What is Nostr?
Somnuke
npub1xzh…e7dt
2024-03-02 11:08:14

Somnuke on Nostr: ...

คนปกติที่ไหนเขาวัดความมั่งคั่งร่ำรวยจากแค่รายจ่ายกัน?? แล้วทำไมประเทศถึงต้องวัดแบบนั้น?

รายได้แค่ครึ่งเดียวของรายจ่าย ถือว่ารวยมั้ย?
.
"เฮียนี่รวยจังเลยนะครับ ใช้จ่ายเดือน 2-3 แสน"
"อ๋อ รายได้กุแค่แสนเดียว ที่เหลือกู้มาอ่ะ พอดีเอาที่ดินที่พ่อแม่หามาอย่างยากลำบากไปค้ำ แล้วแบงก์ก็ดันให้กู้เฉย โชคดีจังเล้ย อิอิ ของมันต้องมี"
.
จริงๆ รายจ่ายก็พอเอามาวัดความร่ำรวยได้แหละ เดี๋ยวนี้หลายคนก็ฮิตกัน ฉากหน้าต้องต้องหรูหราไว้ก่อน แม้เบื้องหลังรายได้จะติดลบก็ช่างมัน
.
แต่คิดดีๆ มันคือความร่ำรวยแบบเปลือกๆ ไม่ใช่เหรอ ร่ำรวยจากการดึงเงินในอนาคตมาใช้จนแทบจะไม่เหลืออนาคตอยู่แล้ว มองไม่ออกเลยรึไงอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้
.
เรามองเห็นเขาแค่ความหรูหราภายนอก ก็ย่อมมองว่าเขารวย แต่ถ้าเราเห็นเบื้องหลังว่าหมอนี่หนี้ล้นพ้นตัว ที่หรูทุกวันนี้เพราะเอาเงินในอนาคตมาใช้ทั้งนั้น
.
เราจะมองว่าเขารวยอีกมั้ย...คงไม่
ก็เล่นใช้จ่ายเกินปัญญาในการสร้างรายได้ หนี้พอกขึ้นทุกวัน มันต้องจบที่การล้มละลาย
.
แล้วทำไมการวัดความร่ำรวยของ "ประเทศ" ถึงทำแบบนั้น????
.
หลายคนอาจมึนงงสับสนกับการคำนวณตัวเลขและตัวเลขศัพท์แสงเวิ่นเว้อทางเศรษฐกิจที่ดูซับซ้อนชิบหาย อ่านไปขมวดคิ้วไป อะไรของมันวะ การเงินมันควรเป็นอะไรที่เข้าถึงยากขนาดนั้นเลยรึ
.
แต่โลกเราวัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศกันแบบนั้นจริงๆ "ยิ่งค่าใช้จ่ายเยอะยิ่งถือว่าดี" รายได้น้อยกว่ารายจ่ายเสมอ หนี้มันไม่เคยลด มีแต่เพิ่มมากขึ้นๆ
.
ทุกประเทศในโลก จะวัดความมั่งคั่งร่ำรวยจาก "การใช้จ่าย" ตามหลักที่เรียกว่า GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จะวัดต่อหัวก็เติม per capita เข้าไป)
.
หลักการของมันไม่มีอะไรเลย คือ วัดมูลค่าประเทศจากค่าใช้จ่าย 4 ส่วน รายได้ 1 ส่วน โดยทุกประเทศล้วน "ติดลบ" รายจ่ายจะมากกว่ารายได้เสมอ
.
จริงเหรอ? มาไล่ดูรายละเอียดกัน
.
สมการ GDP ตามหลักเคนเซี่ยนที่ถูกใช้เป็นมาตรของทั้งโลก จะประกอบด้วย

C+I+G+(x-m)
C = Consumer *รายจ่าย*เพื่อบริโภคของประชาชน - ประชาชนบริโภคมาก มีกำลังซื้อมาก มีรายได้มาก
I = Investment *รายจ่าย*เพื่อการลุงทุนของเอกชน - เอกชนลงทุนมาก เศรษฐกิจก็เติบโต
G = Government spending *รายจ่าย*ของรัฐบาล
- รัฐไหนใช้จ่ายมากแสดงว่ารวยมาก
(x-m) = Export - Import *รายจ่าย*สุทธิจากต่างประเทศ- ส่งออกมากๆ เพื่อชดเชยการนำเข้า สุดท้ายติดลบเสมอ ติดลบมากดีมีตังค์ซื้อเยอะ
.
เกณฑ์การวัดความมั่งคั่งเป็นแบบนี้ ทีนี้เราลองมาดูกันครับว่า "ความจริง" มันเกิดอะไรขึ้น
.
1. C = การบริโภค - ประชาชนยิ่งเอาเงินออกมาใช้มากยิ่งดี รัฐและสถาบันการเงินจะคอยกระตุ้นประชาชนใช้เงินฟุ่มเฟือยเกินตัว ถ้าเป็นเพราะประชาชนหาเงินได้เยอะก็ดี แต่....

สมการมันไม่สนแหล่งที่มาของเงิน จะกู้ จะจำนำ จะเอาทรัพย์สินไปขายก็ได้ทั้งหมด หาเงินได้เท่าไรใช้ให้เกินกว่านั้นได้ยิ่งดี เพราะมันวัดแค่ "ยิ่งเยอะเท่าไรยิ่งเจริญ"แค่นั้น

ผลของมันคือค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของผู้คนหมดไปกับสิ่งที่ฉาบฉวย ตอบสนองความฟินระยะสั้นและไม่ได้สร้างมูลค่าในอนาคต ไม่นานคุณค่ามันก็สูญสลายแล้วก็ต้องหาเงินเยอะๆ มาใช้ใหม่ วนลูป
.
2. I = การลงทุกภาคเอกชน - รัฐอัดฉีดเม็ดเงินสร้างง่ายให้เอกชนเอาไปใช้จ่ายทิ้งๆ ขว้างๆ ธุรกิจเอกชนลงทุนผิดพลาด เม็ดเงินที่ใช้จ่ายไปไร้ผลตอบแทน เหลือทิ้งไว้แค่หนี้ก้อนโตที่ต้องที่ต้องผ่อนจ่ายที่โยนขี้ไว้ให้นักลงทุนต้องรับมัน

ยังไม่นับกลไกที่ซับซ้อนกว่านั้นอย่างการสร้าง หนี้ซ้อนหนี้ โดยเอาสินทรัพย์ที่เป็นหนี้ เช่น เงินกู้ ตราสารหนี้ต่างๆ ไปวางค้ำประกันเพื่อขอเงินกู้เพิ่ม สร้างหนี้จนถึงจุดที่ไม่สามารถขำระคืนได้ และวันนึงมันจะค้องพัง หลายๆ บริษัทกำลังตกอยู่ภาวะนี้
.
3. G = การลงทุนภาครัฐ - ประชาชนต้องจ่ายค่าคุ้มครองให้กับระบบบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพที่สุด ภาครัฐใช้จ่ายเลอะเทอะเสมอ (อย่างที่เป็นอยู่) สักแต่จะใช้ ผลลัพธ์ไม่เคยคุ้มค่า เงินไม่พอใช้ก็ไปกู้มาเพิ่ม โดยเอาประเทศและประชาชนค้ำประกัน

อะไรควรใช้ไม่ใช้ อะไรไม่ควรก็ใช้จัง โยนทิ้งเม็ดเงินที่สูบมาจากประชาชนในแบบที่ประชาชนแทบไม่ได้รับประโยชน์กลับมา กว่าครึ่งใช้ไปกับค่าจ้างให้กับระบบการทำงานที่ล้มเหลว

อีกก้อนมโหฬารก็ทำสูญหายไประหว่างทาง จากช่องโหว่ที่เอื้อให้ทุจริตทุกหย่อมหญ้า เอาไปเพิ่มอัตราการจ้างงานปลอมๆ เพื่อกดตัวเลขการว่างให้ต่ำแบบปลอม ๆ ช่วยเหลือแบบปลอมๆ และพัฒนาแบบปลอมๆ กว่ามันจะถึงมือประชาชนก็เหลือแค่ 10-20%

ทำอะไรหวังผลระยะสั้นเพราะระยะยาวเดี๋ยวคนจะไม่เห็น เลือกตั้งครั้งหน้าคนไม่เลือกทำไง ปากโม้ไปเรื่อยว่าทำเพื่อประชาชน แต่จริงๆ ทำทุกอย่างเพื่อให้อีก 4 ปีคนจะยังเลือกเราและผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ส่วนอนาคตประเทศระยะยาวจะเป็นยังไงก็ช่าง ประเทศจะฉิบหายยังไงก็ช่าง ไม่เห็นต้องรับผิดชอบอะไรนี่
.
4. x = การส่งออก - อยากรวยจนตัวสั่นพร้อมรับข้อเสนอโดยไม่สนหินสนแดด หลายๆ การกระทำพินิจมุมไหนก็มีแต่เสียกับเสีย โดนล่อลวงด้วยผลประโยชน์จากชาติยักษ์ใหญ่จนโงหัวไม่ขึ้น ปล่อยให้เขาเข้ามาปล้นเราง่ายๆ โดยที่ประชาชนเสียประโยชน์ เอ....แล้วใครได้?

พาประเทศชาติตกอยู่ภายใต้สัญญาทาสโดยไม่รู้ตัว ให้มุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่มหาอำนาจต้องการในราคาแสนถูก ปล่อยให้เขาเข้ามาสูบทรัพยากรอันล้ำค่าของประเทศแบบหน้าตาเฉย ลดการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเพื่อการส่งออกให้มากที่สุด แต่เกษตรกรและแรงงานจนเหมือนเดิม มีแต่ท่านและพวกพ้องนั่นแหละที่ร่ำรวยขึ่น คนทั้งชาติเสียหาย รัฐกลับประกาศอย่างภาคภูมิใจว่าเราประสบผลสำเร็จ เศรษฐกิจเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้
.
5. m = การนำเข้า - เมื่อถูกชักจูงให้สินค้าส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศคือการผลิตเพื่อส่งออก สินค้าที่ผู้คนต้องกินต้องใช้ก็ขาดแคลน จำต้องซื้อสินค้าจากประเทศอื่นเข้ามาเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค (โดยที่ประเทศร่ำรวยซื้อปัจจัยการผลิตจากเราถูก ๆ เอาไปผลิตและส่งกลับมาขายเราแพง ๆ นี่แหละ) และรัฐก็ประกาศอย่างมั่นหน้ามั่นโหนกว่าตัวเลขการนำเข้าพุ่งสูงขึ้นทำให้ GDP เติบโต สะท้อนว่าประชาชนอยู่ดีกินดี แฮปปี้ซู๊ด ๆ
.
ลูปนรกนี้ส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไปประเทศด้อยพัฒนาก็เข้าสู่สถานะไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยสมบูรณ์ ไม่อนุญาตให้เกิดอุบัติเหตุหรือภาวะฉุกเฉินใด ๆ เพราะเมื่อชักหน้าไม่ถึงหลัง ประเทศขาดสภาพคล่อง ก็จะไม่มีเงินไปนำเข้าสินค้าและจ่ายต้นจ่ายดอกจากหนี้ที่ก่อไว้
.
ประชาชนก็ทยอยตกอยู่ในสถานะอดอยากปากแห้งไม่มีจะแดก และขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต
แบบ " ฉับพลัน" สินค้าส่วนนึงที่ไหลเข้ามาในประเทศก็จะถูกแย่งกินแย่งใช้จนราคาพุ่งสูงไปไกล สถานะของสกุลเงินชาติก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ
.
จะเห็นว่า GDP โตสูงมากไม่ได้หมายความว่าประเทศเจริญรุ่งเรืองมาก แต่มันหมายถึงการสร้างภาระค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งต้องมานั่งดูว่า เศรษฐกิจเติบโตสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือเป็นเพียงการใช้จ่ายเกินตัว สุรุ่ยสุร่าย ไร้ประโยชน์ เพื่อให้ตัวเลขดูดีได้แค่สั้นๆ และสร้างหายนะในระยะยาว
.
สมการเหล่านี้ ไม่มีการให้ความสำคัญกับ "รายได้" เลยแม้แต่นิด การวัดความร่ำรวยมั่งคั่งด้วยการดูว่าใช้จ่ายเงินไปเท่าไร สร้างประโยชน์มั้ยหรือใช้ฟุ่มเฟือยทิ้งขว้าง โดยที่รายได้ "ติดลบ" มโหฬาร และดูเหมือนจะติดลบมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าประเทศเปรียบเป็นสถานะคนๆ นึง คิดว่ามันจะรอดมั้ยล่ะครับ?
.
รากฐานแห่งความเจริญรุ่งเรืองของ "ยุคทอง" ต่างๆ ในประวัติศาสตร์จองมนุษยชาติ มาจากการ "ออม" โว้ย ไม่ใช่ "หนี้"

ถ้าการสร้างหนี้ไม่รู้จบมันดี แล้วทำไมคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ถึงเลวลงทุกวัน เอาเวลาทั้งวันไปทำงาน เพียงเพื่อจะมีชีวิตแบบเดือนชนเดือนไปจนตาย

สำหรับใครที่มีรายได้ที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี สร้างทรัพย์สมบัติได้ ในยุค Hard Mode นี้ โดยที่ไม่ได้พึ่งพาสิ่งที่พ่อแม่สร้างมา คุณเก่งมากๆ ครับ ถือเป็นคนกลุ่มน้อยสุดๆ ในสังคม แต่คนส่วนใหญ่กำลังดิ้นรนกันอย่างหนักจริงๆ ขยันแล้ว ประหยัดแล้ว แต่ยังไงมันก็ไม่พออยู่ดี
#Siamstr
Author Public Key
npub1xzh2kqynr29x6j3ln6x05f26ha0c0ucfr280uzljftlgcthv9r6skqe7dt