What is Nostr?
SunnyMoo /
npub1lpn…84l4
2024-02-05 06:46:27

SunnyMoo on Nostr: ด้วย ดาวพลูโตมองดูโลก ...

ด้วย ดาวพลูโตมองดูโลก ได้เขียนบทความ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็น ”รัฐอิสระ”ลงใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2567 

ในฐานะ ดิฉัน เป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์ตลอดชีวิตคนหนึ่ง ได้อ่านบทความนั้นแล้ว มีความเห็นแย้งกับ ดาวพลูโตมองดูโลก ซึ่งมีความเข้าใจผิดในหลายประเด็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยหลักวิชาเศรษฐศาสตร์

ดิฉัน ขอถามกลับในคำถามที่ ดาวพลูโตมองดูโลก ได้ตั้งเอาไว้ในบทความนั้น ดังต่อไปนี้

1. ดูอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ปัจจุบันเงินเฟ้อไทยติดลบ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด ซึ่งภาวะเงินฝืดคงไม่ต้องเถียงกันว่าดีหรือไม่ดี เพราะไม่ดีอย่างแน่นอน ราคาสินค้าจะลดลงเพราะขายไม่ออก จนต้องจำใจลดราคาสินค้า เมื่อราคาสินค้าลดลง ธุรกิจห้างร้านผลประกอบการลดลงหมดจากภาวะเงินฝืด จนสุดท้ายปลดพนักงาน ทยอยปิดตัวเลิกกิจการ การลงทุนใหม่ก็จะไม่มีหรือมีน้อยลงเพราะของที่ผลิตเดิมก็ยังมีเกินความต้องการอยู่

ขอถามกลับ คุณดาวพลูโตมองดูโลก ว่า หากอัตราเงินเฟ้อลดลงจริง แล้วราคาของข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยว รวมถึงเครื่องดื่มในร้านอาหารที่ไปรับประทานในชีวิตประจำวัน มีการลดราคา หรือไม่

2. การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลง ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ดีดังเดิม ปัจจุบันการปล่อยสินเชื่อลดลงอย่างมาก จากสถิติไตรมาส 4/2566 สัดส่วนผู้ขอสินเชื่อบ้านและคอนโดที่ถูกธนาคารปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อพุ่งสูงสุด หรือนิวไฮด์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างวิตกกังวลกับปัญหาการขอสินเชื่อ

ขอถามกลับ คุณดาวพลูโตมองดูโลก ว่า ปัญหาที่แท้จริง เกิดจาก ราคาอสังหาริมทรัพย์เฟ้อ เพราะการเปลี่ยนแปลงมาตรการสัดส่วนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างด้าว จนทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นสูงเร็วกว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชนชาวไทย หรือไม่

3. สถิติตัวเลขการลงทุนรวมของภาคเอกชนลดลง สถิตินี้อาจต้องใช้เวลาสักระยะถึงจะเห็นผล ซึ่งจากสถิติ ปี 2565 มีอัตราการลงทุนรวมภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.1 แต่ปี 2566 คาดว่าเหลือเพียง ร้อยละ 2.0 เท่านั้น

ขอถามกลับ คุณดาวพลูโตมองดูโลก ว่า การลงทุนรวมภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพียงอย่างเดียว หรือไม่ อีกทั้งช่วงที่ผ่าน บรรดาบริษัทต่าง ๆ มีช่องทางระดมทุนรูปแบบใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมกับธนาคาร เช่น ตั๋วเงินฝาก หรือ หุ้นกู้ เป็นต้น และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของเหล่าผู้ประกอบการล้วนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้ออสังหาริมทรัพย์ของประชาชน ดังนั้น เมื่ออัตราการลงทุนลดลง อาจแสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในประเทศไทยของภาคเอกชนไม่คุ้มค่าต้นทุนจากการกู้ยืมเงิน หรือไม่



อีกทั้ง ประเด็นความอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ดาวพลูโตมองดูโลก กล่าวหาว่ากระทำการประดุจหนึ่ง “รัฐอิสระ” เหยียบคันเร่ง พร้อมกับรัฐบาลที่กำลังจะเหยียบคันเร่ง เพื่อนำพาเศรษฐกิจของประเทศไทย พุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น



ดิฉัน ขอถามกลับว่า หากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากร้อยละ 0.5 มาเป็น ร้อยละ 2.5 ตามทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด และธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลก จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของค่าเงินบาท ที่ได้อ่อนค่าลงเมื่อปีที่แล้ว และก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2567 อีกด้วย แล้วส่งผลให้การนำเข้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้าต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการเกษตรกรรม เช่น น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, ปุ๋ย, เคมีภัณฑ์, อาหารสัตว์, แป้งสาลี, ฯลฯ มีต้นทุนที่สูงขึ้นมากกว่าปัจจุบันนี้ หรือไม่ จนอาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อที่ ดาวพลูโตมองดูโลก และบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลข้ามขั้ว ต่างออกมาเรียกร้องว่าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย



อัตราเงินเฟ้อ ที่ใช้กันอยู่นี้มีปัญหาในการบ่งชี้ถึงสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างมาก ด้วยอัตราเงินเฟ้อ นั้น สร้างขึ้นจากการนำราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ มาคำนวณตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ทำให้ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงไปของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน แม้ราคาสินค้าและบริการในประเทศต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงในปริมาณที่เท่ากันก็ตาม



กรณีด้านราคาของอาหารในอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย นั้นใช้ราคาอาหารสด แต่วิถีชีวิตของประชาชนไทยนั้นเปลี่ยนไปนานแล้ว ณ ปัจจุบัน แทบหาครัวเรือนใดมีการประกอบอาหารรับประทานกันเองในครอบครัว ด้วยความเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และความรีบเร่งในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยเวลาที่ทุกคนมีจำกัด แต่โครงสร้างต่าง ๆ ของประเทศไทย ล้วนแต่ทำให้เวลาสูญหายไปอย่างไร้ค่า เช่น การต้องติดอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมติดแอร์บนท้องถนน เพื่อไปเรียนตามระบบเพื่อกระดาษ 1 แผ่นที่เอาไว้อวดอ้างเพื่อนำไปขายเวลาเพื่อยังชีพต่อไป หรือต้องออกไปขายเวลาหารายได้เพื่อยังชีพ หรือแม้กระทั่ง รายได้จากการขายเวลาเพื่อยังชีพถูกเอาเปรียบเพราะไร้ซึ่งอำนาจต่อรองจากนายจ้างที่ได้มาซึ่งทุนผูกขาดจากปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทย เป็นต้น



ดังนั้น หากจะพิจารณาปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยอัตราเงินเฟ้อ จากดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค (Cusumer Price Index) แต่เพียงอย่างเดียว นั้นเป็นการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง หากต้องการพิจารณาอัตราเงินเฟ้อของเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ต้องนำเอาราคาสินค้าชนิดเดียวกันและปริมาณคุณภาพเท่ากันในช่วงเวลาปัจจุบัน และช่วงเวลาก่อนหน้ามาเปรียบเทียบ

เช่น ราคาเนื้อหมูสามชั้น ปริมาณ 1 กิโลกรัม ณ วันที่ 5 ก.พ. 2529 เทียบกับ ราคา ณ วันที่ 5 ก.พ. 2567 เป็นต้น 

ซึ่งอัตราเงินเฟ้อรูปแบบดังกล่าว ทางสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีการคำนวณหาไว้เช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อรูปแบบนี้เรียกว่า ตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ (GDP Deflator)

อย่างไรก็ตาม ตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ ก็ยังบ่งชี้ถึงอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจไม่ได้ เพราะปัจจุบันมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่สมัยก่อนนั้นยังไม่มี หรือสินค้าที่ใช้คำนวณในสมัยก่อนนั้นเลิกผลิตไปแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ ณ ยุค 90 กับช่วงปัจจุบันนี้ ก็มีประสิทธิภาพที่ไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันโดยตรงได้ เป็นต้น



#วันนี้เพื่อไทยโกหกอะไร #ตระบัดสัตย์ #ดิจิมอนออมเล็ต
#Politics #Political #Policy #PheuThai #DigitalWallet
#CPI #GDPdeflator #inflation #อัตราเงินเฟ้อ 
#AnEconStudent #Econ101

https://www.matichonweekly.com/column/article_743995
Author Public Key
npub1lpndtvwjtwx5mrerevtce2wf65g56kvwjcc0vmacvzzvp3fxkvhskm84l4