Wichit Saiklao on Nostr: ลิงค์ดูย้อนหลังตอนสุดท้ายของ ...
ลิงค์ดูย้อนหลังตอนสุดท้ายของ Open lecture series #สันดานนักล่า 4/4
https://youtu.be/jv5D4H96cI4
ในยุคสังคมดิจิตอล พวกเราจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่แพลตฟอร์มต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีโครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์ โดยสมาชิกต่างต้องใช้ความเชื่อใจว่า admin ของระบบไม่ใช้อำนาจไปในทางที่ผิด admin ของแพลตฟอร์มจะไม่เอาเปรียบพลเมืองหรือสมาชิกของตัวเอง
เราต่างรู้ดีว่าจุดอ่อนของ Trust-based model คือ คนในศูนย์กลางมักใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นสังคม online หรือ สังคมoffline ก็ไม่ต่างกัน
Soft war protocol จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธในยุคสังคมดิจิตอลเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของตัวเองใน Cyberspace
Soft war protocol เป็นระบบที่ based on truth/real แทนที่จะ based on trust
ถึงเราจะหลีกเลี่ยงโครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์ไม่ได้ แต่อย่างน้อยพลเมืองทุกคนควรมีสิทธิ์เข้าถึง Soft war protocol เพื่อปกป้องตัวเองในโลกไซเบอร์ นอกจากนี้โปรโตคอลตัวนี้ยังเป็นการควบคุมผู้นำในทางอ้อมให้อยู่กับร่องกับรอย (grounded) ทั้งในด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ต้องปรับให้มัน based on sound economic principles มากขึ้น
หากเราไม่สามารถเข้าถึง Soft war protocol เพื่อปกป้องตัวเองใน Cyberspace สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจในส่วนกลาง ในสังคมออนไลน์สมาชิกจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเล็กๆ ตามความเชื่อ และความสนใจเฉพาะด้านของแต่ละกลุ่ม แต่ในบางครั้งอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มที่หวังผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากไป จนเกินกรอบความพอดีของศีลธรรมและจริยธรรมอันดีงาม สามารถสร้างความเสียหาย สร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่ไม่สงบสุขได้
ในทางตรงกันข้ามหาก Cyberspace adopt soft war protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ based on truth โปรโตคอลที่ตั้งอยู่บนหลักการที่เป็นจริง สิทธิส่วนบุคคลจะได้รับการปกป้อง ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างพลเมืองด้วยกันจะเพิ่มสูงขึ้น การประสานความร่วมมือจะมีมากขึ้น กว้างขึ้นและลึกขึ้น สังคมไหนที่คนมีความสามัคคีกัน สังคมนั้นก็จะมีความศิวิไลซ์ มั่นคงและยั่งยืน
...จนกว่าเราจะเจอกันอีกในซีรี่ย์ต่อไป ขอบคุณครับ
#siamstr
https://youtu.be/jv5D4H96cI4
ในยุคสังคมดิจิตอล พวกเราจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่แพลตฟอร์มต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีโครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์ โดยสมาชิกต่างต้องใช้ความเชื่อใจว่า admin ของระบบไม่ใช้อำนาจไปในทางที่ผิด admin ของแพลตฟอร์มจะไม่เอาเปรียบพลเมืองหรือสมาชิกของตัวเอง
เราต่างรู้ดีว่าจุดอ่อนของ Trust-based model คือ คนในศูนย์กลางมักใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นสังคม online หรือ สังคมoffline ก็ไม่ต่างกัน
Soft war protocol จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธในยุคสังคมดิจิตอลเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของตัวเองใน Cyberspace
Soft war protocol เป็นระบบที่ based on truth/real แทนที่จะ based on trust
ถึงเราจะหลีกเลี่ยงโครงสร้างอำนาจแบบรวมศูนย์ไม่ได้ แต่อย่างน้อยพลเมืองทุกคนควรมีสิทธิ์เข้าถึง Soft war protocol เพื่อปกป้องตัวเองในโลกไซเบอร์ นอกจากนี้โปรโตคอลตัวนี้ยังเป็นการควบคุมผู้นำในทางอ้อมให้อยู่กับร่องกับรอย (grounded) ทั้งในด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ต้องปรับให้มัน based on sound economic principles มากขึ้น
หากเราไม่สามารถเข้าถึง Soft war protocol เพื่อปกป้องตัวเองใน Cyberspace สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจในส่วนกลาง ในสังคมออนไลน์สมาชิกจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยเล็กๆ ตามความเชื่อ และความสนใจเฉพาะด้านของแต่ละกลุ่ม แต่ในบางครั้งอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มที่หวังผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากไป จนเกินกรอบความพอดีของศีลธรรมและจริยธรรมอันดีงาม สามารถสร้างความเสียหาย สร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่ไม่สงบสุขได้
ในทางตรงกันข้ามหาก Cyberspace adopt soft war protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ based on truth โปรโตคอลที่ตั้งอยู่บนหลักการที่เป็นจริง สิทธิส่วนบุคคลจะได้รับการปกป้อง ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างพลเมืองด้วยกันจะเพิ่มสูงขึ้น การประสานความร่วมมือจะมีมากขึ้น กว้างขึ้นและลึกขึ้น สังคมไหนที่คนมีความสามัคคีกัน สังคมนั้นก็จะมีความศิวิไลซ์ มั่นคงและยั่งยืน
...จนกว่าเราจะเจอกันอีกในซีรี่ย์ต่อไป ขอบคุณครับ
#siamstr