itssara on Nostr: มาสรุปก่อนเข้าเรียนครับ #siamstr ...
มาสรุปก่อนเข้าเรียนครับ #siamstr
ในคลาสที่ 2 นี้ พี่ชิตได้พูดถึงทฤษฎีมูลค่าแรงงานว่ามันผิด เพราะอะไร? เพราะมูลค่าไม่ได้เกิดจากแรงงาน ผลผลิตที่สร้างเกิดจากแรงงานรวมเข้ากับเครื่องมือและทุนของนายทุนจึงออกมาเป็น productivity และทุนไม่ได้เป็น objective ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ ถ้าเราเอาไว้ดูหนังมันก็ไม่เป็นทุน แต่ถ้าเราเอาไว้ทำงานมันเป็นทุนซึ่งในกลไกของตลาด แรงงานที่ทำงานก็จะสะสมทุนเพื่อที่สุดท้ายเขาก็จะกลายเป็นนายทุนแล้วลงทุนกับแรงงานคนอื่นๆ ต่อไป นี่คือกลไกของธรรมชาติ
คำถามคือการเป็นนายทุนมันยากไหม? พี่ชิตบอกเลยว่ายากเหี้ยๆ 😂 มันต้องเริ่มจากการเก็บออม การมองการณ์ไกล การเก็บทุนนั้นมีความเสี่ยง มันจะด้อยค่าลง หรือไม่มีค่า หรือโดนผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆ แต่แล้วอะไรเป็นสิ่งที่การันตีว่าทุนนั้นจะไม่หายไป? นั่นก็คือทรัพย์สิน หรือ Property ความสำคัญของทรัพย์สินคือมันมีความขาดแคลนอยู่เสมอเพราะความต้องการมีมากกว่าจำนวนที่มี ซึ่งเมื่อมีความขาดแคลนทำให้มันยังคงรักษามูลค่าได้และแก้ปัญหาในการเก็บออมทุน
ทรัพย์สินนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ นั่นคือแบบกายภาพและแบบที่ไม่ใช่กายภาพ อย่างเช่นเบียร์บ้านเรานี้คือกายภาพ แต่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่กายภาพ 2 รูปแบบนี้จะถูกแบ่งออกได้เป็น ทรัพย์สินทางกายภาพถูกควบคุมด้วยความเป็นเจ้าของ หมายถึงมีเพียงเจ้าของเท่านั้นที่สามารถจัดการกับทรัพย์สินนี้ได้ ส่วนทรัพย์สินที่ไม่เป็นกายภาพจะถูกควบคุมโดยสิทธิ์ในการใช้งาน หมายถึงต่อให้ไม่ใช่เจ้าของก็สามารถใช้งานสิ่งนั้นได้
พี่ชิตจึงได้ยกตัวอย่างแบรนด์ชิตเบียร์ ร้านชิตเบียร์เป็นทรัพย์สินกายภาพซึ่งพี่ชิตเป็นเจ้าของ แต่สิทธิ์ในการใช้งานโลโก้เพื่อนำไปทำของชำร่วยต่างๆ ทำเสื้อแจก สิ่งเหล่านี้พี่ชิตไม่สามารถห้ามได้ แต่ตามมารยาทก็แค่บอกพี่ชิต พี่ชิตก็จะปล่อยให้ทำ พี่ชิตปล่อยให้เกิดเสรีภาพในการใช้งานของแบรนด์ชิตเบียร์
ต่อมาในเรื่องประเด็น open source ยกตัวอย่างรถไถนาว่าถ้าเกิดชิ้นส่วนมันมีเป็นหมื่นๆ ชิ้นแล้วทุกคนในระบบมีพิมพ์เขียวของมัน ไม่ว่าจะเป็นช่าง นักวิจัย นักออกแบบ ใครก็สามารถซ่อมมันได้ ใครก็สามารถพัฒนามันได้ นี่แหละคือสิ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมนี้โตไปพร้อมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ bitcoin
คำถามคือแล้วทรัพย์สินนั้นแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท? แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทได้แก่
1. consumer goods ก็อย่างเช่นหมูปิ้งที่กินครั้งเดียวก็หมด ใช้แล้วหมดไป
2. repeatable goods เช่นเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่เราใช้แล้วก็ใช้ซ้ำได้
3. Capital goods ยกตัวอย่างเช่นเครื่องเสียบหมูปิ้ง เป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยในการทำงาน ลดเวลา ลดต้นทุน
4. monetary goods คือทรัพย์สินที่กินไม่ได้ ใช้ก็ไม่ได้ มีไว้เพื่อแลกเปลี่ยนอย่างเดียว (เงิน)
Saving is mother of capital.
พี่ชิตยกตัวอย่าง แบรนด์ชิตเบียร์ ที่ค่อยๆ สะสมทุนเปิดร้าน ซื้อทุ่นเรือ ต่อมาก็ซื้อเรือข้ามฟาก นี่เป็นการลงทุนใน Capital goods แล้วให้ Capital good ช่วยทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
สุดท้ายพี่ชิตทิ้งท้ายไว้ว่า money is not Capital เงินไม่ใช่ทุน ทุนคือสิ่งที่เอาไว้พัฒนาทำให้ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต แต่เงินคือสิ่งที่เอาไว้ใช้เก็บออมเอาไว้ใช้ในการแลกเปลี่ยนเป็นทุนอีกทีนึง ซึ่งการเปลี่ยนเป็นทุนนั้นก็มาได้จากเงินที่เก็บออม ที่แรงงานเป็นคนเก็บออมนั่นแหละ อีกทางนึงก็คือการใช้เครดิตในการซื้อทุนนั่นเอง
ในคลาสที่ 2 นี้ พี่ชิตได้พูดถึงทฤษฎีมูลค่าแรงงานว่ามันผิด เพราะอะไร? เพราะมูลค่าไม่ได้เกิดจากแรงงาน ผลผลิตที่สร้างเกิดจากแรงงานรวมเข้ากับเครื่องมือและทุนของนายทุนจึงออกมาเป็น productivity และทุนไม่ได้เป็น objective ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ ถ้าเราเอาไว้ดูหนังมันก็ไม่เป็นทุน แต่ถ้าเราเอาไว้ทำงานมันเป็นทุนซึ่งในกลไกของตลาด แรงงานที่ทำงานก็จะสะสมทุนเพื่อที่สุดท้ายเขาก็จะกลายเป็นนายทุนแล้วลงทุนกับแรงงานคนอื่นๆ ต่อไป นี่คือกลไกของธรรมชาติ
คำถามคือการเป็นนายทุนมันยากไหม? พี่ชิตบอกเลยว่ายากเหี้ยๆ 😂 มันต้องเริ่มจากการเก็บออม การมองการณ์ไกล การเก็บทุนนั้นมีความเสี่ยง มันจะด้อยค่าลง หรือไม่มีค่า หรือโดนผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆ แต่แล้วอะไรเป็นสิ่งที่การันตีว่าทุนนั้นจะไม่หายไป? นั่นก็คือทรัพย์สิน หรือ Property ความสำคัญของทรัพย์สินคือมันมีความขาดแคลนอยู่เสมอเพราะความต้องการมีมากกว่าจำนวนที่มี ซึ่งเมื่อมีความขาดแคลนทำให้มันยังคงรักษามูลค่าได้และแก้ปัญหาในการเก็บออมทุน
ทรัพย์สินนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ นั่นคือแบบกายภาพและแบบที่ไม่ใช่กายภาพ อย่างเช่นเบียร์บ้านเรานี้คือกายภาพ แต่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่กายภาพ 2 รูปแบบนี้จะถูกแบ่งออกได้เป็น ทรัพย์สินทางกายภาพถูกควบคุมด้วยความเป็นเจ้าของ หมายถึงมีเพียงเจ้าของเท่านั้นที่สามารถจัดการกับทรัพย์สินนี้ได้ ส่วนทรัพย์สินที่ไม่เป็นกายภาพจะถูกควบคุมโดยสิทธิ์ในการใช้งาน หมายถึงต่อให้ไม่ใช่เจ้าของก็สามารถใช้งานสิ่งนั้นได้
พี่ชิตจึงได้ยกตัวอย่างแบรนด์ชิตเบียร์ ร้านชิตเบียร์เป็นทรัพย์สินกายภาพซึ่งพี่ชิตเป็นเจ้าของ แต่สิทธิ์ในการใช้งานโลโก้เพื่อนำไปทำของชำร่วยต่างๆ ทำเสื้อแจก สิ่งเหล่านี้พี่ชิตไม่สามารถห้ามได้ แต่ตามมารยาทก็แค่บอกพี่ชิต พี่ชิตก็จะปล่อยให้ทำ พี่ชิตปล่อยให้เกิดเสรีภาพในการใช้งานของแบรนด์ชิตเบียร์
ต่อมาในเรื่องประเด็น open source ยกตัวอย่างรถไถนาว่าถ้าเกิดชิ้นส่วนมันมีเป็นหมื่นๆ ชิ้นแล้วทุกคนในระบบมีพิมพ์เขียวของมัน ไม่ว่าจะเป็นช่าง นักวิจัย นักออกแบบ ใครก็สามารถซ่อมมันได้ ใครก็สามารถพัฒนามันได้ นี่แหละคือสิ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมนี้โตไปพร้อมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ bitcoin
คำถามคือแล้วทรัพย์สินนั้นแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท? แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทได้แก่
1. consumer goods ก็อย่างเช่นหมูปิ้งที่กินครั้งเดียวก็หมด ใช้แล้วหมดไป
2. repeatable goods เช่นเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่เราใช้แล้วก็ใช้ซ้ำได้
3. Capital goods ยกตัวอย่างเช่นเครื่องเสียบหมูปิ้ง เป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยในการทำงาน ลดเวลา ลดต้นทุน
4. monetary goods คือทรัพย์สินที่กินไม่ได้ ใช้ก็ไม่ได้ มีไว้เพื่อแลกเปลี่ยนอย่างเดียว (เงิน)
Saving is mother of capital.
พี่ชิตยกตัวอย่าง แบรนด์ชิตเบียร์ ที่ค่อยๆ สะสมทุนเปิดร้าน ซื้อทุ่นเรือ ต่อมาก็ซื้อเรือข้ามฟาก นี่เป็นการลงทุนใน Capital goods แล้วให้ Capital good ช่วยทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
สุดท้ายพี่ชิตทิ้งท้ายไว้ว่า money is not Capital เงินไม่ใช่ทุน ทุนคือสิ่งที่เอาไว้พัฒนาทำให้ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต แต่เงินคือสิ่งที่เอาไว้ใช้เก็บออมเอาไว้ใช้ในการแลกเปลี่ยนเป็นทุนอีกทีนึง ซึ่งการเปลี่ยนเป็นทุนนั้นก็มาได้จากเงินที่เก็บออม ที่แรงงานเป็นคนเก็บออมนั่นแหละ อีกทางนึงก็คือการใช้เครดิตในการซื้อทุนนั่นเอง
quoting nevent1q…vw2pย้อนหลังตอนที่ 2
Lecture 2/8 Principles of Economics: Labor, Property and Capital #siamstr
และ Zoom link สำหรับ Lecture 3/8 **ของคืนพรุ่งนี้
Why Work?
ตอบง่ายๆ หากยังต้องแดกก็ยังต้องทำงาน หากแดกมากกว่าทำงานชีวิตจะสั้นลง และตายไว เนื่องจากไม่มีอันจะแดก 5555 อยากอายุยืน อยากมีช่วงเวลาชีวิตที่ดีขึ้นก็ต้องทำงานก่อน สร้าง output ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อผู้อื่นก่อน อยากยืดเวลาก็ต้องลงทุนเวลา
To earn your time you must invest your time
Production
มนุษย์พัฒนากระบวนการผลิตที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆเพื่อเพิ่ม productivity ทำให้ประหยัดเวลา แรงงานเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิต ยังมีปัจจัยในการผลิตอื่นๆที่จำเป็นซึ่งเรียกรวมๆว่า Capital goods
Money ไม่เป็นปัจจัยในการผลิต หมายความว่า เราเอาเงินใส่ลงไปในหม้อต้มมันจะไม่ออกมาเป็นเบียร์ 555 เงินเป็นเพียงเครื่องมือเก็บอำนาจในการแลกเปลี่ยน (Purchasing Power) เพื่อเปลี่ยนหรือลงทุนเป็นปัจจัยในการผลิต (Capital Investment)
Saving is the mother of capital
ก่อนจะได้มาซึ่งปัจจัยในการผลิตเป็น Capital goods เราจะต้องลงทุน กว่าจะสร้างทุนเราต้องทำงาน และเก็บออมมาก่อน ฉะนั้น saving จึงเป็นแม่ของ capital
ธรรมชาติของ Capital มันจะเสื่อมค่าไปตามเวลา ถูกขโมยได้ ถูกทำลายได้ การมี Capital จึงต้องดูแลรักษา และมีความเสี่ยงตลอดเวลา ลงทุนไปแล้วไม่มีอะไรการันตีนายทุนว่าจะได้กำไร อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้กล้าลงทุน
Property หรือความเป็นเจ้าของ เป็น concept เพื่อลดความเสี่ยงให้กับนายทุน ว่า Capital ที่ได้พยายามสร้างและสะสมมาอย่างยากลำบากจะได้รับการปกป้อง เป็นเหมือนหลักประกันในการลงทุนเพื่ออนาคต สร้างแรงจูงใจให้คนกล้าลงทุน สะสมปัจจัยในการผลิต
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการมี Property คือ ป้องกันความขัดแย้งจากการที่เรามีทรัพยากรอย่างจำกัด เนื่องจาก demand มักจะมีมากกว่า supply เสมอ
**ของแถมในช่วงสนทนาธรรม
+ Work life balance
+ การมีลูกกับ Time preference
+ การเสียสละ การส่งต่อคุณค่ากับคนรุ่นลูกรุ่นหลาน
+ การสะสมทุน กับกระบวนการสร้าง Civilization / Wealth of the Nation
VDO Link:
https://youtu.be/PGrzEtAq3Gg
Lecture Slides:
https://docs.google.com/presentation/d/13Nls0hOwp5VEHioFTAVJZlDbJEfiXACN9PmMTrJcPVA/edit?usp=sharing
Zoom Link สำหรับ Lecture 3/8 Principles of Economics
https://us02web.zoom.us/j/86333257829?pwd=APab5HfjV2BzVlu3WWepMTJTHplPnR.1