nakharin on Nostr: โดน nostr:note1zf2c3v6yeqetdv2jjwww46z32373xm5537yr24tx4a907y0vlpvsp9pt08
โดน
quoting note1zf2…pt08“ปลาที่อิ่มหมีพลีมัน จะไม่มีทางเข้าใจในคุณค่าของขนมปังที่ตั้มเคยให้…”
เรื่อง “ขนมปังกับปลาที่หิวโหย” เป็น Analogy อันลุ่มลึก ซึ่งครั้งหนึ่งพี่เป็ด ped66 (npub1ysv…54x4) เคยได้ให้ไว้กับผม มันนานมาแล้ว.. นานจนผมก็จำแทบไม่ได้แล้วว่า ตอนที่ได้ฟังเรื่องนี้ครั้งแรกมันผ่านมากี่ปีแล้ว..
แต่ในฐานะผู้ที่มีปรารถนาในการเผยแพร่บิตคอยน์ มีความต้องการที่จะกระจายหลักการและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังอันทรงพลังของมัน ผมยึดถือแนวคิดเรื่องขนมปังเอาไว้ในใจมาโดยตลอด
แนวทางในการส่งต่อของผม แนวทางในการป้ายยาส้ม แนวทางในการประเมินศักยภาพของคนไข้ที่ควรได้รับยา (ส้ม) มันถูกยึดโยงเข้ากับเรื่องนี้ไว้อย่างแนบแน่น
แล้วขนมปังที่ว่ามันคืออะไร?
“ขนมปัง” ในที่นี้ เปรียบได้กับ “ยาส้ม”
มันคือองค์ความรู้ มันคือหนทาง มันคือความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ที่เราต้องการจะป้อนให้กับคนที่เรานั้นมีปรารถนาดีๆ กับเขา
ขนมปัง ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องบิตคอยน์
มันอาจเป็นเรื่องการเรียน เป็นสัจธรรมการใช้ชีวิต เป็นทัศนคติ เป็นทักษะ เป็นประสบการณ์แง่คิด หรือเป็นโอกาส ฯลฯ
เป็นอะไรก็ได้ที่เรานั้นคิดว่า.. มันคงจะเป็นประโยชน์กับคนที่เราอยากจะป้อนให้
ในขณะที่ “ปลา” นั้นคือ “ผู้รับ”
หลักใหญ่ใจความของแนวคิดนี้ก็คือตัว “ปลา” ที่ว่านี่เอง..
“ปลาที่หิวโหย” จะเข้าใจในความหมายและคุณค่าของขนมปังที่เราได้หยิบยื่นให้
แต่ “ปลาที่อิ่มหมีพลีมัน” มันก็จะยังกลืนกินขนมปังของเราเข้าไปได้อย่างเอร็ดอร่อย ..เพียงแต่มันจะยังไม่มีวันเข้าใจ “คุณค่าที่แท้จริง” ซึ่งแฝงอยู่ในขนมปังชิ้นนั้นๆ มันอาจยังไม่พร้อมด้วยเหตุปัจจัยบางอย่าง
ปลาที่อิ่มมาก่อนแล้ว กินสิ่งต่างๆ มาจนพุงกางแล้ว
เปรียบดัง “ผู้รับสาส์น” ที่ยังไม่ได้ตระหนักและเข้าใจถึง “Pain point” หรือ “ความเจ็บปวด” ที่จะพาไปสู่โซลูชั่น (ขนมปัง) ที่เราได้เตรียมไว้ให้
และแน่นอนว่าพวกเขาจะไม่ได้ “Benefit” ในแบบที่เรานั้นคาดหวัง
พวกมันก็จะเพียงแค่คิดว่า.. กินๆ มันเข้าไปเถอะ ของฟรีจะไปคิดอะไรมาก ก็อร่อยดีนี่นา.. กินเข้าไปเพลินๆ
มันเหมือนกับคนที่ยังไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ภายในโลกเฟียต คนที่ยังไม่เข้าใจหายนะของเงินเฟ้อ คนที่ยังคงเห็นแก่เวลา โหยหาผลตอบแทนระยะสั้น คนที่ยังดิ้นรนไล่ล่าความสำเร็จ ลาภ ยศ ชื่อเสียงแบบปลอมๆ คนที่ยังไม่ต่างอะไรกับน้ำเต็มแก้ว คนที่ยังสายตามืดบอด ฯลฯ
คนเหล่านี้ (ปลาที่อิ่มแล้ว) จะยังไม่แยแสในเจตนาดีๆ ที่เราต้องการจะส่งต่อให้กับเขา
บางคนอาจเมิน และเลือกที่จะไม่หยิบกินสักชิ้นเลยด้วยซ้ำ (ไม่เปิดรับ) ไม่ซาบซึ้ง ไม่คิดจะขอบคุณ หรือแย่ที่สุดก็คงจะรำคาญและหันมาด่าทอเรา…
เราทุกคนไม่ได้มีขนมปังกันมากพอ ขนมปังในมือของเราไม่ได้มีพร้อมสรรพสำหรับแจกให้คนทุกคน เปรียบได้กับ เวลา แรงกาย แรงใจ หรือความพยายามของเราที่คงจะมีอยู่อย่างจำกัด
อย่าเสียแรง เสียเวลา หยิบยื่นขนมปังให้กับปลาที่ยังไม่หิวโหย
อย่าหว่านขนมปังทั้งกำมือลงไปในน้ำ อย่าบิแบ่งขนมปังยื่นให้ใครไปทั่ว อย่าทำอะไรแค่เพียงเพราะเราอยากทำแต่กลับทำไปอย่างไร้แก่นสาร อย่าทำให้ความมุ่งมั่นตั้งใจของเรานั้นสูญเปล่า
เราไม่จำเป็นจะต้องหว่าน เราไม่จำเป็นจะต้องออกไปเดินถนนร้องแรกแหกกระเชอ หรือป่าวประกาศให้ใครมาสนใจเรา
เราก็แค่เดินหน้าไปช้า ๆ และไม่ลืมที่จะค่อย ๆ หย่อนขนมปังของเราไปตามทางเรื่อย ๆ หย่อนมันไปตลอดทาง หย่อนมันไปจนทั่ว หย่อนให้กับปลาที่เราเห็นแน่แล้วว่าหิวโหย..
ปลาที่หิวโหย ปลาที่เข้าใจคุณค่าของขนมปังจะพากันแหวกว่ายมากลืนกิน ความรู้ที่เราสู้อุตส่าห์บากบั่นทำมา จะมีคนที่เข้าใจคุณค่าของมันมาหยิบกิน
นั่นต่างหากที่เราจะได้ช่วยเหลือคนที่เราควรจะช่วยเขากันจริงๆ
ผมถ่ายทอดหลักการและแนวคิดนี้ให้กับแก๊งค์ตี 4 ณ พัทยา ในห้วงท้ายๆ ก่อนที่เราจะจากลากันวันแรกของงาน #east101
การเอาแต่ยัดเยียด พยายามเกินความจำเป็นที่จะป้อนยาส้มให้ใครต่อใคร มันอยู่ในด้านตรงข้ามกับสิ่งที่ อ.พิริยะ เคยได้ทำมา ตรงข้ามกับแนวทางของพวกเรา Right Shift
แม้กระทั่งการ Toxic ก็ยังไม่ใช่แนวทางที่พวกเราคืดจะซื้อ
พวกเราก็แค่ก้มหน้าก้มตา บอกบั่น ผลิต และวางขนมปังเอาไว้ตามที่ต่างๆ
และเราก็หวังว่า สักวันหนึ่ง ปลาที่หิวโหย จะตามมาหยิบมันไปกิน เพื่อให้พวกเขานั้น มีแรง มีพลังที่จะไปต่อ
วันหนึ่งพวกเขาที่เข้าใจในความหมายของขนมปังอย่างแท้จริงแล้ว จะเกินมาร่วมกับเรา ผลิตและป้อนขนมปังไปด้วยกัน
ส่งต่อมันไปยังคนปลาที่หิวโหยตัวถัดๆ ไป รุ่นถัดๆ ไป เพื่อ “Unfiat” ให้กับคนในรุ่นหลัง
“ปลาที่หิวโหย” คือปลาที่ตื่นรู้ คำ ๆ นี้อาจฟังดูน่าสลด น่าสงสาร น่าเห็นใจ
แต่เปล่าเลย.. พวกมันคือปลาที่ตาสว่าง เป็นปลาประเสิรฐที่ล้วนอยากจะมีอนาคตมี่ดีกว่า.. อยากจะเห็นสังคมและชีวิตของลูกหลานที่ดีกว่าพวกเขา..
มาป้อนขนมปังให้กับปลาที่หิวโหยด้วยกันเถอะครับ
#siamstr #siamstrog