journaling_our_journey on Nostr: ...

เวลาที่เราใช้ชีวิตอยู่ใกล้ๆกับคนที่ happy มีความสุข เราก็มีแนวโน้มที่จะ happy มีความสุขมากขึ้นไปด้วย
.
.
.
ในทางกลับกัน เวลาที่เราใช้ชีวิตอยู่ใกล้ๆกับคนที่อมทุกข์ เราก็มีแนวโน้มที่จะทุกข์ใจง่ายขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
.
.
.
แต่ทีนี้ หากเราเป็นคนที่อมทุกข์ และเราคบกับแฟนที่เป็นคน happy มีความสุข
.
.
.
มันจะเกิดอะไรขึ้น?
.
.
.
ออร่าความอมทุกข์ของเราจะมีผลกับแฟนมากกว่า หรือออร่าความ happy ของแฟนจะมีผลกับเรามากกว่า?
.
.
.
สิ่งที่นักจิตวิทยาค้นพบคือออร่าความอมทุกข์ของเราจะมีผลกับแฟนมากกว่า เมื่อเทียบกับออร่าความ happy ของแฟนครับ
.
.
.
นั่นเป็นเพราะว่า โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เรา “ไว” กับความทุกข์มากกว่าความสุข (นักจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า negativity bias)
.
.
.
ด้วยเหตุนี้ ความทุกข์ของเราจึง “กระจายตัว” ไปสู่แฟนได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการที่ความสุขของแฟนจะ “กระจายตัว” มาสู่ตัวเรา
.
.
.
คำถามสำคัญก็คือ
.
.
.
มีอะไรที่เราสามารถทำได้เพื่อที่จะป้องกันการ “กระจายตัว” ของความทุกข์ภายในความสัมพันธ์ไหม?
.
.
.
คำตอบก็คือ…มีครับ
.
.
.
.
.
.
สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้คือการจำกัดเวลาในการพูดคุยถึงเรื่องแย่ๆในแต่ละวันกับแฟน
.
.
.
ยกตัวอย่างเช่น
.
.
.
เวลาที่เราอยาก “ระบาย” กับแฟนในเรื่องที่เรารู้สึกไม่พอใจคนในที่ทำงาน เราอาจจะกำหนดไว้ว่า เราจะ “ระบาย” เรื่องนี้กับแฟนเป็นระยะเวลาไม่เกิน 20 นาทีเท่านั้น
.
.
.
หลังจากที่เรา “ระบาย” เรื่องนี้กับแฟนครบ 20 นาทีแล้ว ต่อให้ใจเราจะอยาก “ระบาย” กับแฟนต่อ แต่เราก็จะเก็บมันไว้ในใจ (เพราะมันหมด “โควตา” ของวันนี้แล้ว)
.
.
.
และถ้าเราต้องการ เราค่อยหยิบเรื่องนี้มา “ระบาย” กับแฟนต่อในวันพรุ่งนี้อีก 20 นาทีแทน
.
.
.
เป็นต้น
.
.
.
นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้คือการพูดถึงสิ่งดีๆกับแฟนในทุกๆวัน (ต่อให้สิ่งดีๆที่ว่านั้นมันจะดู “เล็กน้อย” แค่ไหนก็ตาม)
.
.
.
ยกตัวอย่างเช่น
.
.
.
“ขอบคุณนะที่ขับรถมาหาฉัน”
“ฉันเห็นเธอออกกำลังกายสม่ำเสมอแบบนี้แล้ว ฉันก็รู้สึกอยากจะฮึดออกกำลังกายให้ได้แบบเธอบ้าง”
“ฉันชอบที่เธอคอยถามฉันว่า ในแต่ละวัน ฉันเป็นยังไงบ้าง”
.
.
.
เป็นต้น
.
.
.
ยิ่งไปกว่านั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้คือการหมั่นวางแผนที่จะทำกิจกรรมที่น่าสนใจ สนุกสนาน และผ่อนคลายร่วมกันในอนาคตอย่างสม่ำเสมอ
.
.
.
ยกตัวอย่างเช่น
.
.
.
ไปดูหนังด้วยกัน
ไปเดินป่าด้วยกัน
ไปกินอาหารร้านเด็ดด้วยกัน
ไปดูคอนเสิร์ตด้วยกัน
ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ด้วยกัน
.
.
.
เป็นต้น
.
.
.
.
.
.
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อป้องกันการ “กระจายตัว” ของความทุกข์ภายในความสัมพันธ์ที่เรามีกับแฟนของเราครับ
.
.
.
แหล่งอ้างอิง
https://doi.org/10.1177/19485506231207673
https://doi.org/10.1016/j.paid.2017.12.003
#จิตวิทยา #siamstr