What is Nostr?
Suk13
npub1cax…zan7
2024-01-31 11:45:23

Suk13 on Nostr: ...


### นิทานยามบ่าย
เรื่อง : คุณครูพันธุ์หายาก

*Caution : เขียนจากจินตนาการ, เรื่องจริงหรือ fact. ถ้าอยากได้ไปหาเอาจากที่อื่น

-

คุณครู : นักเรียน..ธุรกิจอะไรเอ่ยที่ทำแล้วรวยที่สุดในโลก?

นักเรียน 1 : อสังหาครับ

นักเรียน 2 : ธุรกิจ logistic ครับ

นักเรียน 3 : ธุรกิจธนาคารครับ

นักเรียน 4 : ธุรกิจส่งออกอาหารครับ

นักเรียน 5 : ธุรกิจทางการแพทย์ครับ

นักเรียน 6 : ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมครับ

นักเรียน 7 : ธุรกิจขายน้ำมัน

นักเรียน 8 : ธุรกิจทางด้านการเงิน

คุณครู : ทุกคนตอบผิดหมดเลย

นักเรียน(รวม) : โถ่...ทำไมไม่มีคนถูกเลย

นักเรียน 7 : ขายน้ำมันน่าจะรวยสุดแล้วนะครับครู ดูพวกแขกอาหรับสิครับ

คุณครู : เอิ่ม... งั้นครูจะเฉลยแล้วน้า...

คุณครู : ทาดา~ “ธุรกิจส่งออกเงินเฟ้อยังไงละจ๊ะ”

นักเรียน(รวม) : หา...

คุณครู : การที่ประเทศมีสกุลเงินหลักที่ถูกใช้เป็นรีเสิร์ฟ/เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ประเทศอื่น ๆ จะต้องใช้เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อการนำเข้า-ส่งออกสินค้า เพราะว่าเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูง มีความน่าเชื่อถือ พวกเขาจะได้เปรียบประเทศอื่น ๆ อย่างมากจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินได้ตามใจชอบ

นักเรียน 1 : แล้วประเทศที่มีสกุลเงินหลักของโลก จะร่ำรวยจากการทำธุรกิจส่งออกเงินเฟ้อได้ยังไงครับครู?

คุณครู : นั่นแหละเคล็ดลับจ่ะ... เวลาที่ประเทศอื่น ๆ เอาสกุลเงินหลักไปถือครองเอาไว้ เพื่อที่จะได้ผลิตเงินท้องถิ่นใช้กันในประเทศ ใช้เพื่อเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ใช้เพื่อนำเข้า-ส่งออก ทุก ๆ ครั้งที่สกุลเงินหลักเป็นที่ต้องการมากขึ้นมันจะเริ่มขาดสภาพคลองเนื่องจากมีปริมาณของเงินที่ไม่เพียงพอกับหลาย ๆ ประเทศในโลก

ตอนนั้นแหละที่ประเทศเจ้าของสกุลเงินหลักของโลก จะผลิตเงินของพวกเขาเพิ่มเพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้มีปริมาณเงินที่จะหมุนเวียนอยู่ในระบบอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน

ดังนั้นนอกจากประเทศเจ้าของสกุลเงินหลักจะมีปริมาณเงินของตัวเองเพิ่มขึ้นแล้ว ด้วยปริมาณของเงินที่ถูกผลิตเพิ่มจะส่งผลให้มูลค่าของเงินนั้นลดลง เราเรียกว่า ”การเฟ้อเงิน“ จะทำลายมูลค่าของเงินในประเทศที่กำลังถือสกุลเงินหลักลงด้วย

ดังนั้นเมื่อประเทศที่ค่าเงินมีมูลค่าลดลงต่อราคาสินค้า พวกเข้าจะต้องจ่ายค่านำเข้าสินค้าที่แพงขึ้น ในขณะที่การส่งออกจะต้องปรับราคาสินค้าให้แพงขึ้นตาม ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการส่งออก ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศขาดสภาพคล่องของสกุลเงินหลักและทุนสำรองของประเทศ

และเนื่องจากภาคของการผลิตจะต้องใช้พลังงาน ประเทศที่มีภาคการผลิตและส่งออกสินค้า จะต้องมีการนำเข้าพลังงานที่ซื้อขายกันเฉพาะสกุลเงินหลักเท่านั้น ดังนั้นเมื่อค่าเงินของสกุลเงินหลักที่พวกเขาถือครองเอาไว้เสื่อมมูลค่าจากการเพิ่มปริมาณเงินเข้ามาในระบบ จากการผลิตเงินเพิ่มของเจ้าของสกุลเงินหลัก พวกเขาจะต้องออกไปหาเงินสกุลเงินหลักให้เพียงพอสำหรับการซื้อพลังงานเพื่อนำมาใช้ภายในประเทศ

ดังนั้นประเทศที่ภาคการส่งออกไม่แข็งแรงพอที่จะหาสกุลเงินหลักเพิ่มขึ้นได้จากการส่งออกสินค้า จะต้องออกไปกู้ยืมเงินสกุลเงินหลักเพื่อนำมาใช้ในการนำเข้าพลังงาน

เมื่อมีการกู้ยืมเงินเกิดขึ้น นักเรียนคิดว่าเงินที่ประเทศเจ้าของสกุลเงินที่จะให้กู้ยืม จะเอาเงินมาจากที่ไหนจ๊ะ?

นักเรียน 8 : ให้ประเทศอื่นกู้ยืมจากเงินทุนสำรองภายในประเทศ ของประเทศเจ้าของสกุลเงินเหรอครับ?

คุณครู : ผิดอีกแล้วจ่ะ... เมื่อหนี้คือสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง ดังนั้นประเทศที่ออกสกุลเงินหลักจึงสามารถที่จะนำยอดหนี้จากประเทศผู้กู้ นำมันไปเป็นหลักประกันเพื่อที่จะผลิตเงินใหม่เพิ่มขึ้นมาสำหรับให้กับประเทศผู้กู้ยืม

ดังนั้นนอกจากจะเป็นเจ้าของยอดหนี้ก้อนนั้นที่เป็นสินทรัพย์ด้วยแล้ว พวกเขายังได้เงินก้อนที่เพิ่งจะปล่อยกู้ออกไปกลับมาในรูปแบบของการที่ประเทศที่มาขอกู้ยืมเงิน จะใช้เงินก้อนนั้นในการซื้อพลังงานจากพวกเขาอีกด้วย

นักเรียน 7 : โห...ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลย

นักเรียน 6 : แล้วประเทศอื่น ๆ จะมีวิธีปกป้องตัวเองจากเรื่องนี้ได้ยังไงบ้างครับ?

คุณครู : หลาย ๆ ประเทศจะใช้วิธีการควบคุมปริมาณทุนสำรองที่เป็นสกุลเงินหลักให้เพียงพอสำหรับกิจการภายในประเทศ ไม่ให้มีจำนวนที่มากหรือน้อยจนเกินไป พวกเขาอาจจะเก็บสินทรัพย์ที่จะค้ำมูลค่าของค่าเงินท้องถิ่นภายในประเทศ ด้วยการถือสินทรัพย์ประเภทโลหะมีค่าแร่เงินหรือทองคำ เพื่อป้องกันค่าเงินภายในประเทศของตัวเอง

นี่ยังไม่รวมเรื่องการปรับตัวตามนโยบายเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ยที่มาจากประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินหลักของโลกเลยนะ ประเทศที่กำลังใช้สกุลเงินหลักเป็นทุนสำรองจะต้องทำอะไรอีกเยอะเลยแหละ เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

นักเรียน 4 : โห... ทำไมมันดูวุ่นวายมากเลยอะครับ ทั้ง ๆ ที่เงินก็มีไว้แค่ใช้ในการเป็นตัวกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนนิครับ

คุณครู : นั่นแหละ.. เมื่อเจ้าของสกุลเงินหลัก สร้างเงินของเขาให้มีฟังก์ชันที่มากกว่าการเป็นแค่เงิน ชีวิตมันก็จะวุ่นวายแบบนั้นแหละ

สำหรับประเทศที่ยอมรับและให้ค่าเงินที่มาจากประเทศ ๆ เดียวที่กุมชะตาทางการเงินของโลกเอาไว้เพียงคนเดียว ก็สมควรแล้วล่ะที่จะต้องรับกรรมไปด้วยกัน

นักเรียน 5 : แล้วจะมีทางไหนมั้ยครับ ที่คนธรรมดา ๆ อย่างพวกเราจะไม่ต้องรับกรรมจากผลการกระทำของประเทศที่ตัดสินใจผิดพลาด และจากการเอาเปรียบของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินหลัก

คุณครู : เป็นเรื่องที่ง่ายมากในระดับของบุคคลจะทำได้ ก็คือการไม่ให้ค่าไม่ยอมรับและปฏิเสธการถือครองสกุลเงินที่คนอื่นเป็นเจ้าของ หมายถึงเงินที่ถูกคนอื่นสร้างขึ้นมาให้เราใช้แถมยังเป็นเจ้าของสกุลเงินสกุลนั้นอีกด้วย คำว่าเป็นเจ้าของ เขาย่อมทำอะไรกับของ ๆ เขาก็ได้ตามใจชอบ

นักเรียน 3 : แล้วมันมีสกุลเงินไหนบ้างอะครับ ที่มันไม่มีใครที่เป็นเจ้าของ ว่าแต่ถ้าไม่มีเจ้าของแล้วใครล่ะที่จะเป็นคนสร้างมันขึ้นมา หรือมันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติดเหรอครับ

คุณครู : เป็นคำถามที่ดีมาก ง่าย ๆ เลยก็คือเงินที่ผู้สร้างได้ตายไปแล้วอย่างบิตคอยน์ยังไงล่ะ ในเมื่อมันไม่มีเจ้าของ มันจึงไม่มีใครเข้าไปปรับเปลี่ยนกลไกทางการเงินของมันได้ตามใจชอบ เช่น อยู่ ๆ อยากจะผลิตจำนวนเพิ่มขึ้นมันก็ไม่สามารถทำได้เพราะเบื้องหลังระบบของมันทำงานด้วยตรรกะทางคณิตศาสตร์ ที่ดำเนินการด้วยการโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ดังนั้นมันจึงตัดตัวกลางอย่างมนุษย์ขี้โลภที่อาจจะทำตัวเป็นคนดีในตอนแรก และเลวร้ายขึ้นเมื่อมองเห็นผลประโยชน์จากการที่สามารถควบคุมเงินได้

นักเรียน 3 : หมายความว่ามันมีจำนวนที่จำกัดด้วยเหรอครับ แล้วแบบนี้เมื่อถูกใช้กันทั่วโลกมันจะไม่ขาดสภาพคล่องเหรอครับ ขนาดเงินสกุลหลักของโลกยังต้องมีการผลิตเพิ่มเพื่อให้พอต่อการใช้งานเลย

คุณครู : ใช่ มันมีจำนวนจำกัดเพียงแค่ 21 ล้านหน่วย และมันจะไม่มีทางถูกผลิตเพิ่มขึ้นอีก

ดังนั้นเรื่องของสภาพคล่อง ด้วยจำนวนที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นมันจึงสามารถแบ่งหน่วยย่อยลงไปได้อีกจาก 21 ล้านหน่วย BTC เป็น 2100 ล้านล้านหน่วย Sats หรือแบ่งหน่วยย่อยลงไปอีกในระดับของ milli-Sats หรือ micro-Sats

ดังนั้นจากสินค้าและบริการที่ปกติจะมีราคาที่แพงขึ้นจากเงินเฟ้อ จะกลายเป็นราคาจะถูกลงเรื่อย ๆ เมื่อมีความต้องการในการใช้งานบิตคอยน์เป็นเงินที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงค่าแรงของการจ้างงานจะถูกลงเรื่อย ๆ แทนที่จะเป็นการปรับขึ้นเงินเดือน

นักเรียน 3 : แบบนี้ก็แย่สิครับ ถ้าต้องทำงานแล้วได้เงินเดือนน้อยลง

คุณครู : นั่นแหละสิ่งที่ควรจะเป็น อย่าลืมไปว่าระหว่างที่เราทำงาน เราจะได้เงินเป็นบิตคอยน์มาจำนวนหนึ่ง และเราก็เก็บออมบิตคอยน์ที่เหลือจากการใช้ในชีวิตประจำวันเก็บเป็นเงินออมเอาไว้

เงินออมจำนวนเท่าเดิมที่ไม่มีการเสื่อมมูลค่า ในช่วงเวลาที่ผ่านไปที่ข้าวของจะค่อย ๆ มีราคาถูกลงเรื่อย ๆ นั้นทำให้พวกคุณสามารถที่จะใช้เงินออมที่พวกคุณมี ซื้อสิ่งเหล่านั้นได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เงินเดือนของคุณได้รับเท่าเดิมหรือน้อยลง

กลับกันในโลกปัจจุบัน พวกคุณทำงานได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และเก็บออมไม่ได้เพราะเงินเสื่อมค่า คุณมีเงินเท่าไหร่ก็ใช้หมดไปเท่านั้น บางคนสามารถเอาตัวรอดได้จากการนำเงินไปลงทุน บางคนต้องหางานทำเพิ่มจากงานหลักที่ต้องทำอีกสองถึงสามจ๊อบต่อวัน ในขณะที่เมื่อเวลาผ่านไปราคาข้าวของจะแพงขึ้น บ้านที่คุณเก็บเงินซื้อเมื่อคุณเก็บได้ถึงจำนวนที่เคยคำนวณเอาไว้คุณจะพบว่ามันกลับมีราคาที่แพงขึ้นกว่าเงินที่คุณเก็บไปแล้วสองถึงสามเท่า หนทางเดียวที่คุณจะทำได้คือออกไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาใช้ซื้อบ้านสักหลัง และต้องทำงานส่งดอกเบี้ยและเงินต้นไปอีกหลายปี และคุณไม่สามารถที่จะตกงานได้ เพราะถ้าคุณไม่มีเงินมาจ่ายค่าบ้าน บ้านของคุณที่ผ่อนจ่ายไปแล้วอาจจะครึ่งทางอาจจะถูกธนาคารยึดไป

คุณลองคิดดี ๆ ว่าคุณอยากจะอยู่ในโลกที่คุณสามารถเก็บออมเพื่ออนาคตได้ หรือคุณอยากจะอยู่ในโลกที่คุณจะต้องยืมเงินในอนาคตมาใช้ในชีวิตปัจจุบันของคุณ?

ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับข้าวของที่แพงขึ้น และเก็บออมไม่ได้จึงต้องออกไปกู้ยืมเงิน

หรือ เงินเดือนที่ลดลงพร้อมกับราคาข้าวของที่ลดลง และเงินออมของคุณมีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้น

เลขครูใหญ่ : คุณครูคะ... ครูใหญ่เรียกพบค่ะ

คุณครู : ครูไปก่อนนะนักเรียนทุกคนที่รัก ครูน่าจะโดนเรียกไปปรับทัศนคติแล้วแหละ ฮ่า ๆ ๆ

สิ่งที่จะฝากเอาไว้ก็คือ “เวลามีค่าศึกษาบิตคอยน์ แล้วก็อย่าศึกษาอย่างเดียวนะ ซื้อมันด้วย” ครูไปล่ะ บุย...

.....
ณ ห้องครูใหญ่

ครูใหญ่ : ผมขอโทษด้วยที่ขัดจังหวะเวลาสอนของคุณครูนะครับ เนื่องจากโรงเรียนของเรามีคนทำงานไม่พอ งานทอดผ้าป่าปีนี้อยากให้คุณช่วยดำเนินการให้หน่อย

คุณครู : (คิดในใจ) อห. กูก็นึกว่าจะคุยเรื่องอะไร เอาอะไรมาให้กูทำอีกวะเนี่ย

#Siamstr
#SiamstrOG
Author Public Key
npub1caxqgpfnwethe7xdflup6ufrgkukw4ftqhjlqj84d0zhqs57dqjqwzzan7