It's over Anakin, I have the high ground. on Nostr: ...
ข้อความด้านล่างคัดลอกจากเฟซบุ๊ก //
อ่านเล่มนี้จบตอนไปเชียงใหม่ ผู้เขียนเสนอข้อถกเถียงว่าวิธีคิดแบบเสรีนิยมที่โปรตลาดในปัจจุบัน เป็นวิธีคิดที่ล้าหลังไปจากความเป็นจริงของการจ้างงานโดยตลาด เนื่องจากความเข้าใจต่อตลาดของพวกนี้คือความเข้าใจในศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจโลกยังไม่ผ่านการปฏิวัตอุตสาหกรรม ตลาดจึงเต็มไปด้วยนายทุนน้อยและผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ืฐานะและความสามารถในการแข่งขันยังไม่แตกต่างกันนัก ทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นการแข่งขันที่ค่อนข้างเท่าเทียม และทำให้ตลาดกลายเป็นอุดมคติของปัญญาชนยุคนั้นในการท้าทายการจัดลำดับชั้นด้วยศักดินา ตลอดจนการสร้างสังคมแห่งความเสมอภาคเท่าเทียม ปัญหาก็คือ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 หลัก economy of scale ก็ได้เข้ามาครอบครองวิธีคิดเรื่องการผลิตและการแข่งขันในตลาด ส่งผลให้ข่องว่างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างขยายใหญ่มากขึ้น เช่นเดียวกับช่องว่างระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสายป่านยาวกับผู้ประกอบการการขนาดย่อม จนส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์ที่่ฝ่ายแรกมีอำนาจบงการและปกครองฝ่ายหลังอย่างสูง โดยเฉพาะอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขการจ้างงานต่างๆที่ทำให้ลูกจ้างไม่มีทางเลือกอื่นๆในชีวิตนอกจากการจำเป็นต้องเชื่อฟังอำนาจของนายจ้าง ในแง่นี้ ตลาดตามความเป็นจริงของสภาพการทำงานจึงไม่ใช่พื้นที่ของเสรีภาพแบบที่ถูกเข้าใจกัน แต่เป็นพื้นที่ของสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า private government นั่นคือ พื้นที่ทางการปกครอง ที่ลูกจ้างจะกลายเป็นผู้ถูกปกครองภายใต้อำนาจของนายจ้างในการบงการเงื่อนไขการใช้ชีวิตตลอดจนพฤติกรรมต่างๆของลูกจ้างในแบบที่เกือบๆจะไม่มีข้อจำกัด
ความผิดพลาดของพวกเสรีนิยมที่โปรตลาดจึงเป็นความผิดพลาดบนช่องว่างระหวา่งทฤษฎีกับความเป็นจริง ที่ทฤษฎีจะถูกแช่แข็งอยู่กับภาพของตลาดก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ขณะที่ความเป็นจริงของตลาดซึ่งอยู่ในความสัมพันธ์แบบ private government กลับเป็นสิ่งที่ถูกละเลย อันเป็นผลมาจากการที่่่ฝ่ายเสรีนิยมเข้าใจประเด็นเรื่องเสรีภาพบนฐานของเสรีภาพในการมีทางเลือก ที่ว่าลูกจ้างทุกคนต่างก็มีทางเลือกในการลาออกและถอนตัวจากการจ้างงานที่ตนเห็นว่าไม่เป็นธรรม (โดยไม่สนใจความเป็นจริงของชีวิตว่าทางเลือกอย่างการลาออกนี้ไม่ควรถูกถือว่าเป็นทางเลือกตั้งแต่ต้น) จึงมองไม่เห็นสภาพอำนาจนิยมที่ไร้เสรีภาพในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แตกต่างจากตัวผู้เขียนที่ใช้วิธีคิดแบบสาธารณรัฐนิยมหรือ republicanism ซึ่งนิยามเสรีภาพว่าเป็นเรื่องของความสามารถในการปกครองตนเองโดยไม่ถูกครอบงำหรือตกภายใต้บงการในชีวิตของผู้อื่น จึงทำให้ตระหนักว่าการจ้างงานในตลาดปัจจุบันนั้นคือสภาวะที่ลูกจ้างสูญเสียเสรีภาพ ไม่สามารถกำหนดแนวทางชีวิตของตน และตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบไร้ขีดจำกัดของนายจ้าง
ทางออกที่ผู้เขียนเสนอจึงเป็นเรื่องของการสลาย ภาวะ private government ในความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ด้วยการทำให้ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมตรงนี้กลายเป็นความสัมพันธ์ตามกลไกของสาธารณะซึ่งจะนำไปสู่การตรวจสอบที่เรียกร้องให้รัฐและสาธารณะสามารถเข้ามาตรวจสอบเงื่อนไขทางกฏหมายและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมมากขึ้น
สนุกดีครับ เป็นงานทฤษฎีที่อ่านสนุก ใครที่สนใจเรื่องสภาพแรงงานและการจ้างงานไ่ม่เป็นธรรมควรหามาอ่านกัน https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid036MJ3dduhpNox8evaa3gvxexhvRRYwwNYHae5YemTsVcsu3MiMRbigsqWVPTziAEal&id=100002014868309&mibextid=Nif5oz
การศึกษาแนวคิดที่มีมุมมองแตกต่างไปจากเรา ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับชาวบิตคอยเนอร์ เพราะไม่ว่าคุณมั่นใจว่าคุณคิดถูกแค่ไหน ก็ไม่มีอะไรรับประกัน 100% ว่าคุณคิดถูก การเปิดใจและรับรู้ข้อมูลที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิตคอยเนอร์มือใหม่ เพราะผมเจอเยอะมาก มือใหม่ที่ไม่ได้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ นอกจากออสเตรียนดีพอ (อันที่จริงความเข้าใจออสเตรียนก็ยังไม่ดีพอด้วยซ้ำแต่เน้นจำจากคนดังในวงการ) ที่ไปถกเถียง วิจารณ์แนวคิดอื่นๆ โดยไม่มีความเข้าใจที่ดีพอ ข้อโต้แย้งที่ใช้ก็จำๆ มาทั้งนั้น
จงถามตัวเองให้ดีว่าคุณเห็นด้วยกับแนวคิดที่คุณเชิดชูจริงๆ หรือเปล่า หรือแค่เพราะคนดังที่รู้จักเชื่อแนวคิดนั้น ถ้าเป็นอย่างหลังคุณก็ไม่ต่างจากคนที่อินกับ propaganda ของรัฐบาลหรอก คุณแค่ชอบ propaganda ของฝั่งนึงเฉยๆ
#Siamstr
อ่านเล่มนี้จบตอนไปเชียงใหม่ ผู้เขียนเสนอข้อถกเถียงว่าวิธีคิดแบบเสรีนิยมที่โปรตลาดในปัจจุบัน เป็นวิธีคิดที่ล้าหลังไปจากความเป็นจริงของการจ้างงานโดยตลาด เนื่องจากความเข้าใจต่อตลาดของพวกนี้คือความเข้าใจในศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจโลกยังไม่ผ่านการปฏิวัตอุตสาหกรรม ตลาดจึงเต็มไปด้วยนายทุนน้อยและผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ืฐานะและความสามารถในการแข่งขันยังไม่แตกต่างกันนัก ทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นการแข่งขันที่ค่อนข้างเท่าเทียม และทำให้ตลาดกลายเป็นอุดมคติของปัญญาชนยุคนั้นในการท้าทายการจัดลำดับชั้นด้วยศักดินา ตลอดจนการสร้างสังคมแห่งความเสมอภาคเท่าเทียม ปัญหาก็คือ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 หลัก economy of scale ก็ได้เข้ามาครอบครองวิธีคิดเรื่องการผลิตและการแข่งขันในตลาด ส่งผลให้ข่องว่างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างขยายใหญ่มากขึ้น เช่นเดียวกับช่องว่างระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสายป่านยาวกับผู้ประกอบการการขนาดย่อม จนส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์ที่่ฝ่ายแรกมีอำนาจบงการและปกครองฝ่ายหลังอย่างสูง โดยเฉพาะอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขการจ้างงานต่างๆที่ทำให้ลูกจ้างไม่มีทางเลือกอื่นๆในชีวิตนอกจากการจำเป็นต้องเชื่อฟังอำนาจของนายจ้าง ในแง่นี้ ตลาดตามความเป็นจริงของสภาพการทำงานจึงไม่ใช่พื้นที่ของเสรีภาพแบบที่ถูกเข้าใจกัน แต่เป็นพื้นที่ของสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า private government นั่นคือ พื้นที่ทางการปกครอง ที่ลูกจ้างจะกลายเป็นผู้ถูกปกครองภายใต้อำนาจของนายจ้างในการบงการเงื่อนไขการใช้ชีวิตตลอดจนพฤติกรรมต่างๆของลูกจ้างในแบบที่เกือบๆจะไม่มีข้อจำกัด
ความผิดพลาดของพวกเสรีนิยมที่โปรตลาดจึงเป็นความผิดพลาดบนช่องว่างระหวา่งทฤษฎีกับความเป็นจริง ที่ทฤษฎีจะถูกแช่แข็งอยู่กับภาพของตลาดก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ขณะที่ความเป็นจริงของตลาดซึ่งอยู่ในความสัมพันธ์แบบ private government กลับเป็นสิ่งที่ถูกละเลย อันเป็นผลมาจากการที่่่ฝ่ายเสรีนิยมเข้าใจประเด็นเรื่องเสรีภาพบนฐานของเสรีภาพในการมีทางเลือก ที่ว่าลูกจ้างทุกคนต่างก็มีทางเลือกในการลาออกและถอนตัวจากการจ้างงานที่ตนเห็นว่าไม่เป็นธรรม (โดยไม่สนใจความเป็นจริงของชีวิตว่าทางเลือกอย่างการลาออกนี้ไม่ควรถูกถือว่าเป็นทางเลือกตั้งแต่ต้น) จึงมองไม่เห็นสภาพอำนาจนิยมที่ไร้เสรีภาพในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แตกต่างจากตัวผู้เขียนที่ใช้วิธีคิดแบบสาธารณรัฐนิยมหรือ republicanism ซึ่งนิยามเสรีภาพว่าเป็นเรื่องของความสามารถในการปกครองตนเองโดยไม่ถูกครอบงำหรือตกภายใต้บงการในชีวิตของผู้อื่น จึงทำให้ตระหนักว่าการจ้างงานในตลาดปัจจุบันนั้นคือสภาวะที่ลูกจ้างสูญเสียเสรีภาพ ไม่สามารถกำหนดแนวทางชีวิตของตน และตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบไร้ขีดจำกัดของนายจ้าง
ทางออกที่ผู้เขียนเสนอจึงเป็นเรื่องของการสลาย ภาวะ private government ในความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ด้วยการทำให้ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมตรงนี้กลายเป็นความสัมพันธ์ตามกลไกของสาธารณะซึ่งจะนำไปสู่การตรวจสอบที่เรียกร้องให้รัฐและสาธารณะสามารถเข้ามาตรวจสอบเงื่อนไขทางกฏหมายและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมมากขึ้น
สนุกดีครับ เป็นงานทฤษฎีที่อ่านสนุก ใครที่สนใจเรื่องสภาพแรงงานและการจ้างงานไ่ม่เป็นธรรมควรหามาอ่านกัน https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid036MJ3dduhpNox8evaa3gvxexhvRRYwwNYHae5YemTsVcsu3MiMRbigsqWVPTziAEal&id=100002014868309&mibextid=Nif5oz
การศึกษาแนวคิดที่มีมุมมองแตกต่างไปจากเรา ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับชาวบิตคอยเนอร์ เพราะไม่ว่าคุณมั่นใจว่าคุณคิดถูกแค่ไหน ก็ไม่มีอะไรรับประกัน 100% ว่าคุณคิดถูก การเปิดใจและรับรู้ข้อมูลที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิตคอยเนอร์มือใหม่ เพราะผมเจอเยอะมาก มือใหม่ที่ไม่ได้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ นอกจากออสเตรียนดีพอ (อันที่จริงความเข้าใจออสเตรียนก็ยังไม่ดีพอด้วยซ้ำแต่เน้นจำจากคนดังในวงการ) ที่ไปถกเถียง วิจารณ์แนวคิดอื่นๆ โดยไม่มีความเข้าใจที่ดีพอ ข้อโต้แย้งที่ใช้ก็จำๆ มาทั้งนั้น
จงถามตัวเองให้ดีว่าคุณเห็นด้วยกับแนวคิดที่คุณเชิดชูจริงๆ หรือเปล่า หรือแค่เพราะคนดังที่รู้จักเชื่อแนวคิดนั้น ถ้าเป็นอย่างหลังคุณก็ไม่ต่างจากคนที่อินกับ propaganda ของรัฐบาลหรอก คุณแค่ชอบ propaganda ของฝั่งนึงเฉยๆ
#Siamstr