Riina on Nostr: การเลี้ยงลูก ...
การเลี้ยงลูก หรือการกระตุ้นความใฝ่รู้ให้เด็กๆ หลักจิตวิทยานั้นสำคัญมาก นับเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง
ในวัยเด็กเล็ก ให้เด็กเล่นให้มาก ให้เขาเรียนรู้ผ่านการเล่น ยิ่งเล่นมาก ประสบการณ์ยิ่งมาก การจดจำความสุขในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านการเล่นก็ยิ่งมาก ทำให้เขาสามารถค้นหาตัวตนได้ดีขึ้นในวัยถัดไป
วัยเด็กโต เด็กๆจะเริ่มมีความชอบส่วนตัว ความสนใจที่แตกต่างกัน กระทั่งความถนัดต่างๆ ที่สั่งสมมาจากการเล่นในวัยก่อนหน้า บางคนชอบคิดวางแผน บางคนชอบลงมือทำ ไม่มีแบบไหนดีกว่ากัน เพราะผู้คนแตกต่างกัน เราถึงได้ทำหน้าที่ที่ต่างกันออกไปในแบบของตัวเอง
วัยรุ่น วัยแห่งพลัง ที่ต้องปีกกล้า ขาแข็ง ในรูปแบบของตัวเอง เพื่อสร้างความพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก เขาจะลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนาตัวตนและความสามารถในแบบของตัวเอง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว อีกไม่นานเขาต้องออกจากอ้อมอกของพ่อแม่ไปตามเส้นทางของตัวเอง เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับเขาไปตลอด ความหมายคือ เขาจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป สิ่งหนึ่งที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับพ่อแม่ไว้ได้นั้น คือความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ได้มอบไว้ให้ลูกตั้งแต่วัยก่อนหน้านี้ สิ่งนี้จะทำให้เขารักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เขาจะคิดทบทวนให้ดีก่อนที่จะเดินไปผิดทาง
ไม่ว่าจะทำโฮมสคูล หรือไม่ทำโฮมสคูลนั้น จริงๆแล้วยังไม่ใช่จุดสำคัญหลัก แต่ที่สำคัญคือพ่อแม่ได้มีเวลาให้กับลูกในแต่ละช่วงวัยหรือไม่ ได้เอาใจใส่เขาเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอก็คงไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะส่งลูกไปโรงเรียนหรือทำโฮมสคูล แต่ส่วนมากการส่งลูกไปโรงเรียน ทำให้เวลาใน 1 วันสำหรับครอบครัวนั้นเหลือน้อยมากจริงๆ
ทั้งยังสภาพแวดล้อมที่อยู่เหนือการควบคุม สำหรับในวัยที่ลูกยังเด็ก สภาพแวดล้อมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมตัวตนของมนุษย์คนนึงขึ้นมา การส่งลูกไปโรงเรียนเหมือนการทอยลูกเต๋า ว่าสภาพแวดล้อมจะหล่อหลอมเด็กคนนึงให้ไปในทิศทางใด ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดีนะคะ แต่หมายถึงว่าปัจจัยตรงนี้อยู่เหนือการควบคุมของพ่อแม่ เหมือนกับทอยลูกเต๋า มันอาจจะดีหรือไม่ดี เราควบคุมไม่ได้
บางคนอาจจะคิดว่าการปกป้องลูกทุกอย่าง เหมือนไข่ในหิน จะทำให้ลูกไม่แข็งแกร่ง แต่ส่วนตัวเรามองว่า วัยเด็กไม่ใช่วัยที่จะต้องเผชิญความโหดร้ายเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง แต่เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องสร้างมาตรฐานของชีวิตให้กับลูก พ่อแม่เป็นส่วนสำคัญที่ต้องปกป้องและให้ความปลอดภัยในวันที่ลูกยังเด็ก การสร้างมาตรฐานให้ลูก ทำให้ลูกรู้ว่า ความปลอดภัยนั้นดีอย่างไร ความมีอิสระนั้นมีค่าแค่ไหน และการตัดสินใจในสิ่งที่ต่างออกไปจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องที่ผิด
พอเขามีมาตรฐานชีวิตที่เป็นอิสระ มีทัศนคติที่ไม่ถูกตีกรอบ สิ่งนี้จะเป็นมาตรฐานของชีวิตเขา วันหนึ่ง เมื่อเขาไปเจอกับสิ่งที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่เขาเคยโตมา เขาจะตั้งคำถามกับสิ่งนั้น เขาจะหลีกเลี่ยงมัน เขาจะไม่ทำอะไรเพียงเพราะผู้คนทำตามๆกัน
ไม่ได้ว่าการไปโรงเรียนเลวร้ายหรือไม่ดีนะคะ แต่ถ้าเลือกได้เราก็ไม่อยากทอยลูกเต๋า และวัยสำหรับการหล่อหลอม ก็คือวัยเด็ก วัยที่เล่นอะไรก็สนุกที่สุด วัยโลกทั้งใบยังเป็นmagic วัยที่กำลังต้องการพ่อแม่มากที่สุด มันมีแค่ไม่กี่ปี และหลังจากนั้น แม้เราจะอยากให้เขาอยู่กับเรามากแค่ไหน เขาก็จะต้องออกไปจากอ้อมอกเราอยู่ดี
ในวัยเด็กเล็ก ให้เด็กเล่นให้มาก ให้เขาเรียนรู้ผ่านการเล่น ยิ่งเล่นมาก ประสบการณ์ยิ่งมาก การจดจำความสุขในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านการเล่นก็ยิ่งมาก ทำให้เขาสามารถค้นหาตัวตนได้ดีขึ้นในวัยถัดไป
วัยเด็กโต เด็กๆจะเริ่มมีความชอบส่วนตัว ความสนใจที่แตกต่างกัน กระทั่งความถนัดต่างๆ ที่สั่งสมมาจากการเล่นในวัยก่อนหน้า บางคนชอบคิดวางแผน บางคนชอบลงมือทำ ไม่มีแบบไหนดีกว่ากัน เพราะผู้คนแตกต่างกัน เราถึงได้ทำหน้าที่ที่ต่างกันออกไปในแบบของตัวเอง
วัยรุ่น วัยแห่งพลัง ที่ต้องปีกกล้า ขาแข็ง ในรูปแบบของตัวเอง เพื่อสร้างความพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก เขาจะลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนาตัวตนและความสามารถในแบบของตัวเอง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว อีกไม่นานเขาต้องออกจากอ้อมอกของพ่อแม่ไปตามเส้นทางของตัวเอง เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับเขาไปตลอด ความหมายคือ เขาจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป สิ่งหนึ่งที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับพ่อแม่ไว้ได้นั้น คือความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ได้มอบไว้ให้ลูกตั้งแต่วัยก่อนหน้านี้ สิ่งนี้จะทำให้เขารักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เขาจะคิดทบทวนให้ดีก่อนที่จะเดินไปผิดทาง
ไม่ว่าจะทำโฮมสคูล หรือไม่ทำโฮมสคูลนั้น จริงๆแล้วยังไม่ใช่จุดสำคัญหลัก แต่ที่สำคัญคือพ่อแม่ได้มีเวลาให้กับลูกในแต่ละช่วงวัยหรือไม่ ได้เอาใจใส่เขาเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอก็คงไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะส่งลูกไปโรงเรียนหรือทำโฮมสคูล แต่ส่วนมากการส่งลูกไปโรงเรียน ทำให้เวลาใน 1 วันสำหรับครอบครัวนั้นเหลือน้อยมากจริงๆ
ทั้งยังสภาพแวดล้อมที่อยู่เหนือการควบคุม สำหรับในวัยที่ลูกยังเด็ก สภาพแวดล้อมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมตัวตนของมนุษย์คนนึงขึ้นมา การส่งลูกไปโรงเรียนเหมือนการทอยลูกเต๋า ว่าสภาพแวดล้อมจะหล่อหลอมเด็กคนนึงให้ไปในทิศทางใด ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดีนะคะ แต่หมายถึงว่าปัจจัยตรงนี้อยู่เหนือการควบคุมของพ่อแม่ เหมือนกับทอยลูกเต๋า มันอาจจะดีหรือไม่ดี เราควบคุมไม่ได้
บางคนอาจจะคิดว่าการปกป้องลูกทุกอย่าง เหมือนไข่ในหิน จะทำให้ลูกไม่แข็งแกร่ง แต่ส่วนตัวเรามองว่า วัยเด็กไม่ใช่วัยที่จะต้องเผชิญความโหดร้ายเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง แต่เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องสร้างมาตรฐานของชีวิตให้กับลูก พ่อแม่เป็นส่วนสำคัญที่ต้องปกป้องและให้ความปลอดภัยในวันที่ลูกยังเด็ก การสร้างมาตรฐานให้ลูก ทำให้ลูกรู้ว่า ความปลอดภัยนั้นดีอย่างไร ความมีอิสระนั้นมีค่าแค่ไหน และการตัดสินใจในสิ่งที่ต่างออกไปจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องที่ผิด
พอเขามีมาตรฐานชีวิตที่เป็นอิสระ มีทัศนคติที่ไม่ถูกตีกรอบ สิ่งนี้จะเป็นมาตรฐานของชีวิตเขา วันหนึ่ง เมื่อเขาไปเจอกับสิ่งที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่เขาเคยโตมา เขาจะตั้งคำถามกับสิ่งนั้น เขาจะหลีกเลี่ยงมัน เขาจะไม่ทำอะไรเพียงเพราะผู้คนทำตามๆกัน
ไม่ได้ว่าการไปโรงเรียนเลวร้ายหรือไม่ดีนะคะ แต่ถ้าเลือกได้เราก็ไม่อยากทอยลูกเต๋า และวัยสำหรับการหล่อหลอม ก็คือวัยเด็ก วัยที่เล่นอะไรก็สนุกที่สุด วัยโลกทั้งใบยังเป็นmagic วัยที่กำลังต้องการพ่อแม่มากที่สุด มันมีแค่ไม่กี่ปี และหลังจากนั้น แม้เราจะอยากให้เขาอยู่กับเรามากแค่ไหน เขาก็จะต้องออกไปจากอ้อมอกเราอยู่ดี
quoting note16pr…lgzkปีนี้มีเด็กเกิดใหม่ประมาณ500,000คน ในขณะที่เด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยปีนี้ เกิดในปีที่มีเด็กเกิด 800,000คน
ปีนี้คณะฯเรา (ซึ่งน่าจะทั้งมหาวิทยาลัย) ปรับลดอัตรการรับเข้าป. ตรี และเน้นรับป. โทเอก แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่เราจะพูดถึง
ลักษณะของการสอนปีนี้เด็ก30คน (ปกติ 50คน) สอนปฏิบัติยังคงอยู่ที่ 1:8-1:10 ส่วนบรรยาย 1:30 จากเเดิม 1:50 และมันรู้สึกว่า บรรยากาศในห้องมันดี สอนได้ทั่วถึง พูดคุยเรื่อยเปื่อยได้เกินครึ่งห้อง นั่นหมายความว่า เด็กจะเข้าหาเราง่ายขึ้น ความสงสัย ความกังวลในอาชีพ ในอนาคต เราจะไกด์เค้าได้ง่ายขึ้นและทั่วถึงขึ้น
ในขณะที่หลายคนมองว่า เด็กที่น้อยลงคือความเสี่ยง แต่เราว่านี่คือโอกาสครั้งใหญ่ ที่เราสามารถทำ personalized learning (คำนี้โผล่ขึ้นมาในหัวซักพัก แต่ไม่มั่นใจว่ามันผ่านมาจากการอ่านเล่มไหน)
ถ้าการศึกษาไทยจะเปลี่ยน ช่วงเวลา 2ปีนี้ เหมาะมากที่เราจะปรับโครงสร้างการศึกษา เพื่อจัดการศึกษาที่เหมาะกับต้นไม้แต่ละต้น เลือกคนปลูก เลือกปุ๋ย เลือกน้ำ เลือกอาหาร เลือกสิ่งแวดล้อม
#Personalized learning
#Be your own school
สองคีย์นี้ เป็นสิ่งที่อยากเรียนเอกต่อ รวมทั้งการทำ homeschool แนว unschooling เหมือนที่คุณมิ้นพูดในสภายาม่วงวันก่อน
แล้วพอมาอยู่ในสภาพแวดล้อมของ bitcoiner เราเห็นโอกาสเล็กๆ ว่ามันสามารถทำได้ เราเห็น diploma ของ El Salvador ใน github เราเห็นความแข็งแกร่งของ community เราเห็น prove of work ของงานที่หลากหลาย เราเห็น mind set ของตลาดเสรี แถม เมื่อเช้าฟังจารย์ขิงอธิบาย taproot อีก
มีไอเดียอยู่ประมาณนึง แต่ยังไม่เคลียร์ ขอตกผลึกให้มากกว่านี้ก่อน ใครอยากแจมยกมือไว้รอได้เลยฮ้ะ
#siamstr
nevent1q…5aln