journaling_our_journey on Nostr: ...
นักจิตวิทยา C. Raymond Knee พบว่า…คนเรามีมุมมองต่อความรัก 2 แบบ
.
.
.
บางคนเชื่อว่า…ความรักที่ดี คือ ความรักที่เกิดขึ้นเวลาเราเจอ “คนที่ใช่” (destiny belief)
.
พอเราเจอ “คนที่ใช่” เมื่อไหร่…ทุกอย่างก็จะ “เข้าล็อก”
.
ความสัมพันธ์ก็จะก่อตัวและดำเนินไปอย่าง (ค่อนข้าง) ราบรื่น
.
ถ้าความสัมพันธ์ “ติดขัด” เมื่อไหร่…แสดงว่าคนที่เราคบอยู่ คือ “คนที่ไม่ใช่”
.
แสดงว่าความสัมพันธ์ที่มีอยู่ คือ ความสัมพันธ์ที่ “ไม่ใช่”
.
ฉะนั้น โอกาสที่ความสัมพันธ์จะยุติลงเมื่อเกิดความ “ติดขัด” จึงมีสูง
.
.
.
แต่สำหรับบางคน พวกเขาเชื่อว่า…ความรักที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเจอ “คนที่ใช่” ขนาดนั้น (growth belief)
.
ต่อให้คนที่เราคบด้วย…จะไม่ได้เป็น “คนที่ใช่”
.
แต่ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมที่จะ “เรียนรู้” และ “เติบโต” ไปด้วยกัน
.
ความสัมพันธ์ก็จะ “เบ่งบาน” ได้
.
ความ “ติดขัด” ที่พบในความสัมพันธ์…ถือเป็นโอกาสที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ “เติบโต” ไปอีกก้าวหนึ่ง
.
.
.
หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้…อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า…มุมมองแบบไหนที่ “มีประโยชน์” มากกว่ากัน?
.
ผมคิดว่า…มุมมองที่ “มีประโยชน์” มากกว่า (ในแง่ของการพัฒนาและรักษาความสัมพันธ์) คือ มุมมองแบบ growth belief ครับ
.
เพราะต่อให้เราจะอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดีขนาดไหน เราก็จะยังเจอกับความ “ติดขัด” อยู่ดี
.
ยิ่งไปกว่านั้น…ความ “ติดขัด” ส่วนใหญ่ (ราวๆ 69% ของความ "ติดขัด" ทั้งหมดที่โผล่ขึ้นมาในความสัมพันธ์)…ยังเป็นความ “ติดขัด” ประเภทที่ “แก้ไม่หาย” เสียด้วย!
.
.
.
ฉะนั้น ถ้าเรามองความรักในมุมมองแบบ destiny belief ล่ะก็
.
นอกจากเราจะไม่มีวันเจอ “คนที่ใช่” แม้แต่คนเดียวแล้ว
.
เรายังจะเจอแต่ “คนที่ (โคตร) ไม่ใช่” อีกด้วยครับ!
.
.
.
แหล่งอ้างอิง
Gottman, J. M. (1994). What predicts divorce? The relationship between marital processes and marital outcomes. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
Knee, C. R. (1998). Implicit theories of relationships: Assessment and prediction of romantic relationship initiation, coping, and longevity. Journal of Personality and Social Psychology, 74(2), 360–370.
#siamstr #จิตวิทยา