T21 on Nostr: เหตุผลที่ผมไม่ชอบกองทุนปันผล ...
เหตุผลที่ผมไม่ชอบกองทุนปันผล สำหรับแนวคิด passive income
1. เสียค่าบริหารกองทุน ซึ่งเหมือนไม่เสีย แต่จริงๆ บลจ. หักไปจากมูลค่าหน่วยลงทุน ถ้าเป็น active fund ก็หลายเปอร์เซ็นต์อยู่
2. มูลค่าหน่วยลงทุนของคุณหดทุกปี จากค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุน แถมยังมีเงินปันผลให้คุณได้ในระดับที่คุณพอใจ เคยคิดบ้างไหมว่าสินทรัพย์ที่กองทุนถือจะต้องโต หรือให้ปันผลเฉลี่ยรวมแล้วสูงขนาดไหน (ซึ่งคุณไม่ควรจะต้องมาใส่ใจตรงนี้ เพราะคุณคาดหวังให้ ผจก. กองทุนช่วยคิดแทนให้นี่นา) เพราะถ้าไม่อย่างนั้น กองทุนก็แค่ขายสินทรัพย์ที่ถือมาจ่ายปันผลให้คุณ และทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนของคุณหดเอาๆ
3. เงินปันผลที่เข้าบัญชีธนาคารของคุณ 90 บาท จริงๆ กองทุนจ่ายให้คุณ 100 บาท แต่ถูกรัฐบาลหักกลางทางเป็นภาษี ณ ที่จ่ายไป 10 บาท แต่ถ้าคุณซื้อกองทุนไม่ปันผลจะไม่โดนตรงนี้ ใช้วิธีซื้อกองทุนไม่ปันผลแล้วทะยอยขายหน่วยมาใช้อาจจะประหยัดกว่า (ซึ่งเอาข้อมูลไปยื่นเพื่อขอคืนต้นปีหน้าได้ เดี๋ยวค่อยว่ากัน)
4. ถ้าคุณถือหุ้นปันผลตรงๆ แทนที่จะถือผ่านกองทุน คุณสามารถใช้สิทธิ "เครดิตภาษีเงินปันผล" คือคุณสามารถขอคืนภาษีเพิ่มจากสรรพากรได้ ซึ่งโดยทั่วไป (สำหรับบริษัทจดทะเบียนฯ ส่วนใหญ่ที่เสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 20%) เปรียบเสมือนการได้ปันผลเพิ่มอีกประมาณ 1 ใน 4 ของเงินที่บริษัทจ่ายให้คุณไปแล้วก่อนหน้านี้
เช่น ถ้าคุณถือหุ้นบริษัท ก และได้ปันผลเข้ากระเป๋า 90 บาท ความจริงคือปันผลส่วนนั้นเกิดจากกำไรของบริษัท 125 บาท บริษัทนำส่งภาษีนิติบุคคลให้รัฐ 20% = 25 บาท เหลือ 100 บาทจ่ายออกมา แต่ถึงมือคุณแค่ 90 บาทเพราะภาษี ณ ที่จ่าย 10% เบ็ดเสร็จโดนภาษีไป (25+10)/125 = 28%
ถ้าคุณถือหุ้น ก โดยตรง คุณสามารถเคลมทั้ง 125 บาทเข้ามาเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาของตัวเองได้ ถ้าคุณเสีย ภงด. ต่ำกว่าเรท 30% (เงินได้สุทธิ 2m ต่อปีขึ้นไป) การยื่นแบบนี้จะทำให้ได้ภาษีคืนจากสรรพากรจาก 35 บาทที่เขาหักไว้ (ซึ่งคงไม่ได้ทั้ง 35 บาท ขึ้นกับว่าคุณเสียภาษีอัตราไหน แต่คงน้อยกว่า 28% แน่ๆ ล่ะ)
แต่ถ้าคุณถือ ก ผ่านกองทุน ก็คือสละสิทธิ์ 25 บาททิ้งไปเลยจ้า เหลือแค่ 10 บาทที่คุณสามารถคุยกับสรรพากรได้ (ซึ่งถ้าคุณฐานภาษีเกิน 10% ก็ไม่ต้องเอามายื่นหรอก ปล่อยให้เขาหัก ณ ที่จ่ายแล้วจบไปเลยดีกว่า ไม่งั้นต้องเสียเพิ่มอีก)
#Siamstr
#PassiveIncome
#Tax
1. เสียค่าบริหารกองทุน ซึ่งเหมือนไม่เสีย แต่จริงๆ บลจ. หักไปจากมูลค่าหน่วยลงทุน ถ้าเป็น active fund ก็หลายเปอร์เซ็นต์อยู่
2. มูลค่าหน่วยลงทุนของคุณหดทุกปี จากค่าใช้จ่ายต่างๆ ของกองทุน แถมยังมีเงินปันผลให้คุณได้ในระดับที่คุณพอใจ เคยคิดบ้างไหมว่าสินทรัพย์ที่กองทุนถือจะต้องโต หรือให้ปันผลเฉลี่ยรวมแล้วสูงขนาดไหน (ซึ่งคุณไม่ควรจะต้องมาใส่ใจตรงนี้ เพราะคุณคาดหวังให้ ผจก. กองทุนช่วยคิดแทนให้นี่นา) เพราะถ้าไม่อย่างนั้น กองทุนก็แค่ขายสินทรัพย์ที่ถือมาจ่ายปันผลให้คุณ และทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนของคุณหดเอาๆ
3. เงินปันผลที่เข้าบัญชีธนาคารของคุณ 90 บาท จริงๆ กองทุนจ่ายให้คุณ 100 บาท แต่ถูกรัฐบาลหักกลางทางเป็นภาษี ณ ที่จ่ายไป 10 บาท แต่ถ้าคุณซื้อกองทุนไม่ปันผลจะไม่โดนตรงนี้ ใช้วิธีซื้อกองทุนไม่ปันผลแล้วทะยอยขายหน่วยมาใช้อาจจะประหยัดกว่า (ซึ่งเอาข้อมูลไปยื่นเพื่อขอคืนต้นปีหน้าได้ เดี๋ยวค่อยว่ากัน)
4. ถ้าคุณถือหุ้นปันผลตรงๆ แทนที่จะถือผ่านกองทุน คุณสามารถใช้สิทธิ "เครดิตภาษีเงินปันผล" คือคุณสามารถขอคืนภาษีเพิ่มจากสรรพากรได้ ซึ่งโดยทั่วไป (สำหรับบริษัทจดทะเบียนฯ ส่วนใหญ่ที่เสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 20%) เปรียบเสมือนการได้ปันผลเพิ่มอีกประมาณ 1 ใน 4 ของเงินที่บริษัทจ่ายให้คุณไปแล้วก่อนหน้านี้
เช่น ถ้าคุณถือหุ้นบริษัท ก และได้ปันผลเข้ากระเป๋า 90 บาท ความจริงคือปันผลส่วนนั้นเกิดจากกำไรของบริษัท 125 บาท บริษัทนำส่งภาษีนิติบุคคลให้รัฐ 20% = 25 บาท เหลือ 100 บาทจ่ายออกมา แต่ถึงมือคุณแค่ 90 บาทเพราะภาษี ณ ที่จ่าย 10% เบ็ดเสร็จโดนภาษีไป (25+10)/125 = 28%
ถ้าคุณถือหุ้น ก โดยตรง คุณสามารถเคลมทั้ง 125 บาทเข้ามาเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาของตัวเองได้ ถ้าคุณเสีย ภงด. ต่ำกว่าเรท 30% (เงินได้สุทธิ 2m ต่อปีขึ้นไป) การยื่นแบบนี้จะทำให้ได้ภาษีคืนจากสรรพากรจาก 35 บาทที่เขาหักไว้ (ซึ่งคงไม่ได้ทั้ง 35 บาท ขึ้นกับว่าคุณเสียภาษีอัตราไหน แต่คงน้อยกว่า 28% แน่ๆ ล่ะ)
แต่ถ้าคุณถือ ก ผ่านกองทุน ก็คือสละสิทธิ์ 25 บาททิ้งไปเลยจ้า เหลือแค่ 10 บาทที่คุณสามารถคุยกับสรรพากรได้ (ซึ่งถ้าคุณฐานภาษีเกิน 10% ก็ไม่ต้องเอามายื่นหรอก ปล่อยให้เขาหัก ณ ที่จ่ายแล้วจบไปเลยดีกว่า ไม่งั้นต้องเสียเพิ่มอีก)
#Siamstr
#PassiveIncome
#Tax