ value ที่เราอยากส่งมอบให้กับ user ไหม อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่ทำได้ และคุ้มค่าที่จะทำจริง ๆ จนสุดท้ายออกมาเป็น validated backlog ให้ฝั่ง developer เอาไปทำงานต่อ
แล้วในภาพตกส่วน designer ใช่ม่ะ ตามความเข้าใจของเราเอง UX จะอยู่ในส่วนการได้ idea จาก user ผ่านการทำอะไรต่าง ๆ เช่น user interview, สังเกต user ในส่วน UI ก็น่าจะอยู่ในส่วนที่ได้ validate backlog ที่ทำ UI ของ user story นั้น ๆ และส่งให้เราผู้เป็น mobile developer ไปขึ้น UI
ฝั่ง developer นั้นอยู่ฟากฝั่ง delivery เราก็มีหน้าที่สร้างของให้กับ user โดยการเขียนโค้ค และมี QA ตรวจสอบคุณภาพโค้ดที่เราเขียน จนสุดท้ายได้ quality product เพื่อส่งต่อ value นี้ให้ user
.
โดย backlog คือ งานที่จะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย และจัดเรียงความสำคัญ มาจากเข้าใจมุมมองฝั่ง business และ pain point ของ user แล้วเอาไป validated ว่าอันไหนคุ้มค่าในการพัฒนาต่อ และตัว validated backlog นั้น เป็น input ของ product delivery อีกทีนึง
task ใหญ่ ๆ นั้นถูกแบ่งออกเป็นก้อนเล็ก ๆ เพื่อสื่อสารให้ทีมเห็นภาพ task นั้น ๆ ชัดขึ้น ว่าส่ง value อะไรไปบ้าง แล้วจัดเรียง priority เพื่อส่งต่อให้ user ได้เร็วขึ้น โดยส่วนย่อย ๆ นี้ เรียกว่า user story ซึ่งแบ่งตาม user value โดย 1 user story ต่อ 1 user value ถ้าทำ task นี้จบ user ก็รับ value ตรงนี้ที่เราตั้งใจส่งต่อให้ เช่น ให้ user สามารถสร้าง post ได้
และ product manager ใช้ Acceptance Criteria ในการสื่อสารกับ dev และ QA ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น (ซึ่งก็มาจาก Domain Driven Design แหละ ภาษาที่คุยกันทุกฝั่งรู้เรื่องและเข้าใจ โดยเน้นที่ value ที่ user จะได้รับ)
นอกจาก backlog จะมาจาก PM แล้ว สามารถมาจากฝั่ง developer และ QA ได้เช่นกัน โดยฝั่ง developer จะเป็นพวก technical work เพื่อเอาไป optimise ให้ product ของเราดีขึ้น และ QA เปิด ticket bug ให้เราแก้ อันเป็นหนึ่งในหน้าที่ของเขา
.
ระบบการทำงาน ทำงานแบบ Agile และส่วนใหญ่มาแบบ Scrum กัน มีพิธีการต่าง ๆ อย่าง sprint grooming, sprint planning, daily sync-up, sprint review, retrospective
cycle ในการทำงานเราจะแบ่งเป็น sprint ซึ่งส่วนใหญ่ sprint ละ 2 weeks กัน
.
เมื่อเราทำ value นั้น ๆ ในแต่ละรอบเสร็จ ก็จะส่งบิ้วแอพ หลังจากนั้นหน้าที่ developer ก็อาจจะแก้ crashlytics ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนหน้าที่ในการวัดผลเป็นหน้าที่ของ product manager ซึ่งฝั่ง developer ก็ติด tracking ใด ๆ ไปให้ทางนั้นเรียบร้อยแล้ว ทางนี้ลับลู้แค่เขียนโค้ด 555
.
ถ้าเรียนคอร์สนี้จบ แนะนำเรียนคอร์สไหนต่อ?
ส่วนตัวมองว่าน่าจะเป็น Software Architecture Design เพราะมีเรื่อง Domain Driven Design ในการใช้ภาษาเดียวกัน เพื่อสื่อสารกับมนุษย์ทีมอื่น ๆ ให้เข้าใจตรงกันได้ แล้วก็ Agile Essentials เนอะ
#siamstr
มารู้จักหน้าที่ชาวเดฟในการพัฒนา Product กัน

content นี้เรามาสรุปสิ่งที่เรียนจากคอร์ส “Intro to Product Management” ของทาง Skooldio บวกกับประสบการณ์การทำงานจริง เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพในมุมของ developer มากขึ้น (เพราะในคอร์สจะเป็นมุม product manager แหละ)
ก่อนอื่นเลย เราคิดว่าทุกคนน่าจะทำ digital product กันเนอะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราทุกคน โดยตัว product เน้นไปที่การ focus ลูกค้า ด้วย technology และเป็นสิ่งที่ไม่มีวันทำจบ (นอกจากว่าด้าน business ไม่รอดจริง ๆ)
มารู้จักคนเบื้องหลัง product ผ่านภาพ Software Developer Life Cycle (SDLC) ซึ่งมีหลาย ๆ role ด้วยกัน
- Developer: เป็นคนสร้างของ โดยการ coding เพื่อให้ได้ product อันนี้มา ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็น web developer, mobile developer, backend developer หรืออะไรใด ๆ
- Product Manger: หน้าที่คือไป research ว่าปัญหาของลูกค้าคืออะไร และทำอะไรเพื่อตอบโจทย์ หรือแก้ pain point ของเขา
- UX Designer: มีหน้าที่ในการ focus user experience ว่า user ได้รับ value จาก product ของเราจากต้นจนจบ
- QA: ช่วย developer ตรวจสอบคุณภาพของ product
ใด ๆ คือแล้วแต่บริษัทนะ แล้วแต่ทีมนั้น ๆ
ส่วน scope งานบางอย่าง สำหรับ product manager และ product owner สำหรับเนื้องาน product manager ดูฝั่ง discover ด้านซ้าย ส่วนเนื้องานของ product owner ดูว่าเอาอะไรใน backlog เข้า sprint ให้เดฟทำดี จึงมองได้ว่าเป็น subset กัน
ในความจริง เรื่องเนื้องาน scope งานก็แล้ว บางทีรวมถึงชื่อตำแหน่ง ต่างกันไปในแต่องค์กรแหละ อย่างที่เราก็ไม่มีตำแหน่ง product owner แต่ทำหน้าที่เป็น product owner เลย บางที่คนที่เนื้องานเป็น product manager อาจจะเป็นชื่อตำแหน่งอื่นก็ได้งี้
ในส่วน UI UX ซึ่งบางที่มี UI Designer ที่ทำงานออกแบบ user interface ที่ตอบโจทย์ UX ด้วย แยกกัน หรือบางที่อาจจะมีตำแหน่ง UI/UX Designer ทำสองอย่างนี้รวมกัน
.
จากภาพเราพบว่าฟากฝั่งของ Product Manager อยู่ฝั่ง discover ค้นหาคำตอบว่าลูกค้า หรือ user ต้องการอะไร เริ่มจากรับ feedback จาก user มาก่อน บวกกับ vision ขององค์กร ก่อให้เกิดไอเดีย list สิ่งที่น่าจะทำใน idea backlog แล้ว product manager มาดูว่าอันนี้ตรงกับสิ่งที่ focus หรือ value ที่เราอยากส่งมอบให้กับ user ไหม อีกทั้งมีเทคโนโลยีที่ทำได้ และคุ้มค่าที่จะทำจริง ๆ จนสุดท้ายออกมาเป็น validated backlog ให้ฝั่ง developer เอาไปทำงานต่อ
แล้วในภาพตกส่วน designer ใช่ม่ะ ตามความเข้าใจของเราเอง UX จะอยู่ในส่วนการได้ idea จาก user ผ่านการทำอะไรต่าง ๆ เช่น user interview, สังเกต user ในส่วน UI ก็น่าจะอยู่ในส่วนที่ได้ validate backlog ที่ทำ UI ของ user story นั้น ๆ และส่งให้เราผู้เป็น mobile developer ไปขึ้น UI
ฝั่ง developer นั้นอยู่ฟากฝั่ง delivery เราก็มีหน้าที่สร้างของให้กับ user โดยการเขียนโค้ค และมี QA ตรวจสอบคุณภาพโค้ดที่เราเขียน จนสุดท้ายได้ quality product เพื่อส่งต่อ value นี้ให้ user
.
โดย backlog คือ งานที่จะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย และจัดเรียงความสำคัญ มาจากเข้าใจมุมมองฝั่ง business และ pain point ของ user แล้วเอาไป validated ว่าอันไหนคุ้มค่าในการพัฒนาต่อ และตัว validated backlog นั้น เป็น input ของ product delivery อีกทีนึง
task ใหญ่ ๆ นั้นถูกแบ่งออกเป็นก้อนเล็ก ๆ เพื่อสื่อสารให้ทีมเห็นภาพ task นั้น ๆ ชัดขึ้น ว่าส่ง value อะไรไปบ้าง แล้วจัดเรียง priority เพื่อส่งต่อให้ user ได้เร็วขึ้น โดยส่วนย่อย ๆ นี้ เรียกว่า user story ซึ่งแบ่งตาม user value โดย 1 user story ต่อ 1 user value ถ้าทำ task นี้จบ user ก็รับ value ตรงนี้ที่เราตั้งใจส่งต่อให้ เช่น ให้ user สามารถสร้าง post ได้
และ product manager ใช้ Acceptance Criteria ในการสื่อสารกับ dev และ QA ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น (ซึ่งก็มาจาก Domain Driven Design แหละ ภาษาที่คุยกันทุกฝั่งรู้เรื่องและเข้าใจ โดยเน้นที่ value ที่ user จะได้รับ)
นอกจาก backlog จะมาจาก PM แล้ว สามารถมาจากฝั่ง developer และ QA ได้เช่นกัน โดยฝั่ง developer จะเป็นพวก technical work เพื่อเอาไป optimise ให้ product ของเราดีขึ้น และ QA เปิด ticket bug ให้เราแก้ อันเป็นหนึ่งในหน้าที่ของเขา
.
ระบบการทำงาน ทำงานแบบ Agile และส่วนใหญ่มาแบบ Scrum กัน มีพิธีการต่าง ๆ อย่าง sprint grooming, sprint planning, daily sync-up, sprint review, retrospective
cycle ในการทำงานเราจะแบ่งเป็น sprint ซึ่งส่วนใหญ่ sprint ละ 2 weeks กัน
.
เมื่อเราทำ value นั้น ๆ ในแต่ละรอบเสร็จ ก็จะส่งบิ้วแอพ หลังจากนั้นหน้าที่ developer ก็อาจจะแก้ crashlytics ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนหน้าที่ในการวัดผลเป็นหน้าที่ของ product manager ซึ่งฝั่ง developer ก็ติด tracking ใด ๆ ไปให้ทางนั้นเรียบร้อยแล้ว ทางนี้ลับลู้แค่เขียนโค้ด 555
.
ถ้าเรียนคอร์สนี้จบ แนะนำเรียนคอร์สไหนต่อ?
ส่วนตัวมองว่าน่าจะเป็น Software Architecture Design เพราะมีเรื่อง Domain Driven Design ในการใช้ภาษาเดียวกัน เพื่อสื่อสารกับมนุษย์ทีมอื่น ๆ ให้เข้าใจตรงกันได้ แล้วก็ Agile Essentials เนอะ
#siamstr