Timmy The Whale on Nostr: เรื่องเล่ายามค่ำ ...
เรื่องเล่ายามค่ำ "อารยธรรมเผ่าพันธุ์มนุษย์เริ่มเมื่อใด"
ในตอนเรียนมหาวิทยาลัยมักจะมีวิชาสัมนาที่เหล่านักศึกษาจะต้องค้นคว้าอ่านงานวิจัยเพื่อนำเสนอ ประกอบกับการเชิญอาจารย์ หรือผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากที่ต่างๆมาบรรยายพิเศษ เพื่อทั้งเป็นตัวอย่างและเสริมความรู้ไปในตัว ซึ่งในหัวข้อที่ผมจำได้ คือ เรื่องราวว่าด้วย คนไทยมาจากไหน บรรยายโดยอาจารย์ทางด้านโบราณคดี ใช้ความรู้ทั้งทางด้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พันธุกรรม แม้กระทั่งภาษาศาสตร์ ซึ่งเนื้อความในตอนนั้นมาถึงปัจจุบันมันก็เลือนลางไปเกือบหมดแล้ว (แต่พอจำได้ว่าไม่น่าใช่เทือกเขาอัลไต) แต่ประเด็นที่ติดหัวกลับเป็นการพูดในช่วงเปิด Introduction ของอาจารย์ว่าด้วย อะไรคือหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นแรกๆที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ
มีทฤษฏีมากมายที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุที่มนุษย์สามารถขึ้นมาบนจุดสูงสุดของสิ่งมีชีวิตก่อร่างสร้างอารยธรรมบนโลกใบนี้ สมองที่ใหญ่ การใช้เครื่องมือ การยืนสองขา ภาษา และอื่นๆมากมายที่มีหลักฐานสนับสนุน แต่สิ่งที่ถูกนำเสนอในวันนั้นไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ ภาพที่ถูกฉายขึ้นไปบนจอ กลับเป็นหลุมศพโบราณ และ "ซากกระดูกต้นขา" แต่ก็มีความผิดปกติบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ ที่กลางท่อนกระดูกจะเห็นลักษณะปูดโปนผิดปกติ ซึ่งก็พอคาดเดาได้ว่า เป็นล่องลอยการรักษาตัวเองของกระดูกที่หัก แต่คำถามในหัวก็ไม่พ้น แล้วกระดูกหักที่สมานแล้วมันสะท้อนความสามารถที่เหนือสิ่งมีชีวิตอื่นได้ยังไง?
แม้กระดูกที่หักจะสามารถสมานได้ แต่สิ่งมีชีวิตที่ขาหัก ในโลกที่ธรรมชาติไร้ความเมตตา ทางเลือกชีวิตที่เหลือ คือ "ความตาย" คุณจะเจ็บปวดทรมาน คุณจะหาอาหารไม่ได้ คุณจะเป็นเหยื่อแสนสะดวก และความตายจะอยู่ใกล้แค่เอื้อมเท่านั้น ดังนั้นการที่มนุษย์เจ้าของกระดูกชิ้นนั้นจะรอด จนมาถูกฝังอย่างเป็นระบบระเบียบได้ แสดงว่าเขาจะต้องถูกช่วยเหลือออกจากเหตุการณ์อันตรายที่หักกระดูกนั้น ถูกพากลับมายังที่ปลอดภัย ได้รับการดูแล ได้รับอาหาร นานพอที่จะกระดูกจะสมาน และใช้ชีวิตไปอีกนานพอก่อนจะตายจากไป พร้อมด้วยผู้คนที่พร้อมจะฝังเขาอย่างดีในหลุมศพ
ซากกระดูกนั้น คือ ผลลัพธ์ของสังคม ความพยายามของผู้คนที่ยอมเสียทรัพยากร และเวลา เพื่อปกป้องรักษาคนๆหนึ่ง เป็นหลักฐานของความผูกพัน การรวมกลุ่มของมนุษย์ ที่สามารถเปลี่ยนความตายให้เป็นการคงอยู่ต่อไป สัญลักษณ์แห่งอารยธรรม สาเหตุที่เรื่องนี้ยังคงฝังหัวอยู่อาจจะเป็นเพราะ เรื่องราวมันสร้างความหวัง ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันแย่งชิง มันยังพอเหลือหลักฐานที่ บอกว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น ความหวังเล็กๆ ว่าอนาคตยังควรค่าแก่การรอคอย และอารยธรรมจะดำเนินต่อไปในทางที่ดีขึ้น
คงคิดว่าโน็ตนี้ควรจะจบแค่นี้ แต่ไฉนสมองเจ้ากรรม กลับดลบันดาลความสงสัย เกิดคำถาม “แล้วต้นเรื่องมันมาจากไหนนะ” เพียงการค้นผ่านอินเตอร์เน็ตเล็กน้อย ก็พอให้พบกับข้อมูลมากมาย บ่งชี้ว่าเรื่องนี้นั้นเป็นที่นิยมพอสมควร และกลับมาฮิตอีกครั้งจากการนำเสนอของนิตยสารอย่าง Forbe เมื่อช่วงโรคระบาดโควิดที่ผ่านมาไม่นานมานี้ ซึ่งกล่าวกันมาว่าเรื่องเล่ากระดูกขานี้ต้นเรื่องมาจากนักมนุษยวิทยา Margaret Mead ตอบนักศึกษาว่าอะไรคือหลักฐาน หรือสัญาณบ่งชี้ถึงสังคมที่มีอารยธรรม และที่น่าสนใจ คือ เหมือนจะไม่มีหลักฐานโดยตรงว่าเธอเป็นคนพูดเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยซ้ำ
และถ้าอยากจะเพิ่มความหดหู่เข้าไปซะหน่อยจะยังพบด้วยว่า โครงกระดูกหัก หลายครั้งต้นนเหตุก็มาจากการก่อความรุนแรงด้วยกันเองนี่แหละ แถมมันก็ไม่ใช่เหตุการที่พบเฉพาะในมนุษย์ สัตว์บางชนิดก็มีพฤติกรรมช่วยเหลือในกลุ่มยามยากแบบเดียวกัน และมีชีวิตรอดแม้จะขาหักได้เหมือนกัน
ทั้งนี้ก็คงขึ้นกับผู้อ่านแล้วว่าเรื่องเล่ากระดูกหักชิ้นนี้จะเชื่อยังไร จะเชื่อในข้อความที่ให้ความหวัง หรือความจริงที่ว่ามนุษย์ก็อาจจะแค่ชอบเรื่องเล่า Feel good รู้สึกดีรู้สึกพิเศษ แม้ความจริงอาจจะไม่เป็นตามนั้นก็ตาม
ป.ล. บทเรียนจริงๆก็อาจจะแค่ don’t trust, verify ก็ได้ แล้วก็หลุมกระต่ายมันมีอยู่ทุกที่ เกือบจะFeel good แล้วเชียว
#siamstr
ในตอนเรียนมหาวิทยาลัยมักจะมีวิชาสัมนาที่เหล่านักศึกษาจะต้องค้นคว้าอ่านงานวิจัยเพื่อนำเสนอ ประกอบกับการเชิญอาจารย์ หรือผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากที่ต่างๆมาบรรยายพิเศษ เพื่อทั้งเป็นตัวอย่างและเสริมความรู้ไปในตัว ซึ่งในหัวข้อที่ผมจำได้ คือ เรื่องราวว่าด้วย คนไทยมาจากไหน บรรยายโดยอาจารย์ทางด้านโบราณคดี ใช้ความรู้ทั้งทางด้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พันธุกรรม แม้กระทั่งภาษาศาสตร์ ซึ่งเนื้อความในตอนนั้นมาถึงปัจจุบันมันก็เลือนลางไปเกือบหมดแล้ว (แต่พอจำได้ว่าไม่น่าใช่เทือกเขาอัลไต) แต่ประเด็นที่ติดหัวกลับเป็นการพูดในช่วงเปิด Introduction ของอาจารย์ว่าด้วย อะไรคือหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นแรกๆที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ
มีทฤษฏีมากมายที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุที่มนุษย์สามารถขึ้นมาบนจุดสูงสุดของสิ่งมีชีวิตก่อร่างสร้างอารยธรรมบนโลกใบนี้ สมองที่ใหญ่ การใช้เครื่องมือ การยืนสองขา ภาษา และอื่นๆมากมายที่มีหลักฐานสนับสนุน แต่สิ่งที่ถูกนำเสนอในวันนั้นไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ ภาพที่ถูกฉายขึ้นไปบนจอ กลับเป็นหลุมศพโบราณ และ "ซากกระดูกต้นขา" แต่ก็มีความผิดปกติบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ ที่กลางท่อนกระดูกจะเห็นลักษณะปูดโปนผิดปกติ ซึ่งก็พอคาดเดาได้ว่า เป็นล่องลอยการรักษาตัวเองของกระดูกที่หัก แต่คำถามในหัวก็ไม่พ้น แล้วกระดูกหักที่สมานแล้วมันสะท้อนความสามารถที่เหนือสิ่งมีชีวิตอื่นได้ยังไง?
แม้กระดูกที่หักจะสามารถสมานได้ แต่สิ่งมีชีวิตที่ขาหัก ในโลกที่ธรรมชาติไร้ความเมตตา ทางเลือกชีวิตที่เหลือ คือ "ความตาย" คุณจะเจ็บปวดทรมาน คุณจะหาอาหารไม่ได้ คุณจะเป็นเหยื่อแสนสะดวก และความตายจะอยู่ใกล้แค่เอื้อมเท่านั้น ดังนั้นการที่มนุษย์เจ้าของกระดูกชิ้นนั้นจะรอด จนมาถูกฝังอย่างเป็นระบบระเบียบได้ แสดงว่าเขาจะต้องถูกช่วยเหลือออกจากเหตุการณ์อันตรายที่หักกระดูกนั้น ถูกพากลับมายังที่ปลอดภัย ได้รับการดูแล ได้รับอาหาร นานพอที่จะกระดูกจะสมาน และใช้ชีวิตไปอีกนานพอก่อนจะตายจากไป พร้อมด้วยผู้คนที่พร้อมจะฝังเขาอย่างดีในหลุมศพ
ซากกระดูกนั้น คือ ผลลัพธ์ของสังคม ความพยายามของผู้คนที่ยอมเสียทรัพยากร และเวลา เพื่อปกป้องรักษาคนๆหนึ่ง เป็นหลักฐานของความผูกพัน การรวมกลุ่มของมนุษย์ ที่สามารถเปลี่ยนความตายให้เป็นการคงอยู่ต่อไป สัญลักษณ์แห่งอารยธรรม สาเหตุที่เรื่องนี้ยังคงฝังหัวอยู่อาจจะเป็นเพราะ เรื่องราวมันสร้างความหวัง ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันแย่งชิง มันยังพอเหลือหลักฐานที่ บอกว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น ความหวังเล็กๆ ว่าอนาคตยังควรค่าแก่การรอคอย และอารยธรรมจะดำเนินต่อไปในทางที่ดีขึ้น
คงคิดว่าโน็ตนี้ควรจะจบแค่นี้ แต่ไฉนสมองเจ้ากรรม กลับดลบันดาลความสงสัย เกิดคำถาม “แล้วต้นเรื่องมันมาจากไหนนะ” เพียงการค้นผ่านอินเตอร์เน็ตเล็กน้อย ก็พอให้พบกับข้อมูลมากมาย บ่งชี้ว่าเรื่องนี้นั้นเป็นที่นิยมพอสมควร และกลับมาฮิตอีกครั้งจากการนำเสนอของนิตยสารอย่าง Forbe เมื่อช่วงโรคระบาดโควิดที่ผ่านมาไม่นานมานี้ ซึ่งกล่าวกันมาว่าเรื่องเล่ากระดูกขานี้ต้นเรื่องมาจากนักมนุษยวิทยา Margaret Mead ตอบนักศึกษาว่าอะไรคือหลักฐาน หรือสัญาณบ่งชี้ถึงสังคมที่มีอารยธรรม และที่น่าสนใจ คือ เหมือนจะไม่มีหลักฐานโดยตรงว่าเธอเป็นคนพูดเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยซ้ำ
และถ้าอยากจะเพิ่มความหดหู่เข้าไปซะหน่อยจะยังพบด้วยว่า โครงกระดูกหัก หลายครั้งต้นนเหตุก็มาจากการก่อความรุนแรงด้วยกันเองนี่แหละ แถมมันก็ไม่ใช่เหตุการที่พบเฉพาะในมนุษย์ สัตว์บางชนิดก็มีพฤติกรรมช่วยเหลือในกลุ่มยามยากแบบเดียวกัน และมีชีวิตรอดแม้จะขาหักได้เหมือนกัน
ทั้งนี้ก็คงขึ้นกับผู้อ่านแล้วว่าเรื่องเล่ากระดูกหักชิ้นนี้จะเชื่อยังไร จะเชื่อในข้อความที่ให้ความหวัง หรือความจริงที่ว่ามนุษย์ก็อาจจะแค่ชอบเรื่องเล่า Feel good รู้สึกดีรู้สึกพิเศษ แม้ความจริงอาจจะไม่เป็นตามนั้นก็ตาม
ป.ล. บทเรียนจริงๆก็อาจจะแค่ don’t trust, verify ก็ได้ แล้วก็หลุมกระต่ายมันมีอยู่ทุกที่ เกือบจะFeel good แล้วเชียว
#siamstr